เครื่องมือวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม
Atomdony Modtanoy

ห้องประชุมหาดประพาส จังหวัดระนอง

คุณพรทวี ยอดมงคล


  • นำเสนอเครื่องมือการวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม โดยคุณพรทวี  ยอดมงคล (ปุ้ย)

คุณพรทวี  ยอดมงคล  กล่าว ว่า เครื่องมือในการวิเคราะห์ชุมชนนั้น ในความเป็นจริงพี่เลี้ยงงานวิจัย หรือคนทำงานชุมชนส่วนใหญ่ก็ใช้กันมานานแล้ว แต่ที่ได้นำมาพัฒนาเป็น “หลักสูตร PRA” ก็เพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยหลักสูตร PRA ดังกล่าวเป็นหลักสูตรที่ คุณอรุณี เวียงแสง (อ้อย) นำมาถ่ายทอดให้พี่เลี้ยงงานวิจัยท้องถิ่นทางภาคเหนือใช้..

ใน การใช้เครื่องมือดังกล่าวถ้าเรามุ่งเป้าไปที่ข้อมูล เราก็จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ทำงานเองเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน แต่วัตถุประสงค์จริงๆ นั้นเราจะให้ชุมชนทำเพื่อดึงการมีส่วนร่วม ประเภทของเครื่องมือดังกล่าวคล้ายเครื่องมือทางมานุษยวิทยา เช่น แผนที่เดินเดิน แต่เราเรียกเป็นแผนที่รอบนอก-รอบใน ซึ่งจะมีหลายเครื่องมือโดยแต่ละเครื่องมือสามารถใช้เชื่อมโยงกันเพื่ออธิบาย เรื่องราวของชุมชนได้ เช่น ปฏิทินอาหารจากป่าจะเชื่อมโยงกับแผนที่รอบนอกในการอธิบายว่าชุมชนใช้ ทรัพยากรอย่างไร? มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร? โดยส่วนใหญ่เรามักโยงกับคำถามเพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูทรัพยากรในชุมชนเช่น เดียวกับเรื่องวัฒนธรรมบางอย่างที่หายไปว่าจะฟื้นฟูขึ้นมาไหม? เป็นต้น ส่วนปฏิทินชุมชนก็จะช่วยให้เห็นสภาพความเป็นจริงว่าชุมชนมีกิจกรรมในช่วงไหน และว่างช่วงไหนบ้าง? ซึ่งจะช่วยวางแผนในการพัฒนาได้ดี เช่น การทำอาชีพเสริมนั้นสอดคล้องกับประเพณีไหม?

 

 

สำหรับ โอ่งชีวิตจะใช้เพื่อดูรายรับ-รายจ่ายซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมของชุมชน ด้าน Time line ก็จะเป็นการชักชวนให้ช่วยกันดูประวัติศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งของชุมชนมาจน ถึงปัจจุบันว่าชุมชนปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ อย่างไร? และชวนมองว่าชุมชนมีศักยภาพในการปรับตัวตลอดเวลา เพียงแต่ไม่รู้ตัวว่ามีศักยภาพตรงนั้น รวมไปถึงมีเรื่องการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำงาน ประเด็นต่างๆ สรุปคือ เครื่องมือเหล่านี้ใช้ในการทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ แต่คนทำก็ต้องเชื่อมั่นในศักยภาพและความรู้ของชาวบ้านด้วยจึงจะใช้ได้ผลจริง

  • ภาพตัวอย่างเครื่องมือการวิเคราะห์ชุมชนแบบต่างๆ
  • แผนที่รอบใน: ทำเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน สามารถบอกที่ตั้งคนสำคัญ เช่น ปราชญ์ชาวบ้านได้





แผนที่รอบนอก: ใช้ดูเรื่องฐานทรัพยากรในพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่เป็นความเชื่อ พื้นที่เขตอนุรักษ์ พื้นที่ทำการเกษตร หรือ บริเวณจุดเสี่ยง เช่น ดินสไลด์ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในพื้นที่เพื่อวาง แผนการดูแลป่าในอนาคตได้ด้วย





เครื่อง มือแผนที่ทั้งแผนที่รอบนอก และแผนที่รอบใน มักจะเป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ในการลงชุมชนแรกๆ เพราะทำง่ายที่สุด โดยจะเป็นการจับปากกาเขียน วาดภาพ ซึ่งเหมาะกับคนในชุมชนที่มักจะไม่ถนัดเขียนแต่จะวาดรูปได้เพราะเขาจะรู้เส้น ทาง วิธีการทำ คือ ตอนแรกจะถามทิศก่อน แล้วลากเส้นหลักๆ เช่น แม่น้ำ ถนน จากนั้นจึงค่อยๆ ลงรายละเอียดไปเรื่อยๆ



ข้อ ดีของการทำแผนที่ทั้ง 2 แบบ คือ ชุมชนได้ทบทวนข้อมูล เห็นภาพการมีส่วนร่วมของคนในกลุ่มต่างๆ เช่น ผู้หญิงที่ไม่ค่อยกล้าพูดก็จะมาช่วยระบายสี เด็กก็จะชอบวาดรูป เป็นต้น แต่ก็มีข้อเสียคือส่วนใหญ่ทำแล้วชุมชนไม่ค่อยให้เอากลับมา มักจะเอาเก็บไว้ในชุมชน แต่ครั้งต่อไปที่ลงไปในพื้นที่ก็มักจะถามต่อยอดจากแผนที่เดิม บางชุมชนทำแล้วก็เอามาทำใหม่เพื่อเปรียบเทียบช่วงเวลา เช่น บ้านแม่นาเติง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีหน่วยงานเข้ามาทำงานในพื้นที่มาก ชุมชนก็จะเอาแผนที่ที่ทำมา up date ได้เรื่อยๆ ทั้งนี้ประโยชน์อีกข้อคือ ชุมชนสามารถนำแผนที่นี้มานำเสนอได้ แต่ก็มีบทเรียนที่ควรระวังคือ เคยมีพี่เลี้ยงทีมวิจัยนำแผนที่ที่ชุมชนทำในกระดาษไปลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาให้ แต่ปรากฎว่าชาวบ้านอธิบายไม่ได้ เขาไม่เข้าใจเพราะไม่ใช่สิ่งที่เขาทำเอง

 

 

  • ปฏิทินการผลิต-ปฏิทินฤดูกาล: ใช้ทบทวนวิถีการผลิตในรอบปี และการจัดการชีวิตในช่วงต่างๆ ที่จะไปปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานที่เข้ามาส่งเสริมในช่วงเวลาต่างๆ ว่าจะทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสมได้อย่างไร?