การเรียนรู้ผ่านโครงการเพื่อชุมชน (PBL) เพื่อรักษ์ป่าพรุ สืบสานพรานโนราห์ และการทำพังกาดผึ้ง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

สืบสานคุณค่ามาตุภูมิ

โครงการรักษ์ป่าพรุเสม็ด

โครงการเยาวชนสืบสานพรานโนรา

โครงการสืบสานภูมิปัญญา “การทำพังกาดผึ้ง”

การทำโครงการสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ตนเอง ซึ่งเป็นเด็กธรรมดา ทำงานไม่ได้เรื่อง ที่ผ่านมาเวลาทำอะไรก็มุ่งทำเพียงแค่เสร็จแต่เมื่อทำโครงการก็ได้เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบ ต้องรับฟังคนอื่น ต้องมีความเป็นผู้นำ ต้องกล้าคิด กล้าทำ และต้องทำอย่างตั้งใจมากขึ้นเพื่อให้งานสำเร็จ

โรงเรียนปากจ่าวิทยา ตั้งอยู่บนพื้นที่ทุ่งบางนกออก ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลาโรงเรียนประจำตำบล ที่มีนักเรียนประมาณ 200 คน ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ ติดทะเลสาบสงขลา จึงแวดล้อมไปด้วยป่าพรุที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งตำบลควนโสยังลือชื่อเรื่องการแสดงมโนราห์ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นด้วยบริบทของโรงเรียนและชุมชนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรและศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งความร่วมมือที่เข้มแข็งของโรงเรียน ผู้ปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบล และผู้นำชุมชน การพัฒนาลูกหลานของตำบลจึงถูกออกแบบให้เรียนรู้จากทุนในชุมชน เพื่อให้เด็กๆ รู้จักชุมชน เห็นว่าชุมชนตนเองมีคุณค่า และมีทักษะอาชีพ สามารถประกอบอาชีพอยู่ในชุมชนได้หลังจบการศึกษา

ปักหมุด “เสริมทักษะชีวิต” ให้เด็กในชุมชน

ด้วยบริบทของพื้นที่ที่ห่างไกลเมือง นักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อาจเรียนต่อหรือไม่เรียนต่อ ทำให้ทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครองต่างรู้ว่าลูกหลานของพวกเขาคงไม่ถนัดเรื่องวิชาการมากนักหากเทียบกับโรงเรียนในเมือง หากแต่เรื่อง “ทักษะชีวิต” ที่จะหล่อหลอมให้นักเรียนเป็นคนดี มีทักษะชีวิต พึ่งตนเองได้ ดูแลคนอื่นเป็น น่าจะเป็นหมุดหมายสำคัญในการพัฒนาเด็กของที่นี่กิจกรรมการเรียนการสอนจึงถูกเสริมด้วยกิจกรรมนอกห้องเรียนและออกแบบการเรียนรู้จากบริบทของท้องถิ่น

ซึ่งมีการทำผ่านโครงการกลุ่มพลังนักเรียนสู่การเรียนรู้แบบองค์รวมตามบริบทของท้องถิ่นจากการปฏิบัติจริง ที่ทำการรวบรวมของดีของชุมชน เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมปลูกป่า กระทั่งวันหนึ่ง นักเรียนรุ่นพี่ปรึกษากันว่า ทำอย่างไรจะให้โรงเรียนเป็น

ที่รู้จักของคนทั่วไปพอดีช่วงนั้นมูลนิธิกองทุนไทยและมูลนิธิสยามกัมมาจลธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีโครงการปลูกใจรักษ์โลก ที่สนับสนุนเยาวชนทำโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จึงเห็นเป็นโอกาสดีรวมตัวกันเขียนข้อเสนอโครงการ แต่เนื่องจากมีสงขลาฟอรั่มที่ดำเนินโครงการในลักษณะเดียวกันอยู่ในจังหวัดสงขลาอยู่แล้ว และน่าจะดูแลเยาวชนได้ใกล้ชิดเนื่องจากเป็นองค์กรในพื้นที่ จึงส่งต่อข้อเสนอโครงการให้กับสงขลาฟอรั่ม ที่รับผิดชอบโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลาแทน

3 เดือนผ่านไป เจ้าหน้าที่จากสงขลาฟอรั่มติดต่อแจ้งข่าว และมาพัฒนาโครงการร่วมกับน้องๆ ในโรงเรียน ซึ่งเลือกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 เรื่อง มาเป็นประเด็นหลักในการเรียนรู้ แต่กว่าที่โครงการจะถูกพัฒนาจนสมบูรณ์และได้รับทุนสนับสนุน รุ่นพี่ที่เป็นต้นคิดก็เรียนจบและแยกย้ายกันไปเรียนต่อที่อื่นการขับเคลื่อนโครงการต่อจึงเป็นบทบาทของรุ่นน้องในโครงการกลุ่มพลังนักเรียนฯ ที่ต่างเต็มอกเต็มใจรับไม้ต่ออย่างยินดี

“เสียงดนตรีของมโนราห์ มีมนต์ขลัง ที่เวลาได้ยินคราใด ก็จะรู้สึกว่ามีพลัง แต่ก็ยอมรับว่า ด้วยวัยที่เป็นอยู่เธอเคยสนใจเพลงเกิร์ลกรุ๊ปจากเกาหลีมากกว่าศิลปะพื้นบ้านแต่เมื่อได้ลองมาสัมผัส ก็ถูกมนต์เสน่ห์ของมโนราห์ดึงดูด และอดใจหายไม่ได้ว่า ในปัจจุบันการแสดงมโนราห์มีน้อยลง ทำให้อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสืบสาน”

ลงมือทำด้วย “จิตสำนึก” รักมาตุภูมิ

นักเรียน 3 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยเยาวชนกลุ่มเท่งตุ้ง ซึ่งมีสมาชิกคือ หนึ่ง-วีรพงศ์ ยอดยางแดง บี-อังควิภา ครุจิตพันธ์ ปลา-อาภาพร วงศ์ราชสีห์ ฝน-สุภาภรณ์ สุพกิจ และราชัน ไพรบึง มีครูสงวน-บัวเพชรเป็นที่ปรึกษาโครงการร่วมกันทำโครงการเยาวชนสืบสานพรานโนรา เพื่อสืบสานการแสดงพื้นบ้านอันลื่อชื่อที่สมาชิกต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องการทำเรื่องนี้เพราะการแสดงมโนราห์เป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่นอำเภอควนเนียงเป็นพื้นที่ที่ขึ้นชื่อเรื่องศิลปะมโนราห์และในตำบลควนโสมีคณะมโนราห์ขึ้นชื่อหลายคณะเยาวชนในพื้นที่ก็ได้ซึมซับวัฒนธรรมเหล่านี้มาตั้งแต่เด็ก

“พรานมโนราห์” หรือ พรานบุญ เป็นพรานที่มีความเก่งกาจสามารถไปมาได้แม้กระทั่งในป่าหิมพานต์ สามารถจับนางมโนราห์ได้เพียงนางเดียว เช้ารุ่งขึ้นก็ได้รับบำเหน็จจากกษัตริย์ครองเมือง 1 เมืองพร้อมทรัพย์สมบัติและบริวารมากมาย แม้ในการละเล่นโนราห์ของภาคใต้เมื่อถึงเวลาพรานบุญออกมาแสดงก็จะเรียกเสียงหัวเราะอย่างมีความสุขจากผู้ชมได้เสมอทุกเพศทุกวัยไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ไม่ว่าจะแสดงกี่ครั้งก็ตาม

ส่วนเครื่องรางหน้ากากมโนราห์ มีคติความเชื่อที่สืบทอดกันมาหมู่คณะมโนราห์ว่า เป็นศาสตร์วิชาแห่งมนตรามหาละลวย เสริมเมตตา เสริมเสน่ห์ เป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้ที่ได้พบได้เจอ ซึ่งก็คล้าย ๆ กับมนตราของคณะลิเกของภาคกลาง เหมาะแก่ผู้ที่มีอาชีพนักแสดง และพ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ที่มีอาชีพที่เกี่ยวกับการใช้วาทศิลป์ในการโน้มน้าวจิตใจผู้คน ผู้ที่จะบูชาต้องเป็นคนที่เข้มงวดในการบูชา เช่น ถ้าบนบานศาลกล่าวสิ่งใดกับครูใหญ่พรานบุญแล้ว ถ้าสำเร็จต้องรีบแก้บนตามที่ได้บนบานไว้อย่าให้ขาดโดยเด็ดขาด ซึ่งในอดีตจะมีการแสดงอย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง แต่ปัจจุบันมีการแสดงน้อยลงไปมาก

