"เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการทุกช่วงวัย"
ถอดความการบรรยาย "เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการทุกช่วงวัย"

โครงการ “ห้องเรียนพ่อแม่ไทยพาณิชย์”

บรรยายเรื่อง “เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการทุกช่วงวัย”

โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

วันที่ 9 สิงหาคม 2561

ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ,SCB Academy Playground ชั้น 18


ดำเนินการโดย มูลนิธิสยามกัมมาจลและ SCB Academy

     

  

­

เรามาเริ่มต้นให้ดีๆ รับรองว่าจะสบายในวันหน้า มีเหตุผลสั้นๆ 3 ข้อ ที่อยากให้ความรู้

ข้อแรกคือ คิวจิตเวชเด็กตามโรงพยาบาลต่างๆ ยาวมาก ยาวเป็นเดือน อย่าพาตัวเองไปที่จุดนั้น มันทุกข์มาก ดังนั้น เริ่มต้นด้วยดีๆ ตั้งแต่แรก

ข้อที่สอง ผมอ่านหนังสือมาก และในชีวิตราชการนั้น ผมตรวจผู้ป่วยจิตเวชจำนวนมากด้วย เป็นเวลาหลายสิบปี เห็นว่าเลี้ยงแบบไหนจะได้ผลลัพธ์แบบไหน แล้วมองไปที่บ้านของคนข้างๆ เลี้ยงแบบไหนชีวิตจะมีความสุขแบบไหน 30 ปีนั้นนานพอที่จะเห็น จึงอยากมาเล่าให้คนรุ่นใหม่ฟัง

ข้อที่สามคือ ผมก็เลี้ยงลูกตัวเองอย่างนั้นจริงๆ แล้วลูกตัวเองก็เรียนโรงเรียนสพฐ.ธรรมดา ไม่ได้โฮมสคูล ไม่ได้เป็นโรงเรียนทางเลือก ทุกวันนี้ชีวิตของเขาสองคน เราใช้คำว่า “โอเค เรียบร้อย น่าภูมิใจ” โอเค แปลว่า หนึ่ง ไม่มาขอเงิน สอง ไม่กวนประสาท ถ้าใครสามารถพาลูกผ่านวัยรุ่นกลายเป็นผู้ใหญ่ (Adult) แล้วไม่มาขอเงิน ไม่มากวนประสาท คุณสองคนจะมีความสุขมาก อยากให้ทุกคนมี ดังนั้น เรามาเริ่มต้นดีๆ ตั้งแต่แรก

วันนี้เราพูด 3 เรื่องคือ

1) พัฒนาการเด็ก

2) Executive Function หรือ EF

3) การปรับพฤติกรรมเด็ก

ถามว่าเราทำไมต้องมาพูดเรื่อง Executive Function หรือ EF เหตุผลเพราะว่าวันนี้โลกมีสิ่งที่สมัยก่อนผมไม่มี คือ wifi โลกมี wifi สมัยผมโตไม่มี wifi สมัยลูกของผมโต อินเทอร์เน็ตยังมีสาย ต้องหาที่เสียบ สมัยนี้มี wifi สถานการณ์ต่างกันมาก เราต้องการเด็กที่ควบคุมตัวเองเก่งกว่าแต่ก่อนมาก ใช้ wifi ให้เป็น มิใช่ไม่มีปัญญาใช้ ดังนั้น เด็กต้องมี EF ดีและเร็วพอสมควร นี่คือโลกที่เปลี่ยนไป


พัฒนาการเด็ก

มีกติกา 3 ข้อคือ

ข้อที่1) พัฒนาการเป็นลำดับชั้น (Epigenesis) นี่คือพีระมิดซัคคาร่าที่อียิปต์ หรือ Step Pyramid มีอายุมากกว่าพีระมิดที่พวกเรารู้จัก ใช้เวลานานเกือบ 1000 ปีในการที่จะทำให้ผิวเรียบ

พัฒนาการเป็นลำดับชั้น ภาษาอังกฤษเรียกว่า Epigenesis เป็นภาษาของนายแพทย์อีริคสัน ความหมายคือ ถ้าเราสร้างชั้นที่ 1 ดี ชั้นต่อๆ ไปจะง่ายขึ้น หรือถ้าเราสร้างชั้นที่ 1 แข็งแรง ชั้นต่อๆ ไปจะแข็งแรงด้วย


  • ชั้นแรก 1 ขวบ
  • ชั้นที่สอง 2-3 ขวบ
  • ชั้นที่สาม 4-6 ขวบ
  • ชั้นที่สี่ ประถมศึกษา
  • ชั้นที่ห้า มัธยมศึกษา

                                                       

ตัวอย่างเช่น ตอนที่ลูกเราอยู่ชั้นมัธยมศึกษา เราทุบเขา ถ้าเขามีพื้นฐานดี อย่างมากเขาก็ไปกินเหล้าแล้วก็เลิก แต่ถ้าพื้นฐานไม่ดี เราทุบเขา เขาอาจจะฆ่าตัวตายได้ นี่คือความหมายสั้นๆ ของ Epigenesis

"พวกเราทำฐานให้ดี 3 ปีเท่านั้น เพราะดูจากขนาดพีระมิด 3 ปีหมดไปแล้วครึ่งชีวิต 2 ชั้นก็เป็นครึ่งหนึ่งของพีระมิด ดังนั้น ทำ 3 ปีแรกให้ดี มากกว่านั้นคือ 10 ปีแรกให้ดี แล้วจะเสวยสุขภายหลัง"

