​เวทีเรียนรู้ของนักถักทอชุมชน รุ่น 2 ครั้งที่ 8 โซนภาคกลาง จ.สุพรรณบุรี
Nathchida Insaart

เวทีเรียนรู้ของนักถักทอชุมชน รุ่น 2 ครั้งที่ 8 โซนภาคกลาง จ.สุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2558 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี โดย อาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ วิทยากรกระบวนการหลักของหลักสูตรนักถักทอชุมชน กับโจทย์แรกที่ให้ทีมนักถักทอฯ แต่ละตำบล เตรียมประเด็นในการนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงาน "เชื่อมร้อยและถักทอ" เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ของแต่ละตำบล

­

­

เตรียมประเด็นนำเสนอ...
การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “นักถักทอชุมชน: เพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว” เปิดเวทีเรียนรู้ของนักถักทอชุมชน รุ่น 2 ครั้งที่ 8 โซนภาคกลาง จังหวัดสมุทรสงคราม โดย อาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ วิทยากรกระบวนการหลักของหลักสูตรนักถักทอชุมชน กับโจทย์แรกที่ให้ทีมนักถักทอฯ แต่ละตำบล เตรียมประเด็นในการนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงาน "เชื่อมร้อยและถักทอ" เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ของแต่ละตำบล วัตถุประสงค์ของเวทีครั้งนี้ เพื่อให้นักถักทอชุมชนได้มีโอกาสในการถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งแนวทางในการขับเคลื่อนงานในระยะต่อไป ประเด็นการนำเสนอสถานการณ์ปญหาเด็ก เยาวชน ครอบครัว ในพื้นที่ สาเหตุ...เป็นต้น
ผู้เข้าร่วมครั้งนี้ได้แก่ อบต.บางแก้ว อบต.บางสะแก อบต.บางขันแตก ทต.บางจะเกร็ง อบต.ปลายโพงพาง อบต.แหลมใหญ่ จ.สมุทรสงคราม และ อบต.วัดดาว จ.สุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 5-6 มีนาคม 2558 ณ ห้องประชุมบ้านสวนทรายทอง โฮมสเตย์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม

­

­

ซ้อมนำเสนอ...
ช่วงบ่าย อบต.บางแก้ว อบต.บางสะแก อบต.บางขันแตก ทต.บางจะเกร็ง อบต.ปลายโพงพาง อบต.แหลมใหญ่ จ.สมุทรสงคราม และ อบต.วัดดาว จ.สุพรรณบุรี ได้นำเสนอการเรียนรู้การลงไปทำงานในฐานะนักถักทอชุมชน รุ่น 2 และมีคุณชิษณุวัฒน์ มณีศรีขำ ที่ปรึกษานักถักทอชุมชน จ.สมุทรสงคราม มาช่วยเสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ อาทิ การนำเสนอให้เห็นการถอดบทเรียนของกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรที่เห็นเป็นรูปธรรม การเล่าที่ขมวดให้เห็นภาพการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน พรุ่งนี้จะมีโอกาสได้นำเสนอกับผู้บริหารทั้งนายกฯ และ ปลัด ให้เห็นการทำงานของตนเอง

­

­

หลักสูตรนักถักทอชุมชนช่วยท้องถิ่นทำงานอย่างมีความสุข
เช้าวันที่ 6 มีนาคม 2558 กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมโดย นายทรงพล เจตนาวณิชย์ ผอ.สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข
“....เวทีในวันนี้เพื่อให้นักถักทอได้นำเสนอผลงานดำเนินการที่ผ่านมา และให้ผู้บริหารได้เสนอแนะ คาดหวังให้นายก ปลัด นักถักทอเป็นทีมเดียวกัน ทบทวนเป้าหมายหลักสูตรอยากจะมาช่วยให้ท่านทำงานกับท้องถิ่นให้มีความสุข การทำงานอย่างมีความสุขทำให้มีผลงาน มีแนวคิด มีเครื่องมือที่จะไปทำ ทำงานเป็นทีม ไปถักทอทุนในพื้นที่ นอกพื้นที่ และเกิดการสร้างกลไกในพื้นที่...”

