โครงการชุมชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ระยะที่ 2
ฅ.ค้นคว้า

  

           โครงการชุมชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิระยะ 2 ในครั้งนี้เป็นการทบทวนเป้าหมายโครงการสึนามิ และทำความเข้าใจเป้าหมายร่วม แนวทางในการขับเคลื่อน
โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ 1.ทีมเครือข่ายชาวบ้านจังหวัดระนอง (บ้านกำพวน,บ้านบางกล้วยนอก) จังหวัดสตูล (ตำบลขอนคลาน,บ้านหลอมปืน,บ้านบ่อเจ็ดลูก,บ้านบุโบย) จังหวัดตรัง (เกาะสุกร,หาดยาว-เจ้าไหม,คลองชีล้อม) 2.พี่เลี้ยงโครงการระดับจังหวัด 3.เจ้าหน้าที่ดูแลโครงการมูลนิธิสยามกัมมาจลและมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัดขึ้น ณ โรงแรม ดิโอวาเลย์ สุราษฏธานี วันที่ 23-24 สิงหาคม 2557

­

         "กิจกรรม Check In" พี่เชษฐ์ได้ให้โจทย์กับชาวบ้าน โดยให้จับคู่ มีชุมชนที่เข้าร่วมในครั้งนี้ 8 ชุมชน คือ บ้านบางกล้วยนอก ,เกาะสุกร ,หาดยาว-เจ้าไหม ,คลองชีล้อม ,ตำบลขอนคลาน ,บ้านหลอนปืน , บ้านบ่อเจ็ด และบ้านบุโบย โดยให้โจทย์ดังนี้
- หลังจากผ่านโครงการสึนามิฯ ระยะที่ 1 ท่านคิดหรือเห็นหรือรับรู้ว่าชุมชนของท่านได้รับอะไรหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างจากการดำเนินโครงการ
- การมาร่วมกิจกรรม 2 วันนี้ ท่านคาดหวังอะไรบ้าง
ตัวแทนจาก หลอมปืน บอกว่า"อยากเห็นการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นกลุ่ม อย่างเป็นรูปธรรม"
ตัวแทนจาก หาดยาว-เจ้าไหม บอกว่า "ในชุมชนตั้งแต่ทำโครงการนี้มีผลิตภัทณ์เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง เช่น ปลาเค็ม กะปิ และจากการมาร่วมกิจกรรมใน 2 วันนี้ อยากได้ความรู้ไปพัฒนาชุมชนหาดยาวฯ"

­

     

­

          คุณชีวัน ขันธรรม หรือ'พี่ต๋อง' หัวหน้าโครงการจากมูลนิธิสถาบันวิจัยท้องถิ่นชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการชุมชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ระยะที่ 2 ในครั้งนี้ว่า "อยากชวนพี่น้องมาทบทวนงานในโครงการฯ ระยะที่ 1 ว่าได้บทเรียนอะไร และทุนเดิมจากระยะที่ 1 มีแค่ไหน หลังจากมองย้อนไปในระยะที่ 1 แล้วอยากให้มองไปถึงเป้าหมายปลายการขับเคลื่อนโครงการในอนาคตร่วมกันด้วย"

ทบทวนเป้าหมายโครงการสึนามิฯ ร่วมกัน
"ความคิดเบื้องหลัง 3 เรื่องหลัก"
1.ให้โอกาส
2.สร้างการเรียนรู้ (ขับเคลื่อนด้วย R D M S)
3.สู่การเปลี่ยนแปลง (สร้างแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้มาเรียนรู้ และนำไปใช้)
โดยคาดหวังว่า "โครงการจบ แต่งานไม่จบ"

­

"นิยามความหมายของ R D M S"
R = Research หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในกระบวนการดำเนินการของโครงการชุมชนจัดการตนเองภายใต้พื้นที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ ของพื้นที่ชุมชนในระยะที่ 1 ที่ผ่านมา
D = Development หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา มาสู่การพัฒนาหรือแก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์โครงการของแต่ละพื้นที่
M = Movement หมายถึง การสร้างความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นโครงการในเชิงนโยบาย หรือการเชื่อมร้อยองค์กร หรือการเผยแพร่สู่สื่อประชาสัมพันธ์ อันเป็นการเผยแพร่ความคิด วิธีการ หรือมุมมองที่สามารถสร้างแรงหนุนเสริมแก่โครงการได้
S = Stakeholders หมายถึง กลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

