สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการ UNC#5


ประเด็น : ปัญหาการใช้สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ชื่อผลงาน :คิด Young

หัวข้อ :Cyberbully ไม่ใช่เรื่องตลก

แนวคิดการสื่อสาร : การใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

รูปแบบการผลิตสื่อ :Facebook page / Poster / Clip Vdo


นายธนภัทร บุตรพินธุ์

สาขานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


แนวทางการสร้างสรรค์สื่อ

เข้าร่วมโครงการการใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยกลุ่มพวกผมเลือกหัวข้อของ cyber bullying ก็คือเป็นการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการกลั่นแกล้งอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีเครื่องมือสื่อเป็นอุปกรณ์ ผลิตสื่อบนโลกออนไลน์ ที่เลือกหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาเพราะว่าในปัจจุบันทุกวันนี้ไม่ว่าจะใน Facebook Twitter Instragram หรือช่องทางต่างๆ มันก็มีการกลั่นแกล้งกันเกิดขึ้นมา แต่ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่และกว้างมาก เราไม่สามารถบังคับให้ทุกคนคิดอย่างเราหรือทำแบบเราได้ทั้งหมด เราจึงสร้าง Content มาเป็นวิดีโอสั้นเล็กๆ เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงสาเหตุของการกลั่นแกล้งกันว่าจะเกิดผลกระทบอะไรต่ออีกฝ่าย อยากทำให้คนได้ฉุกคิดและมองเห็นถึงประเด็นปัญหานี้ และพยายามคาดหวังว่าเราจะสามารถช่วยส่งเสริมให้คนที่ใช้โซเชียลมีเดียสามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้กับตัวเองได้ และนำไปใช้ได้จริง

ตอนนี้สื่อของกลุ่มของผมมี 2 ช่องทางก็คือเป็นรูปโปสเตอร์และเป็นวิดีโอหนังสั้นความยาว 1 นาทีถึง 3 นาที เนื้อหาในสื่อจะแบ่งเป็น 2 Part คือ Part 1 เนื้อหาจะเป็นประมาณว่าเด็กถูกกลั่นแกล้ง Part 2 จะเป็นส่วนของคนที่กลั่นแกล้ง โดยจะใช้ตัวละครเล่าถึงว่าเด็กคนหนึ่งที่ถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง โดยการถ่ายรูปประจานลง Facebook ทำให้คนที่ถูกกลั่นแกล้งเบื่อหน่ายและรู้สึกรำคาญ แต่เขาไม่ได้เอามาใส่ใจ ทำให้ไม่เป็นปัญหากับชีวิต แต่อีกคนหนึ่งคนที่กลั่นแกล้งคนอื่น มีพื้นฐานครอบครัว ที่มีปัญหาพ่อแม่ทะเลาะกัน เด็กขาดการดูแลเอาใจใส่ ไม่เป็นที่สนใจ เด็กจึงเลือกใช้ช่องทางสื่อออนไลน์เพื่อสร้างให้คนมาสนใจ ให้มีจุดเด่น ให้เป็นที่ยอมรับกับเพื่อน ซึ่งที่เราไปหาข้อมูลมา เด็กที่มีปัญหาในการแกล้งคน ส่วนใหญ่จะชอบแกล้งคนที่อ่อนแอกว่าและไม่เลือกแกล้งคนที่เข้มแข็งกว่า เพราะกลัวจะถูกแกล้งคืน และมีปัญหาครอบครัวด้วย ส่วนหนึ่งเราเลยนำเสนอในจุดนี้ด้วยในวิดีโอของเรา และเราคิดว่าสามารถช่วยให้คนที่เล่นโซเชียลมีเดียเกิดการตระหนักคิดได้ว่าสิ่งที่ทำส่งผลแบบไหน ควรเป็นหนึ่งในคนที่เริ่มที่จะหยุดการกลั่นแกล้งคนอื่น คนเราอาจจะส่งต่อกันไปเรื่อยๆ