ข้อที่ 2 เวลาวิกฤต (Critical period) เป็นภาษาแพทย์ ความหมายคือ ในแต่ละช่วงชั้น คุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ต้องทำ เราเรียกว่า “เวลาวิกฤต” ถ้าไม่ทำ อยากย้อนกลับมาทำ คำตอบคือ ได้ แต่มันยาก เช่น ชั้นที่หนึ่งคือ 12 เดือนแรก เด็กอยากให้เราอุ้ม กอด บอกรัก เราไม่ได้ทำ ตอนเป็นวัยรุ่น (ชั้นที่ห้า) พ่อแม่อยากอุ้ม กอด บอกรัก เขาไม่เอา เขาไม่กลับบ้าน ชั้นที่หนึ่งเด็กต้องการนม เราไม่ได้ป้อน กลัวลูกติดนม ชั้นที่ห้า เราไปป้อนนม เขาไม่เอา เขาเอาเหล้า ทำได้แต่ยาก ใครอยากลองดีลองได้แต่รับรองว่ายากมาก เราเรียกสิ่งนี้ว่า Critical period ผ่านแล้วผ่านเลย รวยแล้วกลับมาทำก็ได้ แต่มันยาก นี่เป็นปัญหาใหญ่ ตอนชั้นที่หนึ่ง ทุกคนกำลังปากกัดตีนถีบ (รวมทั้งผมด้วย) รถต้องซื้อ บ้านต้องผ่อน แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ที่เรื่องนั้น ประเด็นอยู่ที่ว่า “เรารู้ถึงสิ่งที่เราเห็นว่าสำคัญ เราก็ทำจนได้” คิดดูดีๆ ว่าประโยคนี้จริงไหม ตอนลูกเล็ก ผมก็ยังอยู่เวรเช้าบ่ายดึก ภรรยาก็เป็นพยาบาลอยู่เวรเช้าบ่ายดึก เรารู้ว่าสิ่งนี้สำคัญ เรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน เราต้องหาเวลาทำจนได้

ข้อที่ 3 คือ หน้าที่ (Function) เด็กมีหน้าที่ต้องทำในแต่ละช่วงชั้น ช่วงชั้นละ 2-3 ข้อ ตั้งแต่ทารก ทุกคนมีหน้าที่ทางจิตวิทยาต้องทำ หน้าที่แปลว่าตื่นเช้าต้องทำ ฝนตกแดดออก เขาก็ต้องทำ ต้องทำในแต่ละช่วงชั้นก่อนที่จะผ่านไปสู่ช่วงชั้นถัดไป จะใช้คำว่า “เด็กมีข้อสอบชีวิตที่ต้องผ่าน” ถ้าไม่ผ่าน ช่วงชั้นนั้นก็จะผ่านไปด้วยความผุกร่อนไม่แข็งแรง รอวันถูกทุบ แล้วดูว่าจะถล่มลงมากี่ชั้น เราวัดกันที่ตอนนั้น


พัฒนาการเด็กแต่ละช่วงชั้น

ชั้นที่ 1 สร้างแม่ที่มีอยู่จริง

สร้างแม่ทำอย่างไร แม่ก็ต้องเลี้ยงลูกด้วยตนเอง อุ้ม กอด บอกรัก ลูกร้อนก็เปิดพัดลมให้ หนาวก็ห่มผ้าให้ เหงาก็อุ้มเขาลอยขึ้นไป แฉะก็เปลี่ยนผ้าแห้งทันใด ยุงกัดก็ตบยุงให้วิธีสร้างแม่มีอยู่ 2 ขั้นตอน ขั้นที่หนึ่งสร้างแม่ขึ้นมาก่อน เพื่อขั้นที่สอง คือ สร้างโลก นี่คือพัฒนาการเด็กในช่วงชั้นที่หนึ่ง

เด็กใช้เวลาสร้างแม่ระหว่างอายุ 0 - 6 เดือน แม่ที่มีอยู่จริงจะเริ่มต้นที่ประมาณ 6 เดือนแรก “อ๋อ...นี่ท่อนแขน

นี่ทรวงอก นี่เสียงหัวใจ นี่ใบหน้า นี่เสียงร้องเพลง” ที่มากกว่านี้คือ คุณภาพการอุ้ม พ่อลองอุ้มลูก 90 นาที

ลูกก็ยังไม่หลับ แต่พอแม่อุ้ม 3 นาที ลูกหลับ คุณภาพของความเป็นแม่ต่างกัน นี่เป็นส่วนหนึ่งของ “แม่มีอยู่จริง”

วันที่พวกเราคลอดแล้วเอาลูกกลับบ้าน พวกเรายังไม่ใช่แม่ ต้องใช้เวลาพิสูจน์ตัวเอง ทำเรื่องเสนอให้ท่านอนุมัติว่า “อ๋อ...คนนี้แหละ ใช้ได้ เป็นแม่ ดูแลจริง” ผ้าห่มลอยได้ พัดลมเปิดได้ แอร์เปิดได้ แพมเพอร์สเปลี่ยนได้ ยุงมดไปหมด เหงาก็อุ้มได้ รู้ใจไปเสียทั้งหมดทั้งสิ้น แม่ที่มีอยู่จริงสร้างแม่ที่ไว้ใจได้ (Trust) เมื่อแม่ไว้ใจได้ ขั้นตอนต่อไป โลกจึงไว้ใจได้

ทำไมโลกต้องไว้ใจได้ ถ้าโลกไว้ใจไม่ได้ หนูไม่ไป นั่งแล้วหงายหลัง ใครจะอุ้ม ไม่มีคนอุ้มหนูไม่นั่ง ยืนแล้วล้มก้นกระแทก ใครจะอุ้ม ไม่มีคนอุ้มหนูไม่ยืน ไม่ไว้ใจไม่เดิน แล้วตามด้วยไม่พูด อันนี้เป็นจิตวิทยาพัฒนาการ ดังนั้น โลกต้องไว้ใจได้ ก่อนโลกจะไว้ใจได้แม่ต้องไว้ใจได้

ดังนั้น แม่มีเวลา 12 เดือน ทำสิ่งที่เรียกว่า “แม่ที่ไว้ใจได้เพื่อนำไปสู่โลกที่ไว้ใจได้”

