พลังพลเมืองเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์หาดสมิหลาอย่างยั่งยืน
RATTANAPORN


­

"เมืองสงขลาของเรา มีหาดสมิหลาอยู่ใจกลางเมือง เราเห็นหาดนี้มาตั้งแต่เด็กๆและปัจจุบันเรา้รียนอยู่ในโรงเรียนที่อยู่ใกล้กับหาดทรายนี้ พื้นที่หาดทรายที่กว้างขวางสวยงาม และนุ่มเท้าเป็นพื้นที่ห่งความสุข และผ่อนคลายความทุกข์ให้เราเสมอมา จนมาถึงเหตุการณ์การสร้างโครงสร้างแข็งหลายรูปแบบ เช่นการสร้างเขื่อนตัวที การวางกำแพงกระสอบ หาดของเราเริ่มพังทลายขยายวงกว้างออกไปทุกทีๆ ...จะอยู่เฉยได้อย่างไรกัน"


กลุ่ม Beach for Life เยาวชนระดับมัธยมศึกษาจึงได้รวมกลุ่มบุกเบิกเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศและปัญหาการพังทลายของหาดสมิหลา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จนมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และนำไปสู่จิตสำนึกการเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอนุรักษ์หาดสมิหลา ด้วยความเอาจริงเอาจังและมุ่งมั่นมากที่จะดูแลและช่วยเหลือหาดสมิหลา จึงได้ร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมอาทิศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการพังทลายของหาดทราย การลงพื้นที่จริงบริเวณหาดชลาทัศน์และหาดเก้าเส้งเพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพังทลายของหาดสมิหลาอย่างใกล้ชิดแล้วนำเสนอเป็นสื่อและนิทรรศการสู่สาธารณะ สร้างกระบวนการพูดคุยอย่างมีส่วนร่วมในหมู่เยาวชน รวม 11 ครั้ง นำไปสู่การรวมตัวเป็นเครือข่ายพลเมืองเยาวชน9 สถาบัน จากนั้นได้ประมวลความคิดเห็นทั้งหมดจัดทำเป็นร่างธรรมนูญเพื่ออนุรักษ์หาดสมิหลาอย่างยั่งยืน จัดกระบวนการกลั่นกรองจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและนักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วประกาศใช้ในระหว่างการจัดงาน แลเลแลหาด ครั้งที่ 4 เซ็นสัญญาตกลงความร่วมมือในการดำเนินงานอนุรักษ์หาดสมิหลาร่วมกับเทศบาลนครสงขลา ร่วมรณรงค์คัดค้านการใช้โครงสร้างแข็งที่ทำลายระบบนิเวศหาดทราย Beach for Life กลายเป็นแกนนำหลักของคนรุ่นใหม่ที่ตื่นตัวและเข้ามาศึกษาวิจัยด้านระบบนิเวศหาดสมิหลาอย่างใกล้ชิด ร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้กับเพื่อนๆในการปกปูองหาดสมิหลาโดยใช้ ธรรมนูญการอนุรักษ์หาดสมิหลาอย่างยั่งยืน และสภาพลเมืองเยาวชน เป็นกลไกที่สำคัญในการทำงานต่อไป


ตลอดเส้นทางการทำงานของ กลุ่มBeach For Life ปีที่สองสัมผัสถึงพัฒนาการทางความคิด และการทำงานด้วยจิตสำนึกพลเมืองของแกนนำ


การพูดคุยกับเพื่อนๆสถาบันอื่นเป็นสิ่งที่ทำให้ฝึกทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดี การที่เราจะทำงานร่วมกันเพื่อนๆเราต้องรู้จักพูด รู้จักที่จะวางตน เช่นเดียวกับการเข้าหาผู้ใหญ่ มดเรียนรู้ว่าการทำงานนี้ เราต้องมีท่าที วิธีการพูดคุย กิริยาต่างๆที่เหมาะสม เพื่อเจรจาต่อลองกับผู้ใหญ่เพื่อให้เขารับฟังและทำตามคำขอร้องของเรา (มด)


ได้เรียนรู้การทำงานหลายรูปแบบ สามารถพัฒนาข้อบกพร่องของตนเอง ไม่ให้เป็นจุดอ่อนของทีม รู้จักรับผิดชอบ คิดรอบคอบ รู้จักรับฟังและยอมรับความคิดของผู้อื่นมากขึ้น ไม่ถือทิฐิ ทำให้กระตื้อลือร้นที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง (เอ้)


ตนเองมีความกล้าแสดงออก กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองได้มากขึ้น รู้จักติดต่อและสื่อสารกับคนอื่นๆเวทีรับฟังความคิดเห็นฝึกให้เราเคารพในสิทธิและความคิดเห็นที่ผู้อื่นแสดงออกมา ทำให้รู้จักการวางแผนเพราะการทำงานนั้นหากมีอะไรผิดแผนเราก็ต้องรู้จักปรับแผนให้เข้ากับสถานการณ์ (เนส)


ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนให้รู้จักคุณค่าของสิ่งแวดล้อม การทำงานร่วมกันเป็นทีม รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเองรวมถึงการเสียสละตัวเองเพื่อประโยชน์ของสังคม (เด็กหญิงสวรส โปกรัตน์ )


ธรรมนูญเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์หาดสมิหลาอย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งสภาพลเมืองเยาวชนขึ้นมาบริหารจัดการและขับเคลื่อนงานธรรมนูญ การตัดสินใจของสภาพลเมืองฯ จะไม่ใช้วิธีการใส่สูทยกมือแบบพวกมาก ลากไป เพราะเรื่องหาดเป็นเรื่องละเอียดอ่อน การยกมือบนฐานความรู้ที่ไม่เพียงพอ มันทำลายหาดมามากแล้ว เราต้องมีพื้นที่และเวลาที่มากพอสำหรับให้ทุกคนได้แสดงเหตุผลของตนเองอย่างพินิจไตรตรอง สภาพลเมืองเยาวชนจะเป็นพื้นที่ที่คนสงขลาร่วมใช้วิจารณญาณและสามัญสำนึกในการกำหนดอนาคตของหาดสมิหลาร่วมกัน (น้ำนิ่งและฝน)