เวทีนำเสนอผลงานโครงการ "ต่อกล้าให้เติบใหญ่" ปีที่ 2 ประจำปี 2557 รอบสุดท้าย !
สมเกียรติ พุทธิจรุงวงศ์

เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดเวทีนำเสนอผลงานโครงการ "ต่อกล้าให้เติบใหญ่" ปีที่ 2 ประจำปี 2557 สู่สาธารณชนขึ้น ภายในงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 18 -20 มีนาคม 2558 ณ ไอส์แลนด์ฮอลล์ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ โดยมีการนำเสนอผลงานของเยาวชนในโครงการทั้ง 13 ทีม และการให้ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการพัฒนาผลงาน ด้านธุรกิจ และด้านสังคม

­

­

"จากการติดตามข่าวพบว่าพวกเรามี พัฒนาหลายขั้น ได้เรียนรู้อะไรมากมาย ถือว่าที่เราผ่านเวที NSC มา มีโครงการที่ต่อยอด ทำให้ได้รู้เรื่องธุรกิจ บริหารการเงิน ผู้ใช้งาน เป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก พวกเรามีโอกาสที่ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ เขา พยายามยึดมั่นในองค์ความรู้ที่มีและพยายามพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป และสร้างคุณประโยชน์ให้กับตนเอง สังคม ประเทศชาติต่อไป และก้าวไปสู่สังคมได้อย่างมีประโยขน์ มีคุณค่า" ดร.กว้าน สีตะธนี ที่ปรึกษาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวเปิดงาน

­

­

จากนั้นคุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวให้โอวาทแก่น้องๆ เยาวชนในโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ปี 2 ทั้ง 13 กลุ่มว่า "ได้มาฟังความก้าวหน้าของน้องๆ อยากเห็นว่าน้องๆ เหล่านี้คืบหน้าอย่างไร แต่ก่อนมาได้อ่านถอดบทเรียนของน้องๆ แล้ว พวกเราเข้ามาด้วยจุดหนึ่ง แต่ว่าพอทำงานไปไม่กี่เดือนโตเร็ว มีพี่ๆ ทั้งกรรมการและพี่เลี้ยงมีวิธีใส่ปุ๋ยเร่งโต จากกล้าโตเร็ว โตทางความคิด ทางการมอง วิธีการ มองปัญหาต่างๆ ไม่มองมุมเดียว มองหลายมุม พัฒนาฝีมือเป็นที่ยอมรับจากหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง โครงการแบบนี้ น้องๆ หลายคนคิดว่าเป็นภาระไม่อยากทำ แต่น้องๆ เหล่านี้คิดไม่เหมือนคนอื่น อยากที่จะมีโอกาสพัฒนาตัวเองต่อ อยากเห็นน้องๆ รุ่นต่อรุ่นแบบนี้ ฝากน้องๆ ที่ได้อบรมมาให้ไปขยายผลต่อที่โรงเรียนเพื่อเป็นนักเรียนจิตอาสาสอนน้องมากขึ้น"

­

­

เมื่อเริ่มการนำเสนอ นาย เฉลิมพล โพธิ์เที้ยม (โบ๊ต) ผลงาน Military Assistance Robot (MAR) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอภาพวิดีโอสาธิตการทำงาน การใช้งานการพัฒนา Air Boat ถูกออกแบบให้ใช้งานง่ายที่สุดผ่านคอมพิวเตอร์ บินอัตโนมัติ มีกล้องสามารถถ่ายภาพมีความละเอียด ประกอบแสดงภาพถ่ายมุมสูง ความสูง 300 เมตร สามารถมองเห็นสิ่งของขนาด 5 ซ.ม. มีความละเอียดค่อนข้างมากและข้อมูลอัพเดทแบบเรียลไทม์ ขณะนี้กำลังพัฒนาอยู่เพื่อให้ user ต้องการใช้ในความสูงไม่มาก จึงใช้โซน่าร์เข้ามาช่วยในการบินระดับต่ำ แต่ยังหลบสิ่งกีดขวางไม่ได้ โดยมีการทำข้อตกลงร่วมกับกรมอุทยานป่าไม้ เพื่อช่วยสำรวจนกปากช้อนด้ว

­

­

นายคุณาภาส คงกิติมานนท์ (โน้ต) และ นายภาคิน แจ้งกระจ่าง (ทีม) ผลงาน Beamify บัณฑิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอผลงาน Beamify การสื่อสารที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและไม่ต้องใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ต ขณะนี้ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นถึงผู้ใช้งานแล้วโดยมีการอัพโหลดบน play store มีฟีคแบคที่ดีมีผู้ใช้งานหลักพันคน ล่าสุดแอพพลิเคชั่นนี้ไปรับรางวัลที่ประเทศอินโดนีเซีย และกระทรวงสาธารณสุขติดต่อให้ไปทำแอพพลิเคชั่นให้ใช้เฉพาะทาง ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนางาน

­

­

นาย ภูวเดช สันธนาภิรมย์ (เมฆ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายธราธร หลวงอินตา (เท็น) นายศรัณย์ภัทร ฝั้นแก้ว (โฟล์ค) โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ นำเสนอผลงาน Monmon Dash เกมส์มอญซ่อนผ้า เกมแบบไทยๆ มีการนำงานให้ทดลองใช้กับผู้เล่นทุกกลุ่มวัยตั้งแต่ระดับประถม มัธยม มหาวิทยาลัย มีการพัฒนาเกมส์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม อาทิ item การอัพเกรดตัวละคร เพิ่มขีดความสามารถของตัวละครให้ผู้เล่น และจะพัฒนาต่อการเพิ่มเนื้อเรื่องมอญซ่อนผ้าในเกม ให้มีบอสอยู่ในเกมส์ตามที่ user ต้องการ พยายามทำให้ถูกใจ user ทุกช่วงวัย โจทย์ที่จะต้องตีให้แตกคือทำอย่างไรให้แตกต่างกว่าเกมส์ที่อยู่ในตลาดเช่นคุ้กกี้รัน

­

­

นายธัชพล สิงห์เวชสกุล (พี) นายกาย เลาวพงศ์ (กาย) จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยา ลัย จ.เชียงใหม่ และนายศุภกร กอประพันธ์ (หยก) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอผลงาน Scan To Buy ได้พัฒนาผลงานจากแอพพลิเคชั่นช่วยขายของได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นแอพพลิเคชั่นช่วยโปรโมทสินค้าจนได้คอนเซ็ปต์หลักโมเดลในการตัดสินใจในการขายสินค้า กลุ่มผู้ใช้งานปัจจุบันได้แก่ ร้านค้า อาทิ บริษัทเจอาร์ที เครื่องชงกาแฟ ต้องการสแกนโมเดลเครื่องชงกาแฟ หลังจากนี้ทางกลุ่มจะเริ่มเผยแพร่ผลงานโดยการโฆษณา รับผลิตโมเดลนำเสนอสินค้า และลูกค้าที่จะซื้อสินค้าสามารถเข้าไปคุยกับเจ้าของร้านและโหลดแอพพลิเคชั่นสินค้าจากร้านนั้นๆ มาดูก่อนตัดสินใจซื้อได้

­

­

นางสาวธัญจิรา สุกกรี (ว่าน) นางสาวนุชดี เหล่าสุรสุนทร (เนย) และเด็กหญิงณัฐณิชา เดชะเอื้ออารีย์ (นัท) จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ นำเสนอผลงาน Zombio นายซอมบี้กับเคมีที่รัก ล่าสุดนำแอพพลิเคชั่นนี้ไปคว้ารางวัลอันดับสองจากประเทศอินโดนีเซียมาครอง กรรรมการบอกชื่นชอบผลงาน โดยเฉพาะกราฟฟิคที่ดูโดดเด่

­

­

นาง สาวณัฏฐกมล สุกิจจาคามิน (มีน) นางสาวธัญสินีย์ เหล่าวีระธรรม (ฟ้า) และ นางสาวโศจิรัตน์ ธัญประทีป (เกน) จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ นำเสนอผลงาน Cooking Family เกมทำอาหารไทยจะสนุกอย่างไรต้องลองไปหาเล่นดูได้แล้ววันนี้ที่ play store

­

­

นาง สาวพัชรินทร์ รัศมีธงชัย (พัช) นางสาวธนกาญจน์ พีระธรณิศร์ (นิ้ง) และ นางสาวพิชชาพร ลิขิตปัญจมานนท์ (เจแปน) จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ นำเสนอผลงาน Jack find the treasure สนุกกับเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งง่ายและสนุกได้ที่ play store

­

­

นาง สาวชุติกาญจน์ ยอดสิงห์ (แพ็ตตี้) นางสาวยงธิดา แสวงสุข (ต้องตา) และนางสาวศุทธหทัย เฉลียวไว (สา) โรงเรียนสิรินธร จ.สุรินทร์ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ Advanced Placement Program (AP) นำเสนอผลงาน Quick Color (เครื่องย้อมเส้นไหมด้วยเซลล์ไฟฟ้าเคมี) คำนึงถึงผู้ใช้งานจริง โดยให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกว่าจะต้องเปลี่ยนวิธีการย้อมเส้นไหมแบบเดิม แต่ผลที่ได้ทำให้ได้งานที่เร็วขึ้นและคุณภาพดีเหมือนเดิมแถมประหยัดเวลา เป็นอีกผลงานหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาช่วยอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย

­

­

นายภาคภูมิ สุวรรณ (บอย) และนางสาววรรณภา อามาตรมนตรี (ภา) บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏอุดรธานี นำเสนอผลงาน Voice Search Contact เป็น Application ที่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตา หรือ ผู้สูงอายุ สามารถค้นหารายชื่อในสมุดโทรศัพท์ ด้วยคำสั่งเสียง ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ เป็นกลุ่มจิตอาสาที่พัฒนาแอพพิเคชั่นเพื่อช่วยเหลือสังคมได้อีกทางหนึ่งด้วย

­

­

นายเกียรติ์อธีติ อนุสรณ์ภักดี (อั้ม) จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอผลงาน Personal Health Assistant เริ่มจากต้องการดูแลสุขภาพของตนเองเป็นหลักจนมาพัฒนาเป็นแอพพิเคชั่น ช่วยผู้ป่วยเบาหวานในการเก็บข้อมูลการกินยา การรับประทานอาหาร เป็นต้น เพื่อประกอบการวินิจฉัยของคุณหมอ ได้ทดลองกับคนไข้แล้ว และล่าสุด ร.พ.เทพธารินทร์ สนใจมาศึกษาดูงานแล้ว

­

­

นาย กฤษฎา มหากิจไพศาล (ก๊อฟ) บัณฑิตวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอผลงาน Monster Land เกมแอ็คชั่นบนแอนดรอยด์ ไอโมบาย ที่มีเคียวเป็นอาวุธ และปลูกข้าวเพิ่มพลังให้ตัวละคร ยังอยู่ในขั้นการพัฒนาผลงานให้ขายได้จริง...เป็นอีกเกมที่น่าสนใจ

­

­

นายธนวุฒิ อนันต์พิริยะกุล (จั๊ม) และ นายณัฐณพัชร์ กวิพรรธน์ (ฮาร์พ) ผลงานระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัจฉริยะ บัณฑิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอผลงาน BRIGHT! ให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นเรื่องง่ายด้วยอุปกรณ์ควบคุมไฟในบ้านทุกประเภทแค่เดินไปที่ไหนในบ้านอุปกรณ์ไฟฟ้าเปิดใช้งานทันที ถ้าไม่มีใครอยู่ก็ปิดอัตโนมัติ ใช้ชีวิตแบบไฮเทคได้แล้วกับแอพพิเคชั่นนี้

­

­

นาย วรเชษฐ์ อุส่าห์ดี (เชลล์) นายเอกวิชญ์ หงส์ทอง (เอก) นายกษิดิศ ชาวสวน (เมฆ) นายสุภัทร ลิ้มสมุทรชัยกุล (ภัทร) นายอัศวิน โพธิ์รุ่ง (เบนซ์) นายจารุกิตติ์ เกลี้ยงสุวรรณ (โอห์ม) และ นายณัฐพล เจนจบ (นัท) จากโรงเรียนระยองวิทยาคม ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คอม พิวเตอร์ นำเสนอผลงาน Bad Green เกมสิ่งแวดล้อม สอนวิธีแยกขยะให้ถูกต้อง อาทิ ขยะรีไซเคิล ขยะเปียก ขยะอันตราย กำลังพัฒนาเพื่อให้ดาวน์โหลดได้ที่ app store

­

­

กลุ่มนักเรียน โรงเรียนระยองวิทยาคมยังได้เป็นตัวแทนเพื่อนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ด้วย ได้แก่

- เปลี่ยนแนวคิด เป้าหมายการเข้าถึง user การจัดการงาน การวางแผน ความสามัคคีในกลุ่ม ช่วยให้ทำงานประสบความสำเร็
- ได้เรื่องการนำเสนอ ไม่ตื่นเต้น เรียบเรียงคำพูดได้ดีขึ้น มองงานไปไกลขึ้นเช่น user เล่นแล้วได้อะไร
- ได้แนวคิดใหม่จากเคยประกวดจากทำให้กรรมการดู ก็คิดว่าทำอย่างไรจะได้คะแนน เปลี่ยนมาเป็นทำให้ผู้เล่นได้เล่น คิดว่าทำอย่างไรให้ผู้เล่นๆ แล้วสนุก
- มีความรู้เยอะขึ้น เช่น UI
- ได้เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดจากการทำงาน แบ่งเวลาทำงาน
- ได้ประสบการณ์จากการเข้าค่า
- ทำงานร่วมกับเพื่อน ฝึกฝนประสบการณ์ ลองผิดลองถูก ทำงานไม่ใช่ทำครั้งเดียวได้เลย ต้องฝึกฝนทำใหม่หลายๆ ครั้ง

­

­

สุดท้ายนี้ เยาวชนในโครงการได้ร่วมถ่ายรูปกับผู้ทรงคุณวุฒิ, อาจารย์ และทีมงาน เป็นที่ระลึก ในงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ระหว่าง 18 -20 มีนาคม 2558 ณ ไอส์แลนด์ฮอลล์ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ เรียกได้ว่าปิดเวทีนำเสนอผลงานโครงการ "ต่อกล้าให้เติบใหญ่" ปี 2557 อย่างสมบูรณ์แบบ #