วอย่างของแม่ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น แม่ที่เข้าห้องน้ำยาก เข้าก็ได้แต่ต้องเปิดประตู ร้องเพลง เพราะว่า ไม่เห็นคือไม่มี

เรื่องนี้จะไปเห็นผลตอนที่เข้าโรงเรียน แม่ที่ส่งลูกเข้าโรงเรียนยาก พรากจากกันยาก เพราะไม่เห็นคือไม่มี “ถ้าหนูปล่อยมือแม่กลับบ้าน รู้ได้อย่างไรว่า 4 โมงเย็น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “แม่” จะมีอยู่จริง” ดังนั้น หนูไม่ปล่อย การเข้าโรงเรียนก็จะยาก

แม่ที่มีอยู่จริงที่ 6 เดือน นำไปสู่วัตถุที่มีอยู่จริงที่ 8 เดือน อันนี้เป็นการสังเกตของเพียเจต์ (Piaget) ก่อน 8 เดือน เด็กเล่นของเล่น พวกเราชอบแกล้งเด็กโดยเอาผ้าคลุมของเล่น ไม่เห็นคือไม่มี

หลัง 8 เดือน เด็กจะเริ่มหาบางอย่างบนผ้า ก่อนที่จะคิดออกแล้วเปิด ของเล่นมี ไม่เห็นแปลว่ามีได้ เหมือนแม่เข้าห้องน้ำ ปิดประตูได้แล้ว เด็กที่เลี้ยงง่ายกว่านั้น คือ แม่ไปทำผมนานถึง 4 ชั่วโมงก็ได้

เมื่อแม่มีอยู่จริง เราจะพบว่าเด็กจะพัฒนาได้ค่อนข้างดี ไปได้เรื่อยๆ หันมาดูแม่เป็นบางครั้ง และนำไปสู่การสร้างสายสัมพันธ์

การสร้างสายสัมพันธ์(Attachment) การสร้างสายสัมพันธ์จริงๆ สร้างตั้งแต่เกิด แต่ผมชอบเล่าในช่วงวัย 12 เดือน คือ ช่วงนี้ เด็กลุก นั่ง ยืน ปล่อยมือ เป็นครั้งแรก แล้วก็เดินจากพวกเราไป ถ้าพวกเราจำได้ 3 ก้าว 5 ก้าวจะหันกลับมาดูแม่ ซึ่งเพิ่งจะมีอยู่จริงเมื่อ 6 เดือน แต่เหตุการณ์ที่เขาจะเดินจากเราไปด้วยมือเปล่านี้ อยู่ที่ 12 เดือน ต่อ 13 เดือน ดังนั้น ทุก 5 ก้าว 10 ก้าว เขาจะหันกลับมาดูอยู่เสมอว่า “แม่ยังอยู่ ไม่หายไปไหน”

ที่เราไม่ค่อยระวังคือ จำนวนก้าวนั้นจะไกลขึ้นทุกวัน และเขาจะหันมาดูพวกคุณน้อยลงทุกวัน (อย่าน้ำตาเช็ดหัวเข่าก็แล้วกัน)

ตอนบรรยายต่างจังหวัด ผมก็จะแซวว่า ตอนอยู่ ม. 3 เราจะซื้อรถมอเตอร์ไซค์ให้ลูก มันก็ไปเลย เรียกกินข้าวก็ไม่กลับมาบ้านอีกเลย ทั้งหมดนี้อยู่ที่สายสัมพันธ์ สายสัมพันธ์คือสิ่งที่ทอดยาวไปได้ไกล รอบโลก วันหนึ่งลูกชายของผมมาเรียนกรุงเทพ อยู่หอพักมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ผมถามว่า“ข้างห้อง กินเหล้ากินเบียร์ไหม”ลูกบอก “ทุกวันเลยป๊า ศุกร์เสาร์หนักหน่อย” วันนี้ เราไม่ได้มาพูดเรื่องการสอนลูกให้เป็นเด็กดี แต่เรามาเลี้ยงลูกให้มีทักษะชีวิตที่ดี ซึ่งไม่ได้แปลว่าเป็นเด็กดี ลูกกินแล้วเลิกได้เพราะสายสัมพันธ์ดี วันหนึ่งลูกสาวไปเรียนต่างประเทศ ชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในต่างแดน ถ้าใครมีประสบการณ์จะพบว่าสนุกมาก เขาจะทำอะไรก็ได้

สายสัมพันธ์จะทอดระยะออกไป ไกลออกไปไม่มีที่สิ้นสุดกาลนาน เขายังคงหันมาดูเสมอ แต่ไม่ต้องหันด้วยคอ แต่หันด้วยใจ

“พ่อแม่อยู่ที่บ้าน กินเหล้ากี่แก้วดี คิดดีๆ” “จะมีเพศสัมพันธ์ควรทำอย่างไรบ้าง คิดให้ดี” เรื่องนี้เป็นเรื่องของสายสัมพันธ์สร้างกันที่ 12 เดือนแรก และทอดระยะออกไปเรื่อยๆ ไม่เกี่ยวกับศีลธรรม ไม่เกี่ยวกับครูใหญ่ พูดหน้าเสาธง ไม่เกี่ยวกับโครงการรณรงค์ แต่เกี่ยวกับ “แม่” คนที่อยู่กับบ้าน ให้เขาหันไปดูคนไหน

