โครงการศึกษาดูงานในพื้นที่ และจัดประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 1/2558
Nathchida Insaart

โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4ภาค) ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว

วันที่ 5-6 เมษายน 2558
ณ โรงแรมสุรินทร์มาเจสติก จ.สุรินทร์



เปิดเวที

คุณสุทิน ศิรินคร ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการฯ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) รายงานความเป็นมาและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ “การมีหลักสูตรนักถักทอชุมชน ทำให้เห็นน้องๆ เยาวชนเข้ามาจัดการเรียนรู้หลักสูตรร่วมกับผู้ใหญ่ อยากเห็นพื้นที่ได้มีโอกาสนำเสนอความก้าวหน้าโครงการของตนเองให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้รับทราบ โดยมี 4 พื้นที่เป็นตัวอย่างนำร่องนำเสนอ ได้แก่ ทต.เมืองแก อบต.หนองอียอง อบต.หนองสนิท อบต.เมืองลีง”
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนกลางและพื้นที่จ.สุรินทร์ ให้เกียรติเข้าร่วมงานได้แก
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการ มูลนิธิสยามกัมมาจล
คุณหญิงชฏา วัฒนธศิริธรรม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
คุณนงนาท สนธิสุวรรณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
รศ.ประภัทร นิยม สถาบันอาศรมศิลป์
ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย สกว.
รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกุล สกว.
ผศ.ประวัติ สมเป็น คณะครุศาสตร์เกษตร มรภ.สุรินทร์
สาริกา ตรีรัตนาพิทักษ์ พม.
ดร.เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
คุณวิลาสินี ดอนเงิน สสส.
คุณสุดใจ พรหมเกิด สสส.
คุณอำนวย ชูหนู PDA
คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจ
คุณชิษณุวัฒน์ มณีศรีขำ วิจัยท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม

­

­

ที่มาของหลักสูตรนักถักทอชุมชน
อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผ.อ. สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) นำเสนอภาพรวมในการดำเนินงานหลักสูตรนักถักทอชุมชน
“เป็นหลักสูตรที่ดึงการเข้าไปมีส่วนร่วมถักทอในภาคส่วนต่างๆ ให้แกนนำเยาวชนทำโครงงานการมีหลักสูตรนักถักทอชุมชน เพราะอยากเห็นข้าราชการท้องถิ่นลงไปคลุกกับชุมชน จากการวิเคราะห์ท้องถิ่น ขาดการทำงานเป็นทีม และขาดการมีส่วนร่วมในชุมชน จึงเป็นที่มาของหลักสูตร นักถักทอในชุมชน ตนใช้ประสบการณ์ 20 มาเป็นหลักสูตร ในลักษณะ on the jop training พบตัวอย่างดีๆ หลายๆ พื้นที่ เพื่อจัดการการศึกษาของพื้นที่ตนเองมีความสุขในการช่วยน้องๆ นักถักทอชุมชน ทำงานที่มีความหมายเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ”

­

­

­

­

ทต.เมืองแก นำเสนอความก้าวหน้า...
คุณสุรศักดิ์ สิงห์หาร ปลัดเทศบาลตำบลเมืองแก อ.เมือง จ.สุรินทร์
“บทบาทของเทศบาลในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนและครอบครัว”
นโยบายท่านนายกฯ บอกว่าถ้าไม่ลงทุนกับเยาวชนในวันนี้ ก็เท่ากับไม่ลงทุนกับอนาคตงานเยาวชนเป็นงานที่เข้าใจ และต้องใส่ใจ ให้เราสร้างภูมิคุ้มกันให้กับอนาคต จึงมาคิดเรื่องการสร้างทีม หลังจากส่งเจ้าหน้าที่เข้าหลักสูตรนักถักทอชุมชนทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงภายในทต.เมืองแก จากต่างคนต่างทำ เป็นร่วมมือร่วมใจจนเกิดสัมฤทธิ์ผล
ตัวอย่างกิจกรรมที่เห็นผลกิจกรรมกิน กอด เล่น เล่า ขยายไป 4 ศูนย์ มีผู้ปกครองสองร้อยกว่าคน เด็กในตำบลมีการกินอยู่ และความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้น

­

­

­

­

โมเดลสร้างแกนนำเยาวชนรุ่นต่อรุ่น
อบต.หนองอียอ นำเสนอบทบาทของอบต.ในการพัฒนาแกนนำเยาวชนรุ่นต่อรุ่นผ่านความร่วมมือของโรงเรียน ชุมชน ผ่านการทำโครงการ นำทีมนำเสนอโดยนายสมเกียรติ สาระหัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.หนองอียอได้พัฒนาเด็ก เยาวชน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น จุดเริ่มต้นแนวคิดมาจากการเข้าร่วมเป็นนักถักทอชุมชน หลักสูตรได้แนะนำให้พาเยาวชนเข้าค่ายยุวโพธิชน ค่ายเยาวชน 21 วัน ค่ายนี้ได้สร้างจิตสำนึกให้เด็กๆ มีความรักในถิ่นฐานของตนเอง การคิดวิเคราะห์ การทำดีในชุมชน ผลจากค่ายเกิดโครงการปั้นดินเป็นดาว เป็นโครงงานเยาวชนที่อยากให้เกิดแกนนำเยาวชนรุ่นต่อรุ่นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ ผลที่ปรากฏชัดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งลดลง เด็กเรียนกลางคั่นลดลง

