เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม University Network for Chang วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557
NatSu Nattawut

เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม
University Network for Change
วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557
ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม University Network for Change วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

สามสาวคณะมัณฑนศิลป์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้หยิบยกประเด็นการเกษตรมาบอกเล่าแก่สังคมผ่านงานศิลปะ ในรูปแบบปฏิทินผัก และผลงานสต๊อปโมชั่นให้ความรู้เรื่องการบริโภคผักอย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงสารเคมีการเกษตร เมื่อมีความรู้อย่างเพียงพอแล้ว ผู้รับชมจะได้ปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทีละน้อยๆ เริ่มต้นทีตนเอง ก่อนขยายสู่สังคมในวงกว้าง

­

นำเสนอกลุ่มที่สอง กลุ่มคัดผัก จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร นำเสนอประเด็นเกษตรกรรม ชื่อผลงานตื่นตรา-ปลุกผัก เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพหันมาใส่ใจสุขภาพและทานผักมากขึ้นและสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมีโดยดูได้จากตรารับรองนั่นเอง"ขอเป็นฟั่นเฟืองเล็กๆที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคม"นั่นคือคำมั่นสัญญาของน้องๆกลุ่มนี้

­

นำเสนอกลุ่มที่สาม ประเด็นเกษตรกรรม ชื่อผลงานข้าวคร่าว จากน้องๆ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์คณะนิเทศศาสตร์

เรื่องมอดคือแรงบันดาลใจที่ทำให้น้องๆกลุ่มนี้ทดลองว่ามอดมีจริงหรือ เพื่อสร้างความสงสัยให้กับทุกคนที่กินข้าว เพื่อกระตุ้นความสนใจให้กับผู้บริโภคได้ฉุกคิดถึงสิ่งที่เราบริโภคไปโดยน้องๆเลือกทำเรื่องข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย

นิทรรศการได้นำข้าวที่ทดลองระยะเวลาสองเดือนมาให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสจริงๆด้วย

­

กลุ่มที่4 นำเสนอประเด็นที่ดิน กลุ่มเกมสิทธิ์-เกมชุมชน จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร ข้อพิพาทเรื่องที่ดินเป็นประเด็นร้อนทางสังคม ทางน้องๆ ได้นำเรื่อง
สิทธิชุมชนคืออำนาจการต่อรองกับรัฐ มาให้ความรู้ โดยมีป่าชุมชนบ้านเขาน้อย จ.ราชบุรี เป็นตัวอย่างการใช้สิทธิชุมชนที่ใช้ได้ผล เชิญชวนผู้ชมนิทรรศร่วมเล่นเกมสิทธิ์-เกมชุมชน ลักษณะการเล่นคล้ายเกมเศรษฐีที่กำลังนิยม

­

กลุ่มต่อมาได้นำเสนอประเด็นเรื่องที่ดิน ที่เลือกหยิบเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่คณะศิลปะและการออกแบบ ม.รังสิต ในชื่อผลงานสื่อรณรงค์เพื่อการปฏิรูปโครงสร้างการจัดสรรที่ดินในประเทศไทย ได้มาจากแววตาของชาวบ้านที่เห็นจากเวิร์คช้อป1 ที่มาเล่าเรื่องความถูกยึดที่ดินไปต่อหน้าต่อตา สร้างความสะเทือนใจ จนหยิบมาเป็นภาพถ่ายสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย อาทิภาพ ตนตีกอล์ฟในบ้านของลุง โดยใช้สถานที่จริงคือชุมชนแถวม.รังสิตที่กำลังถูกไล่ที่เพื่อสร้างรถไฟฟ้า

­

ประเด็นพลังงาน ที่กำลังร้อนแรงในเมืองไทย น้องๆ จากคณะศิลปกรรม ม.กรุงเทพ เลือกมานำเสนอให้ดูกันง่ายๆ โดยการเปรียบเทียบระบบพลังงานกับร้านซูชิ ซึ่งน้องๆ เห็นว่าเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน มีความสำคัญจากระดับครัวเรือนถึงระดับประเทศ นำเสนอให้เห็น 3 ระบบ คือระบบสัมปทาน ร่วมทุน แบ่งปันผลผลิต อยากให้ความรู้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจในเรื่องพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว

­

กลุ่มสุดท้ายนำเสนอประเด็นคอรัปชั่น ที่น้องๆ คณะศิลปกรรม ม.จุฬาฯ นำเสนอในผลงานลับรู้ เรื่องคอรัปชั่นเป็นเรื่องนามธรรมที่จัดต้องไม่ได้ น้องๆจึงต้องการให้วัยรุ่นรู้สิทธิ์ที่หายไป ให้ตระหนักถึงสิทธิตัวเอง พร้อมเชิญชวนคนชมนิทรรศการมาวาดภาพตัวเองในเมืองใหม่ เป็นเมืองในจินตนาการที่ไม่มีการคอรัปชั่นแล้ว

­

­

"เรื่องผักนำเสนอได้อย่างน่าสนใจมาก เช่นกลุ่มมัณฑนศิลป์ถ้าคนนำไปปฏิบัติตามได้ก็จะดี อยากให้เพิ่มเติมเรื่องความรู้เรื่องมะเร็งเข้าไปด้วยน่าจะมีประโยชน์มาก"
รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร

­

­ในช่วงพักเที่ยง สื่อมวลชนหลายสำนักต่างให้ความสนใจผลงานสื่อสร้างสรรค์ของเยาวชน

­

ภาคบ่ายวันนี้บูธของน้องๆ ในโครงการ "เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network for Change:UNC) ได้รับความสนใจจากสื่อ และอาจารณ์ที่มาร่วมงาน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณทำงานกันอย่างมากมาย

­

เริ่มต้นช่วงบ่ายด้วยการชมวีดีทัศน์ประมวลภาพโครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ... เรื่องราวจะเป็นอย่างไร

­

"คุณค่าของสังคมที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้มีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยกัน อาทิ เยาวชน นิสิต นักศึกษาได้ลงพื้นที่เรียนรู้และนำประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนมาทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้ ขณะเดียวกันโครงการนี้ยังมีส่วนทำให้สังคมไทยน่าอยู่มากขึ้น"

รศ.ดร.ศุภกร ดิษฐพันธ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานสภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย

­

 "การจัดการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาของไทยนับแต่นี้ต้องดำเนินไปภายใต้แนวคิด วิชาการสายรับใช้สังคม และเรื่อง The 21 st Century Learning หรือ “การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” บทบาทของมหาวิทยาลัย ต้องปรับเปลี่ยนจากการสอน “ความรู้” จำกัดอยู่แต่ใน “ห้องเรียน” มาเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษาเรียนรู้จากการ “ลงมือทำ” จาก “ประสบการณ์จริง” การมีภาคีภายนอกเข้ามาร่วมมือ ทั้งภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และชุมชน เอาโจทย์มาให้ และร่วมกันพัฒนาชิ้นงาน จะช่วยให้นักศึกษาไม่ใช่จะได้ฝึกเรียนศาสตร์ของตนเท่านั้น ยังจะได้เรียนรู้ความเป็นไปในบ้านเมือง ได้ร่วมทำประโยชน์ คือการพัฒนาสังคม เท่ากับได้ฝึกจิตสาธารณะ ฝึกการเป็นพลเมืองที่สนใจความเป็นไปของสังคมของบ้านเมือง ที่เรียกว่า concerned citizen การเรียนรู้แนวนี้เรียกว่า Service-learning หรือ Service-Based Learning"


ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวเปิดงาน ในฐานะประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยรังสิต มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ(มสช.) มูลนิธิสยามกัมมาจล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network for Change: UNC) ภายใต้โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้านนิเทศศาสตร์-นิเทศศิลป์ ร่วมกับภาคประชาสังคม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานจากพื้นที่จริง เพื่อสร้างบุคคลากรรุ่นใหม่ด้านการสื่อสารให้มีสำนึกความเป็นพลเมือง ไม่นิ่งดูดาย ใช้ศักยภาพของตัวเองทำประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อร่วมกันปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปสังคมไทยให้ดีขึ้น

เริ่มแล้วค่ะ สำหรับเวทีสานพลังขับเคลื่อนเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม โดย

- คุณปรีดา คงแป้น ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท
- คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจ
- คุณธิติพงษ์ ทั่งทอง นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
- อาจารย์ดนุ ภู่มาลี ผู้ช่วยคณบดี คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
- รศ.วัฒนา เกาศัลย์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ดร.สันต์ จันทร์สมศักดิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
- รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)