ตัวอย่างของเด็กที่สายสัมพันธ์ไม่ดี เช่น เด็กที่เข้าอบายมุขง่าย หรือเข้าแล้วออกยาก ทำไมลูกบ้านนั้นรู้จัก ดื่มเหล้าหนึ่งแก้วเลิก ทำไมลูกบ้านนี้ 10 แก้วยังไม่เลิก ทุกคนเรียนมาว่า HIV ติดอย่างไร ตั้งครรภ์ทำอย่างไร แต่ทำไมบ้านนี้ทำ ทำไมบ้านนั้นไม่ทำ คำตอบจะกลับไปที่สายสัมพันธ์ เขาหันไปดูพ่อแม่ก่อนใส่ถุงยางอนามัยหรือเปล่า ดังนั้น สายสัมพันธ์มีความสำคัญ เป็นอะไรที่ใช้ดึงลูกๆ ไว้กับพ่อแม่ 

ยุคโบราณ ซึ่งไม่มี wifi สมัยผม ทุกคนที่มีอายุเท่าผม พ่อแม่ก็ไม่ได้เลี้ยงดูมากมาย แต่เราไม่มีที่ไหนจะไป แต่สมัยนี้ไม่เลี้ยง เขาก็ไม่ต้องไปไหน ตีสองนอนคลุมโปงไฟส่องอยู่ใต้ผ้าห่ม เข้าเว็บโป๊และการพนันได้ทุกชนิดจากห้องนอน ดังนั้น สายสัมพันธ์ต้องแข็งแรงมาก แล้วแข็งแรงได้สักพักหนึ่ง สิ่งที่เรียกว่า wifi และ IT ก็จะมา สายสัมพันธ์อย่างเดียวเริ่มเอาไม่อยู่ ในทฤษฎีพัฒนาการสมัยใหม่ต้องการเครื่องมือที่มากกว่าสายสัมพันธ์ นั่นคือ Executive Function หรือ EF เด็กต้องควบคุมตัวเองได้เร็วมาก

ข้อสอบชีวิตของเด็ก 12 เดือนแรก คือ 1) ไว้ใจโลก 2) มีสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับแม่/พ่อ

ชั้นที่ 2 คือ สร้างตัวตน อายุช่วง 2 - 3 ขวบ ตัวตน คือ ประธานของประโยค มีไว้กินข้าว ไปเที่ยว เรียนหนังสือ จีบแฟน แต่งงานและมีลูกรุ่นต่อไป เรียกว่า “ตัวตน” ภาษาจิตวิทยาพัฒนาการเรียกว่า “Self” มนุษย์ต้องสร้างตัวตนใหม่ เพราะตอนอยู่ในท้อง พวกเรามีแม่ แม่ต้องแข็งแรงอุดมสมบูรณ์ 9 เดือน เรามีสิ่งที่เรียกว่า “สายรก” นำอาหารและวิตามินเราจึงมีสิ่งที่เรียกว่า “ทารก”

“แม่ สายรก ทารก”

กระบวนการสร้างมนุษย์เป็นแบบนี้ใน 9 เดือนแรก เมื่อลูกออกมา คุณหมอตัดสายรกทิ้ง สายสัมพันธ์เส้นที่หนึ่งขาด สร้างใหม่ แม่ใน 6 เดือนแรกทำให้ชัด

สายสัมพันธ์ใน 12 เดือนแรกทำให้แข็งแรง ตอนนี้ไม่ได้มีไว้ส่งอาหารและวิตามิน แต่ส่งความรัก ความห่วงใย ความเป็นแม่ที่มีอยู่จริงอย่างแข็งแรง มาที่มนุษย์ที่ไม่มีตัวตนในตอนแรกๆ

ทารกไม่มีตัวตนในตอนแรกๆ แต่จะค่อยๆ สร้างขึ้น ตัวตนของมนุษย์จะแข็งแรงเต็มที่ที่ประมาณ 3 ขวบ

หลังจาก 3 ขวบ ตัวตนนั้นจะเริ่มแยกตัวเป็นอิสระจากแม่ (Seperation) เป็นการพลัดพราก ถ้าสายสัมพันธ์แข็งแรง เขายังคงหันมาดูเป็นระยะๆ แต่ตอนนี้ตัวตนมีจริงๆ แล้ว มีแขน มีขา มีสติปัญญาและพูดได้

ช่วงอายุ 2-3 ขวบ จึงมีพัฒนาการที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งนอกจากเรื่องตัวตน คือ Autonomy “หนูทำได้” ความหมายคือว่า มนุษย์พัฒนาโดยเริ่มที่ตนเองเป็นศูนย์กลาง ทุกคนคงเคยคุ้นกับประโยคที่ว่า “เด็กเห็นตนเองเป็นศูนย์กลาง” ที่ศูนย์กลางของมนุษย์มีกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อเรียบ คือ ส่วนหนึ่งของการควบคุมทวารหนักและท่อปัสสาวะ ดังนั้น เด็ก 2-3 ขวบทุกคนจะควบคุมท่อปัสสาวะและอุจจาระได้โดยไม่ต้องสอน เพราะเรื่องนี้เป็น Autonomy ความสามารถนี้มาโดยอัตโนมัติ พ่อแม่ไม่ต้องสอน ถ้าเราคิดว่าเราสอนลูกกลั้นฉี่กลั้นอึได้ คุณคิดผิดแล้ว แต่เราสอนเรื่องกาลเทศะ สถานที่และเวลา วันที่เขาทำได้เขาทำเอง ดังนั้น บ้านที่กดดันเกินไปจึงเกิดเรื่อง และบ้านที่ผ่อนเกินไป จะฉี่หรืออึตรงไหนก็ได้ก็เกิดเรื่อง เรามีหน้าที่แค่เชิญไปห้องน้ำตามเวลาที่กำหนด

ธรรมชาติของ Autonomy ความสามารถของกล้ามเนื้อเรียบจะพัฒนาตนเองและกลั้นได้ โดยอัตโนมัติภายใต้กติกาที่สังคมกำหนด

