ความเข้าใจเบื้องต้นกับการทำงาน โครงการ ด้านวัฒนธรรม
suttiwat naskan

จะทำอย่างไรให้การทำงานที่เกี่ยวกับด้านวัฒนธรรม เป็นงานที่ยั่งยืน

หลายครั้งที่มีโอกาสในการทำงานร่วมกับน้องๆ  จะพบว่าลักษณะโครงงาน

เชิงวัฒนธรรม  จะเป็นไปในแนวทางของ

­

1. การแสดงให้คนภายนอกรับรู้ว่ามีเรื่องแบบนี้อยู่นะ

­

2. การจัดกิจกรรมให้คนมาร่วมทำ ร่วมแสดง ร่วมประดิษฐ์ ร่วมเรียน 

วัฒนธรรมเหล่านั้น

­

3. การจัดประกวด แข่งขัน

­

แต่แท้จริงแล้ววัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของความภาคภูมิใจของท้องถิ่น

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นเลยก็คือว่า

­

1. สิ่งนั้นเป็น “วัฒนธรรม” จริงหรือไม่ หรือเป็นแค่วิถีชีวิต และ ประเพณี 

จะได้รู้ระดับความสำคัญและลำดับของโครงการที่จะทำได้ถูกต้อง

­

2. สิ่งนั้นมีความเกี่ยวข้องอะไรกับการดำเนินชีวิต มีความเชื่อมโยงกับ

มิติทางสังคม เศรษฐกิจ หรืออื่นๆ อย่างไร  เพื่อที่จะได้เห็นตัวละครที่สำคัญ

ที่เกี่ยวข้อง ผู้ถ่ายทอด และผู้รับช่วงต่อ

­

3. อะไรเป็นสาเหตุให้วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ เหล่านั้นสูญหาย

หรือลบเลือนไป ถ้าเมื่อไม่มีแล้ว ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของ

ผู้คนอย่างไร ถ้ามันกลับมา จะดีขึ้นหรือส่งเสริมอะไร  เพราะสิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจ

ก็คือ วัฒนธรรมสามารถเปลี่ยนแปลง ได้ตามเวลา วัฒนธรรมหนึ่งอาจะดีงาม

ในช่วงเวลาหนึ่ง เท่านั้น

­

4. วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่เรียนรู้เพียงครั้งเดียวแล้วจดจำ วัฒนธรรม คือ 

การผลิตซ้ำ การทำซ้ำๆ การเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และถ่ายทอดต่อไป  

เพราะฉะนั้นถ้าเราจับกลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง และทำให้เกิดความต่อเนื่อง 

สิ่งเหล่านั้นก็จะถูกฝังลงในระบบคิด ความเชื่อ และออกมาเป็นพฤติกรรม

­

5. การวัดผลอาจต้องมองมุมกลับ คือ ไม่ได้มองจำนวนของคนที่มาเข้าร่วม

หรือทำกิจกรรมเป็นหลัก แต่อาจต้องมองถึงคุณค่าที่เราถ่ายทอดให้ว่าผู้รับ 

เกิดความเข้าใจอย่างไร และสามารถต่อยอดหรือจะรักษาวัฒนธรรมนั้น

ต่อไปได้อย่างไร ถึงจะเกิดความยั่งยืน