การเรียนรู้ผ่านโครงการเพื่อชุมชน (PBL) เพื่อเรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรียนชะแล้นิมิตรวิทยา จังหวัดสงขลา ปี 4

ปลูกผัก ปลูกใจ ใส่ใจชุมชน

โครงการปลูกเอง กินเอง ไร้สารตกค้าง

การทำโครงการตลอดระยะเวลาหลายเดือน กลุ่มเยาวชนไม่ได้มองเป็นภาระที่หนักหนา และไม่มีผลกระทบกับการเรียน เพราะปกติแต่ละคนจะมีช่วงเวลาที่อยู่บ้านเฉยๆ หรือเล่นโซเชียลมีเดีย แค่ใช้เวลาว่างเหล่านั้นมาเพิ่มพูนทักษะการทำงานของตัวเอง ทั้งเรียนรู้การทำงานโครงการ การประสานงานกับผู้คน การทำเกษตรปลอดสาร...การปลูกผักต้องใช้ความรักและความเอาใจใส่สูง จนกลายเป็นการขัดเกลาให้พวกเขาตั้งใจทำงานจนประสบผลสำเร็จได้ในที่สุด

สุขภาพดีสร้างได้

ชุมชนชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง รับจ้างทั่วไป และทำการเกษตรที่นิยมใช้สารเคมีในการเพาะปลูก เมื่อครูทวีศักดิ์ นวลประดิษฐ์ โรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา ชวนทำโครงการ ทีมงานซึ่งประกอบด้วย เอ็กซ์-ยศพล เวชสิทธิ์ เดียร์-อัจฉรา หมัดจะบูณ ภู-ภูมินทร์ พรหมจินดา รุท-ยุทธภูมิ สุวรรณมณี และไอซ์-กันภิรมย์ หะนนท์ เกิดความคิดว่า "

จะดีกว่าไหมถ้าพวกเขารู้ที่มาที่ไปของพืชผักที่ตัวเองกิน" จึงรวมตัวกันพลิกฟื้นผืนดินที่ว่างเปล่าในโรงเรียนจัดทำโครงการปลูกเอง กินเอง ไร้สารตกค้าง โดยมีเป้าหมายคือ ให้นักเรียนในโรงเรียนและคนในชุมชนหันมาสนใจและปลูกผักอินทรีย์บริโภคในครัวเรือนมากขึ้น เพื่อลดรายจ่ายในครอบครัว และเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

เอ็กซ์ บอกว่า เหตุผลที่พวกเขาอยากลองปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง ก็เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้กินอาหารที่ปลอดภัย และเพื่อจุดประกายให้ชาวบ้านหันมาปลูกผักกินเอง ส่วนเกษตรกรก็เปลี่ยนวิถีมาปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมี ซึ่งท้ายสุดจะส่งผลให้คนในชุมชนชะแล้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น “พวกเรารวมตัวกันทำโครงการนี้เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานการปลูกผักในวิชาเรียนสมัยชั้นประถมศึกษามาแล้ว จึงไม่น่าจะยากเกินกำลังของทีมงาน เป็นกิจกรรมที่น่าสนุก ทั้งยังใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย”

เมื่อโจทย์และเป้าหมายการทำงานชัด ทีมงานจึงร่วมกันระดมความคิดค้นหาพันธุ์ผักที่ต้องการปลูก จัดเตรียมอุปกรณ์ และจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสม จนพบที่ว่างหลังโรงเรียนซึ่งเคยเป็นแปลงปลูกผักมาก่อน แต่ปัจจุบันรกร้าง ทีมงานจึงขออนุญาตโรงเรียนใช้พื้นที่ดังกล่าว  หลังเตรียมทุกอย่างพร้อมสรรพ ทีมงานระดมความคิดเรื่องการปลูกผักปลอดสารอีกครั้ง พบว่า พวกเขายังขาดความรู้เรื่องการกำจัดแมลงศัตรูพืชและการบำรุงดินและพืชแบบไม่พึ่งพาสารเคมี ครูทวีศักดิ์จึงแนะนำให้ไปขอความรู้จาก ลุงจารุ-ณพงศ์ แสงระวี ที่ทำเกษตรพอเพียงในตำบลชะแล้ เรื่องน้ำหมักชีวภาพ ส่วนการทำปุ๋ยแห้งไปเรียนรู้กับลุงจิมมี่-อนุรักษ์ สังข์กุล หัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 38 ตำบลชะแล้