ถัดจากกล้ามเนื้อเรียบตรงกลาง การพัฒนาตนเองก็เคลื่อนตัวออกจากศูนย์กลางมาที่กล้ามเนื้อต้นแขน กล้ามเนื้อต้นขา คือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ดังนั้น เขาตีแม่ได้ ต่อยได้ เตะปู่ย่าตายายได้ ถ้าไม่ชอบอาหาร เขาปัดทุกอย่างลงจากโต๊ะได้ สะบัดคอได้และพูดได้ว่า “ไม่” “ไม่กิน” “ไม่นอน” “ไม่อาบ” “ไม่เก็บของเล่น” เราเรียกว่า Autonomy ความสามารถพวกนี้เป็นอัตโนมัติ

ถามตัวเองว่า “เราสอนหรือเปล่า” ความสามารถตี ต่อย เตะ วิ่งหนี “เปล่า... “ มาเองโดยอัตโนมัติ ดังนั้น พวกเรามีหน้าที่ห้าม แต่จะห้ามได้กี่ข้อ มนุษย์เพิ่งได้ความสามารถของกล้ามเนื้อใหม่ หนูปีนที่ไหนได้บ้าง ต่อยที่ไหนได้บ้าง หนูตีใครได้บ้าง หนูเตะใครได้บ้าง หนูไม่แปรงฟัน ไม่อาบน้ำ ไม่นอนได้ไหม เพราะมีขา เขาทดสอบทุกฟังก์ชั่น

เขามีหน้าที่ดื้อ เรามีหน้าที่วางกติกา กลับไปคำถามเดิม “มีปัญญาห้ามหรือเปล่า ความสามารถที่จะวางกติกาสำเร็จหรือไม่สำเร็จ”

กลับไปที่สายสัมพันธ์ และคนพูดมีอยู่จริงหรือเปล่า “วันๆ ไม่ได้เลี้ยง แต่มาสั่ง” ดังนั้น เราเริ่มตั้งแต่อำนาจของผู้สั่งมีจริงหรือไม่ สายสัมพันธ์แน่นหนาพอหรือไหม ก่อนที่จะไปสู่เรื่องสุดท้าย คุณจะสั่งกี่ข้อ มีชายหาดไม่ให้ว่ายน้ำ

จะมีทำไม ดังนั้น ข้อนี้ต้องเรียกว่าตัวใครตัวมัน สามารถให้ได้แค่หลักการ ถ้าบ้านไหนสั่ง 100 ข้อ คุณจะไม่ได้สักข้อ

นี่เป็นหลักการง่ายที่สุด ถ้าบ้านไหนสั่ง 3 ข้อ โอกาสสูงมากที่เขาจะคืนกำไร

กติกา “ข้อห้าม” พื้นฐาน มี 3 ข้อ

1) ห้ามทำร้ายคน ครั้งเดียวก็ไม่ได้ ให้เด็ดขาดเสียตั้งแต่วันแรก

2) ห้ามทำลายข้าวของโดยเจตนา

3) ห้ามทำร้ายตนเอง

หากจะมีข้อ 4 ) เช่น ห้ามปีนที่สูง ควรห้ามจริงหรือ เพราะขาหักรักษาได้แต่พัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่และ Autonomy และ Self-Esteem ว่า “หนูปีนที่สูงได้ เก่งจังเลย” อันนี้ประเมินค่าไม่ได้ แต่ขาหักประเมินค่ารักษาได้

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้นึกภาพออก ปัญหาที่เด็กชอบปาของ หลายบ้านจะโมโหเรื่องนี้มาก แต่พ่อบ้านที่

ชาญฉลาด เราจัดลานปาของ นัดเวลามาปาแข่งกันให้เรียบร้อย ก่อนที่จะบอกว่าของอะไรปาได้ ของอะไรปาไม่ได้ บริเวณไหนของบ้านที่ปาได้ บริเวณไหนของบ้านที่ปาไม่ได้

ทุกเรื่องเราต่อรองได้หมดใน 97 ข้อที่เหลือ ขึ้นอยู่กับความใจถึงของพ่อแม่เอง เมื่อ 2 เดือนที่แล้ว มีหนังสารคดีเรื่อง Childhood ของประเทศนอร์เวย์ เด็กอนุบาลประเทศนอร์เวย์อายุ 6 ขวบเดินป่ากับครู ทุกคนมีมีด เข็มเย็บผ้า เลื่อย มีของมีคมสารพัดให้เด็กอนุบาล และเมื่อสัมภาษณ์ครู ครูตอบว่า “ทุกคนเจ็บตัวครั้งเดียว” อยู่ที่ความใจถึง ...แน่นอนมีเรื่องบางเรื่องที่เราต้องห้าม เช่น เตะฟุตบอลข้างซุปเปอร์ไฮเวย์ ว่ายน้ำคนเดียวในที่ลับตาคนโดยที่ไม่มีใครอยู่แม้แต่เพียงผู้เดียว เราก็จะปวดหัว แม้กระทั่งเรื่องปีนที่สูง สูงเท่าไหร่ที่พวกเราจะเริ่มโวยวาย เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่แต่ละบ้านต้องจัดการกันเอง ว่าจะห้ามเท่าไหร่

เพราะยิ่งห้าม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Autonomy ถูกขัดขวางและนำไปสู่ Self-Esteem ความมั่นใจว่าเราทำได้ก็จะถูกขัดขวางด้วย เพราะนี่เป็นพัฒนาการ

จะเห็นว่าครึ่งหนึ่งของพีระมิดผ่านไปแล้ว

“ความเป็นมนุษย์สร้างเสร็จสมบูรณ์ที่ 3 ขวบ จบ 3 ขวบแล้ว สิ่งที่ได้คือ 1)แม่ 2)สายสัมพันธ์ 3)ตัวตน 4)ความไว้วางใจโลก 5)กล้ามเนื้อใหญ่”