R D M S เครื่องมือที่ให้ชุมชนวิเคราะห์โครงการที่ตนเองศึกษา ซึ่งนำไปสู่โจทย์ที่จะทำในกิจกรรม"วิเคราะห์การดำเนินงานที่ผ่านมา" โดยที่พี่เชษฐ์เป็นคนดำเนินรายการ

          มะเสียะ สาหลัง จากบ้านบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล เล่าถึงที่มาที่ทำโครงการศึกษาและพัฒนาวิธีปลูกพืชปลอดสารพิษสู่การท่องเที่ยว ว่า"ดินบ้านเรามันเสียเพราะใช้ปุ๋ยเคมีเยอะ ก็เลยริเริ่มใช้ปุ๋ยทำเองมาปลูก ทั้งฟักทอง บวก แต่เนื่องจากดินเสียมานาน เลยได้เเค่ถั่วผักยาวที่สามารถนำส่งออกได้ แถมยังมีไว้กินเองด้วย"

"กิจกรรมเล่าสู่กันฟัง" เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์โครงการตนเอง
ยกตัวอย่างทีมแรก 'บ้านบ่อเจ็ดลูก' จากจังหวัดสตูล กับ'โครงการศึกษาและพัฒนาวิธีปลอดสารพิษ วิเคราะห์ 'R D M S' คือ
R - หาข้อมูลในชุมชน สำรวจวัตถุดิบ อบรมทำปุ๋ย และศึกษาดูงาน
S - ทีมงาน พี่เลี้ยง เยาวชน คนชรา ปราญช์ อสม. กรรมการหมู่บ้าน คนในชุมชน สำนักงานเกษตร
D - ทำปุ๋ยหมัก ทดสอบปลูก เก็บเมล็ดพันธ์ แปรรูป ขยายเมล็ดพันธ์ุ
M - ชุมชนใกล้เคียง วิทยากรระดับจังหวัด ททท.นำเยาวชน นักท่องเที่ยว ออกบูธกิจกรรมต่างๆ และเวทีขับเคลื่อนโครงการชุมชนจัดการตนเอง

          คลองชีล้อม 'โครงการการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนและการสร้างจิตสำนึกรักษาทรัพยากรตำบลคลองชีล้อมแก่คนรุ่นใหม่เพื่อให้เกิดความยั่งยืน' เชื่อว่ากลุ่มนี้เน้นการพัฒนาคนรุ่นใหม่ วันนี้มาเสนอกิจกรรมการประกอบอาชีพในตำบล ระยะที่ 1 แต่ต่อไปอีก 4-5 ปี น้องๆ และพี่ๆ ในกลุ่มนี้อาจเป็นแกนนำสำคัญในตำบลคลองชีล้อมต่อไป

­

            กระบวนการถอดบทเรียน ได้เรียนรู้อะไรจาก เครื่องมือ R D M S ตัวแทนจากบ้านกล้วยนอกบอกว่ "เป็นสิ่งใหม่ที่ได้เรียนรู้ เพราะทางชุมชนไม่เคยได้ทำเกี่ยวกับ R D M S ซึ่งมีกระบวนการทำเป็นขั้นตอน ทำให้ดูง่ายกว่า และไม่ซ้ำในเรื่องข้อมูล เนื้อหา และแตกไปเรื่องของการพัฒนาโจทย์ เป็นเครื่องมือที่ดีมากทำให้เห็นภาคีเครือข่ายชัดเจน"


               

            'เพิ่มเติมแนวคิดชุมชนจัดการตัวเอง' วิเคราะห์โอกาส เห็นคน/เรื่อง/งาน/พื้นที่ขยายผล/หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องสู่การพัฒนาหรือยกระดับต่อได้อย่างไร โดยคุณสมพงษ์ หลีเคราะห์ "พี่พงษ์"


          ในการขับเคลื่อนโครงการชุมชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิระยะที่ 2 นี้ จะเน้นการทบทวนกระบวนการทำงานที่ผ่านมาทั้ง 4 ส่วน คือความรู้ ข้อมูล มีการลงมือทำ และสร้างกระบวนการขับเคลื่อนเชื่อมโยงไปสู่คนที่เกี่ยวข้อง ชีวัน ขันธรรม  ผู้จัดการมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น