“ตั้งแต่เล็ก ๆ แม่บอกว่า เวลามีนโนราห์ที่ไหน ผมจะไม่นอน ผมจะตามไปดูให้ได้ ตอนเด็ก ๆ เห็นอะไรก็อยากทำตาม ผมเห็นเขาออกพราน ผมก็ทำท่าตาม ตามประสาเด็ก คนข้างบ้านเขาเห็นเขาก็บอกแม่ว่า ผมน่าจะไปรำพรานนะ มีแววนะ” ราชัน รำลึกถึงความหลังที่เป็นจุดเริ่มความสนใจของตนเอง

ในขณะที่บีเสริมว่า เสียงดนตรีของมโนราห์ มีมนต์ขลัง ที่เวลาได้ยินคราใด ก็จะรู้สึกว่ามีพลัง แต่บีก็ยอมรับว่า ด้วยวัยที่เป็นอยู่ เธอเคยสนใจเพลงเกิร์ลกรุ๊ปจากเกาหลีมากกว่าศิลปะพื้นบ้าน แต่เมื่อได้ลองมาสัมผัส ก็ถูกมนต์เสน่ห์ของมโนราห์ดึงดูด และอดใจหายไม่ได้ว่า ในปัจจุบันการแสดงมโนราห์มีน้อยลง ทำให้อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสืบสาน ด้วยการเรียนรู้ร่วมกับผู้รู้ในชุมชน และจัดกิจกรรมให้เพื่อนๆ ในโรงเรียนมาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน จากนั้นจึงเปิดพื้นที่นำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ ซึ่งประกอบไปด้วย หน้ากากพรานเล็ก การร้อยลูกปัด บอร์ดความรู้เรื่องพรานโนรา รวมทั้งท่ารำต่างๆ และการแสดงพรานโนรา ณ โรงเรียนปากจ่าวิทยา โดยหวังว่าเยาวชนรุ่นใหม่จะมองเห็นคุณค่า และภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมบ้านเกิด

“พ่อแม่ของเราก็อยู่กับป่า หากินกับป่า รักษาป่าก็เท่ากับเรารักษาบ้านของเรา”

ส่วนกลุ่มป่าคือชีวิต ซึ่งประกอบด้วย เดช-ฤทธิเดช ศรีคะระมะทันโต แนน-ปนัดดา เรืองแก้ว เต็ม-สุวรรณี ศรีรักษ์ และน้ำหวาน-ชนิตา เพ็ชรมณี มีครูสิริกานต์ สุขธรณ์ เป็นที่ปรึกษาโครงการ ทำโครงการรักษ์ป่าพรุเสม็ดเพื่อดูแลอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งบางนกออก ที่โรงเรียนปากจ่าวิทยาได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนส่วนหนึ่งประมาณ 50 ไร่เป็นที่ตั้งของโรงเรียน ซึ่งเดชเป็นตัวแทนของเพื่อนๆ เล่าถึงที่มาและความสำคัญของงานนี้ว่า

ป่าพรุเสม็ด (ทุ่งบางนกออก) เดิมมีพื้นที่ประมาณ 6,000 กว่าไร่ ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่า 3,000 กว่าไร่ สาเหตุมาจากคนในชุมชนไม่เห็นความสำคัญของผืนป่าพรุเสม็ดเปลี่ยนผืนป่าเป็นสวนปาล์มน้ำมัน ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่ดูแลอย่างจริงจัง ทำให้บริเวณป่าพรุเสม็ด มีจำนวนสัตว์ป่าลดน้อยลง ดินมีสภาพเสื่อมโทรม แหล่งน้ำเน่าเสีย

ครุเสม็ดแห่งนี้ด้วยการจัดกิจกรรมศึกษาระบบนิเวศป่าพรุเสม็ดอย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่เรียนรู้ระบบนิเวศและความสำคัญของป่าพรุเสม็ดจัดกิจกรรมประเมินสภาพป่าเปิดพื้นที่การเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศ และจัดวงเสวนาเพื่อให้ทุกคนหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญ และได้ร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูให้ป่าพรุเสม็ด(ทุ่งบางนกออก) คงอยู่คู่ชุมชนต่อไป

“พ่อแม่ของเราก็อยู่กับป่า หากินกับป่า รักษาป่าก็เท่ากับเรารักษาบ้านของเรา” เดช ประกาศเป้าหมายของงาน“การศึกษาเรื่องการทำพังกาดผึ้งนอกจากจะเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นช่องทางการหารายได้ระหว่างเรียนของตนเองและเพื่อน ๆ”

หากปล่อยไว้ป่าพรุเสม็ดผืนสุดท้ายที่เป็นดั่งลมหายใจของชุมชนคงหมดไปพวกเขาจึงมีแนวคิดที่จะสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าพในขณะที่กลุ่มผึ้งหลวง ซึ่งมีสมาชิกคือ ปัท-ปัทมา กาฬสิทธุ์ โด่ง-สุธีร์ สวัสดิ์คีรี เกมส์-สัญญา มากมูล แสม-อภิสิทธิ์ สังเทระ และก๊อต-วันชนะ แก้วสำลี โดยมีครูทรรศนะ สุขธรณ์ เป็นที่ปรึกษาโครงการ ร่วมกันดำเนินโครงการสืบสานภูมิปัญญา “การทำพังกาดผึ้ง” เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาในการประกอบอาชีพของชุมชน ซึ่งเกมส์เล่าว่า ในอดีตคนชุมชนควนโสมีอาชีพการทำพังกาดผึ้ง และการจับผึ้ง เพื่อนำน้ำผึ้ง

พังกาดผึ้ง หรือ การเลี้ยงผึ้งหลวง โดยวิธีเลี้ยงของชุมชนแห่งนี้เลี้ยงโดยพังกาด เนื่องจากดอกเสม็ด จะบานในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป ผึ้งหลวงจะอพยพมาจากภูเขา ในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งพังกาดเป็นภูมิปัญญา ชาวบ้าน สร้างจากการนำไม้ 3 ท่อน ใช้ทำเสา 2 ท่อน ทำคาน 1 ท่อน โดยเสาทั้ง 2 ท่อน สูงต่ำไม่เท่ากัน ต้นหนึ่งสูง ต้นหนึ่งต่ำ แต่มีความสูงเหนือศีรษะขึ้นไป ส่วนไม้คานนั้นยาว ประมาณศอก ไม้ที่ทำคานนั้นต้องเป็นไม้เนื้อเย็น โดยเฉพาะกระถินผึ้งชอบมาก เมื่อทำคาน เสร็จแล้วตัดกิ่งไม้ ใบไม้ มาสุมเป็นร่มเงาให้แก่ผึ้งในการทำรัง ผู้ที่ทำพังกาดต้องดูทิศทางลม และสภาพอากาศ และภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งในการจับผึ้ง คือ การใช้ควันไฟไล่ผึ้งออกจากรัง โดยไม่จุดไฟเผารังเหมือนที่อื่น รังผึ้ง 1 รัง ให้น้ำผึ้ง 10-20 ขวด ราคาขวดละ 300- 400 บาท สร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมาก (ทีมางานวิจัยเรื่องป่าเว้น: จารีตรักษาป่าของชุมชนควนโส โดย กชมน ฤทธิเดชและคณะ)

ไปขาย ปู่ ย่า ตา ยายได้ทำอาชีพนี้มาช้านาน แต่ปัจจุบันอาชีพการทำพังกาดผึ้งกำลังจะสูญหายไปและน้ำผึ้งก็หาซื้อได้ยากตามท้องตลาดเพราะเกิดจากเยาวชนปัจจุบันไม่เห็นถึงความสำคัญของอาชีพการจับผึ้ง รวมทั้งป่าเสม็ดมีสภาพเสื่อมโทรมมีการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบให้ผึ้งที่อพยพมาในแต่ละฤดูไม่มีที่อยู่อาศัย ป่าไม้ไม่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งคุณค่าของน้ำผึ้งลดลงกว่าเดิม และคนในชุมชนไม่มีน้ำผึ้งจากธรรมชาติไว้บริโภคและออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด

ประกอบกับที่บ้านของทุกคนในทีมมีอาชีพหาน้ำผึ้ง ทีมงานจึงเห็นว่า การศึกษาเรื่องการทำพังกาดผึ้งนอกจากจะเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องอาชีพการทำพังกาดผึ้งไม่สูญหายไปจากชุมชนแล้วยังทำให้เยาวชนมีจิตสำนึกและเห็นความสำคัญของการทำอาชีพพังกาดผึ้ง สร้างรายได้หลักแก่ชุมชนโดยมีน้ำผึ้งบริโภคและจำหน่ายได้ตลอดปี

เรื่องราวที่กลุ่มเยาวชนแต่ละกลุ่มสนใจศึกษาล้วนเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของท้องถิ่น โดยครูที่ปรึกษาทั้ง 3 ท่าน ต่างคาดหวังว่า กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างทางของการทำโครงการจะเป็นการพัฒนาศักยภาพและเกิดเป็นทักษะชีวิตติดตัวลูกศิษย์ตลอดไป

เรียนรู้จากพังกาดผึ้ง

ทุกโครงการเริ่มต้นการทำงานด้วยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่ตนเองศึกษา โดยมีระบบการทำงานแตกต่างกันออกไป เช่น กลุ่มผึ้งหลวงเป็นการรวมทีมของเด็กผู้ชายที่มีความสนใจเรื่องการทำพังกาดผึ้ง เห็นจุดอ่อนในทีมตนเอง ที่ต่างถนัดลงมือทำ จึงชักชวนปัทเข้าร่วมทีม เพื่อขอให้ช่วยทำหน้าที่เป็นเลขา รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องขีด ๆ เขียน ๆ

กิจกรรมแรกที่ทำหลังจากรวมทีมได้แล้วคือ การศึกษาข้อมูล หาความรู้เกี่ยวกับพังกาดผึ้ง ซึ่งก่อนจะไปพบผู้รู้ ทีมงานได้ร่วมกันเตรียมคำถามที่จะสอบถามผู้รู้ โด่งซึ่งเคยทำพังกาดผึ้งมาบ้างแล้ว และพอรู้จักชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการทำพังกาดผึ้งอยู่บ้าง จึงเป็นผู้ชี้เป้าว่า ควรไปสอบถามใคร โดยการสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น คือ ลุงชิต วงศ์ราชสีห์ เกี่ยวกับวิธีการทำพังกาดผึ้ง การเลือกพื้นที่ รวมถึงรายได้ที่ได้รับ แต่กระนั้น พบว่ายังขาด

เรื่องพฤติกรรมของผึ้ง จึงค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต การผสมผสานความรู้ทั้งเก่าและใหม่เกิดขึ้นภายในกระบวนการเรียนรู้ของทีมงาน “การทำพังกาดผึ้ง ทำให้เขามีรายได้ มีทุนการศึกษา โดยไม่ต้องรบกวนพ่อแม่ ตั้งแต่ทำโครงการมากลุ่มเราได้น้ำผึ้งทั้งหมด 14 ขวด ขายขวดละ 600 บาท เงินที่ได้ส่วนหนึ่งแบ่งปันกันในกลุ่ม อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้เป็นเงินกองกลาง สำหรับไว้ทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกัน”

หลังจากทราบข้อมูลที่สนใจแล้ว ทีมงานได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการทำพังกาดผึ้ง โดยรับสมัครเพื่อนนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมอบรมซึ่งก็ได้รับความสนใจจากเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายรวม 40 คนเข้าร่วมกิจกรรม ทีมงานได้เชิญผู้รู้ในชุมชนมาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เพื่อน ๆ และแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มละ 8 คน รวม 5 กลุ่ม เพื่อลงมือปฏิบัติจริง โดยพากันเข้าไปทำพังกาดผึ้งในป่าพรุเสม็ดบริเวณใกล้เคียง

“ปฏิบัติการทำพังกาดผึ้งในพื้นที่ เป็นการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง ซึ่งก่อนที่จะพาเพื่อน ๆ ไป ทีมงานต้องลงสำรวจพื้นที่ เพื่อกำหนดจุดที่จะทำพังกาดผึ้ง พร้อมทั้งเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ไว้ ขณะลงมือปฏิบัติจริงทีมงานแบ่งกันอยู่ประจำกลุ่มละคน คอยถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อน ๆ” เกมส์เล่า

หลังทำผังกาดผึ้งเสร็จ ทีมงานใช้เวลาในวันหยุดแวะเวียนเข้าไปสังเกตการณ์ พบว่า พังกาดผึ้งฝีมือนักเรียน 5 อัน มีผึ้งเข้ามาทำรัง 2 อัน ซึ่งเป็นเรื่องปรกติธรรมดา ทีมงานบอกว่า พวกเราเคยเห็นคนทำพังกาดผึ้งถึง 50 อัน แต่มีผึ้งมาทำรังเพียง 10 อัน แต่จำนวนเพียงเท่านี้ก็สร้างรายได้จากขายน้ำผึ้งได้พอเพียงแล้ว

นอกจากพังกาดผึ้งที่ทำร่วมกับเพื่อน ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ทีมงานแต่ละคนยังทำพังกาดผึ้งของตนเองไว้ด้วย โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า รายได้จากการขายน้ำผึ้งที่มาจากการทำพังกาดร่วมกัน จะถูกแบ่งปันให้กับเพื่อน ทุกคน ส่วนพังกาดผึ้งส่วนตัวของแต่ละคน ถ้าชวนเพื่อนไปช่วยเก็บน้ำผึ้ง ก็จะมีการจัดสรรรายได้ที่ได้จากการขายน้ำผึ้ง โดยครึ่งแรกให้กับเจ้าของพังกาด ส่วนครึ่งหลังแบ่งให้เพื่อน ๆ ทุกคน

เกมส์บอกว่า การทำพังกาดผึ้ง ทำให้เขามีรายได้ มีทุนการศึกษา โดยไม่ต้องรบกวนพ่อแม่ ตั้งแต่ทำโครงการมากลุ่มเราได้น้ำผึ้งทั้งหมด 14 ขวด ขายขวดละ 600 บาท เงินที่ได้ส่วนหนึ่งแบ่งปันกันในกลุ่ม อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้เป็นเงินกองกลาง สำหรับไว้ทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกัน

ในระหว่างการดำเนินโครงการ กลุ่มผึ้งหลวงได้นำความรู้เรื่องการทำพังกาดผึ้งที่ได้เรียนรู้ ต่อยอดเป็นโครงงานในวิชาการงานอาชีพเข้าแข่งขันในงานวิชาการระดับจังหวัด การนำเสนออย่างผู้รู้จริง ทำได้จริง อธิบายขั้นตอนได้อย่างฉะฉาน สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชม และส่งผลให้โครงงานได้รางวัลอันดับที่ 2 ทำให้ทีมงานต้องพัฒนาตนเองเพิ่มเติม เพราะต้องเป็นตัวแทนไปแข่งขันในงานวิชาการระดับภาคต่อไป

เพราะ “ป่า” คือ “บ้าน”

ด้านกลุ่มป่าคือชีวิต เริ่มต้นการทำงานด้วยความตื่นเต้นและกังวลว่าจะทำไม่ได้ เพราะในความรู้สึกของเด็กมัธยมศึกษา การทำโครงการเป็นเรื่องใหม่และใหญ่ในชีวิต “ตอนรู้ว่าจะต้องทำโครงการรู้สึกตื่นเต้นมากกลัวว่าจะทำไม่ได้เพราะมันเป็นงานใหญ่พอสมควรสำหรับเด็กมัธยมศึกษาอย่างเรา มันเป็นงานระดับจังหวัดที่แต่ละโครงการต่างคนต่างมา เราอยู่โรงเรียนเล็ก ๆ ไม่ใช่โรงเรียนใหญ่ ไปเจอเพื่อนโครงการอื่นก็กลัวเหมือนกัน” เดชสะท้อนความรู้สึก

แต่เมื่อรับช่วงต่อมาแล้วก็ต้องทำให้ดีที่สุด...ด้วยเหตุนี้ทีมงานจึงคิดปิดช่องว่างของการทำกิจกรรม เพราะเห็นว่าเมื่อรุ่นพี่เรียนจบออกไป ต้องเสียเวลาในการสร้างรุ่นน้องขึ้นมารับผิดชอบงานต่อ การรวมกลุ่มทำโครงการครั้งนี้ทีมงานจึงได้ผสมผสานรุ่นน้องและรุ่นพี่เป็นทีมงานร่วมกันตั้งแต่ต้น น้ำหวานซึ่งเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าร่วมทีมกับพี่ ๆ ที่เรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 5 อย่างเต็มใจหลังถูกชวน