ชั้นที่ 3 ริเริ่มสิ่งใหม่ (Initiation) เด็กมีหน้าที่ริเริ่มสิ่งใหม่ มีสิ่งที่สำคัญคือ นิ้วมือ เด็กพัฒนาจากตนเองเป็นศูนย์กลาง เริ่มจากคุมกล้ามเนื้อหูรูด ท่อปัสสาวะและทวารหนักให้ได้ก่อนภายใน 3 ขวบ เคลื่อนออกจากศูนย์กลางมาที่กล้ามเนื้อใหญ่ ต่อย ตี แตะและวิ่งหนีพ่อแม่ได้ภายใน 3 ขวบ คอสะบัดได้ พูดว่า “ไม่” ได้


การพัฒนาเลื่อนออกจากกล้ามเนื้อใหญ่ ออกจากศูนย์กลางไปที่นิ้วมือ นาทีทองของนิ้วมืออยู่ที่ประมาณ 3 ขวบต่อ 4 ขวบ มนุษย์เป็นสัตว์พวกเดียวที่สามารถทำ Opposition ได้ คือ การเอานิ้วโป้งแตะ 4 นิ้วที่เหลือได้ วานรทำไม่ได้ วานรในหนังถูกเร่งที่สมองส่วนหน้าก็เลยทำได้ แต่ชิมแปนซี กอริลล่า อุรังอุตัง เอานิ้วโป้งแตะ 4 นิ้วไม่ได้ มนุษย์เป็นพวกแรกที่นิ้วโป้งแตะ 4 นิ้วที่เหลือได้ เราจึงสร้างหอก และธนูได้ก่อน เราประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่าเครื่องมือ หอก ธนู ตามด้วยปืน รถยนต์และ iPhone ได้ในที่สุด เพราะนิ้วมือ

ประเด็นของเรื่องนี้คือ “นิ้วมาก่อนสมอง” ซึ่งชาลส์ดาวินเขียนไว้ก่อนแล้วว่า “นิ้วมาก่อนสมอง” กล้ามเนื้อนิ้วมือ การเล่นใช้นิ้วมือทั้ง 10 การเขียนหนังสือใช้ 3 นิ้ว พื้นที่ของสมองพัฒนาต่างกันมากระหว่าง 3 นิ้วและ 10 นิ้ว นิ้วโป้งของมนุษย์สำคัญที่สุดในการพัฒนาเนื้อที่สมอง อายุ 4 - 6 ขวบ จึงเป็นนาทีทองของการเล่น เล่นด้วยนิ้วมือทั้ง 10 มิใช่เขียนหนังสือด้วย 3 นิ้ว และมิใช่เล่นคีย์บอร์ดด้วย 2 นิ้ว

เด็กวัย 4 - 6 ปี ควรใช้ 10 นิ้ว ให้เล่นไม่ใช่เพื่อเล่น แต่เพื่อสมองที่ดี สมองที่ดีเพื่อเป็นฐาน ของ EF ที่ดี EF ที่ดีเพื่อควบคุมตนเองได้ แล้วพาตัวเองไปสู่อนาคต... นี่คือศตวรรษที่ 21 ดังนั้น EF จะต้องมาเร็วพอสมควร EF จะมาเร็วได้เมื่อสมองดี สมองจะดีได้ต้องใช้นิ้วมือเรื่องจะวนเวียนกันอยู่อย่างนี้

ถัดมาคือ เรื่องการทำงาน การทำงานพัฒนาจากตนเองเป็นศูนย์กลางเหมือนกัน เริ่มตั้งแต่รับผิดชอบร่างกายของตนเองให้ได้ “งานบ้าน” ชิ้นที่หนึ่งคือ กินข้าวให้เรียบร้อยบนโต๊ะอาหาร อาบน้ำแปรงฟันด้วยตนเองให้เรียบร้อย นี่เป็นเรื่องของร่างกายซึ่งอยู่ที่ศูนย์กลาง ทำให้ได้ก่อนภายใน 3 ขวบ

ถัดจากศูนย์กลางมาถึงพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตรรอบๆ ศูนย์กลาง เช่น กินข้าวแล้วเก็บจานให้เรียบร้อย ตื่นนอนตอนเช้าเก็บที่นอนให้เรียบร้อย ขัดห้องน้ำตนเองด้วยก็ดี เก็บของเล่นให้เรียบร้อย ถ้าไปโรงเรียนจัดตารางสอนให้เรียบร้อย อย่าลืมของให้บ่อยนัก ทั้งหมดนี้อยู่ในวัย 4 - 6 ขวบ พื้นที่แค่ไม่กี่ตารางเมตรรอบตนเองต้องทำได้

ถัดจากพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตรรอบตนเอง มาถึงบ้านทั้งหลัง เคลื่อนตัวไปพัฒนาการของความสามารถ เลื่อนจากตัวเองเป็นศูนย์กลางออกไปบ้านทั้งหลัง ต้องทำงานบ้านพื้นฐานได้ กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน เก็บจาน ซักผ้า ตากผ้า เก็บผ้า เทขยะ คุยกับแม่บ้านหรือลูกจ้างให้เรียบร้อยว่าจะแบ่งงานกับลูกของเราอย่างไร

เล่นทำไม ทำงานบ้านทำไม

คำตอบคือ เล่นไม่ใช่เพื่อชนะ ทำงานบ้านไม่ใช่เพื่อให้บ้านสะอาด แต่เพื่อนิ้วมือ

ทำไมเพื่อนิ้วมือ เพื่อสมอง

ทำไมเพื่อสมอง เพื่อ Executive Function หรือ EF

ทำไมเพื่อ EF เพื่อควบคุมตนเองให้ได้ แล้วควบคุม wifi

เราอยากให้ใช้ลูกใช้ wifi ทำอะไร wifi คุมเรา หรือเราเป็นฝ่ายคุม wifi

มีคำเตือนที่ชัดเจนว่า “ก่อน 2 ขวบ ห้ามดูหน้าจอ” คำเตือนนี้ตรงกันทั่วโลก แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เด็ก 7 ขวบใช้แท็บเลตในการศึกษา เรามีเวลาแค่ 3-4-5-6 ปีที่จะไล่กวดเขาว่า ก่อน 7 ขวบเด็กจะคุม wifi และ IT ได้อย่างไร เมื่อเขาเปิดแท็บเลตได้ คำตอบคือ Executive Function หรือ EF งานพื้นฐานสองอย่างแรก คือ เล่นและทำงาน เป็นตัวช่วยพัฒนา EF

