ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมงาน "๒๐ ปี เสมสิกขาลัย : พื้นที่แห่งการเรียนรู้"
ในวาระเสมสิกขาลัยดำเนินงานครบ 20 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และนำเสนอผลงานการทำงานของเสกสิกขาลัยตลอด 20 ปีที่ผ่านมาและเป็นการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนพูดคุย เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานสร้างสรรค์สังคมให้ดีงามร่วมกันต่อไป ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานในวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย.2558 นี้ ณ เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา คลองสาน กรุงเทพฯ


31 ตุลาคม 2558
09.00-09.30 น. พิธีเปิดงาน กล่าวโดย อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
09.30-09.45 น. ฉายวีดิทัศน์ SEM 20 ปี
09.45-12.00 น. วงเสวนา "เหลียวหลัง..แลหน้า 20 ปี เสมสิกขาลัย" โดย
  • นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์
  • ประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข
  • วัลลภา แวน วิลเลี่ยนส์วาร์ด
ดำเนินรายการโดย ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ
13.00-15.15 น. เวที "20 ปีเสมสิกขาลัย : ดอกผลแห่งการเปลี่ยนแปลง"
  • ตัวแทน เสมสิกขาลัย โครงการ สปป.ลาว
  • ตัวแทน เสมสิกขาลัย โครงการ พม่า
15.30-17.00 น.
  • ผู้อำนวยการสถาบันปัญญาปีติ
  • ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน
  • คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ผู้บริหาร บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด(มหาชน)
ดำเนินรายการโดย นงลักษณ์ สุขใจเจริญกิจ
17.00-17.30 น. งานวัฒนธรรม "ระบำทวาย"

 

1 พฤศจิกายน 2558
09.00-12.00 น. Work shop ห้องย่อย
13.00-16.00 น. เวทีเสวนา "กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง" โดย
  • วิศิษฐ์ วังวัญญู มูลนิธิสังคมวิวัฒน์
  • อวยพร เขื่อนแก้ว โครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม
  • ดร.อดิศร จันทรสุข คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการโดย ณัฐฬส วังวิญญู สถาบันขวัญแผ่นดิน

 

ทั้ง 2 วัน มีกิจกรรม • การออกร้านขายของโดย โครงการลาว โครงการพม่า องค์กรเครือข่ายต่างๆ
ร้านกรีน ร้านอาหารทวาย • นิทรรศการจากองค์กรที่ทำงานด้านการจัดการเรียนรู้
• จำหน่ายหนังสือ • จำหน่ายของที่ระลึกงาน 20 ปีเสมสิกขาลัย
 

 

สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือบริจาคตามกำลังทรัพย์เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดงาน
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เสมสิกขาลัย คุณสาวิตรี กำไรเงิน โทร. 02–314 7385 ถึง 6
email: semsikkha_ram@yahoo.com //


facebook : semsikkha | line : @semsikkha
http://www.semsikkha.org
 


รายละเอียด Workshop ห้องย่อย

วันที่ 1 พ.ย. 2558 เวลา 9.00 – 12.00 น.  

 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดย เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 

 (อยู่ระหว่างการประสานงาน) 

 

 การทำงานอย่างมีส่วนร่วม โดย กรมชลประทาน 

 (อยู่ระหว่างการประสานงาน) 

 

 ทวายและการเปลี่ยนแปลง โดย เสมสิกขาลัย พม่า 

รับจำนวน 20 ท่าน 

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมการเมืองในพม่าในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการไหลบ่าขอนักลงทุนจากต่างชาติรวมทั้งประเทศไทยที่มุ่งหวังจะเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของพม่า ทั้งนี้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวายเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นความร่วมมือของรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลในพื้นที่กว่า 120,0000 ไร่ และจะมีประชาชนถูกโยกย้ายกว่า 30,000 คน โดยคนในพื้นที่มีความกังวลเรื่องผลกระทบทาสิ่งแวดล้อมจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะก่อให้เกิดมลพิษซึ่งมีบทเรียนในไทยมาแล้ว เช่นกรณีมาบตาพุด หรือแม่เมาะ  

ทั้งนี้เสมฯพม่าเล็งเห็นความสำคัญในการที่จะเข้าไปหนุนเสริมการทำงานของภาคประชาสังคมของพม่าให้เท่าทันถึงข้อมูลสถานการณ์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยทำงานร่วมมือกันกับภาคประชาสังคมไทยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งตลอดการทำงานที่ผ่านมาได้เกิดเครือข่ายขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เพื่อทำงานรณรงค์และผลักดันเชิงนโยบายในระดับต่างๆ วงเสวนาที่จะจัดให้มีขึ้นจะเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันถึงสถานการ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทวาย ตลอดจนบทเรียนการทำงานร่วมกันของภาคประชาสังคมพม่าและไทย  

กิจกรรม  

  • ฉายสารคดี 22 นาที
  • เสวนาเรื่องเกี่ยวกับทวายและการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบจากเขตเศรษกิจพิเศษทวายกับการทำงานของภาคประชาสังคมไทย-พม่า
 

 เสวนา “ภาคประชาสังคมลาวจะก้าวต่อไปอย่างไร” 