“การได้รู้เรื่องราวที่จำกัดเฉพาะในกลุ่มทีมงาน คงไม่นำไปสู่การอนุรักษ์ป่าได้อย่างตั้งใจ ทีมงานได้หารือกับคุณครู และปลัด อบต. เพื่อหารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึก และให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียน ข้อสรุปร่วมกันคือ การบูรณาการการจัดกิจกรรมเรียนรู้ระบบนิเวศป่าพรุเสม็ดทุ่งบางนกอกกับการเรียนใน 8 สาระวิชา”

น้ำหวานบอกล่า เมื่อก่อนเธอเป็นเด็กเรียน เรียนอย่างเดียว แต่เมื่อได้มาอยู่กับพี่ๆ พี่ก็สอนให้ทำงานโดยพาทำ ตอนแรกก็กดดันกลัวว่าจะทำไม่ได้ แต่มีพี่ ๆ อยู่ด้วยก็ค่อย ๆ เรียนรู้ไปพร้อมกัน ทีมงานประชุมวางแผนการทำงานร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ตามความถนัด แต่ก็ช่วยกันค้นคว้าหาความรู้เรื่องระบบนิเวศของป่าและสัตว์ในป่า ทั้งจากผู้รู้ในชุมชนเช่น คุณสายันต์ มากพูล คุณปฏิญญา กาฬสิทธิ์ และคุณส้อง สุจิตพันธ์ และนักวิชาการในท้องถิ่น เช่น คุณภิติพัฒน์ หนูมี ปลัด อบต.ควนโส ซึ่งต่างเต็มใจถ่ายทอดข้อมูลความรู้ให้แก่ทีมงานเป็นอย่างดี ทั้งยังจัดทริปสำรวจป่าพรุเสม็ดทุ่งบางนกออกพาเด็ก ๆ ออกไปสัมผัสกับระบบนิเวศของป่า ทั้งพืช สัตว์ สภาพดินสภาพน้ำ

การได้รู้เรื่องราวที่จำกัดเฉพาะในกลุ่มทีมงานคงไม่นำไปสู่การอนุรักษ์ป่าได้อย่างตั้งใจ ทีมงานได้หารือกับคุณครู และปลัด อบต. เพื่อหารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึก และให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียน ข้อสรุปร่วมกันคือ การบูรณาการการจัดกิจกรรมเรียนรู้ระบบนิเวศป่าพรุเสม็ดทุ่งบางนกอกกับการเรียนใน 8 สาระวิชา เช่น

  • ภาษาไทย บรรยายให้เห็นคุณค่าของป่าพรุเสม็ด โดยสื่อความคิดเป็นตัวอักษร ร้อยเรียง เป็นคำประพันธุ์ประเภทกลอนแปด
  • ภาษาอังกฤษ บรรยายให้เป็นประโยชน์และคุณค่าของป่าพรุเสม็ด เป็นภาษาอังกฤษ
  • การงานอาชีพ ให้บอกประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของต้นเสม็ดขาว
  • วิทยาศาสตร์ ศึกษาห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าพรุเสม็ด
  • สังคมศึกษา ศึกษาความเชื่อที่มีเกี่ยวกับป่าพรุเสม็ด รวมทั้งบอกประโยชน์และคุณค่าของป่าพรุเสม็ด
  • สุขศึกษา สำรวจประโยชน์และคุณค่าของป่าพรุเสม็ด ใน 4 ด้าน คือ ร่างกาย, อารมณ์, จิตใจ, สังคม
  • คณิตศาสตร์ หาค่าเฉลี่ยนความอุดสมสมบูรณ์ของป่าพรุเสม็ด โดยการวังรอบวงและความสูงของต้นไม้
  • ศิลปะ วาดภาพป่าพรุเสม็ดและวิถีชีวิตที่เกี่ยวกับป่าพรุเสม็ด

ทั้งนี้ทีมงานประสานขอความร่วมมือจาก อบต.ควนโส ในการจัดเจ้าหน้าที่มาจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีผู้รู้มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของป่าพรุเสม็ดและวิธีการสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของป่าแก่นักเรียนทั้งหมดในโรงเรียน แล้วหลังจากนั้นแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม เพื่อลงไปสำรวจป่า “ลงสำรวจป่ามีการสำรวจพรรณพืช สัตว์ ดิน น้ำ เราศึกษาจากหนังสือของ อบต. จะมีแกนนำและเยาวชนเป็นนักเรียนในโรงเรียนนี้ทั้ง 170 คน แบ่งกลุ่มใหญ่ ๆ แล้วเราก็เชิญเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ มาช่วยเป็นพี่เลี้ยงด้วย ซึ่งแต่ละกลุ่มหลังจากฟังบรรยายเสร็จแล้วก็ต้องไปดูให้เห็นกับตาว่า ต้นไม้ใหญ่จริง ๆ เป็นอย่างไร ดินเป็นอย่างไร น้ำสีอะไร” เดชเล่า

“เพราะผืนป่ามีจำนวนลดลง ถ้าเราไม่รักษาเท่ากับเราทำลายบ้านเราเอง เพราะตรงนี้เหมือนกับครัวเป็นหม้อข้าวหม้อแกงของเรา” หลังจัดกิจกรรมเรียนรู้เสร็จ ทีมงานได้จัดประชุมเพื่อให้เพื่อนนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งสอดแทรกแนวคิดปลุกใจให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของป่าพรุเสม็ด

“น้องๆ ออกมานำเสนองานของกลุ่มตนเอง หลังจากนั้นให้รุ่นพี่ที่คิดโครงการนี้ มาเล่าถึงที่มาที่ไปว่า ทำไมเราถึงต้องมาทำตรงนี้ เป็นเพราะผืนป่ามีจำนวนลดลง ถ้าเราไม่รักษาเท่ากับเราทำลายบ้านเราเอง เพราะตรงนี้เหมือนกับครัวเป็นหม้อข้าวหม้อแกงของเรา ซึ่งน้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมเขาก็ให้การตอบรับที่ดี หลังจากนั้นก็มีการชวนกันไปปลูกต้นไม้” เดชเล่าถึงผลของงาน

“พรานโนรา” สอนคนรุ่นใหม่ เข้าใจคุณค่าเก่า

สำหรับกลุ่มเท่งตุ้ง ซึ่งตั้งใจสืบสานศิลปะพรานโนรา เริ่มทำงานโดยการขอความรู้จากผู้รู้ในชุมชน และผู้รู้ใกล้ตัวคือ ครูสงวน บัวเพชร ที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งมีความรู้ และสามารถรำพรานโนราได้อย่างงดงาม ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจประวัติ ความเป็นมาของพรานโนรา แทนที่จะมุ่งฝึกฝนการรำทันที เพราะทีมงานรู้ว่า การได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของพรานโนรา จะเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้การเรียนรู้มีความลึกซึ้งมากกว่าแค่รำเป็น

เมื่อเรียนรู้จนเข้าใจแล้ว ทีมงานจึงประชาสัมพันธ์โครงการผ่านเสียงตามสายของโรงเรียนและสื่อออนไลน์ เพื่อรับสมัครสมาชิกในโรงเรียน และยังเข้าพบผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเชิญชวนให้น้อง ๆ ที่เรียนระดับประถมได้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกการรำพรานโนรา “ทีมงานตั้งใจสืบสานศิลปะพรานโนรา...โดยการขอความรู้จากผู้รู้ในชุมชน และผู้รู้ใกล้ตัว...ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจประวัติ ความเป็นมาของพรานโนรา แทนที่จะมุ่งฝึกฝนการรำทันที เพราะทีมงานรู้ว่า การได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของพรานโนรา จะเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้การเรียนรู้มีความลึกซึ้งมากกว่าแค่รำเป็น”

ราชันเล่าว่า การประชาสัมพันธ์ครั้งนี้ทีมงานตั้งเป้าไว้ว่าจะรับสมัครนักเรียนในโรงเรียน 30 คน และรับสมัครน้อง ๆ จากโรงเรียนประถมศึกษาใกล้เคียง 5 แห่ง เข้าร่วมกิจกรรม คือ โรงเรียนบ้านบ่อหว้า โรงเรียนปากจ่า โรงเรียนท่าหยี โรงเรียนควนโส โรงเรียนวัดโพธิ์ โดยพวกเขา รุ่นพี่ และอาจารย์เข้าไปติดต่อกับอาจารย์ในโรงเรียนประถมศึกษาแล้วเล่าให้ฟังว่า พวกเรามีโครงการที่อยากให้น้องเข้าร่วม อยากให้น้องได้รู้ว่าพรานโนราสำคัญอย่างไร ผลที่ได้เกินคาดเพราะมีนักเรียนสนใจเข้าร่วมมากกว่าที่เราตั้งใจไว้