ชั้นที่4 สร้างผลผลิต (Industry) เด็กมีหน้าที่สร้างผลผลิต อีริคสัน เรียกว่า Industry (อุตสาหกรรม) การพัฒนายังคงเริ่มต้นจากศูนย์กลาง ทวารหนักและท่อปัสสาวะ กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก จากกล้ามเนื้อเล็กคือ นิ้วมือ แล้วออกจากร่างกายอย่างสิ้นเชิง เข้าสู่สังคม ดังนั้น หลัง 6 - 7 ขวบ “สังคม” จะสำคัญมากขึ้น

ก่อน 6 - 7 ขวบ ทุกท่านกังวลกันมากเรื่อง “ลูกของฉันจะไม่มีสังคม” แต่ในความเป็นจริงแล้วก่อน 6 - 7 ขวบ เด็กทุกคนยังเห็นตนเองเป็นศูนย์กลางไม่มากก็น้อย ดังนั้น ถ้าเราไปอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนหรือในประเทศพัฒนาแล้ว ครูมีความรู้ พี่เลี้ยงมีความรู้ ครูพอเพียง พี่เลี้ยงพอเพียง เขาก็จะรู้วิธีจัดการให้เด็กแต่ละคนมีพื้นที่ส่วนตัวระดับหนึ่งเพื่อรอเวลา ให้เขาอยู่กับศูนย์กลางให้อิ่ม อิ่มเมื่อไหร่เด็กทุกคนจะเงยหน้า “อ๋อ...ที่จริงในสนามเด็กเล่นยังมีมนุษย์หน้าตาอื่นๆ อยู่” แล้วการเอาตนเองเป็นศูนย์กลางก็จะค่อยๆ ลดลงเองโดยละมุนละม่อม

ในคนที่จัดการได้ แต่ในบ้านเรา เคร่งเครียดไปหน่อย ไปเร็วไปนิด ครูน้อยไปนิด พี่เลี้ยงน้อยไปหน่อย ความรู้ทางจิตวิทยาน้อยไปหน่อย พอเด็กตีกันในสนามมักจะจัดการไม่ได้ แล้วเราก็จะมีพระเอกกับผู้ร้ายอยู่ในสนามเด็กเล่น มีแม่พระเอกและพ่อผู้ร้ายอยู่ในสนามเด็กเล่น สองคนนี้ก็อยู่ในกลุ่ม LINE เดียวกัน ตอนนี้เรามีพวกพ่อพระเอก พวกแม่ผู้ร้าย ซึ่งยุ่งมาก

ในทางตรงกันข้าม 7 ขวบไปโรงเรียน เข้าสู่สังคมอย่างแท้จริง จะเกิดปฏิกิริยาอยู่ 3 ข้อคือ

1) Compete การแข่งขัน ต่อสู้

2) Compromise ประนีประนอม

3) Collaborate ช่วยเหลือกัน

นี่เป็นปฏิกิริยาพื้นฐาน 3 ข้อของมนุษย์เมื่อเข้าสู่สังคมครั้งแรกในจังหวะที่การเห็นตัวเองเป็นศูนย์กลางลดลงต่ำพอสมควรแล้ว แล้วสังคมทวีความสำคัญขึ้นโดยหน้าที่

หน้าที่ของชั้นที่ 4 คือ สร้างผลผลิต แปลว่า ตื่นเช้ามา เด็กทุกคนอยากจะสร้างผลผลิต เป็นหน้าที่ คล้ายๆ ชั้นที่ 1 เป็นหน้าที่ที่อยากดูดนม ชั้นที่ 2 เป็นหน้าที่ที่อยากฝ่าฝืนข้อห้ามทุกข้อของพ่อแม่ เพราะกล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรง ชั้นที่ 3 เป็นหน้าที่ อยากเล่น ไม่ได้อยากเขียนหรือเรียนหนังสือ เราไปบังคับเขาเขียนและเรียนเสียทั้งหมด ชั้นที่ 4 อยากสร้างผลผลิตเพราะกล้ามเนื้อนิ้วมือ 10 นิ้วแข็งแรงแล้ว ดินน้ำมันก็เล่นแล้ว กองทรายก็เล่นแล้ว เลโก้ก็เล่นแล้ว บล๊อกไม้ก็เสร็จแล้ว ติดตัดปะกระดาษก็ได้แล้ว สิ่งที่ต้องการต่อไปคือมนุษย์ เด็กต้องการสร้างผลผลิต

วิธีการสร้างผลผลิตจะต้องฝ่า 3 ด่านนี้ คือ การทะเลาะเบาะแว้ง การดีกัน และการช่วยกัน เพราะมันเป็นหน้าที่ ดังนั้น การทะเลาะกันในชั้นประถมศึกษาจะลงเอยด้วยการดีกันเสมอ เพื่อนชั้นประถมของพวกเราเป็นเพื่อนที่บริสุทธิ์ที่สุด ผลประโยชน์น้อย เราจะระลึกถึงด้วยความหวานชื่นง่ายกว่าเพื่อนกลุ่มอื่นๆ เพราะว่าเราทะเลาะกัน สักครู่เราก็ดีกัน เด็กผู้ชายทะเลาะกันก็จะเตะบอลด้วยกันต่อ เด็กผู้หญิงทะเลาะกันก็จะเล่นหมากเก็บด้วยกันต่อ นี่คือจิตวิทยาพัฒนาการของเด็กประถม

