เรื่องเล่าจากค่ายถอดบทเรียนโครงงานพลเมืองรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชน วันที่ 24-26 สิงหาคม 2561


เรื่องเล่าจากค่ายถอดบทเรียนโครงงานพลเมืองรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชน

วันที่ 24-26 สิงหาคม 2561

ณ พีรดา ริเวอร์วิว รีสอร์ท อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

...............................................

นายจิรวัฒน์ การะเกต

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอียอ


ชื่อดอม เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่มีชีวิตจิตใจเหมือนกับคนอื่น เป็นเด็กที่มีภาระหน้าที่ที่หนักหน่วง งานจากหลายหลายด้านเข้ามาในช่วงเวลาของชีวิต ผมชอบการเรียนรู้ที่แปลกใหม่พบเจอสิ่งต่างๆ จริงๆ แล้วผมไม่ชอบลงเรื่องเนื้อหา แต่ถ้าได้รู้ลึกแล้ว จะสามารถเรียนรู้และเข้าใจเรื่องราวได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ บุคคลที่ร่วมงานที่มีส่วนในชีวิตผมคือพี่สมเกียรติ เป็นบุคคลที่คอยสนับสนุนผมทุกเรื่อง คอยให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ คอยให้คำแนะนำ และเป็นบุคคลที่เปิดโอกาสให้ผม ได้เข้ามามีการเรียนรู้ แบบที่ในห้องเรียนนั้นหาได้ยากมาก พี่อี้เป็นพี่ชายและพี่เลี้ยงส่วนตัวของผมที่จะให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาสอนสิ่งต่างๆ ให้ผมเสมอจนทำให้ผมมีทักษะความรู้ที่หลากหลายด้าน พี่เขียวเป็นพี่เลี้ยงที่คอยหางานให้ ให้คำปรึกษาสนับสนุน ด้านต่างๆ คอยให้ปัจจัยหลายปัจจัยทางปัญญาหรือแนวทางชีวิตของผมด้วย

ปัญหาที่ผมพบในชุมชนคือ ในชุมชนนั้นมีกิจกรรมที่จะทำร่วมกันน้อยมาก จึงทำให้เกิดความห่างเหินกันของคนในชุมชนและกิจกรรมประเพณีต่างๆ ที่บรรพบุรุษเราสืบทอดกันมา เริ่มที่จะสูญหายไปแล้ว ชุมชนที่อยากเห็นคือ จะเป็นชุมชนที่มีแต่รอยยิ้มให้กันทักทายพูดคุยกันเสมอ ไม่ทะเลาะกันเมื่อมีอาหารและกลับข้าวอะไรที่ทำเยอะเยอะก็มาแบ่งปันกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ช่วยกันแก้ปัญหาในชุมชน จากแนวคิดของชาวบ้านหรือคนในชุมชนด้วยกันเอง

โครงงานของผมคือเยาวชนสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ ที่เราได้คิดทำร่วมกันมาเป็นโครงการที่จะตอบโจทย์ปัญหาในเรื่องของช่องว่างระหว่างวัย และการห่างเหินของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่พวกเราทุกคนช่วยกันคิดว่า จะนำประเพณีตรงนี้ มาทำเป็นโครงงานด้วยงบประมาณ 5,000 บาท จาก มูลนิธิสยามกัมมาจล

วันแรกเราได้เรียนรู้วิธีการทำบั้งไฟจากประเพณีชาวบ้านและผู้นำหมู่บ้าน วันที่สองเราจะมีกิจกรรมแบ่งปันบ้ังไฟโบก มีการเซ่นไหว้เจ้าที่ และทำกิจกรรมบั้งไฟ ทำให้คนในหมู่บ้านมีกิจกรรมทำร่วมกัน ได้กินข้าวได้พูดคุยวางแผนในการดำเนินโครงการด้วยตัวของเราเอง

ปัญหาของตัวผมก็จะเกี่ยวกับความท้อแท้ความเบื่อหน่ายจากกิจกรรม ภาระงานต่างๆ ที่เข้ามาและปัญหานี้เองเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ที่จะเรียนรู้กับปัญหาของชีวิตและหาทางแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ส่วนวิธีการแก้ปัญหาก็คือพยายามมีความสุขไปกับงาน หาแนวทางที่จะทำให้เรามีความสุขให้ได้ และความท้อแท้เบื่อหน่ายก็จะหายไปเอง

พี่เลี้ยงโครงงานคือป้าสมใจจะช่วยเหลือในเรื่องงบประมาณ มาช่วยจัดสรรและช่วยวางแผนดำเนินโครงการ มีพี่มหาเป็นที่ปรึกษาโครงงานและให้กำลังใจกับเยาวชน พี่เขียวช่วยงานทุกอย่าง ทั้งการวางแผนชี้แนะแนวทางให้คำปรึกษา

ผมภูมิใจมากกับโครงงานของผม เห็นรอยยิ้มของเยาวชนคนในชุมชน รวมถึงคนต่างตำบลที่มาร่วมกิจกรรมด้วยกันได้เห็นชุมชนให้ความสำคัญ ถึงแม้จะเป็นงานเล็กๆ แต่ก็สามารถทำได้ ทำให้ชุมชนนั้นหันมาพูดคุย ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขได้

ประโยชน์ของโครงงาน ทำให้ทุกคนในชุมชนมีความสุข มีการสร้างความสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชน เพิ่มทักษะในการเขียนโครงงานให้กับเยาวชน รู้จักการวางแผน ฝึกการแก้ปัญหา เรียนรู้ถึงความเป็นมาของบุญบั้งไฟ เยาวชนนั้นได้เรียนรู้การทำบ้ังไฟ ได้เห็นพลังและรอยยิ้มของคนในชุมชน

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณมูลนิธิสยามกัมมาจล ที่ช่วยสนับสนุนงบประมาณและทรัพย์สินโครงการร่วมกับการกับสถาบันยุวโพธิชน มีพี่อ้อย พี่อี้ พี่เขียว ต้องการทำให้โครงการนี้เกิดขึ้น และทำให้ดำเนินโครงการนั้น มีประสิทธิภาพ ครบองค์ประกอบ และขอบคุณทีมงานเยาวชน ชาวบ้านทุกคน ที่เปิดโอกาสให้มีกิจกรรมนี้ในชุมชน ได้เรียนรู้กับมันชุมชนเราก็จะมีแต่ความสุขตลอดไป