กระบวนการถ่ายทอดจึงถูกจัดขึ้นที่โรงเรียนปากจ่า ผ่านการอบรม ที่ทีมงานได้เชิญผู้รู้ในท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของการละเล่นมโนราห์ ตลอดจนมีการสอนรำท่าต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็เสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการร้อยลูกปัดที่ใช้ทำชุดมโนราห์ การทำหน้ากากพรานโนราซึ่งเป็นอาชีพที่มีอยู่ในชุมชน

“ทุกสัปดาห์ในโรงเรียนจะมีวิชาชุมนุม เรานัดหมายคุณครูจากโรงเรียนประถมศึกษาให้นำน้อง ๆ มา ซึ่งก็แล้วแต่ว่าโรงเรียนเขาจะพามาไหม พอน้องได้มาเรียน เขาก็พอทำได้ เขาอาจจะเล่นบ้างอะไรบ้าง เวลาน้องไม่สนใจก็จะมีขู่บ้าง และมีการสร้างแรงจูงใจด้วย เช่น การร้อยลูกปัดเป็นพวงกุญแจเล็ก ๆ หรือทำหน้ากากพราน ใครทำเสร็จสามารถนำกลับไปได้เลย น้องเขาก็จะสนุก” ฝนเล่า

เมื่อจัดให้มีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง น้อง ๆ และเพื่อน ๆ เริ่มรำเป็น ทีมงานได้แวะเวียนไปตามโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนที่ร่วมโครงการได้มีโอกาสแสดงเผยแพร่ในโรงเรียนของตนเอง เพื่อสะสมประสบการณ์บนเวที รวมทั้งทีมงานในโรงเรียนปากจ่าเองก็ได้รับโอกาสในการถ่ายทอดศิลปะการแสดงพรานโนราจากการร่วมกิจกรรมของหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง ที่เมื่อทราบข่าวว่า เยาวชนที่นี่สามารถรำพรานโนราได้ ก็มักจะเชิญให้ไปร่วมแสดงในงานต่างๆ ที่แต่ละองค์กรได้จัดขึ้นตามวาระและโอกาส

“เราได้ไปแสดงที่มหาวิทยาลัยทักษิณ งานคืนความสุขให้ชุมชนที่อำเภอหาดใหญ่ งานเอสเอ็มอีที่จังหวัดสตูล และงานวัดในตำบล เพราะเขาเชิญมาตลอด” ราชันเล่าถึงเวทีต่าง ๆ ที่ได้โอกาสขึ้นแสดง

เปิดพื้นที่ “สร้างการเรียนรู้ร่วม”

เมื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงเกิดผลเชิงประจักษ์ โดยทีมงานทั้ง 3 โครงการสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ลงมือสืบค้น เรียนรู้ และลงมือทำได้แล้ว ก็ถึงคราวแสดงฝีมือ ทั้ง 3 ทีมจึงจัด “กิจกรรมเปิดพื้นที่” สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการแสดงนิทรรศการที่บอกเล่าถึงกระบวนการทำงาน และผลการศึกษาในแต่ละประเด็น พร้อมโชว์ของดีประจำกลุ่มทั้งน้ำผึ้ง หน้ากากพราน ลูกปัดที่ถูกร้อยอย่างสวยงาม การแสดงมโนราห์ และการรำพรานโนรา ต่อหน้าสมาชิกในโรงเรียนทั้งเพื่อนนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่จาก อบต.

ในโอกาสนี้กลุ่มป่าคือชีวิต ที่ทำโครงการรักษ์ป่าพรุเสม็ด ได้นำเสนอผลการทำงาน พร้อมทั้งจัดวงเสวนา เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์ป่าพรุเสม็ด โดยพยายามสร้างข้อตกลงหรือกติกาในการใช้ประโยชน์ ซึ่งในเบื้องต้นที่ประชุมก็ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า การใช้ประโยชน์ต้องใช้อุปกรณ์คือ พร้าหรือขวาน ในการตัด เพราะเป็นการขยายพันธุ์ และห้ามการใช้เครื่องจักรกลในการถางป่า ส่วนกติกาที่ละเอียดรัดกุมิยิ่งขึ้นนั้น ทางผู้นำชุมชนที่ร่วมงานอาสารับเป็นเจ้าภาพที่จะผลักดันให้เกิดกติการร่วมของชุมชนต่อไป

จาก “ความรู้” ถักสานเป็น “ความรัก”

“ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เพราะเห็นคุณค่าของเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น...การได้ไปเรียนรู้กับพี่ ๆ สงขลาฟอรั่มทำให้เขาเกิดพัฒนาการที่ชัดเจนด้านกระบวนการคิด เพราะพี่ ๆ จะมีวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ต้องคิด วิเคราะห์ ทำให้คิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น”

การได้คลุกคลีกับเรื่องราวของท้องถิ่นในแต่ละเรื่อง สร้างความรู้สึกผูกพันขึ้นในใจ แม้ทุกคนจะบอกตรงกันว่า ต้องจัดการตนเองทั้งเรื่อง การเรียน ช่วยงานที่บ้าน และทำกิจกรรม เดชซึ่งเคยใช้ชีวิตชิล ๆ เรียนบ้าง เล่นบ้าง แอบหนีเรียนไปนั่งเล่น สารภาพว่า ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เพราะเห็นคุณค่าของเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น เดชบอกว่า เพราะการได้ไปเรียนรู้กับพี่ ๆ สงขลาฟอรั่มทำให้เขาเกิดพัฒนาการที่ชัดเจนด้านกระบวนการคิด เพราะพี่ ๆ จะมีวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ต้องคิด วิเคราะห์ ทำให้คิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น

การทำงานเป็นระบบคือ ทักษะที่เกิดขึ้นแก่ทุกคนในทุกทีม เพราะการทำงานที่ต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมภายใต้คาถาที่ระลึกได้ขึ้นใจว่า เมื่อจะทำอะไรก็ต้องคิดร่วมกันว่า จะต้องทำอะไร จะทำอย่างไร ทำกับใคร ทำที่ไหน ทำไปทำไม การได้วางแผนร่วมกัน ผ่านการถกเถียง โต้แย้งด้วยเหตุผลทำให้ทีมงานเห็นความงามของความคิดเห็นที่แตกต่าง ทำให้การทำงานเป็นระบบ และสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม ส่วนเต็ม น้ำหวาน และแนน ที่บ้านอยู่ใกล้กันมาก สารภาพว่า ไม่เคยสนใจ ไม่เคยรู้จักว่า ป่าพรุเสม็ดเป็นอย่างไร ทำไมต้องรักษาป่าพรุเสม็ดไว้ แม้พ่อแม้จะทำประมงก็ตาม พอมาทำโครงการ ได้สัมผัสกับผืนป่า จึงเห็นคุณค่าของป่าพรุเสม็ด จนเปรียบเปรยว่า ป่าพรุเสม็ดเป็นเสมือนดั่งลมหายใจที่ต้องรักษาไว้

ขณะที่ราชัน สะท้อนภาพตนเองที่เกิดการเปลี่ยนแปลงว่า จากที่เป็นคนใจร้อนมาก เวลาถกเถียงกับเพื่อนก็มักจะมีเหตุการณ์ให้ต้องเสียงดัง ตะคอกใส่กัน เพราะจะเอาแต่ความคิดของตนเอง แต่เมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นมากขึ้น พร้อมทั้งเกิดภาวะฉุกคิดทบทวนพฤติกรรมของตนเอง

“เพื่อนว่าแบบนี้ ผมว่าแบบนั้น มีการขึ้นเสียง ตะคอกใส่กัน หลังจากเถียงกันก็ได้กลับมาคิดกับตัวเอง ว่าเราไม่น่าทำแบบนี้ ที่เพื่อนพูดก็ถูก ทำไม่เราไม่ฟัง เราควรปรับทัศนคติของตัวเองใหม่ ควรให้เพื่อนได้ออกความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่” ราชันเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของตนเอง พร้อมเสริมว่า การทำโครงการยังสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ตนเอง ซึ่งเป็นเด็กธรรมดา ทำงานไม่ได้เรื่อง ที่ผ่านมาเวลาทำอะไรก็มุ่งทำเพียงแค่เสร็จ แต่เมื่อทำโครงการก็ได้เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบ ต้องรับฟังคนอื่น ต้องมีความเป็นผู้นำ ต้องกล้าคิด กล้าทำ และต้องทำอย่างตั้งใจมากขึ้นเพื่อให้งานสำเร็จ

