เมื่ออยากรู้ จึงเริ่มค้นหา เปิดประวัติศาสตร์บ้านดอนขี้เหล็ก
RATTANAPORN




"เยาวชนกลุ่ม DKL ไชโย เริ่มต้นเปิดประวัติศาสตร์บ้านเกิดด้วยความอยากรู้อยากเห็น และคำถามว่า ทำไมคนในชุมชนไม่เห็นคุณค่า ทำไมไม่มีผู้ถ่ายทอดเรื่องราวให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้รับรู้ประวัติศาสตร์บ้านเกิดของเรา เรามีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของศาสนาอิสลามในชุมชนมากมาย เช่น พิธีการทูนพาน เตาเผาเหล็ก “มิมบัร”ใช้ในการอ่านคุตบะห์ในวันศุกร์ ศาลา ๑๐๐ ปี บ่อน้ำเก่าแก่บ่อแรก และแม้แต่ส้วมหลังแรกของชุมชน!!"


เรื่องราวเหล่านี้ กำลังเลือนหายไป เยาวชนกลุ่มนี้จึงการรวมตัวกันสร้างสรรค์โครงการรู้รักถิ่นเกิดเปิดประวัติศาสตร์ดอนขี้เหล็กด้วยความตั้งใจว่า จะศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นมาของชุมชน สืบค้นข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้รู้ในชุมชน ลงพื้นที่เรียนรู้สถานที่สำคัญที่ยังมีอยู่ โดยได้รับความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้จากครูภูมิปัญญาในชุมชน คือนายร่อเขต บินกะเส็ม ที่ได้สละเวลามาให้ความรู้แก่เยาวชน เช่นครูเล่าว่า มิมบัรคือสถานที่สูงในมัสยิดให้อิหม่ามหรือคอเต็บยืนขณะอ่านคุตบะห์ในวันศุกร์..อ่านคุตบะห์ คล้ายๆกับบรรยายธรรมของศาสนาพุทธ ในอดีตได้แห่มาจากฝังสิงหนคร ได้ว่าจ้างให้ช่างฝังสิงหนครสร้างขึ้น มีลักษณะเหมือนหลังคาโบสถ์ของศาสนาพุทธ ทาให้สันนิฐานว่าช่างที่ว่าจ้างให้สร้างมิมบัรนับถือศาสนาพุทธ


แกนนำเยาวชนตระหนักดีว่าต้องรวบรวมข้อมูลที่ได้จากครูภูมิปัญญา และจัดทำเอกสารเผยแพร่ให้คนในชุมชน รวมทั้งจัดทำแผนที่ทางประวัติศาสตร์ที่จะบอกจุดที่ตั้งสถานที่สำคัญๆในชุมชนเพื่อเผยแพร่ไปยังโรงเรียนต่างๆต่อไป


การทำงานเปิดพื้นที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก แกนนำเยาวชนพบว่าต้องทำงานหนักด้วยความเสียสละ อดทน ฝึกฝนตนเองให้เกิดความชำนาญในการถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชน คนในชุมชน ด้วยการใช้พลังถ้อยคำในการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การทำงานต้องอาศัยความเป็นทีมมากๆ ไม่สามารถทำคนเดียวได้ บ่อยครั้งที่ทะเลาะกัน แต่สามารถจัดการกับอารมณ์ตนเองได้ จนทำให้รัก สามัคคี รู้จักนิสัยใจคอ ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนแกนนำได้มากขึ้น นอกจากนี้การทำงานเชื่อมกับโรงเรียนในชุมชน โดยมีคุณครูนำนักเรียนมาร่วมเรียนรู้ทุกครั้งจนเกิดเครือข่ายครูโรงเรียนบ้านกลางทำให้มีกำลังใจ ในระหว่างการจัดกิจกรรมเช่นการปั่นจักยานเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เจาะลึกในแต่ละสถานที่ เช่น บ่อน้ำบ่อแรกของชุมชนและสถานที่อื่นๆ จิตสำนึกรักและหวงแหนบ้านเกิด เกิดขึ้นในใจเราด้วย จากจิตสำนึกรักบ้านเกิด จะเติบโตเป็นจิตสำนึกพลเมือง เมื่อเราได้มีโอกาสทำงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้น (จากการพูดคุยกับกลุ่มDKL ไชโย )