รับจำนวน 20 ท่าน 

การแบ่งปันประสบการณ์การทำงานจากผู้นำภาคประชาสังคมใน สปป.ลาว ซึ่งมาจากมิติศาสนาธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นรากฐานของประชาชน กับมิติระดับกว้างในการสร้างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานสังคม เพื่อให้สังคมลาวมีความเข้มแข็ง ในการพึ่งพาตนเอง มีความเป็นธรรม และความสุข ในขณะที่ สปป.ลาว เป็นประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตยที่อยู่ท่ามกลางการเผชิญกับกระแสทุนนิยมโลกาภิวัตรที่เข้มข้น โอกาสของการก้าวต่อไปของภาคประสังคมจะเป็นเช่นไร เป็นคำถามใหญ่ที่จะได้หยิบยกขึ้นมาใคร่ครวญ 

ผู้ร่วมเสวนา
1. พระอาจารย์สีทน ไซยะวงสอน ประธานโครงการพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนา สปป.ลาว
2. Shui-Meng Ng ภรรยาของ ดร.สมบัติ สมพอน และผู้จัดการร้านซาวบ้าน (Saoban Shop) 

พระอาจารย์สีทน ไซยะวงสอน ประธานโครงการพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนา
ท่านได้เน้นให้ชาวพุทธลาว โดยเฉพาะพระสงฆ์ได้มีบทบาทในงานเพื่อสังคม โดยนำธรรมะมาสู่การสร้างสรรค์ชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองอย่างมีส่วนร่วม เกื้อกูลกับระบบนิเวศน์ ภูมิปัญญาร่วมสมัย และการกระบวนการศึกษาเรียนรู้ โดยทำงานมุ่งทำงาน 5 ด้าน คือ 1. งานเผยแผ่การฝึกปฏิบัติภาวนา 2. งานการศึกษาแนวพุทธ (ธรรมะสัญจร) 3. งานพัฒนาแบบอย่างชุมชนยั่งยืน 4. งานสื่อและประชาสัมพันธ์ และ 5. งานหนุนเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้นำชาวพุทธ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.laobdp.org 

Shui-Meng Ng
เป็นนักพัฒนาสังคมในระดับนานาชาติ ทำงานเป็นผู้บริหารและประเมินโครงการของ unicef แต่เธอมีประสบการณ์และแนวคิดในทิศทางเพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมของโลกฝ่ายใต้ ที่มุ่งมั่นจะขึ้นมายืนหยัดด้วยพลังของตนเอง Shui-Meng Ng ได้เข้ามามีบทบาทร่วมคิดร่วมทำงานใน สปป.ลาว โดยเป็นภรรยาของ ดร. สมบัติ สมพอน ผู้นำภาคประชาสังคมลาวที่ได้รับการยอมรับ และได้รับรางวัลแมกไซไซเมื่อปี 2005 ดร.สมบัติ ได้หายตัวเมื่อธันวา 2013 หลังจากได้เป็นแกนนำในการจัดกองประชุม Asia-Europe People's Forum (AEPF 9) ที่เวียงจันทน์ ซึ่งเขาได้ขึ้นนำเสนอแนวคิด “People’s Vision” นับเป็นความหวังและแรงบันดาลใจร่วมกันของภาคประชาสังคมลาว ที่จะก่อให้เกิดทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการศึกษาแบบองค์รวมที่สนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมกันของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน, ความยุติธรรมทางสังคม ความสมบูรณ์ทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ
ปัจจุบัน Shui-Meng Ng ทำงานด้านส่งเสริมธุรกิจและผู้ประกอบการทางสังคมที่เน้นทางด้านการค้าที่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านศิลปาชีพของคนลาว โดยเป็นผู้จัดการร้านชาวบ้านที่มีบทบาทสนับสนุนด้านการตลาด ให้ช่างฝีมือชาวบ้านได้ผลิตและส่งมาขายผลิตภัณฑ์ของตน สามารถดูข้อมูลและเยี่ยมชมสินค้าได้ที่ www.saobancrafts.com
 

 

 ปาฏิหาริย์แห่งการฟัง(Bearing Witness) 

รับจำนวน 30 ท่าน 

พวกเราล้วนแล้วแต่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในชุมชน องค์กร หรือสังคมของเรา แต่หลาย ๆ ครั้งการพยายามเปลี่ยนแปลงภายนอกกลับนำมาซึ่งความสับสนภายในและความเป็นศัตรูกับผู้ที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลงนั้น ความท้าทายที่อยู่เบื้องหน้าเราก็คือ เราจะแปรเปลี่ยนผู้ที่เป็น “ศัตรู” หรือ “คนอื่น” ให้กลายเป็นมิตรได้อย่างไร เพื่อเราจะได้ร่วมกันสร้างอนาคตอันสันติสำหรับทุกคน 

การเป็นสักขีพยาน เป็นวิถีหนึ่งของการใช้ชีวิตและสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก โดยเน้นทักษะเช่น การฟังอย่างลึกซึ้ง การถามคำถามอย่างใส่ใจ การบอกเล่าเรื่องราวของเราด้วยความจริงใจ และขันติธรรม การฝึกปฏิบัตินี้จะค่อย ๆ ช่วยให้เราคลายความหวาดกลัวจาก “สิ่งที่เราไม่รู้” ไปทีละน้อย เมื่อเราเรียนรู้ที่จะต้อนรับและให้เกียรติผู้คนที่ต่างจากเราทั้งท่าทาง ความคิด และความรู้สึก เมื่อนั้นปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นได้ 

กำหนดการกิจกรรม 

9.00 – 9.30 น. หลักการพื้นฐานของการเป็นสักขีพยาน 

9.30 – 10.30 น. การรับฟังอย่างลึกซึ้ง และการถามคำถามใส่ใจ 

10.30 – 10.45 น. พัก 

10.45 – 12.00 น. ฝึกเผชิญหน้ากับ “คนอื่น” และก้าวเข้าสู่ “ความไม่รู้” กับอาสาเพื่อนรับฟัง