ซึ่งตอนนี้ผลงานถูกเผยแพร่ทางช่องทาง Facebook และแชร์ตาม Facebook ต่างๆ จะคล้ายๆ Viral Clip ผลงานที่สร้างขึ้นมาจะเป็นตัววิดีโอหนังสั้น เราจะเผยแพร่ช่องทาง Facebook ให้คนหลายๆคน ค่อยๆช่วยกันแชร์ จะทำให้เป็นคล้าย Viral Clip ต้องการให้คนได้เห็นเยอะๆ หวังว่าวิดีโอที่เราสร้างขึ้นจะสามารถช่วยให้คนที่ใช้โซเชียลมีเดียตระหนักคิดได้ว่าการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ไม่ใช่เรื่องตลก


สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ

การเข้าร่วมโครงการ UNC เป็นสิ่งที่ดี ที่จะได้รวบรวม ระดมความคิดหัวข้อต่างๆแล้วมาแก้ปัญหาที่อยู่รอบตัวเรา เป็นโครงการที่ได้ประสบการณ์ใหม่ๆและได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ ได้ลองคิดสิ่งใหม่ๆ คิดให้กว้างไกลขึ้น กระบวนการของโครงการแตกต่างจากที่เรียนก็คือรู้สึกว่าค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกันกับการเรียนอยู่บ้าง มีการให้คิดวิเคราะห์ต่างๆ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการนี้ก็คืออย่างหัวข้อของผมคือการหยุดแกล้งกันบนโลกออนไลน์ รู้สึกว่าจุดนี้เป็นจุดที่กว้างและใหญ่มาก ที่จะควบคุมให้คนคิดไปแนวทางเดียวกับเรา มันเป็นไปได้ยาก แต่สามารถเริ่มได้จากตัวของเราเอง โดยเพียงแค่ว่าเราต้องตระหนักคิดสักนิดนึงว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร

­

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการก็คือตัวเราเองใช้โซเชียลมีเดียอยู่แล้วเราเองก็ควรเริ่มหยุด เวลาเราจะพูดอะไรก็ควรที่จะนึกคิดตระหนักก่อน ก่อนที่จะกล่าวถึงคนอื่นให้เสียหาย และนักศึกษาควรที่จะทำเรื่องสังคม ควรจะมีส่วนช่วยสังคม เพราะนักศึกษาเองจบไปต้องเป็นบุคลากรที่ดำเนินชีวิตร่วมกับคนในสังคมมากมาย ถ้าเราไม่ทำเพื่อสังคม เราจะอยู่ร่วมกับสังคมได้ยาก เราควรจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือสังคม ถ้าเราเรียนจบไปแล้วการทำงานอนาคตข้างหน้าหรือการช่วยเหลือสังคมจะส่งผลให้ระดับการเป็นอยู่ของชีวิตเราดีขึ้น ทำให้เรามีความรับผิดชอบมากขึ้น

การที่เราเรียนนี้มีสื่อหลายช่องทางที่เราใช้เป็นจุดกระจายให้คนอื่นได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นทาง YouTube สื่อออนไลน์ต่างๆ สื่อวิทยุ หรือโทรทัศน์ หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ถ้าเราเรียนด้านนี้มา เราก็ควรผลิตสื่อที่ดีมีประโยชน์ออกมา เราควรจะคำนึงถึงว่าเราในฐานะที่เป็นนักศึกษาที่จะผลิตสื่อออกมา ควรจะคำนึงถึงคนที่จะมาใช้บริการและคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและสร้างสื่อคอนเทนท์ที่มีประโยชน์

ผลงานสร้างสรรค์สื่อสะท้อนปัญหาสังคม ภายใต้โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ปี 5 ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย องค์กรภาคีภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลดเนื้อหาได้ที่นี่

ชมบรรยากาศงานมหกรรมได้ที่นี่