'Check out' กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้
ชุมชนบ้านบุโบย จังหวัดสตูล ได้มาแลกเปลี่ยนกระบวนการว่ "ตอนแรกคิดว่าการวิเคราะห์ R D M S จะเข้าใจยากและทำให้เครียด แต่พอมาได้ลองทำไม่ยากอย่างที่คิด และนอกจากจะได้เรียนรู้แล้วยังได้เเลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นๆ อีก"

­

 

        'ทบทวนการเรียนรู้วันแรก' ในกิจกรรมนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทบทวนความรู้ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวันแรกโจทย์คือ

- เข้าใจคำว่า 'ชุมชนบริหารจัดการตนเอง' หรือไม่
บ้านกล้วยนอกได้ให้ความหมายของ'ชุมชนบริหารจัดการตนเอง' ว่า "ชุมชนสามรถจัดการตนเองได้ในแต่ละชุมชน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันก่อนที่จะให้หน่วยงานภาครัฐมาช่วยเหลือ"



­

จากโจทย์ที่ว่าเข้าใจคำว่า 'ชุมชนบริหารจัดการตนเอง' หรือไม่
บ้านบ่อเจ็ดลูกได้ให้ความหมายว่า "ในชุมชนของเรามีการร่วมตัวกันในหมู่บ้าน มีชาวบ้าน กลุ่มแม่บ้านวางแผนว่าชุมชนจะเป็นไปในทิศทางไหน เช่น เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวจะนำอะไรมาให้ในชุมชนของเรา และเราปกครองกันเอง ช่วยเหลือกันเองในชุมชน มีการกำหนดระเบียบของชุมชนขึ้นมา มีการขับเคลื่อนในชุมชน ตอนนี้มีการจัดสภากาแฟขึ้นมาในชุมชน มีคนในชุมชนเข้าร่วมมากมาย ทั้งหมอ ผู้ใหญ่บ้าน และนำเอาปัญหามาวิเคราะห์กันและหาแนวทางแก้ไข เพื่อจะก้าวไปข้างหน้าต่อไป"


'แบ่งกลุ่มวางแผนงานโครงการระยะที่ 2'
- แผนโครงการที่จะกลับไปทำ (เห็นขั้นตอนในการขับเคลื่อนแต่ละช่วง โดยนำกระบวนการ R D M S มาใช้)
ตอนนี้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ แต่ละกลุ่มกำลังขะมักเขม้นกับโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

นำเสนอแผนงานโครงการ (เสนอแผนรายจังหวัด) เรียงลำดับดังนี้
1.บ้านบางกล้วยนอก ในประเด็นสุภาพ
2.บ้านบ่อเจ็ดลูก ในประเด็นการจัดระบบชุมชน
3.หาดยาว-เจ้าไหม ในประเด็นโรงเรียนศูนย์เรียนรู้
4.เกาะสุกร ในประเด็นนาอินทรีย์
5.ตำบลขอนคลาน ในประเด็นการจัดการทรัพยากรอาหาร
6.บ้านหลอมปืน ในประเด็นการจัดการทรัพยากร
7.บ้านบุโบย ในประเด็นธนาคารปู
8.คลองชีล้อม ในประเด็นป่าชายเลน

ส่วนในลายละเอียดผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่http://www.scbfoundation.com/

­

         สรุปเวที 'โครงการการขับเคลื่อนโครงการชุมชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ระยะที่ 2' พี่พงษ์ได้ให้โจทย์ว่าที่สิ่งที่มาเรียนรู้ในครั้งนี้ ชาวบ้านได้อะไรบ้าง
สิ่งสำคัญในงานนี้คือข้อมูลที่ทำให้งานเคลื่อนคือ R และ D จะนำข้อมูลมาใช้ต่ออย่างไร M และ S เรารู้ว่ามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอะไร ทำอะไรบ้าง
กระบวนการหลักๆ ของการสร้างชุมชนคือ R D M S สิ่งที่เราต้องทำคือวิเคราะห์งานชุมชนบริหารจัดการตนเอ

สุดท้ายนี้ฝากข้อคิดให้ชุมชนว่า"เราไม่ได้ทำงานเพื่อใคร แต่เราทำงานเพื่อบ้านของเราเอง"

­