เพิ่มศักยภาพชุมชนในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
Atomdony Modtanoy

             ความรุนแรงมากมายขนาดนั้น หากเกิดบนแผ่นดิน แน่นอนว่าย่อมต้องส่งผลกระทบต่อตึกรามบ้านช่องบ้านเรือนผู้คน
อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้...

             แต่นี่...ไปเกิดใต้ท้องทะเลลึก จึงก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ขนาดมหมึมาสูงมากว่าตึก 5 ชั้นถ้าโถมเข้าใส่บ้านเรือนที่เรียงราย
อยู่ชายฝั่งทะเล

             ในประวัติศาสตร์ภัยพิบัติของประเทศ...ก็ไม่เคยมีบันทึกว่าเกิด สึนามิ มาก่อน...

 
             และพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547  ถือเป็นภัยธรรมชาติร้ายแรงที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยประสบมา ความรุนแรงของคลื่นยักษ์สร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ส่งผลให้โครงสร้างและความสัมพันธ์ทางสังคมของชุมชนหลายแห่งเปลี่ยนแปลงไป  บางเรื่องยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่ทำให้บางครอบครัวไม่สามารถประกอบอาชีพประมง ชายฝั่งได้เหมือนเดิม บางครอบครัวยังคงมีหนี้สินจากความเสียหายจากการประมงที่ลงทุนไปเมื่อครั้ง ก่อนเกิดเหตุการณ์  บางครอบครัวมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำอันเนื่องมาจากการสูญเสียหัวหน้าครอบ ครัวไปอย่างไม่มีวันกลับ
 

 

             แม้หลังเกิดพิบัติภัยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายภาคประชาชน ต่างระดมสรรพกำลังมาให้ความช่วยเหลือเยียวยาในรูปแบบต่างๆ อาทิ การมอบเงินช่วยเหลือ การจัดหาปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเยียวยาสภาพร่างกายและจิตใจ การปรับปรุงซ่อมแซมสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างที่ได้รับความเสียหาย การจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ฯลฯ โดยความช่วยเหลือต่างๆ มุ่งหวังเพื่อบรรเทาเยียวยาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย

             แม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะผ่านมาเกือบ 9 ปีแล้วก็ตาม  ความช่วยเหลือที่เคยมีอยู่มากมายได้ทยอยสิ้นสุดลง  แต่การช่วยเหลือส่วนใหญ่กลับไม่ได้ทำให้ขีดความสามารถในการจัดการตัวเองของ ชุมชนไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการจัดการทรัพยากรดีขึ้น 

            ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงร่วมมือกับมูลนิธิสยามกัมมาจลจัด ทำ “โครงการสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ”โดย มีพื้นที่การดำเนินการ ดังนี้ จังหวัดตรัง สตูล ระนอง โดยมุ่งหวังที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ให้กลายเป็นชุมชนที่สามารถบริหารจัดการตัวเองเพื่อคลี่คลายปัญหาหรืออุปสรรค ที่กำลังเผชิญอยู่ และพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนต้นแบบเพื่อขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

 

 

            สมพงษ์  หลีเคราะห์ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลเล่าว่า  โครงการ นี้เป็นการเข้าไปชักชวนคนในชุมชนมาสร้างกระบวนการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ว่าการทำงานพัฒนาชุมชนที่ดีจะเริ่มต้นจากเรื่องอะไร เพราะฉะนั้นหลายชุมชนที่ลงไปทำงานด้วยส่วนมากจึงเริ่มต้นที่การศึกษาข้อมูล ในพื้นที่ให้ครอบคลุมมากที่สุด

            “เพราะข้อมูลจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการทำงาน โดยมีทีมพี่เลี้ยงเข้ามาช่วยชี้แนะแนวทางเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจว่าแต่ละ พื้นที่ควรจะเริ่มต้นตรงไหนอย่างไร  หลังจากนั้นจึงจะมีการวางแผนการทำงานต่อไป โดยมีเครื่องมือหรือกระบวนการที่ทีมพี่เลี้ยงเข้าจัดกระบวนการเรียนให้ชุมชน เกิดแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่ต่อไป

            ในส่วนพื้นทีจังหวัดตรัง สุทิน สีสุข ผู้ช่วยผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดตรังกล่าวว่ากระบวน การวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่นำมาใช้ในโครงการนี้ขั้นแรกคือการดึงความร่วมมือ ของคนในชุมชนให้ร่วมร่วมค้นหาปัญหาของตัวเอง  หาสิ่งที่อยากจะแก้  เพื่อให้ชาวบ้านเห็นปัญหาของตัวเองตั้งแต่ต้น และเลือกปัญหาที่จะแก้ไขร่วมกัน 

