ลงพื้นที่ ต.มะนังดาลัง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 26/12/58
Webmaster

เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง... บันทึกเทคนิคของโคช "ปลุกสำนึกพลเมือง" ดึง "ศักยภาพ" ภาวะการนำภายใน (leadership) ของเยาวชนออกมา ผ่านกระบวนการ "ถามกระตุ้นคิด" พัฒนาข้อเสนอโครงการ ที่ อบต.มะนังดาลัง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี


เป้าหมายของโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา โดยสงขลาฟอรั่ม ที่อยากเห็นคือ "การเปลี่ยนแปลง" สำนึกภายในของเยาวชนผ่านการเรียนรู้งานที่ทำ เป็นสำนึกพลเมืองที่เกิดจากการลงมือทำจริง จากการเอาปัญหาของพื้นที่
มาตุภูมิ มาขบคิด ร่วมลงมือแก้ปัญหาร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็น "กระบวนการเรียนรู้จากงานภายนอกมาสู่การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกภายในตัวเอง"
เพื่อให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้เช่นนี้ได้ "โคช" หรือทีมพี่เลี้ยง จึงมีบทบาทสำคัญมาก ที่จะ "เปิดโอกาส" ให้พวกเขาได้พัฒนาตนเองจากบันไดขั้นแรก คือการ "เชื่อมั่น ว่าเรา สามารถ คิดเอง ทำเองได้"
----------------------------------

วันนี้ทีมโคชสงขลาฟอรั่มได้ลงพื้นที่ ต.มะนังดาลังอ.สายบุรี จ.ปัตตานี พบกับกลุ่มเยาวชนทีมฟุตบอล เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการ เป็นแกนนำเยาวชนที่รวมกลุ่มกันใช้เวลาว่าง เล่นฟุตบอล พร้อมกับช่วยเหลืองานของชุมชนที่มัสยิด บ้าง อบต. บ้าง

แรกพบเราจะเห็นเลยว่า น้องๆเยาวชนทั้ง 4 คน เขินอาย ไม่กล้าคิด ไม่กล้าพูด ไม่มั่นใจในตัวเอง อาจเพราะไม่ค่อยได้มีโอกาสหรือมีพื้นที่ในการแสดงความคิดดีดีของตัวเอง รวมทั้งข้อจำกัดของภาษาที่ใช้ ภาษายาวี เป็นภาษาหลัก ที่ทำให้น้องสื่อสารภาษากลางกับเราไม่ค่อยถนัด ดังนั้น...โจทย์สำคัญของทีมโคช ครั้งนี้ คือ จะทำอย่างไรที่จะช่วย "ปลุกพลังภายใน" และให้ "ความเชื่อมั่น" ว่า เขา สามารถ "คิดได้ ทำได้" เพียงแค่มี "ความกล้า" กล้าที่จะ "นำศักยภาพของเราออกมาใช้ประโยชน์"

­

ำถามหลักของโค้ช ที่ "กระตุ้นต่อมคิด ดึงต่อมศักยภาพ" ให้ออกมาผ่านการพัฒนาโครงการ คือ

Q ทำไมถึงทำ?
- อยากทำชมรมฟุตบอลให้เด็กมารวมตัวกัน
- เด็กทั้งหมด ประมาณ 500 คน

Q จำเป็นไหมที่ต้องทำ?
- การมารวมตัวกัน ทำกิจกรรมทำให้เด็กไม่เข้าป่าไปเสพยา หรือว่างงาน ช่วงบ่ายชวนมาซ้อม

Q มีวิถีอยู่แล้ว ทำไมต้องส่งโครงการ?
- เพิ่งเริ่มก่อตั้ง ถ้าไม่ทำให้เกิดการรวมตัว จะแยกย้าย ตอนนี้เป็นการรวมตัวหลวมๆ
- ถ้าไม่ทำโครงการก็มาซ้อมเฉยๆ นานๆ ไปก็เบื่อ เป็นการออกกำลังกาย ไม่มีจุดที่ต้องไปแข่ง

"การทำโครงการครั้งนี้ จึงใช้ฟุตบอลเป็นตัวตั้ง เป็นกำแพงกั้นเด็กจากยาเสพติด"

Q โจทย์ของพื้นที่ คือ?
- วัยรุ่นอายุ 16-25 ปี ที่มีเวลาว่างจะเข้าป่าดื่มน้ำกระท่อม และจะเป็นอย่างนั้นจนแก่ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ส่งผลให้ลักขโมย

­

Q ภาพฝันที่เราอยากเห็นคืออะไร?
- ให้เพื่อนที่เข้าป่า กลับมารวมตัว มาเล่นบอล มีอนาคตมากกว่าไปอยู่ป่า ถ้ามีฝีมือก็ไปแข่งต่างจังหวัดได้ เป็นการกระเทาะความสามารถของคนรุ่นใหม่ เป็น "พลังหนุ่มสาว"