ช่วงเย็นหลังเลิกเรียนเป็นช่วงเวลาที่ทีมงานทั้ง 5 คนใช้เตรียมแปลงผัก ทั้งดายหญ้า ยกร่องแปลง เดียร์ บอกว่า กว่าจะได้ครบ 10 แปลง ทั้งเหนื่อยและร้อนมาก แต่ก็สนุก หากเพื่อนคนไหนทำเสร็จก่อน ก็ไปช่วยคนที่ยังทำไม่เสร็จ เพื่องานจะได้เรียบร้อยแล้วกลับบ้านพร้อมกัน

ไอซ์ เล่าขั้นตอนการปลูกผักว่า ทำแปลงเสร็จแล้วก็มาช่วยกันเตรียมดินปลูก โดยนำขี้วัว แกลบ และดินผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงช่วยกันขุดหลุมเล็กๆ ในแปลงแล้วหยอดเมล็ดลงไปหลุมละ 1 เมล็ด แล้วรดน้ำตาม ทำแบบนี้เหมือนกันทุกแปลง “ผัก 10 แปลงแบ่งเป็นคะน้า ผักบุ้งจีน ผักกาด และถั่วฝักยาว อย่างละ 2 แปลง ส่วนผักหวานกับข้าวโพด ปลูกอย่างละ 1 แปลง แบ่งกันดูแลรับผิดชอบคนละ 2 แปลงทั้งพรวนดิน ถอนหญ้า ส่วนการรดน้ำจะแบ่งเวรกันทำเป็นช่วงเวลา” 

เดียร์เล่าว่า เธอกับไอซ์มีหน้าที่รดน้ำตอนเช้า ส่วนตอนเย็นให้เพื่อนผู้ชายอีก 3 คนตกลงกันเอง ถ้าตรงกับช่วงวันหยุดของโรงเรียน ก็ยกให้เป็นหน้าที่ของเพื่อนที่บ้านอยู่ใกล้โรงเรียน หลังลงแปลงผักแล้วเสร็จ ทีมงานนำความรู้เรื่องการทำปุ๋ยแห้งและน้ำหมักที่เรียนรู้มาทดลองทำ

 20 วันผ่านไป พืชผักที่ทีมงานลงแรงปลูกและใส่ใจดูแลรดน้ำ พรวนดิน ให้ผลผลิตงอกงามสมใจ ผักส่วนหนึ่งนำมาใช้ประกอบอาหารให้นักเรียนในโรงเรียนได้บริโภค อีกส่วนหนึ่งแบ่งขายแก่ครูและคนในชุมชน โดยรายได้จะนำมาใช้เป็นเงินทุนสำหรับซื้อเมล็ดพันธุ์เพิ่มเติม รุท บอกเล่าความรู้สึกหลังจากที่ได้กินผักที่เขาลงแรงปลูกว่า มีรสชาติหวาน กรอบ อร่อยกว่าผักที่ซื้อจากตลาด และสึกภูมิใจที่ทำได้สำเร็จ ซึ่งสอดคล้องกับเสียงตอบรับจากลูกค้าที่บอกว่า ผักของพวกเขาสดอร่อย และต้องการสั่งซื้อผักเพิ่มเติม

“เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองเห็นลูกหลานลงมือปลูกผักย่อมเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ผลที่ได้รับนอกจากคนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดสารแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวที่ได้ลงมือทำกิจกรรมร่วมกันก็ดีขึ้นตามไปด้วย แต่ที่ดียิ่งกว่าคือ กิจกรรมปลูกผักปลอดสารในครอบครัวสามารถสร้างความสนใจใคร่รู้ให้คนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงอยากทำกิจกรรมแบบนี้ ถือเป็นการขยายเครือข่ายได้อีกทางหนึ่ง”