“ที่ผ่านมาเวลาทำอะไรก็มุ่งทำเพียงแค่เสร็จ แต่เมื่อทำโครงการก็ได้เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบ ต้องรับฟังคนอื่น ต้องมีความเป็นผู้นำ ต้องกล้าคิด กล้าทำ และต้องทำอย่างตั้งใจมากขึ้นเพื่อให้งานสำเร็จ” เรื่องอารมณ์ร้อนของวัยรุ่นเป็นประเด็นที่บีบอกว่า เธอก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่บีได้เห็นตัวเองจากกิจกรรมการทำหน้ากากพราน และการร้อยลูกปัด ที่ปลาและฝนสามารถทำได้อย่างประณีต แต่ตนเองกลับ ทำไม่ได้เพราะใจร้อน ยิ่งเห็นเพื่อนทำใกล้เสร็จแต่ตัวเองยังไม่ถึงไหน ก็พาลเสียสมาธิ เร่งทำจนกลายเป็นเสียของ การได้เห็นอาการของตนเองเช่นนี้ทำให้ต้องปรับตัวเองให้ใจเย็นลง

สำหรับทีมงานกลุ่มผึ้งหวานโครงการสืบสานภูมิปัญญา “การทำพังกาดผึ้ง” การหารายได้ระหว่างเรียนได้เป็นกอบเป็นกำเป็นผลอันชื่นใจของทุกคน สิ่งที่เป็นความเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ของเด็กผู้ชายกลุ่มนี้ คือ จากเด็กธรรมดาทั่วไป ได้รับโอกาสพัฒนาตนเอง จนมีทักษะจากการลงมือทำจริง เกิดทักษะด้านอาชีพติดตัว ทั้งยังสามารถเผยแพร่องค์ความรู้สู่สังคม กลายเป็นตัวแทนที่สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนและชุมชน

ลมใต้ปีกของลูกศิษย์

“หัวใจของการทำงานหนุนเสริมลูกศิษย์คือ จะกระตุ้นให้ลูกศิษย์ตระหนักว่าทุกคนมีความสามารถ วลีที่ตอกย้ำกับลูกศิษย์เป็นประจำคือ ทุกคนมีค่าเท่ากัน อย่าบอกว่า ตนเองทำไม่ได้ ให้ลองทำก่อน”

ครูทรรศนะ สุขธรณ์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการสืบสานภูมิปัญญา “การทำพังกาดผึ้ง” เล่าว่า เมื่อทราบว่า โครงการของลูกศิษย์ที่ส่งไปยังโครงการปลูกใจรักษ์โลก ถูกส่งต่อมายังสงขลาฟอรั่ม ครูยังไม่รู้จักว่า สงขลาฟอรั่มเป็นใคร ทำอะไร จึงเริ่มหาข้อมูลองค์กร จนได้รู้จักกับทีมงาน รู้ว่าเป้าหมายของการทำงานของสงขลาฟอรั่ม และเป้าหมายในการพัฒนาลูกศิษย์ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะตลอดเวลาที่สอนอยู่ในโรงเรียนปากจ่าวิทยา นอกจากการสอนวิชาการแล้ว ครูทรรศนะตั้งใจที่จะสอนให้ลูกศิษย์มีจิตสำนึกรักท้องถิ่นของตนเอง

“ผมมาอยู่ที่นี่ 14 ปี ผมได้เห็นโอกาสท่ามกลางวิกฤติของพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่ริมทะเลสาบ เป็นป่าพรุ มีวิถีวัฒนธรรม ผมได้หยิบตรงนี้มาสร้างจิตสำนึกให้เด็ก ในการรักถิ่น ที่สำคัญคือ ชื่นชมในแผ่นดินเกิดของตนเอง เกิดมาต้องรักแผ่นดินเกิด เราต้องนำเสนอแผ่นดินของเราออกไปสู่สาธารณะให้ได้ ก็จะหยิบเรื่องราวเหล่านี้มาสอนนักเรียนทุกครั้งที่มีโอกาส”

การหนุนเสริมลูกศิษย์ระหว่างการทำโครงการนั้น ครูทรรศนะจะเสริมเติมเต็มในส่วนที่ลูกศิษย์ยังทำไม่ได้ เช่น การเขียนโครงการ การเก็บข้อมูลเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ และการเรียบเรียงข้อมูลในรายงาน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วครูบอกว่า เด็ก ๆ สามารถทำงานเองได้ ครูเพียงส่งเสริมให้แต่ละคนพัฒนาศักยภาพตามความถนัดและความสนใจของตนเอง

“เด็กที่นี่เขามีกระบวนการทำงาน มีตัวพี (Process) เยอะ Knowledge ไม่เยอะ แต่มี Attitude ที่ดี ไม่มีความรู้ แต่รู้จักทำงาน ขยัน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ อยู่ในสังคมได้” ครูทรรศนะกล่าวถึงลูกศิษย์อย่างภูมิใจ ด้านครูสิริกานต์ สุขธรณ์ ที่ปรึกษาโครงการรักษ์ป่าพรุเสม็ด ได้เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของลูกศิษย์ที่สัมผัสได้ว่า นักเรียนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น เพราะมีประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ออกไปเรียนรู้ในที่ต่าง ๆ กับผู้คนหลากหลาย ซึ่งการที่มีโอกาสเปิดโลกการเรียนรู้ที่กว้างกว่าในโรงเรียนนั้น ครูทำหน้าที่เป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวก โดยเฉพาะการประสานงานกับผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจต่อกิจกรรมที่เด็กๆ ต้องทำ

“เราจะให้เบอร์โทรศัพท์กับผู้ปกครองเลย ถ้านักเรียนบอกว่ามาทำกิจกรรม แล้วผู้ปกครองเป็นห่วงก็สามารถโทรศัพท์มาสอบถามได้ตลอดเวลาว่า ลูกหลานเขามาจริงไหม ตอนนี้ลูกหลานเขาอยู่ไหน จะกลับเมื่อไร เราต้องทำให้เขาเชื่อมั่นกับเรา”

ครูสิริกานต์บอกว่า หัวใจของการทำงานหนุนเสริมลูกศิษย์คือ จะกระตุ้นให้ลูกศิษย์ตระหนักว่าทุกคนมีความสามารถ วลีที่ตอกย้ำกับลูกศิษย์เป็นประจำคือ “ทุกคนมีค่าเท่ากัน อย่าบอกว่า ตนเองทำไม่ได้ ให้ลองทำก่อน” สำหรับครูสงวน บัวเพชร ที่ปรึกษาโครงการเยาวชนสืบสานพรานโนรา บอกว่า การดูแลและสอนลูกศิษย์จะใช้ตัวเองเป็นตัวอย่าง ทั้งในเรื่องการแสดงพรานโนรา ความพยายามในการฝึกฝน ความกตัญญูต่อพ่อแม่ แต่ในกระบวนการหนุนเสริมการทำงานโครงการของลูกศิษย์นั้น ครูมีบทบาทให้คำปรึกษา ช่วยในการวางแผนการทำงาน แต่ทั้งหมดนี้อยู่บนฐานว่า ให้ลูกศิษย์ได้คิด ออกแบบ หรือวางแผนมาก่อน แล้วจึงเติมเต็มในสิ่งที่ขาด

“เห็นความเปลี่ยนแปลงของเด็กเยอะมาก เด็กนักเรียนของเราตอนแรกพูดง่าย ๆ เหมือนมันไม่ค่อยเข้ายา ทำอะไรก็ทำโดดเดี่ยว ทำอะไรก็เหมือนจะเห็นแก่ตัว ตัวเองเด่นแล้วไม่อยากให้เพื่อนเด่นตาม หลังผ่านการการประชุมพัฒนาและสร้างสรรค์กระบวนการทำงานเพื่อส่วนรวมของเยาวชน จากพี่เลี้ยงสงขลาฟอรั่ม ที่พี่ๆ มีการปลุกพลังการทำงานเป็นทีม เด็ก ๆ ก็เริ่มดีขึ้น กลับมาก็นั่งเป็นกลุ่มเป็นก้อน คนนี้คิดคำ คนนี้คิดคำ คนนี้คิดแบบนี้ ผมว่า น่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ เอาสามอย่างมารวมกันเป็นหนึ่งจะเป็นความคิดที่โอเคมาก”

