"กิจกรรม 7 ก้าวการเรียนรู้"
คำรณ นิ่มอนงค์

     พอดีเมื่อวานมีโอกาสไปจัดกิจกรรมกับน้องๆทีมอาวุโสโอเค และทีมสานสามัคคี โดยมีเป้าหมายเดียวกันว่าต้องทำให้น้องทั้ง 2 ทีมได้ทบทวนการทำกิจกรรมที่ผ่านมา ได้มานั่งทบทวนแผนงานโครงการ ดูการเปลี่ยนแปลงของทีม และทำให้น้องเห็นคุณค่าของสำนึกพลเมืองที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมของน้องๆ แต่ผมมีโจทย์ที่ต้องแก้ คือ เมื่อน้องมาพร้อมกัน 2 ทีม จะชวนคุยแผนงานทั้งสองโครงการพร้อมกันอย่างไรดี และควรมีกิจกรรมอะไรที่ทำให้น้องได้หยุดครุ่นคิดทบทวนภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง และนั่นจึงนำไปสู่กิจกรรม 7 ก้าวการเรียนรู้

­

­

     เมื่อชุมชนแห่งนี้มีผู้ถูกจับเป็นตัวประกัน มีอัศวินขี่ม้าขาวพยายามที่จะมาช่วยแต่น่าเสียดายที่อัศวินเป็นเพียงมนุษย์ผู้อ่อนแอไม่สามารถเดินฝ่าเส้นทางภูเขาไฟได้ด้วยตนเองแถมยังเป็นใบ้ จึงจำเป็นต้องมีม้าวิเศษที่พาอัศวินไป แต่ก็เช่นกัน ไฟมันร้อนเหลือคณา ม้าจะพาอัศวินเดินไปส่งเดชไม่ได้ แต่ก็มีตัวช่วยคือชาวบ้านที่นำ "หินก้อนใหญ่ 7 ก้อน" ไปวางไว้ได้เพื่อให้ม้าเดินเหยียบไป แต่ม้านั่นเป็นเพียงม้าตาบอดจึงต้องมีชาวบ้านคอยบอกทางตลอดว่าจะก้าวซ้ายหรือขวา และอนิจจาทุก 2 นาทีตัวประกันจะถูกทรมาน. น่าสงสารเสียจริง จะเป็นอย่างไรกันบ้างหนอน้องๆ ฮี่ๆ

­

­

- เมื่อก้อนหิน. 7 ก้อน คือ แผนงานโครงการ
- เมื่อม้าคือเพื่อนคนที่ต้องแบกรับภาระในยามที่คนอื่นในทีมไม่ช่วย
- เมื่ออัศวินคือภาระก้อนโตที่เห็นและเข้าใจแต่ไม่ยอมพูด เป็นเพื่อนในทีมที่มักนิ่งเงียบและไม่ลงมือทำ แต่ก็ทิ้งเขาไม่ได้ เมื่อเขามีความสำคัญตามหน้าที่บางอย่าง
- เมื่อประชาชน คือ เพื่อนในทีมที่เข้าใจแผนเป็นคนเขียนและวางตำแหน่งหินจึงพาม้าเดินได้อย่างเข้าใจ

­


จากนั้นก็ไม่มีอะไรมากครับเราคอยรักษากติกา และสังเกตพฤติกรรมน้องเพื่อรอสรุปบทเรียน และเมื่อน้องสรุปเสร็จก็เปลี่ยนจากหินเป็นกิจกรรมที่น้องทำมาในระยะที่หนึ่งให้น้องทบทวนและวางแผนระยะที่สองที่จะทำต่อภายใต้หินที่นำไปสู่เป้าหมาย มันทำให้เห็นภาพอนาคตของน้องชัดเจนขึ้นและที่สำคัญ "มันช่วยตอกย้ำกับน้องว่าแผนโครงการที่ดีมันเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่เป้าหมายที่น้องตั้งไว้ แต่เหนืออื่นใดมันทำให้น้องเห็นคุณค่าของชุมชนผ่านการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวน ก่อเกิดเห็นสำนึกใหม่ที่เรียกว่า สำนึกพลเมืองรักบ้านเกิด"