ขยายเครือข่ายเกษตรกรรุ่นจิ๋ว

“เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองเห็นลูกหลานลงมือปลูกผักย่อมเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ผลที่ได้รับนอกจากคนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดสารแล้ว ความสัมพันธ์เมื่อทดลองปลูกผักปลอดสารเห็นผล ทีมงานจึงคิดขยายผลสู่ชุมชน กระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาปลูกผักกินเอง โดยชักชวนรุ่นน้องชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกผัก การทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยแห้ง ให้น้องๆ ได้เรียนรู้ก่อนลงมือปฏิบัติจริง

“เราให้น้องๆ แบ่งหน้าที่กันดูแลแปลงผัก มีทีมงานคอยดูแลในภาพรวม อันไหนน้องทำไม่ได้ พี่ๆ ก็เข้ามาช่วยดูแลให้คำแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่น้องจะตั้งใจฟัง เพราะต้องนำความรู้เรื่องการปลูกผักกลับไปทำต่อที่บ้านด้วย มีน้องผู้ชายบางคนที่ดื้อหน่อย แต่พอดุเขา เขาก็ฟัง” เดียร์ อธิบายวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้น้อง

ทีมงานบอกว่า การถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกผักแก่น้องๆ นับเป็นขั้นตอนสำคัญของแผนการขยายเครือข่ายปลูกผักปลอดสารสู่ชุมชน เพราะเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองเห็นลูกหลานลงมือปลูกผักย่อมเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ผลที่ได้รับนอกจากคนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดสารแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวที่ได้ลงมือทำกิจกรรมร่วมกันก็ดีขึ้นตามไปด้วย แต่ที่ดียิ่งกว่าคือ กิจกรรมปลูกผักปลอดสารในครอบครัวสามารถสร้างความสนใจใคร่รู้ให้คนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงอยากทำกิจกรรมแบบนี้ ถือเป็นการขยายเครือข่ายได้อีกทางหนึ่ง

“พวกเราแจกเมล็ดพันธุ์ผักและน้ำหมักชีวภาพให้น้องนำกลับไปปลูกที่บ้าน โดยมีการติดตามผลผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กชื่อ “ปลูกเองกินเองไร้สารตกค้าง” ให้น้องถ่ายรูปผักที่ปลูกทุกสัปดาห์เพื่อดูการเจริญเติบโต หากมีปัญหาพี่จะได้ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที และเพื่อเสริมกำลังใจให้น้องๆ ตั้งใจดูแลพืชผักของตนเอง และเป็นการกระตุ้นเตือนน้องๆ ที่ยังไม่ลงมือปลูกผักทางอ้อม ซึ่งน้องๆ ก็ชอบวิธีการนี้ เพราะทันสมัยและเหมาะกับช่วงวัยที่นิยมใช้สื่อออนไลน์ จึงแข่งกันส่งการบ้าน บางคนถึงขนาดส่งภาพผักที่กลายร่างเป็นผัดผักรวมมิตรมาให้พี่ๆ ร่วมชื่นชม ฟากพี่ๆ ก็ไม่น้อยหน้าคอยลงภาพการเติบโตของผักให้น้องดูเช่นกัน เพื่อให้น้องเห็นตัวอย่างที่ดี” เดียร์ เล่าแนวทางติดตามการปลูกผักของน้องๆ

“ปกติแค่เพื่อนพูดไม่เข้าหูนิดหน่อยก็หงุดหงิดแล้ว เดี๋ยวนี้แม้จะยังหงุดหงิดอยู่บ้าง แต่แก้โดยการแยกตัวไปอยู่คนเดียวสักพัก ให้อารมณ์เย็นก่อนแล้วค่อยกลับมาคุยกับเพื่อนใหม่ ถ้าคุยทันทีเหมือนเมื่อก่อนต้องทะเลาะกับเพื่อนแน่ๆ พอเราควบคุมอารมณ์ได้ก็กลายเป็นว่าเราได้คุยกับเพื่อนเยอะขึ้น เพราะไม่โมโหใส่กัน”


