4 วิธีของการฟัง เพื่อทำความเข้าใจเกิดการมีส่วนร่วม
suttiwat naskan

กระบวนการหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อเรื่องต่างๆ เกิดการมีส่วนร่วมได้ดียิ่งขึ้นนั้น สามารถเริ่มต้นด้วย "การฟัง"    สิ่งต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อทำความเข้าใจความคิดของคู่สนทนา

­

วันนี้เลยขอเสนอ 4 วิธีของการฟัง ให้น้องๆ ได้พอเห็นภาพและประโยชน์


1. Downloading คือ การฟังแบบรับสาร รับข้อมูลอยู่ฝ่ายเดียว ไม่มีโอกาสในการคิดในการแลกเปลี่ยน ทำให้คุณภาพในการรับรู้ข้อมูลมีขีดจำกัด ทำให้บางครั้งผู้ฟังอาจไม่ได้ตั้งใจเท่าที่ควร รวมถึงอาจจะฟังแบบเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาก็เป็นได้

­

2. Debating คือ การฟังแลัวสามารถตอบโต้ในสิ่งที่ตนเองคิดได้ การฟังแล้วสามารถแลกเปลี่ยนได้แบบนี้ทำให้คู่สนทนารู้สึกว่าตนเองมีบทบาทในการสนทนา แต่คุณภาพของการสนนานั้นอาจไม่ได้มากกว่าการแลกเปลี่ยนความคิด อาจไม่ได้สิ่งใหม่เกิดขึ้น หรือย่ำอยู่กับที่

­

­

3. Dialogue คือ การเปิดใจฟัง เพื่อทำความเข้าใจเบื้องหลังความคิดของคู่สนทนาว่า ทำไมเขาถึงแสดงความคิดเห็นแบบนั้น การฟังแบบนี้จะช่วยทำให้ตนเองลดอัตตา ลดความคิดของตนเองลง ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสนทนามากขึ้น ลดความขัดแย้งทางความคิด และอาจเกิดสิ่งใหม่ขึ้น

­

4. Presencing คือ การฟังที่มากกว่าความเข้าใจเบื้องหลังความคิดของคู่สนทนา แต่สามารถแปลสารจากสิ่งที่ได้ฟังว่า อีกฝ่ายคิดและต้องการอะไรจากเบื้องหลังความคิดนั้น เหมือนเวลาที่เราคุยกับใครซักคนแล้วเกิดไอเดีย ปิ๊งแว้บขึ้นมา หรือแบบว่า เออใช่... อะไรประมาณนี้ แต่การฟังให้เกิดสิ่งใหม่แบบนี้ต้องใช้เวลาฝึกฝนสมาธิ ประสบการณ์ และเปิดใจ พร้อมทั้งทำความเข้าใจคู่สนทนาให้มากที่สุด

­

น้องๆ สามารถฝึกฝนและนำเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียน การทำงานกลุ่ม หรือการทำงานในชุมชนได้ เพื่อทำความเข้าใจคนที่เราทำงานด้วย ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์งานใหม่ และเกิดความร่วมมือของคนในทีม หรือชุมชนได้เป็นอย่างดี


ศุทธิวัต นัสการ ( พี่โต้งไก่ )

(www.facebook.com/TKSCBF)