กระบวน Social Lab โครงการ...สร้างชุมชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร



จัดกระบวน ร่วมกับพี่ๆ วิจัยเพื่อท้องถิ่น ตรัง สตูล ระนอง


ใช้ "EE" Empowerment Evaluation ประเมินเสริมพลัง ทบทวนการทำโครงการ...สร้างชุมชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ในระยะที่ 1


โดยพี่ๆ แต่ละ Node จังหวัดเป็นกลไกสำคัญในการหนุนเสริม ศักยภาพและการเรียนรู้ให้แกนนำชุมชน ใช้ "งานวิจัย" research สร้างข้อมูล ความรู้เพื่อการตัดสินใจ "พัฒนา" development คลี่คลายปัญหาในชุมชน


Social lab ครั้งนี้เป็นการ "เหลียวหลัง" เพื่อจะ "แลหน้า" ....ทบทวน "วิธีคิด" ออกแบบ "วิธีทำ" วางแผน "บริหารจัดการ" ทั้งกลไกกลาง และกลไกพี่เลี้ยง เพื่อยกระดับชุมชน ให้เกิด "กลไก" บริหารจัดการตนเอง และสามารถคลี่คลายปัญหามิติต่างๆ ได้ในพื้นที่.... ทั้ง การจัดการอาชีพทำมาหากิน.... จัดการฐานทรัพยากรป่าไม้.... จัดการภูมินิเวศทะเลชายฝั่งอ่าวสตูล ตรัง ระนอง.... การสร้างคนรุ่นใหม่ของชุมชน.... รวมทั้งการ "ตั้งรับ" ภัยพิบัติสึนามิ ที่อาจจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้



.......................................................


วันที่สองของการจัดกระบวน social lab โครงการ...สร้างชุมชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิของทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่น node จังหวัด ตรัง สตูล ระนอง ที่เป็นกลไกสำคัญในการหนุนเสริม ศักยภาพและการเรียนรู้ให้แกนนำชุมชน ใช้ "งานวิจัย" research สร้างข้อมูล ความรู้เพื่อการตัดสินใจ "พัฒนา" development คลี่คลายปัญหาในชุมชน


โจทย์ของวันนี้ คือ

1. คลี่ความซับซ้อน และผลลัพธ์ในระยะที่ 1 ของแต่ละชุมชน ด้านการสร้าง "คน" สร้าง "กลไก" บริหารจัดการตนเอง และ "โจทย์ปัญหา" ที่ได้คลี่คลายแล้ว

2. ใช้ต้นทุนเดิมที่ทำสำเร็จ มาออกแบบการเคลื่อนต่อว่าจะยกระดับ การแก้ปัญหา หรือเชื่อมโยง ขยายผลต่อ...ในแต่ละเรื่องอย่างไร

3. ทำความเข้าใจร่วมถึงแนวคิด กำหนดเป้าหมายร่วมกัน ว่าด้วย ผลที่คาดหวัง ว่าเราอยากเห็นรูปธรรม ของ "ชุมชนบริหารจัดการตนเอง" อย่างไร




คิดว่า 2 วันนี้ ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล ทีมกลไกจัดการกลางมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น และกลไกทีมพี่เลี้งจังหวัดระนอง ตรัง สตูล ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างมากมายหลายมิติทั้ง

● ประสบการณ์การการเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาชุมชนของรุ่นพี่

● ประเด็นปัญหาของชุมชนทั้งการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง การเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน วัฒนธรรม การศึกษา

● ปัญหาการจัดการวางแผนพัฒนาชายฝั่งของภาครัฐ ให้เป็นท่าเรือน้ำลึก ซึ่งขัดแย้งกับ แผนความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจการออกเรือของชุมชนชายฝั่ง

● การสร้างการเรียนรู้ชุมชน

● ประสบการณ์การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชน

● การบริหารจัดการองค์กร และกำลังคนที่จะเป็นพี่เลี้ยงนักวิจัยชุมชน

● การออกแบบกลไกต่างๆ ที่จะบริหารจัดการโครงการ และการสร้างการเรียนรู้ร่วมของคนทำงาน

● ที่สำคัญ คือ การได้แลกเปลี่ยน ♡ ทุกข์ สุข ของการทำงานพัฒนาชุมชน



ขอขอบคุณ พี่ติ๋ม Ratana Kitikorn พี่เธนศ นายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ พี่ต๋องCheewan Khantam และทีม บังพงษ์ (สตูล) และทีม พี่ทิน (ตรัง) พี่แจง (ระนอง) ที่เอื้อโอกาสให้ได้เรียนรู้อย่างมากมายตลอดทั้งวัน

­

กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

18 พฤษภาคม 2557