­

­

อบต.บางขันแตก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
ความคาดหวังอยากเห็นเด็กเป็นคนดีของพ่อแม่และสังคม การทำกิจกรรมของเด็กในพื้นที่ทำให้เกิดการดึงเวลาของเด็กที่ติดเกม มาใช้เวลากับเพื่อนๆ ทำประโยชน์ ทำความดีให้กับชุมชนมากขึ้น

­

­

อบต.แหลมใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
ทีมนักถักทอชุมชน ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมนำไปทำกิจกรรมในชุมชนโดยเน้นการ “ถอดบทเรียน”ในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้รู้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับเด็ก การทำกิจกรรมนอกจากจะให้เด็กได้ทำประโยชน์ให้กับชุมชนแล้ว ยัง เน้นให้เด็กได้เรื่องของใจคือเรื่องจริยธรรมอีกด้วย สิ่งที่นักถักทอฯ ได้ทักษะคือการตั้งคำถาม ความรู้เรื่องการถอดบทเรียน รู้ปัญหาเยาวชน ชุมชนของตนเองมากขึ้น

­

­

ทต.บางจะเกร็ง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
ปัญหาร่วมในชุมชนเด็กเล่นการพนัน ท้องไม่พร้อม อ่านหนังสือไม่ออก ทต.บางจะเกร็งจึงคิดกิจกรรมที่จะดึงเด็กออกจากปัญหาเหล่านื้คือการสร้างจิตสำนึกในการรักชุมชนให้เกิดขึ้น มีกิจกรรมอาทิการเก็บขยะในแม่น้ำลำคลองเพื่อให้เยาวชนเกิดความตระหนัก เกิดจิตสำนึกในการรักสิ่งแวดล้อมและทำประโยชน์ให้ชุมชน...

­

­

อบต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
เน้นให้เด็กเรียนรู้ตัวเองก่อนเพื่อเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านกิจกรรมรู้จักตัวเอง เป้าหมายชีวิต ข้อดีข้อเสียของตนเอง ทำให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการเกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเองในทางที่ดีขึ้น เด็กรู้จักคิดและเสียสละมากขึ้น และตนเองในฐานะนักถักทอชุมชนเข้าใจสภาพปัญหาของเยาวชนดีขึ้น

­

­

อบต.ปลายโพงพาง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
การจัดกิจกรรมให้เด็กเป็นผู้เลือกเองว่าอยากทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมปั่นจักรยานเรียนรู้ชุมชน และเรียนรู้เกี่ยวกับม้า ทำให้เด็กเพิ่งรู้ว่าชุมชนตนเองก็มีคอกม้า การเลี้ยงไส้เดือน เด็กๆ รู้ว่าไส้เดือนมีประโยชน์อย่างไร และการดูการทำปุ๋ยจากผักตบชวา เกิดความคิดว่าพื้นที่เรามีผักตบชวาเยอะจึงมาเก็บผักตบในลำคลองเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนด้วย ทำให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และทำประโยชน์ให้ชุมชน มีจิตรักชุมชนมากขึ้น นักถักทอชุมชนได้เครื่องมือในการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ

­

­

อบต.วัดดาว อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
นายทินารมย์ คำมูลอินทร์ ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน คิดว่า โครงการนี้สอนให้เราเป็นโค้ช มีความคิดว่าทำแล้วจะเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างไร  กิจกรรมที่ทำเริ่มตั้งแต่ทำให้เด็กรู้ว่าตัวเองมีคุณค่าอย่างไร มีดีอยู่ในตัวเองอย่างไร มีนิสัยอย่างไร ผ่านโครงงานต่างๆ โดยแทรกกิจกรรมต่างๆ ระหว่างกิจกรรมได้แก่การฝึกเด็กนั่งสมาธิ ผู้ใหญ่สอนพับเสื้อผ้า การรักษาความสะอาดในห้องครัว ในห้องน้ำ สอนถูบ้านในทิศทางเดียวกัน ทุกกิจกรรมปรับนิสัยตัวเองของเด็กได้ ทำให้เด็กพับผ้าเป็น ล้างห้องน้ำเป็น จัดระเบียบของใช้ส่วนตัวได้ได้ สอนให้เด็กทำตั้งแต่ตื่นนอนยันนอนหลับเป็นการเรียนรู้จริง ผลทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในนิสัยที่ดีขึ้นรับผิดชอบตนเอง 

­

­

“การขับเคลื่อนเด็กและเยาวชนไม่ใช่เป็นเรื่องยากแค่เราเปิดพื้นที่และสนับสนุนให้เขาทำ”
อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผอ.สรส.

­

­

ผู้บริหาร ปลัด ร่วมสะท้อนความคิดเห็นจากการติดตามการทำงานของนักถักทอชุมชนว่า....
- เห็นการพัฒนาของเจ้าหน้าที่ของตนเองในทางที่ดีขึ้นหลังจากเข้าร่วมอบรมนักถักทอชุมชนทั้งมีการวางแผนงาน กล้าพูด กล้าแสดงออก ไม่ต้องรอคำสั่งอย่างเดียว ผู้บริหารถอยมาเป็นที่ปรึกษางาน ดีใจที่ลูกน้องสามารถคิดเอง ทำเองได้แล้ว
- พร้อมสนับสนุนการทำงานของทีมงานให้มีความต่อเนื่อง
- เพราะมีเสียงสะท้อนจากผู้ปกครองที่เชื่อมือว่าทีมนี้ทำจริงจัง และต่อเนื่องจึงยอมปล่อยให้ลูกๆ มาทำกิจกรรมด้วย

­

­

ผู้บริหาร ปลัด ร่วมสะท้อนความคิดเห็นจากการติดตามการทำงานของนักถักทอชุมชนว่า....
- เห็นการพัฒนาของเจ้าหน้าที่ของตนเองในทางที่ดีขึ้นหลังจากเข้าร่วมอบรมนักถักทอชุมชนทั้งมีการวางแผนงาน กล้าพูด กล้าแสดงออก ไม่ต้องรอคำสั่งอย่างเดียว ผู้บริหารถอยมาเป็นที่ปรึกษางาน ดีใจที่ลูกน้องสามารถคิดเอง ทำเองได้แล้ว
- พร้อมสนับสนุนการทำงานของทีมงานให้มีความต่อเนื่อง
- เพราะมีเสียงสะท้อนจากผู้ปกครองที่เชื่อมือว่าทีมนี้ทำจริงจัง และต่อเนื่องจึงยอมปล่อยให้ลูกๆ มาทำกิจกรรมด้วย

­

­

พลังท้องถิ่น
จบการเรียนรู้งานของกันและกันผ่านการเล่ากิจกรรมและผลลัทธ์ของแต่ละพื้นที่ ทำให้ผู้บริหารทั้งนายกฯ และ ปลัด เกิดความเข้าใจงานของนักถักทอชุมชนมากยิ่งขึ้น การเรียนรู้ครั้งนี้สามารถนำไปขับเคลื่อนงานในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างไร และผู้บริหารมีบทบาทเสริมหนุนอย่างไร การเตรียมพร้อมท้องถิ่นให้เข้มแข็งสามารถบริหารจัดการตนเอง มีนัยสำคัญในการรองรับปฏิรูปท้องถิ่นในวันข้างหน้า.....


ก่อนจากลาถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึกเหมือนเป็นคำมั่นสัญญา ทุกคนพร้อมที่จะทำงานอย่างเต็มกำลังของตนเอง