Workshop ครั้งที่ 2 เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม
Nathchida Insaart

­

­

เปิดเวทีเวิร์คช้อป 2
“ตอนนี้ที่คณะสถาปัตย์ฯ ของเรา ค่อนข้างทำเกี่ยวกับเรื่องประเด็นทางสังคมเยอะ ให้ความสำคัญกับการนำความรู้ใปใช้ให้กับสังคมให้มากที่สุด จึงรู้สึกว่าเรากำลังทำเรื่องเดียวกัน จึงอยากจะให้กำลังใจกัน งานแบบนี้เราต้องการเพื่อน กำลังใจ ทำคนเดียวไม่ได้ เป็นการดีที่เรามีเครือข่ายเยอะ พลังสำคัญมากคือพลังนิสิตนักศึกษาที่จะเป็นกำลังของชาติ รุ่นที่สองนำพารุ่นสาม สี่ ทำให้มีคนเป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เกิดขึ้น เรื่องแรงงาน ธรรมชาติ เกษตรกรรม เป็นเรื่องเดียวกันหมด การทำงานนี้อยากจะให้ทุกคนได้ทั้งสามอย่าง หนึ่งเวิร์คช้อปได้งานออกมาสองอยากให้คนได้ความรู้ และสามได้เพื่อน ซึ่งเรามีเพื่อนที่ดีทั้งนั้น และขอให้ประสบความสำเร็จและขอบคุณครับ ” กล่าวต้อนรับ โดยอาจารย์ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์ รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

­

­

­

­

ก่อนนำเสนอตั้งสติ...ก่อนเริ่ม Workshop 2 ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต และ อาจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล ผู้ริเริ่มและคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ ได้กล่าวย้ำกับนักศึกษา....อาจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล “วันนี้จุดสำคัญคือการสำรวจดูว่าเนื้อหาที่เก็บมาพอหรือยัง เนื้อหาพอสื่อแล้วหรือยัง เนื้อหาที่นำเสนอไปมีความเป็นไปได้ที่ผลิตออกมาเป็นผลงานอย่างไร ฝากทางเอ็นจีโอช่วยดู เรื่องกระชับเนื้อหาที่ไปเก็บมามีเนื้อหาพอเดินไปสู่เรื่องที่อยากจะพูดอย่างไร”ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต “สิ่งที่อยากจะขอให้ข้อคิด ต้องมีสติมาก ผมเชื่อว่าข้อมูลพรั่งพรู ความประทับใจเยอะมาก ความคิดเห็นเยอะแยะมาก ทำอย่างไรทำให้สามความคิด ข้อมูลต่างๆ เป็นแนวทางที่เป็นเนื้อหาที่สำคัญจริงและนำเสนอออกไปได้ ได้นักออกแบบ นักวิชาการ ด้านสื่อ ให้ดูว่าจุดยืนของตัวเองที่สนใจคืออะไรจริงๆ"

­

­

­

­

เพราะคนต้นน้ำไม่สนใจรักษาน้ำ ทำให้คนปลายน้ำอย่าง ท่าข้าม พื้นที่อ่าวก ไก่ ได้รับผลกระทบ จะทำอย่างไรให้คนต้นน้ำรู้ว่าน้ำเสียจะส่งผลกระทบต่อตนเองด้วย เช่น กินปู กุ้ง ปรนเปื้อนสารพิษ ทำอย่างไรถึงจะสื่อสารให้เห็นปัญานี้ได้..ประเด็นทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่นักศึกษากลุ่มนี้มุ่งมั่นบอกต่อกับสังคม

­

­

­

­

ระบี่ทะเลสวยงาม แต่ยังมีชุมชนคลองรั้ว ต้องประสบปัญหากควันดำ เขม่า ผลกระทบที่มีต่ออาชีพและสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนทางสังคม นักศึกษากลุ่มนี้พยายามสะท้อนให้สังคมรับรู้ด้วยข้อมูลที่ลงไปศึกษาด้วยตนเองโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อเสนอแนะว่าการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ชมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการนำเสนอสื่อประเด็นทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

­

­

­

­

เพื่อกระบี่ยังคงสวยงาม..นักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งลงไปศึกษาข้อมูลโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ เพราะกระบี่คือสวรรค์ของนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความตระหนักหากความสวยงามถูกทำให้ "เปลี่ยน"ไปด้วยคอนเซ็ปต์ด้วยคำว่าท่า เปลี่ยน ! กับภาพแอนิเมชั่นสวยๆ ที่ถูกอกถูกใจผู้ทรงคุณวุฒิประเด็นทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