ปลูกผักปลอดภัย หัวใจเปลี่ยนแปลง

ระหว่างดูแลและเฝ้ารอผักเติบโต ผักคะน้าเกือบทั้งหมดในแปลงยืนต้นตาย กลายเป็นบทเรียนสำคัญให้ทีมงานได้เรียนรู้ว่า หากไม่ศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน การทำงานอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ เพราะคะน้าเป็นผักที่โตไวและต้องการความชุ่มชื้นสูง จึงต้องรดน้ำให้เพียงพอและสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้นจะยืนต้นตายดังเช่นผักคะน้าของพวกเขา

แม้การปลูกผักจะล้มลุกคลุกคลานไปบ้าง ทว่าการเติบโตของทีมงานกลับผลิดอกออกผลอย่างงดงาม เพราะการทำโครงการที่ต้องอาศัยพลังแรงใจของทีมงาน ทำให้บางคนต้องลดความเป็นตัวของตัวเองลง ให้สามารถร่วมงานกับเพื่อนได้ ขณะที่บางคนต้องก้าวออกมาจากคอมฟอร์ทโซนของตนเอง กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ

ทีมงาน บอกว่า ปัญหาที่ใหญ่สุดของพวกเขาคือ เวลาว่างที่ไม่ตรงกัน มาประชุมสาย แต่ทุกคนก็ไม่ได้เก็บมาเป็นอารมณ์ ขอเพียงเพื่อนอธิบายเหตุผลให้ฟังว่าทำไมมาไม่ได้ มาไม่ตรงเวลา เพื่อนคนอื่นก็พร้อมรับฟัง แต่ที่เป็นปัญหามากคือสาวๆ ในกลุ่มจะเกี่ยงงานให้เพื่อนผู้ชายหอบหิ้วของหนักๆ จนมีเสียงบ่นจากหนุ่มๆ ว่า ถูกโยนภาระมาให้ ทว่าสุดท้ายก็ยอมถือของให้ผู้หญิง เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่ยอมกันได้ และไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรง สุดท้ายสิ่งที่ดูเหมือนเป็นปัญหาของกลุ่มก็แปรเปลี่ยนเป็นความเข้าใจในภาระรับผิดชอบของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน และความแตกต่างเรื่องเพศที่ต้องการความช่วยเหลือ

ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวทีมงานก็มีไม่น้อยเช่นกัน เอ็กซ์ บอกว่า เขาได้ความรู้เรื่องการปลูกผักเพิ่มขึ้น อาทิ การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อบำรุงผักให้งอกงาม รู้จักประเภทของดินที่เหมาะกับพืชแต่ละชนิด เช่น คะน้า ผักบุ้ง ผักหวาน ต้องปลูกกับดินร่วน นอกจากนี้ยังทำให้เขารู้ตัวรู้ตนมากขึ้น

“ปกติแค่เพื่อนพูดไม่เข้าหูนิดหน่อยก็หงุดหงิดแล้ว เดี๋ยวนี้แม้จะยังหงุดหงิดอยู่บ้าง แต่แก้โดยการแยกตัวไปอยู่คนเดียวสักพัก ให้อารมณ์เย็นก่อนแล้วค่อยกลับมาคุยกับเพื่อนใหม่ ถ้าคุยทันทีเหมือนเมื่อก่อนต้องทะเลาะกับเพื่อนแน่ๆ พอเราควบคุมอารมณ์ได้ก็กลายเป็นว่าเราได้คุยกับเพื่อนเยอะขึ้น เพราะไม่โมโหใส่กัน”

ส่วนเดียร์บอกว่า เมื่อก่อนเธอไม่ค่อยกล้าแสดงออก โครงการนี้ทำให้เธอกล้ามากขึ้น ตอนนำเสนอโครงการครั้งแรกดูขัดๆ เขินๆ พี่ๆ สงขลาฟอรั่มจึงช่วยให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมตัว เตรียมข้อมูล โดยให้จับใจความสำคัญในสิ่งที่จะนำเสนอ พอลองทำดูก็ค่อยๆ ดีขึ้น จนเริ่มชอบการนำเสนอ เพราะได้ฝึกใช้ความคิดในการจดจำข้อมูลแต่ละส่วน แล้วประมวลออกมาว่าควรพูดอย่างไรให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย 