ชั้นที่ 5 ปีกกล้าขาแข็ง เด็กเข้าสู่ชั้นของมัธยมศึกษา ช่วงวัยรุ่นมีหน้าที่ 4 ข้อ ตื่นเช้ามาเขาจะต้องทำงาน 4 ข้อ ดังนั้น ถ้าพวกเราเห็นลูกวัยรุ่นหน้าหงิกแล้ว แสดงว่าเขากำลังกลุ้มใจ 4 ข้อ หรือ 1 ใน 4 ข้อ

1.หาอัตลักษณ์ (Identity) แปลว่า จะเดิน จะพูดจา จะใช้ท่าไหน โดยทฤษฎี เขาจะใช้พ่อแม่เป็นต้นแบบ ใช้ดารา นักร้อง คุณครู นักกีฬา ผู้คนในสังคม เติมๆ ๆ แล้วผลิตอัตลักษณ์ใหม่ออกมาเป็นบุคคลใหม่ หน้าที่ของเขา คือ เขาจะต้องผลิตอัตลักษณ์ใหม่ บุคคลใหม่ที่ไม่เหมือนพ่อและแม่ แม้ว่าพ่อกับแม่จะเป็นคนลงโปรแกรมคนแรก เขาต้องไม่เหมือนพ่อแม่ ดังนั้น พอถึงชั้นที่ 5 เราจะมีคำพูดว่า “วัยรุ่นมีหน้าที่ปีกกล้าขาแข็ง” เพื่อบินไปจากรัง เพื่อเป็นผู้ใหญ่ (Adult) บุคคลอิสระ ไม่กลับมาขอเงินพ่อแม่อีก ไปทำงานหาเงิน ไปแต่งงาน ทะเลาะกับแฟนแล้วอย่าหิ้วกระเป๋ากลับมาบ้าน เป็นผู้ใหญ่ เป็น Adult ต้องออกไป มีอัตลักษณ์ เป็นบุคคลอิสระคนใหม่ นี่คือหน้าที่ ดังนั้น ลูกวัยรุ่นจะปีกกล้าขาแข็ง เถียงคำไม่ตกฟาก พอเราพูดเกินสามประโยค เขาจะหน้างอ เข้าห้อง ปิดประตู

2.คนรัก (Intimacy) ผมยอมรับแล้วก็สำรภำพว่ำ หลำย 10 ปี ในรำชกำรก็บรรยำยเรื่องเพศตรงข้ำม แต่วันนี ้เรำพูดเรื่องคนรัก เรำไม่ได้พูดเรื่องเพศตรงข้ำม ชำย-หญิง-เกย์ชำย-เกย์หญิง-เลสเบี ้ยนชำยเลสเบี ้ยนหญิง-ไบเซ็กชวล-ทรำนส์เซ็กซวล อย่ำงน้อย 8 อย่ำงอยู่คู่กับมนุษย์มำ 30,000 ปี หำยไป เพรำะสังคมและกฎหมำย พวกเรำก็ทรำบหลำยประเทศท ำโทษรุนแรงมำก วันนี ้พวกเขำกลับมำ เพรำะ wifi ดังนั ้น ลูกเรำไม่ได้เจอเรื่องกำรทำยใจเพศตรงข้ำมเท่ำนั ้น เรำทำยใจกับคนอีกตั ้ง 7 เพศ “หน้ำงอ แบบนี ้แปลว่ำรักหรือไม่รัก” “ยังไงก็ได้นี่แปลว่ำอะไร” “ไปดูหนังกันไหม” “ก็เอำสิ...” แปลว่ำอะไร วัยรุ่น ตื่นเช้ำมำก็จะยุ่งอยู่กับกำรทำยใจ สมัยพวกเรำอยำกจะคุยกับเขำก็ไม่เดินเข้ำไปคุย แต่วิ่งอ้อมอีกสำม ด้ำนของตึกเพื่อไปดักรอข้ำงหน้ำ วัยรุ่นเต็มไปด้วยกำรทำยใจเพรำะฉะนั ้น วันๆ หนึ่ง เขำก็จะกลุ้มมำก ตื่นเช้ำมำมีSMS ส่งมำแปลว่ำอะไร… แล้วถ้ำเปิ ดอ่ำน เขำจะรู้หรือเปล่ำว่ำเรำอ่ำนแล้ว ต้องกำรควำมรู้ IT ขั ้นสูงว่ำ ท ำอย่ำงไรถึงจะอ่ำนโดยที่เขำไม่รู้ว่ำเรำอ่ำนแล้ว... ยุ่งมำก 

3. แก็งค์เพื่อน (Peer Group/ Loyalty) เมื่อชั ้นประถมศึกษำ ไปโรงเรียนเพื่อสร้ำงผลผลิต ตื่นเช้ำมำเพื่อ ไปสร้ำงผลผลิต ตอนเป็ นวัยรุ่นชั ้นมัธยม ตื่นเช้ำมำไปหำเพื่อนเพื่อสร้ำงแก๊ง ไม่ได้ไปสร้ำงผลผลิต ไปเพื่อสวำมิภกัดิ์Loyalty ต่อหัวหน้ำแก๊ง ดังนั ้น แก๊งบิดก็บิด แก๊งอ่ำนหนังสือก็อ่ำน แก๊งแต่งตัว ก็แต่งตัวแก๊งเจก็เจ แยกกัน พ่อแม่ที่ชำญฉลำดไม่ควรท ำตัวเป็ นศัตรูกับหัวหน้ำแก๊ง นั่งฟังเขำพูด ยกยอปอปั ้นหัวหน้ำของเขำ แม้เรำจะรู้สึกว่ำ “โอ้...ตำย ตำย ตำย” นั่งท่องในใจอย่ำงเดียว ไม่ต้องพูด