­

­

­

­

โรงไฟฟ้าถ่านหิน...เพราะแพ็คกัน 3 คณะเพื่อศึกษาผลกระทบของการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่มาถึงมหาวิทยาลัยสุดท้าย ที่ถนัดเรื่องโซเชียลมีเดียจึงนำเสนอผลกระทบผ่านเว็บไซต์ เกมออนไลน์ 3 เกมได้แก่เกม clean up coal / whiff air fresh / Fisher man ทางฟากเอ็นจีโอให้ข้อคิดที่น่าสนใจการทำเกมต้องอิงข้อมูลที่ถูกต้อง...ประเด็นทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

­

­

­

­

ท่าเรือน้ำลึก ปากบารานักศึกษาจากปัตตานี เลือกนำเสนอประเด็นท่าเรือน้ำลึก ปากบารา จ.สตูล อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา กลุ่มนี้เลือกปัญหาใกล้บ้านคนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่องนี้ จากการลงพื้นที่ ได้ฟังจากชาวบ้านมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยและจากการเยี่ยมชมชุมชนบ่อเจ็ดลูกทำให้เกิดคอนเซ็ปต์ตาดำๆๆ เพราะลงไปซึมซับความรู้สึกกับชาวบ้านที่ลงไปสัมผัสและเห็นชีวิตชาวบ้านเขาอยู่อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องการอุตสาหกรรม ต้องการกระตุ้นให้คนภายนอกรับรู้ปัญหาของพื้นที่นี้ โดยเลือกทำสื่อโมชั่นกราฟฟิค นำส่วนที่ชาวบ้านอยากให้นำเสนอ นักศึกษาได้นำมาต่อยอดในส่วนกราฟฟิคประเด็นทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

­

­

­

­

ปัญหาที่ดิน ปัญหาใหญ่....ปัญหาที่ดินทำกินเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ แต่เด็กกลุ่มนี้สนใจที่จะนำเสนอจึงลงพื้นที่ภูเก็ต พังงา ศึกษาเรื่องปัญหาที่ดินจากชุมชนชาวพังงานและชาวเล ชาวราไวยจ.ภูเก็ต เพื่อจัดทำเป็นโมชั่นกราฟฟิค เป้าหมายเพื่อให้ความรู้และผลักดันพรบ. 4 ฉบับให้เกิดขึ้นจริงประเด็นที่ดินทำกิน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

­

­

­

­

ปัญหาแรงงานข้ามชาติเพราะลงพื้นที่ดูความเป็นอยู่และการทำงานของแรงงานข้ามชาติในที่ต่างๆ อาทิ ตลาดสี่มุมเมือง ไซส์ก่อสร้างแถวรังสิต นักศึกษาม.รังสิตรู้สึกกินใจกับสิ่งที่ได้สัมผัสจากการพูดคุยกับแรงงานข้ามชาติ จึงจะนำเสนอเนื้อหาที่จะพูดถึงความจำเป็นของการมีแรงงานข้ามชาติ และการอยู่ร่วมกัน นักศึกษากลุ่มนี้อยากจะนำเสนอสื่อให้คนเห็นถึงความเท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการสร้างทัศนที่ดีใช้ชื่อว่า ทศนทฐ มาจากทัศนกับทิฐิ อยากให้คนไทยบิดการมองแบบเดิม ลดทัศนคติด้านลบต่อแรงงานข้ามชาติลงบ้างไม่มากก็น้อย ประเด็นแรงงาน-กลุ่มชาติพันธ์ จากคณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

­

­

­

­

พลังสื่อของชาติจบแล้วสำหรับการประชุมกระบวนการ Workshop ครั้งที่ 2 สำหรับนักศึกษา 14 คณะ จาก 11 มหาวิทยาลัย กับประเด็นทางสังคม ได้แก่ ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม / ที่ดินทำกิน / แรงงาน-กลุ่มชาติพันธุ์ / คนพิการ /เด็กและเยาวชน และเกษตรกรรม เห็นภาพนักศึกษากับความตั้งใจหาข้อมูลและผลิตงานออกมานำเสนออย่างตั้งอกตั้งใจ นี่คือพลังเยาวชนของชาติ ที่กำลังสร้างสรรค์ชิ้นงานที่อาจจะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในอนาคต.. พบกันใหม่กับเวิร์คช้อปครั้งที่ 3