ครูสงวนบอกว่า การละวางตัวตน ลดความเด่นของตนเอง ยอมรับเพื่อนมากขึ้น เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน แล้วนำมาคิดวิเคราะห์ว่าอันไหนดีไม่ดีอย่างไร ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการที่ทีมสงขลาฟอรั่มพาคิดพาทำภาพการทำงานของทั้ง 3 กลุ่มในความคิดเห็นส่วนตัวของครูสงวนบอกว่า เป็นการสะท้อนอัตลักษณ์ของโรงเรียนคือ 1.นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม 2.ใช้บริบทรอบ ๆ โรงเรียนเป็นสื่อให้เรียนรู้ได้ ซึ่งการทำโครงการลักษณะนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาที่พัฒนาศักยภาพของคนจากพื้นฐานที่นักเรียนแต่ละคนเป็น ให้ทุกคนมีทางไปของตนเอง

“นี่คือโอกาสของเด็กทุกคน โรงเรียนที่อยู่ในอำเภอควนเนียงที่ผมเข้าไปสอบถาม ไม่มีโรงเรียนใดได้โอกาสอย่างนักเรียนโรงเรียนปากจ่าวิทยา เราสร้างเด็กเพื่อสร้างพลังพลเมือง สร้างเด็กให้มีความคิด เหมือนเรื่องพังกาดผึ้งไม่มีใครทำ เราเอาไปแข่งขันวิชาการ กรรมการก็พยายามถามให้เด็กจนมุม แต่เด็กก็ไม่จนมุม ตอบได้ทุกคำถามเพราะเขาทำเอง” ครูสงวนยกตัวอย่างผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาลูกศิษย์ให้ก้าวข้ามความไม่พร้อมด้านวิชาการได้ในที่สุด

แรงหนุนจากชุมชน

ศักดินันท์ เหมมัน ผู้อำนวยการโรงเรียนปากจ่าวิทยา เล่าว่า โครงการพลังพลเมืองเยาวชน สงขลา สอดรับกับแนวทางของโรงเรียน จึงได้เชื่อมโยงโครงการพลังนักเรียน เข้ากับโครงการของสงขลาฟอรั่ม จัดเป็นกิจกรรมต่างๆ ให้นักเรียนลงมือทำด้วยความสมัครใจ อาทิ โครงการรักษ์ป่าพรุเสม็ด โครงการเยาวชนสืบสานพรานโนรา และโครงการสืบสานภูมิปัญญา “การทำพังกาดผึ้ง”

“การทำโครงการลักษณะนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ทำให้กิจกรรมที่โรงเรียนจะจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ซึ่งผลของการเรียนรู้ลักษณะนี้ได้ช่วยพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้ตรงตามตัวชี้วัดตามมาตรฐานการศึกษาได้อย่างน่าอัศจรรย์”

“ต้องยอมรับว่า เด็กที่อยู่ตรงนี้ถ้าจะไปสู้ด้านวิชาการ เขาสู้โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยไม่ได้ สู้โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกัลยาไม่ได้ แต่เด็กนักเรียนที่เรียนปากจ่ามีสิ่งหนึ่งที่เหนือกว่าเด็กในเมืองคือ ทักษะการอยู่ในสังคม ทักษะเรื่องการใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ เมื่อวิชาการสู้ไม่ได้เราจึงมาเน้นเรื่องนี้แทน เพื่อให้เด็กอยู่ได้ในพื้นที่นี้ ก็มาพยายามสอบถามว่าผู้ปกครองยอมรับไหม ผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็ยอมรับ เพราะว่า นักเรียนสามารถกลับไปช่วยพ่อแม่ในเรื่องการประกอบอาชีพได้”

ผอ.ศักดินันท์สะท้อนความเห็นเพิ่มเติมว่า การทำโครงการลักษณะนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ทำให้กิจกรรมที่โรงเรียนจะจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ซึ่งผลของการเรียนรู้ลักษณะนี้ได้ช่วยพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้ตรงตามตัวชี้วัดตามมาตรฐานการศึกษาได้อย่างน่าอัศจรรย์ “ยกตัวอย่าง ตัวชี้วัดเรื่อง นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เราจัดให้เด็กคือ เด็กต้องรวมกลุ่มกันทำงาน มีกระบวนการกลุ่มที่ชัดเจน มีผู้นำ ผู้ตาม มีผู้ปฏิบัติงานร่วมกัน มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการประชุมแก้ไข สิ่งเหล่านี้สามารถตอบตัวชี้วัดนี้ได้ กิจกรรมเหล่านี้อาจจะไม่ได้ช่วยเสริมการเรียนการสอน แต่ทำให้นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มเติม ความรู้ที่ได้รับอาจจะอยู่นอกเหนือหลักสูตร แต่สิ่งที่นักเรียนได้รับคือ ความกล้าแสดงออก การมีความรู้ภูมิปัญญา เรื่องของการกล้าตัดสินใจ ทำงานเป็นกลุ่มเป็น”

ผอ.ศักดินันท์ ยังบอกต่อว่า ทีมทำงานเองก็สามารถทำงานได้ผลดีอย่างต่อเนื่อง จนโรงเรียนต้องหวนกลับมาทบทวนอัตลักษณ์ของโรงเรียนใหม่ “เมื่อก่อนอัตลักษณ์ของโรงเรียนปากจ่า คือ อยู่อย่างพอเพียง ก็จะเปลี่ยนมาเป็นเรื่องของโนรานี่แหล่ะ แต่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกับกับคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน”

ด้าน ร.ต.ต. สม วัชรบุตร ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนปากจ่าวิทยา กล่าวสั้นๆ ว่า “ชุมชนให้ความร่วมมือ และเห็นชอบกับสิ่งที่เด็กๆ ทำในโครงการ เพราะเด็กได้ประกอบอาชีพ ถ้าเรียนไม่เก่งก็สามารถกลับมาประกอบอาชีพอยู่ในพื้นที่ได้”

สำหรับมุมมองจากผู้ปกครองนักเรียน นายครื้น ติธรรมโน เป็นตัวแทนสะท้อนความรู้สึกว่า สิ่งที่ทางโรงเรียนให้ทำอย่างนี้รู้สึกว่า ดี เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตเมื่อเด็กเรียนจบแล้วจะได้ทำงานทุกคนหรือไม่ ถ้าเราให้เด็กเรียนรู้ด้านประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาต่าง ๆ จะสามารถช่วยตนเองได้ในอนาคตข้างหน้า เรียนแบบนี้กลับไปช่วยที่บ้านได้ สร้างอาชีพอิสระเลี้ยงตนเองได้

ภิติพัฒน์ หนูมี ปลัด อบต.ควนโส เล่าว่า ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในตำบล เป็นเรื่องที่สะสมมานานของชาวบ้านที่นี่ เช่น เรื่องพังกาดผึ้งก็มีการทำกันมานานแล้ง เป็นพื้นที่เดียวที่ชาวบ้านเลี้ยงผึ้งหลวงโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งที่อื่นๆ เลี้ยงผึ้งในกล่อง ส่วนเรื่องป่าเสม็ดทุ่งบางนกออก ซึ่งเป็นป่าดั้งเดิมที่มีอยู่มานานแล้ว คนในชุมชน 3-4 รุ่นแล้วที่มีการใช้ประโยชน์จากป่า จนกระทั่งทางการได้ประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ

ซึ่งในอดีตชาวบ้านเขาใช้และดูแล โดยมี “ป่าเว้น” ซึ่งเป็นพื้นที่ระหว่างป่าและบ้าน ที่ชาวบ้านจะเข้าไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ฟืนบ้าง ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนบ้าง แล้วก็มีการดูแลป่า ถ้าเกิดไฟไหม้ชาวบ้านจะมาช่วยกันดับ แต่ “ป่าเว้น” จะมีการใช้สัญลักษณ์เป็นไม้ง่ามใช้ในการจอง ว่า ไม้ต้นนี้มีคนจองไว้แล้วว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ คนอื่นก็จะไม่เอา หรือการตัดต้นเสม็ด ถ้าใช้มีดพร้าตัดจะมีหน่อเกิดขึ้น 3 4 หน่อ ชาวบ้านก็จะดูแลต่อไป ซึ่งต่างจากป่าชนิดอื่นที่ตัดแล้วต้องปลูกเพิ่ม สำหรับพรานโนราที่คนในพื้นที่มีบรรพบุรุษเป็นมโนราห์ดั้งเดิมหลายกลุ่ม ใช้วิธีรำเล่าเรื่องแบบดั้งเดิม ทั้งชุดการแสดงและเครื่องดนตรี การสอนรำมโนราห์สอนได้ไม่ยาก เพราะเด็ก ๆ สัมผัสมาตั้งแต่เล็ก ๆ เมื่ออบต.สนับสนุนให้เปิดสอนเพิ่มเติมในโรงเรียน เด็ก ๆ จึงสนใจเรียนกันมาก เพราะต่อยอดเป็นอาชีพได้ แต่การรำพรานโนราต้องเป็นคนที่มีบุคลิกเฉพาะ สำหรับการสนับสนุนของ อบต. ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนทำ ตั้งแต่ 4-5 ปีที่แล้ว โดยได้สนับสนุนเงินมาก้อนหนึ่งให้โรงเรียนจัดกิจกรรมสอนมโนราห์ จากงบประมาณก้อนนี้โรงเรียนก็ได้นำมาบริหารจัดการเพื่อสอนเด็กรุ่นต่อรุ่น นอกจากความรู้เรื่องการนำโนรา แล้วยังมีการถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำชุดมโนราห์ การร้อยลูกปัด และการทำหน้าพราน โดย อบต.เชิญผู้รู้ มาสอนเรื่องพวกนี้ให้กับนักเรียน เพื่อต่อยอดเป็นอาชีพต่อไป

“เรื่องราวเหล่านี้ถ้ารู้ในชุมชนเดียวก็ธรรมดา แต่ถ้าได้เผยแพร่ออกไปในสื่อต่างๆ มันทำให้เกิดคุณค่าต่อโรงเรียนและชุมชน เด็กเองก็ได้ทำกิจกรรมได้รู้ว่าในตำบลของเรามีดีอะไร...เด็กจะรู้จักข้างนอกมากกว่าบ้านตัวเอง เราพยายามสร้างให้เด็กของเราเรียนรู้ข้างใน แล้วเอาไปบอกข้างนอก เพื่อจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของตนเอง พอเขาเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยเขาจะรู้ว่าบ้านเขามีคุณค่ามากกว่าที่เขาคิด”

“เด็กปัจจุบันไม่ให้ความสนใจเรื่องภูมิปัญญา ความรู้พื้นถิ่นก็ไม่มี การที่เด็กได้ทำทั้ง 3 โครงการนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะเชื่อมต่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องราวของตำบลควนโส เพราะอย่างที่ ผอ.บอกว่า ถ้าเรื่องวิชาการสู้ยาก แต่ถ้าเราเอาจุดเด่นที่มีความรู้เรื่องภูมิปัญญาพื้นถิ่นตรงนี้ไปเป็นจุดขาย ผมว่าสู้ได้แน่นอน และพวกเขายังนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ (โควตา) ซึ่งปัจจุบัน เด็กหลายคนจบมหาวิทยาลัยแล้วนำภูมิปัญญาเหล่านี้ไปสร้างชื่อเสียง สร้างรายได้ เช่น การรำโนราลงครู เป็นต้น”

ปลัดภิติพัฒน์กล่าวต่อว่า ต้องขอบคุณสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ สงขลาฟอรั่ม ที่ได้เข้ามาสนับสนุนโรงเรียน เพราะเรื่องราวเหล่านี้ถ้ารู้ในชุมชนเดียวก็ธรรมดา แต่ถ้าได้เผยแพร่ออกไปในสื่อต่างๆ มันทำให้เกิดคุณค่าต่อโรงเรียนและชุมชน เด็กเองก็ได้ทำกิจกรรมได้รู้ว่าในตำบลของเรามีดีอะไร เคยคุยกับหลายที่ เด็กจะรู้จักข้างนอกมากกว่าบ้านตัวเอง เราพยายามสร้างให้เด็กของเราเรียนรู้ข้างใน แล้วเอาไปบอกข้างนอก เพื่อจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของตนเอง พอเขาเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยเขาจะรู้ว่าบ้านเขามีคุณค่ามากกว่าที่เขาคิด

“เวลาเด็กได้มาทำกิจกรรมแบบนี้ แววตาของเขามันแตกต่างจากการเรียนในห้องเรียน เขาจะรู้สึกสนุก ตื่นเต้นกับกระบวนการเรียนรู้ แม้จะเป็นสิ่งที่รู้แล้วก็ตาม แต่พอได้ลงมือปฏิบัติ ทำให้เขามีความรู้และเข้าใจในอาชีพของพ่อแม่มากขึ้น ว่านี่คืออาชีพที่เลี้ยงดูเขา เขาได้เรียนรู้ว่าในป่ามีอะไร ป่าเสม็ดในชุมชนของเขากับป่าเสม็ดในชุมชนอื่นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร นั่นคือได้เรียนรู้ลึก ๆ เชิงวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์จ๋า แต่มันได้สัมผัสจริง ได้วิเคราะห์เป็น คิดเป็น โดยที่เขาอาจไม่รู้ว่ามันเป็นการวิเคราะห์ และทำงานเป็น นี่คือสิ่งที่เขาได้”

นอกจากการเรียนรู้เรื่องราวใกล้ตัวแล้ว ปลัดภิติพัฒน์ บอกว่า สิ่งที่เขาสัมผัสได้คือ เด็กๆ ทั้ง 3 กลุ่มมีความกล้ามาก จากเมื่อก่อนไม่กล้าที่จะพูดคุยมากนัก ไม่กล้าทำกิจกรรมที่ชัดเจน มีเหตุมีผลน้อย พอได้ลงมือทำเป็นเรื่องราว ก็เริ่มมีเหตุมีผลมากขึ้น เริ่มมีการพูดคุย มีการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งหน้าที่ นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่ได้อย่างชัดเจนของนักเรียนโรงเรียนปากจ่าวิทยา เพราะแผ่นดินถิ่นเกิด มีของดีที่ควรรักษาเชิดชู เยาวชนกลุ่มหนึ่งจึงอาสาลุกขึ้นมาทำหน้าที่สืบสาน ถ่ายทอด บอกเล่าเรื่องราวของวัฒนธรรม วิถีชีวิตภายใต้การเรียนรู้ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทั้งผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ ด้วยทุกคนต่างตระหนักดีว่า การที่เด็ก ๆ ได้ลงมือทำโครงการเช่นนี้ จะเกิดความเข้าใจลึกซึ้งว่า สิ่งที่บรรพบุรุษถ่ายทอดต่อๆ กันมานั้นมีคุณค่าที่ควรค่าแก่การสืบทอดไว้ให้คงอยู่คู่มาตุภูมิแห่งนี้ตลอดไป


โครงการ : รักษ์ป่าพรุเสม็ด

ที่ปรึกษาโครงการ : ครูสิริกานต์ สุขธรณ์ โรงเรียนปากจ่าวิทยา

ทีมทำงาน : นักเรียนโรงเรียนปากจ่าวิทยา ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

( ฤทธิเดช ศรีคะระมะทันโต ) ( ปนัดดา เรืองแก้ว ) ( สุวรรณี ศรีรักษ์ ) ( ชนิตา เพ็ชรมณี )


โครงการ : สืบสานภูมิปัญญา “การทำพังกาดผึ้ง”

ที่ปรึกษาโครงการ : ครูทรรศนะ สุขธรณ์ โรงเรียนปากจ่าวิทยา

ทีมทำงาน : นักเรียนโรงเรียนปากจ่าวิทยา ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

( ปัทมา กาฬสิทธุ์ ) ( สุธีร์ สวัสดิ์คีรี ) ( สัญญา มากมูล )

( อภิสิทธิ์ สังเทระ ) ( วันชนะ แก้วสำลี )


โครงการ : เยาวชนสืบสานพรานโนรา

ที่ปรึกษาโครงการ : ครูสงวน บัวเพชร โรงเรียนปากจ่าวิทยา

ทีมทำงาน : นักเรียนโรงเรียนปากจ่าวิทยา ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

( วีรพงศ์ ยอดยางแดง ) ( อังควิภา ครุจิตพันธ์ ) ( อาภาพร วงศ์ราชสีห์ ) ( สุภาภรณ์ สุพกิจ )

( ราชัน ไพรบึง )