Q เป้าหมายที่อยากทำคืออะไร ? (เป้างาน) : เราอยากสร้างพื้นที่ให้เกิดการรวมกลุ่มของเยาวชนเพื่อเป็นกำแพง ไม่ให้เพื่อนเยาวชนทำอย่างอื่นที่ไม่ดี คือเด็กแว้น เข้าป่าเสพน้ำกระท่อม ลักขโมย ไม่เรียนหนังสือ

­

Q จะทำอะไรเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้ (ไอเดีย)
1. เราจะรวบรวมสมาชิก เพื่อน ให้ได้มากที่สุด 8-10 ทีม ทีมละ 5-6 คน รวมตัวกัน ตั้งกลุ่มฟุตซอล วางข้อตกลงร่วมกัน แต่ละวันจะฝึกทักษะ อุ่นเครื่อง ฝึกซ้อมทักษะการเล่นฟุตบอล การทำงานเป็นทีม การออกมาเล่นฟุตบอลจะทำให้เขาฝึกตัวเอง ค้นหาสไตล์การเล่น ค้นหาว่าตัวเองเก่งอะไร เหมาะกับตำแหน่งไหน ใช้เวลาเป็นปีกว่าจะเก่งขึ้น เล่นเป็นทีมได้ และลงสนามจริง
2. หาโคชในชุมชน เป็นครูที่มาช่วยทำให้เพื่อนเล่นบอลเก่ง
3. พูดคุยหลังเล่น ปรับปรุงการเล่น พูดคุยเรื่องราวของชุมชน ปัญหาเยาเสพติด การออกจากปัญหายาเสพติด
4. จัดการแข่งขันฟุตบอลอย่างต่อเนื่อง จัดตั้งชมรมฟุตซอล ฟุตบอล

­

Q เพื่อนที่เล่นบอลเป็นต้องทำอะไรได้บ้าง
Q ถ้าจะทำตามข้อ 3 เราทำเองได้มั้ย-ต้องใช้โคช
Q เราจะสร้างเด็กกี่ทีม - มากที่สุด
Q โคชหนึ่งคนดูแลเด็กได้กี่ทีม - 6-7 ทีม พวกเราก็จะเป็นพี่เลี้ยงด้วย

­

­

กิจกรรมที่น้องร่วมกันออกแบบวางแผน
1. ชักชวนเพื่อน ประชาสัมพันธ์เด็กทุกกลุ่ม
2. แบ่งทีม หาผู้รับผิดชอบทีม (มีคนในชุมชน)
3. วางแผนการซ้อม ฝึกทักษะการเล่น
4. ฝึกสนามจริง ค้นหาสไตล์ของทีม
5. จัดการแข่งขันฟุตบอลระดับหมู่บ้าน

Q ในระหว่างทำกิจกรรมจะสอดแทรกเรื่องโทษภัยยาเสพติดตอนไหน?

Q
- กิจกรรมไหนที่เราคิดว่า ทำได้ยากที่สุด 3 ลำดับ
- กิจกรรมไหนง่ายสุด
- แต่ละคนอยากทำกิจกรรมไหน
(เพื่อเชื่อมให้เขาเข้าใจในกิจกรรมที่เสนอไป)

จากนั้นจึงออกแบบวางแผนงาน แต่ละกิจกรรมคืออะไร ทำเดือนไหน แต่ละกิจกรรมมีวัตถุประสงค์อะไร แต่ละกิจกรรมใช้งบประมาณเท่าไร

คำถามเพื่อสอนนิสัย
- รู้สึกมั้ยว่าเราต้องรับผิดชอบงานนี้?

­

Reflection วันนี้ได้อะไร ? เป็นคำถามเพื่อสะท้อนการเรียนรู้ให้เห็น พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของตนเอง
- ก่อนมาคิดว่าโครงการทำแค่จัดแข่งฟุตบอล แต่วันนี้พอคุยกันเหมือนว่าเราต้องขึ้นมาเป็นโคช
- ชื่นใจ ภูมิใจที่มีโครงการดีๆแบบนี้ที่มาให้โอกาสพวกเราได้ทำ
- ความกล้า ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยทำอะไรแบบนี้ ตอนแรกกลัว ตอนนี้ไม่กลัวแล้ว พอวางแผนงานออกมาเหมือนเราเห็นภาพว่าเรากำลังจะไปเป็นโคชทีมฟุตบอลเลย
- ตอนแรกคิดว่าจะทำไม่ได้ ถ้าได้เจอกันอีกครั้งก็ด
- ตอนแรกเมื่อเช้ารู้สึกว่ายาก แต่ทำเสร็จแล้วรู้สึกไม่ยาก แต่คิดต่อถึงตอนทำแล้ว