“การนำเสนอทำให้เรากล้าคิดมากกว่าเดิม จากเคยนั่งเฉยๆ เงียบๆ เวลาไปทำกิจกรรมกับเพื่อนกลุ่มอื่น ก็มั่นใจที่จะพูดโต้ตอบ จนชอบการนำเสนอมาก โดยเฉพาะการที่ได้ฝึกนำเสนอในเวลา 1 นาที ที่สนุกและตื่นเต้นด้วยช่วงเวลาที่จำกัด จึงต้องฝึกการพูดอธิบายที่กระชับเพื่อให้คนฟังเห็นภาพชัดเจนที่สุด และเปลี่ยนจากคนใจร้อนเป็นคนใจเย็น เพราะได้คิดก่อนทำ ก่อนพูด และเข้าใจผู้อื่น เช่น ถ้าเห็นเพื่อนหงุดหงิด ก็รู้จักนิ่ง รอให้เพื่อนอารมณ์เย็นค่อยเข้าไปพูดคุย”

รุท บอกว่า สิ่งที่เขาถนัดคือกรรมวิธีทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยแห้ง และมั่นใจที่จะถ่ายทอดความรู้แก่คนอื่น แต่ยังไม่กล้าแสดงออกเรื่องการนำเสนอ แม้จะเคยลองนำเสนอไปแล้วครั้งหนึ่ง ก็ยังไม่คล่องแคล่วมากนัก ต้องพยายามฝึกฝนต่อไป โดยพยายามเสนอความคิดเห็นเวลาประชุมกันในกลุ่มก่อน อย่างไรก็ตาม ทีมงานบอกว่า พวกเขาวางแผนต่อยอดโครงการในปีที่ 2 โดยเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมาย เป็นน้องในโรงเรียนข้างเคียง และกระตุ้นให้น้องที่เคยเข้าร่วมโครงการแล้วมีการปลูกผักอย่างต่อเนื่อง เพราะมองว่าการต่อยอดอีกหนึ่งปีจะทำให้แนวคิดเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชนเข้มแข็งขึ้นจนสามารถดึงผู้ใหญ่ในชุมชนเข้าร่วมได้

สำหรับการทำโครงการตลอดระยะเวลาหลายเดือน กลุ่มเยาวชนไม่ได้มองเป็นภาระที่หนักหนา และไม่มีผลกระทบกับการเรียน เพราะปกติแต่ละคนจะมีช่วงเวลาที่อยู่บ้านเฉยๆ หรือเล่นโซเชียลมีเดีย แค่ใช้เวลาว่างเหล่านั้นมาเพิ่มพูนทักษะการทำงานของตัวเอง ทั้งเรียนรู้การทำงานโครงการ การประสานงานกับผู้คน การทำเกษตรปลอดสาร เป็นต้น พวกเขาบอกว่า การปลูกผักต้องใช้ความรักและความเอาใจใส่สูง จนกลายเป็นการขัดเกลาให้พวกเขาตั้งใจทำงานจนประสบผลสำเร็จได้ในที่สุด


ผู้ผลักดันการเรียนรู้

ครูทวีศักดิ์ เล่าถึงเหตุผลที่ชักชวนลูกศิษย์ทั้ง 5 คน เข้ามาทำโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลาว่า เห็นเป็นโครงการที่น่าสนใจ เพราะเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์นอกห้องเรียน ประกอบกับครูมีโจทย์ในใจที่อยากดึงเด็กๆ มาเรียนรู้เรื่องเกษตรปลอดสารอยู่แล้วจึงเกิดเป็นโครงการปลูกเอง กินเอง ไร้สารตกค้างขึ้น

สำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน ครูทวีศักดิ์เลือกวางบทบาท “ครู” ลง ใช้ความเป็น “โคช” เฝ้ามองอยู่ห่างๆ คอยให้คำแนะนำ เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ ได้ลงมือทำอย่างเต็มที่ มีบางครั้งที่มีปัญหาไม่พอใจกัน หรือหยุดทำงานเพราะหมดกำลังใจ ครูก็ต้องเข้าไปช่วยคลี่คลายใจเพื่อให้งานเดินหน้าต่อไปได้ นอกจากประสานความเข้าใจของเหล่านักเรียนแล้ว ครูยังเชื่อมสัมพันธ์กับผู้ปกครองของนักเรียนด้วย เพราะโครงการนี้ไม่ได้ขึ้นตรงกับทางโรงเรียน จึงต้องใช้ความเชื่อใจของผู้ปกครองที่มีต่อครู ยินยอมให้พาลูกไปเข้าร่วมกิจกรรมในตัวเมือง หรือมาทำโครงการหลังเลิกเรียนและวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 

ครูทวีศักดิ์บอกสาเหตุที่ทุ่มเทสนับสนุนการทำงานของลูกศิษย์แบบสุดตัว เพราะมองว่า การทำกิจกรรมนอกห้องเรียนคือเงื่อนไขสำคัญในการสร้างการเรียนรู้แก่เด็ก อันจะเป็นพื้นฐานชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า

การเรียนรู้ที่แท้จริงจะเกิดจากการลงมือทำเอง เช่นโครงการนี้ที่นอกจากพี่ๆ จะได้ฝึกทำงานแล้ว ผมยังสร้างการเรียนรู้ให้น้องโดยนำความรู้ในห้องเรียนมาลงมือทำจริง เช่น เวลาทำปุ๋ยแห้ง ก็บอกให้เขานำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัด จะได้เพิ่มทักษะการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่ก็ชี้ชวนเขาดูว่าน้ำหมักที่กำลังทำเป็นสารเนื้อเดียวหรือสารผสม ซึ่งต่อไปถ้าเขาเข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็จะมีทักษะเยอะกว่าเพื่อนคนอื่น สามารถเป็นผู้นำของเพื่อนได้ เพราะฝึกทักษะชีวิตมาแล้ว”

และแล้วการทำกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียนได้สร้างผลลัพธ์อันน่าประทับใจตามที่ครูคาดหวัง เช่น ภูกับเดียร์ที่กล้าออกไปนำเสนองาน และโดดเด่นเรื่องภาวะผู้นำ ขณะที่คนอื่นๆ ก็กล้าเปิดตัวเองออกมาสอนน้องปลูกผัก แต่สิ่งที่ครูภูมิใจสูงสุดคือ การที่ลูกศิษย์มีความอดทนและรับผิดชอบจนสามารถทำโครงการจนสำเร็จ

วันนี้พืชผักที่ทีมงานลงแรงลงใจปลูกงอกงามสมใจ แต่ที่งอกงามยิ่งกว่าคือ “เมล็ดพันธุ์” ของการคิดดี ทำดี ที่มีอยู่ในหัวใจของทีมงาน อาสาเอาตัวและหัวใจที่มุ่งมั่น พยายามค้นหาความรู้และทดลองทำ จนสามารถสร้างแปลงผักปลอดสารพิษต้นแบบให้นักเรียนและคนในชุมชนได้ร่วมกันเรียนรู้ แม้ผลของโครงการไม่อาจสั่นสะเทือนเป็นวงกว้าง แต่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้อีกหลายพื้นที่ลงมือปลูกผักด้วยภูมิปัญญาของชุมชนที่ไม่พึ่งพาสารพิษ เป็นองค์ความรู้ที่นำพาให้สุขภาพของคนชุมชนดียิ่งขึ้น


โครงการ : ปลูกเอง กินเอง ไร้สารตกค้าง

ที่ปรึกษาโครงการ : ครูทวีศักดิ์ นวลประดิษฐ์ โรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา

ทีมทำงาน : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

( ภูมินทร์ พรหมจินดา ) ( ยศพล เวชสิทธิ์ ) ( ยุทธภูมิ สุวรรณมณี ) ( กันภิรมย์ หะนนท์ )

( อัจฉรา หมัดจะบูณ )