­

­

­

­

แหล่งเรียนรู้ชุมชนพัฒนาเยาวชน

อบต.หนองสนิท นำเสนอบทบาทของอบต.กับการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยคุณจินตนา แกล้วกล้า หัวหน้าสำนักงานปลัด นำเสนอการดำเนินงานที่ผ่านมา..
-อบต.จัดทำฐานเรียนรู้และโครงงาน ในชุมชน จัดเพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินของชุมชน โดยเยาวชนเป็นผู้เลือกโครงงานประจำหมู่บ้านของตนเอง
-เยาวชนได้เรียนรู้และสืบทอด และเป็นการฝึกทักษะเรื่องความรู้และการจัดการ
-การเปลี่ยนแปลงของเยาวชน การยอมรับความแตกต่างของเยาวชน สามารถทำงานกับคนอื่นได้ หลังจากชอบเก็บตัว มีความอดทน มีความรับผิดชอบ มีจิตอาสาในการทำงานให้ชุมช
-เยาวชนเป็นกำลังสำคัญให้ชุมชน และไม่มีการตีกันแล้วในหมู่บ้าน
-การคัดเลือกโครงงานและฐานการเรียนเด่นๆ แต่ละหมู่บ้านพัฒนาสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ของตำบลจัดเป็นหลักสูตร เพื่อให้เด็กมีทักษะวิชาชีวิต วิชาชุมชน วิชาชีพ และ วิชาการ เพื่อพัฒนาเยาวชนสู่อาชีพ

­

เด็กกลุ่มเสี่ยงไม่ควรถูกทิ้ง
อบต.เมืองลีง นำเสนอประเด็นอบต.กับการพัฒนาเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดย นายประเสริฐ สุขจิต นายกอบต.เมืองลีง
-ทำอย่างไรให้นำศักยภาพของเด็กกลุ่มเสี่ยงออกมา เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
-เด็กกลุ่มเสี่ยงเมื่อได้รับสัมผัสว่าเมื่อตอนเป็นครู ทำให้เห็นว่าเด็กกลุ่มนี้เวลาทำกิจกรรมกลับทำได้ดีกว่าเด็กเรียนดี
-หลังจากผ่านค่าย 21 วัน เด็กกลับมาทำโครงงาน มีโครงงานหนึ่งที่สะดุดใจ คือโครงการเด็กแว๊นวัยโจ๋กลับใจ กลับพบว่ายิ่งประหลาดใจแกนนำที่ทำโครงการนี้กลับเป็นอดีตเด็กแว๊นกลับใจนั่นเอง
แกนนำเยาวชนร่วมนำเสนอ
-เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เพื่อนำไปขยายผลแกนนำรุ่น 2 ได้โครงงานแว๊นวัยโจ๊กลับใจ แนวคิดของเยาวชนคือการได้รับโอกาสในการอบรมทำให้ได้เรียนรู้ในตนเองมากขึ้น จึงคิดทำโครงการเห็นเพื่อนกลุ่มแว๊นมีปัญหาจึงเกิดโครงการนี้ขึ้นมา หลังจากทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เห็นว่าเพื่อนนี้มีศักยภาพในการช่วยเพื่อนได้เป็นอย่างดี

­

­

­

ดูโมเดลทต.เมืองแก
วันนี้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ร่วมรับฟังโมเดลการสร้างกลไกในการพัฒนาเด็กที่ครอบคลุมทุกช่วงอายุ ของเทศบาลเมืองแก จ.สุรินทร์ ที่หมู่บ้านชุมชนบ้านหนองม่วง หมู่ที่ 4
เป็นจุดเริ่มต้นในการที่เทศบาลจัดตั้งโรงเรียนคนท้อง โรงเรียนพ่อแม่ โรงเรียนพ่อแม่ และโรงเรียนครอบครัว
โดยมีผู้ร่วมพัฒนาเยาวชนร่วมถอดบทเรียน ที่สามารถร่วมกันทำให้เยาวชนที่ทค.เมืองแก มีลักษณะเยาวชนที่พึ่งประสงค์ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในชมชน เกิดแกนนำเยาวชนที่มาร่วมไม้ร่วมมือกับผู้ใหญ่ มีผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัวเด็กมาร่วมกันหนุนทั้งผู้ปกครอง พี่เลี้ยง ปราชญ์ชุมชน เจ้าหน้าที่ทต.เมืองแก สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน เป็นตัวอย่างของการทำงานในระดับท้องถิ่นที่น่าติดตามมากเลยทีเดียว

­

­

­โมเดลอบต.หนองอียอ

เรียนรู้พื้นที่อบต.หนองอียอ โมเดลพัฒนาเยาวชน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและนักถักทอชุมชนจากภาคกลาง ใต้ อีสาน มาเรียนรู้ร่วมกัน
การพัฒนาเยาวชนในพื้นที่อบต.หนองอียอ มีกระบวนการในการพัฒนาแกนนำเยาวชนจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันแกนนำเยาวชนได้จัดทำโครงงานอาชีพเพื่อเป็นฐานเรียนรู้ให้กับเยาวชนและยังสามารถประกอบอาชีพได้ ที่สำคัญยังมีการเปิดศูนย์บ้านดินเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เยาวชนในชุมชนอีกด้วย การที่เยาวชนหนองอียอ สามารถรวมกลุ่มและรวมพลังได้มากขนาดนี้เพราะมีผู้ใหญ่ในชุมชนช่วยกันเสริมหนุน ทั้งอบต.หนองอียอ ทั้งผู้บริหารและนักถักทอชุน โรงเรียน ทั้งผู้อำนวยการโรงเรียน ครู วัด ผู้ใหญ่ใจดีและผู้ปกครอง นี่คืออบต.ที่ใช้คอนเซ็ปต์ให้เด็กคิด เด็กทำ ผู้ใหญ่ช่วยเสริมหนุน จึงเห็นผลสำเร็จ ทางอบต.หนองอียอไม่มองข้ามเรื่องความยั่งยืนของเยาวชนด้วย