            “และที่สำคัญคือชาวบ้านจะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของปัญหาว่านี่ คือปัญหาของตัวเอง เป็นปัญหาที่อยากทำแต่สิ่งทำต้องอยู่ภายใต้การจัดการข้อมูลของชุมชน  ไม่ใช่คิดว่าอยากทำก็ทำได้ แต่ต้องมีข้อมูลรองรับเพื่อหนุนเสริมการตั้งโจทย์ของชาวบ้าน  จะเห็นได้ว่าการทำงานของชุดโครงการนี้จะดึงการมีส่วนร่วมของชุมชนมาตั้งแต่ ต้น ทั้งนี้เพื่อให้ได้แกนหลักที่ตั้งใจทำงานจริง ๆ”   

            ด้านนางสาวณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดระนองกล่าวว่า การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ผ่านมามีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนลงไปช่วย เหลือค่อนข้างมาก โดยไม่ได้วิเคราะห์ฐานข้อมูลของชุมชนว่า พวกเขาต้องการความช่วยเหลือในด้านใดบ้าง บางชุมชนมีต้นทุนด้านคนที่สามารถขับเคลื่อนหรือต่อยอดความช่วยเหลือได้  แต่บางชุมชนกลับพบว่าความช่วยเหลือที่ผ่านมาไม่ตรงกับความต้องการของชาว บ้าน ส่งผลให้การดำเนินงานต้องหยุดลง  ขณะนี้ตนเชื่อว่าแต่ละชุมชนในพื้นที่ประสบภัยต่างมีบทเรียนเรื่องการรับความ ช่วยเหลือกันมาแล้ว 

            “สำหรับจังหวัดระนองจะมี 3 พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการนี้คือชุมชนบ้านกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนองซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด  ต่อมาคือชุมชนบ้านทะเลนอก และชุมชนบ้านบางกล้วยนอก  เนื่องจากพบว่าทั้ง 3 ชุมชนนี้มีต้นทุนฐานข้อมูลชุมชนจากเหตุการณ์สึนามิค่อนข้างดี  และมีกลุ่มคนลุกขึ้นมาทำงานของชุมชนหลายกลุ่ม  เช่น กองทุนวันละบาท ที่ผ่านมาการจัดการกองทุนยังไม่ค่อยเป็นระบบเท่าที่ควร  โครงการนี้จึงเข้าไปต่อยอดเรื่องกระบวนการเรียนรู้  ด้วยการเข้าไปเสริมเรื่องวิธีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ในเรื่องบัญชีสมาชิกกองทุน ทะเบียนเด็กกำพร้า  เป็นต้น ซึ่งโครงการนี้จะช่วยปลูกจิตสำนึกการเป็นผู้ให้และผู้รับในชุมชนได้อีกทาง หนึ่ง

 

 
            กล่าวสำหรับ โครงการเสริมสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิมีกระบวน การสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเอง 4 ช่วงหลัก ๆ  ได้แก่ ช่วงค้นคนเป็น ช่วงของการค้นหาแกนนำที่มีความเหมาะสม สามารถเห็นทิศทางและภาพรวมของการพัฒนาชุมชน และเป็นแกนนำของกลุ่มในพื้นที่ที่มีการขับเคลื่อนงานทางสังคมอย่างต่อ เนื่อง  โดยทีมพื้นที่จะทำความเข้าใจเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน  และอาศัยแกนนำดังกล่าวทำหน้าที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน และประสานงานในพื้นที่ ช่วงค้นข้อมูลเป็นช่วงการวิเคราะห์ สภาพบริบทของพื้นที่ ค้นหาปัญหา สาเหตุ และความต้องการของพื้นที่ รวมถึงความรู้ที่จำเป็นต้องนำมาใช้แก้ปัญหา  ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทีมพื้นที่และทีมชุมชน ช่วงลงมือทำเป็น ช่วงที่ทางทีมชุมชนนำข้อมูลและความรู้ที่ได้จากช่วงค้นข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วออกแบบเป็นแผนงานของชุมชนเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองให้มี ความสมบูรณ์ จากนั้นจึงลงมือปฏิบัติการตามแผนงานที่วางไว้ซึ่งในช่วงนี้ทีมพื้นที่จะมี การติดตามการดำเนินงานเป็นระยะ ช่วงสรุปผลเป็นช่วงสรุปผลที่ได้จากการทดลองปฏิบัติการตามแผนงานของชุมชนที่วางไว้ และนำเสนอผลดังกล่าวในเวทีระดับจังหวัดต่อไป