ดำเนินรายการโดยคุณรัตนา กิติกร ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิสยามกัมมาจล

­

"จากเวิร์คช็อปโครงการฯ ครั้งที่ 1 ที่มีการเล่าเรื่องจากชาวบ้าน และมีผลงานมานำเสนอ ทำให้เห็นว่ามีวิชามากมาย ทั้งเอกสารปึ้งใหญ่ รู้ว่านักศึกษามีมุมมองใหม่ๆ ถ้ามีการพัฒนาต่อยอดจะสามารถนำไปใช้ได้ ถ้าเรื่องศิลปกรรมออกแบบเรียนรู้ท่ามกลางการทำอย่างแท้จริง ถ้าให้นักศึกษาได้ลงพื้นที่และคลุกกับชุมชนจะเข้าใจเรื่องราว เมื่อออกไปทำงานเขาจะไม่ทิ้งเรื่องนี้"

คุณปรีดา คงแป้น ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท

­

"ภาคสังคมมีโจทย์มากมาย และไม่รู้จะมีวิธีสื่อสารอย่างไร ก็สื่อแข็งๆ คนไม่สามารถรับรู้ได้เห็น ภาคการศึกษามีการเรียนการสอน แล้วมหาวิทยาลัยรับใช้สังคมจะทำได้อย่างไร ถ้ามหาวิทยาลัยไม่เข้าใจสังคม โครงการนี้เป็นสะพานเชื่อมทั้งสองฝั่ง เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ฝันว่า ถ้ามหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับภาคสังคม นำสิ่งนี้ไปอยู่ในห้องเรียน ใช้มหาวิทยาลัยทำงาน แล้วเรียนรู้ชีวิตข้างนอก และแลกเปลี่ยนถกเถียง จะเกิดการเรียนรู้มากมาย ภาคสังคมต้องเรียนรู้ด้วย ว่ากว่าจะได้โปรดักค์ดีๆ ต้องผ่านอะไรบ้าง ซึ่ง 4 เดือนก็เห็นวิธีการทำงานว่าผ่านมาอย่างไร ถ้าโน้มมาทำงานร่วมกันจะง่ายขึ้น ผู้บริหารหลายแห่งเชื่อว่ามีใจเดียวกันที่จะแตกหน่อผลงานแบบนี้ต่อไป"

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจ

­

­

"เด็กได้ประสบการณ์จากเรื่องที่พบและสื่อออกมาได้ง่าย เป็นการปลุกจิตสำนึก และปลูกการศึกษาให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัย"

นายธิติพงษ์ ทั่งทอง นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ศิลปากร

­

­

"ผมอยากให้งานนี้ขับเคลื่อนโดยเด็กร้อยเปอร์เซนต์ โดยมีผมทำหน้าที่คอยดูอยู่ให้คำปรึกษาเท่านั้น ผลงานที่สื่อออกมานั้น จึงเป็นผลงานที่มาจากเด็กๆช่วยกันคิดช่วยกันทำ"

อาจารย์ดนุ ภู่มาลี ผู้ช่วยคณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ ม.รังสิต อาจารย์ที่ปรึกษารวมแสดงทัศนะ

­

"เห็นผลงานของน้องๆ ทุกชิ้นรู้สึกถึงเบื้องหลังความงดงามและมีวิญญาณของการสร้างสิ่งดีๆ เต็มไปหมดอยากเห็นการขับเคลื่อน การปลูกฝังสร้างคนในลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ทำอย่างไรให้เครือข่ายเป็นที่เรียนรู้และทำให้คนกับปัญหาได้มาเจอกัน เราจะมาร่วมกันปลูกฝังสร้างคนกันต่อไป"

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

­

ภาพความประทับใจค่ะ กับพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม โดย

- ดร.มัทนา สานติวัตร์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ดร.พงศ์ภัทร อนุมัติราชกิจ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
- รศ.ทพ.นพ.ดร.สิทธิชัย ทัดศรี รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รศ.วัฒนา เกาศัลย์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ดร.วินธัย โกกระกูล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
- นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ รักษาการเลขานุการ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)
- ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล

จากนั้นได้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรนักศึกษาและมหาวิทยาลัย พร้อมถ่ายภาพความประทับใจร่วมกัน

­


อ่านกิจกรรมขับเคลื่อนได้ที่ http://goo.gl/esGPzQ

­