เวทีความคิดจาก: ศูนย์การเรียนรู้บ้านแพลอยน้ำและพึ่งพาตนเองในสถานการณ์ฉุกเฉิน
Aoh Omicute

­

กิจกรรมทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายสำคัญหลัก คือ การจัดการเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้เวลาเกิดเหตุอุทกภัย เน้นการพึ่งพาตนเองและเอาตัวให้รอดจากภาวะวิกฤต ซึ่งบางนวัตกรรมนั้น สามารถที่จะใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องรอให้เกิดเหตุอุทกภัย และเป็นการประหยัดพลังงานด้วยเช่น การหุงข้าวด้วยเตาแสงอาทิตย์ เป็นต้น ความรู้นวัตกรรมต่างๆของศูนย์การเรียนรู้นี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว และได้มีผู้เข้าเยี่ยมชม ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ยิ่งเวลาผ่านไป องค์ความรู้ที่ให้และได้รับ ยิ่งถูกต่อเติมและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จะทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับ บริบทท้องถิ่นของตนเองต่อไป


โรงเรียนสัตยาไสเป็นโรงเรียนประจำที่เน้นการสอนควบคู่กับหลักคุณธรรม ทำเลตั้งอยู่กลางสภาพแวดล้อมด้วยธรรมชาติ ปลูกข้าว และผลิตของใช้ขึ้นใช้เองภายในโรงเรียน อยู่อย่างพอเพียงและพึ่งตนเองได้  และยังเป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาดูงานในหลายด้าน อาทิเช่น ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน ศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ยุวเกษตร การทำเกษตรอินทรีย์ นา โยน การผลิตน้ำดื่มน้ำใช้ การฝึกสมาธิ การผลิตน้ำยาล้างจาน สบู่ ยาสระผม น้ำยาล้างห้องน้ำ ยาสมุนไพร และเมื่อปลายปี 2554 ทางสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนได้ประ ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ทุกๆสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการประกวดนวัตกรรมที่เกี่ยวกับเรื่อง ของอุทกภัย ทางโรงเรียนได้ส่งโครงการ"บ้านแพลอยน้ำ" และผ่านการพิจารณา ซึ่งหลักการของบ้านแพลอยน้ำนั้นจะสร้างขึ้นเพื่อ เรียนรู้การอยู่กับน้ำ  การพึ่งตนเอง ประกอบไปด้วย นวัตกรรมการเรียนรู้ 6 ด้านในขั้นต้น ดังนี้

­

  1. การผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ สำหรับบ้านแพ
  2. การปลูกพืชผักลอยน้ำสำหรับรับประทาน
  3. การปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์ ในบ้านแพ
  4. การกลั่นและกรองน้ำ สำหรับบริโภคและอุปโภค
  5. การหุงข้าวด้วยเตาแสงอาทิตย์
  6. การผลิต โบคาฉิ บอล บำบัดน้ำเสีย

กิจกรรมทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายสำคัญหลัก คือ การจัดการเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้เวลาเกิดเหตุอุทกภัย เน้นการพึ่งพาตนเองและเอาตัวให้รอดจากภาวะวิกฤต  ซึ่งบางนวัตกรรมนั้น สามารถที่จะใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องรอให้เกิดเหตุอุทกภัย  และเป็นการประหยัดพลังงานด้วยเช่น การหุงข้าวด้วยเตาแสงอาทิตย์  เป็นต้น  ความรู้นวัตกรรมต่างๆของศูนย์การเรียนรู้นี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว และได้มีผู้เข้าเยี่ยมชม ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ยิ่งเวลาผ่านไป องค์ความรู้ที่ให้และได้รับ ยิ่งถูกต่อเติมและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จะทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับ บริบทท้องถิ่นของตนเองต่อไป

­

วัตถุประสงค์


  1. เพื่อให้เกิดการมีส่วมร่วมในการคิด  วิเคราะห์ วางแผนการดำเนินงาน และการประเมินผล ร่วมกัน
  2. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
  3. เพื่อให้เกิดนวัตกรรม ที่เหมาะสมกับบริบทของโครงการ แบบบูรณาการ และยั่งยืน
  4. เพื่อวิเคราะห์ กิจกรรมแบบการสอน ให้เหมาะกับ กลุ่มบุคคล ที่จะเข้ารับความรู้
  5. เพื่อเป็นต้นแบบในการถอดบทเรียนและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อเป็นแนวทางในการประชุมครั้งต่อไป
     

เป้าหมาย

เด็กนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง คณะศึกษาดูงาน ชุมชนรอบๆโรงเรียนสัตยาไส  โรงเรียนเครือข่าย

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 

  1. ผู้เรียนได้รับความรู้จากโครงการ"บ้านลอยน้ำ"
  2. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบท ชุมชนของตนเองได้
  3. ชุมชนรอบโรงเรียนได้รับความรู้และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
  4. เกิดโรงเรียนเครือข่ายเพื่อขยายความรู้ ออกไปสู่ชุมชนอื่นได้
  5. เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้ในระหว่าง ที่ศูนย์การเรียนรู้เปิดดำเนินการ ทั้งจาก ตัวนักเรียน ครู คณะผู้เยี่ยมชมต่างๆ

 

วิธีการดำเนินโครงการ
 

  1. ประชุมกลุ่มคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์ วางแผนงาน และแบ่งหน้าที่กันทำ ภายในกลุ่ม
  2. ประเมิน รายละเอียดของกิจกรรมและภาระงานเพื่อจัดสรรค์งบประมาณดำเนินงาน ด้านต่างๆ เช่น การออกสำรวจแบบ "บ้านแพลอยน้ำ" เสนอโครงการขอ งบประมาณในการสร้างบ้านแพ เตรียมองค์ความรู้และ นวัตกรรมต่างๆ
  3. จัดการ เรียนการสอนแบบบูรณาการให้กับนักเรียนทั้งโรงเรียนสัตยาไส โดยแบ่งเป็นช่วงชั้น เพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เพื่อให้ความรู้และสร้าง วิทยากร นักเรียนขึ้นมา
  4. ให้ความรู้ภายในองกรค์ โดยจัดการอบรมให้กับ คณะครูที่ไม่ได้อยู่ในโครงการ และ  บุคลากร ของโรงเรียน
  5. จัดกิจกรรมให้นักเรียน เป็นวิทยากร ให้ความรู้กับ ผู้ปกครอง
  6. แบ่งหน้าที่กันเป็นวิทยากร ในวันที่มีคณะมาศึกษาดูงานเยี่ยมชมโรงเรียน
  7. จัดกลุ่มออกไปให้ความรู้กับชุมชนรอบโรงเรียน
  8. จัดประชุม การถอดบทเรียน ขึ้นเป็นประจำ เพื่อพัฒนาและรวบรวมองค์ ความรู้ใหม่ๆ ตลอดจนเชื่อมโยงโรงเรียนเครือข่ายที่เกิดขึ้น
  9. ติดตามประเมินผลโครงการ
     

ระยะเวลาการดำเนินโครงการ

เดือนกุมภาพันธุ์ 2555 เดือนธันวาคม 2555 (ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน)

­