การเรียนรู้ผ่านโครงการเพื่อชุมชน (PBL) เพื่อเรียนรู้วิธีการนำเปลือกมะพร้าวไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ตำบลคลองเขิน จังหวัดสมุทรสงคราม ปี 3

มนุษย์ทุกคนย่อมทำผิดพลาดกันได้ เพียงแต่เราจะยอมแพ้หรือเรียนรู้และก้าวไปข้างหน้า ดังเช่นน้องๆ กลุ่มนี้ที่นำความผิดพลาดจากการทำงานในปีที่แล้วมาสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ล้ำค่าให้กับตนเอง และยังสร้างคุณประโยชน์ให้กับชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่

พลังของแรงจูงใจ

ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวเป็นเรื่องที่หลีกหนีไม่พ้น แต่แทนที่จะมาเสียใจ และยอมแพ้ไปเสียดื้อๆ เราควรเอาเวลามาศึกษาว่าอะไรคือสาเหตุของความล้มเหลว สิ่งไหนที่ได้เราได้เรียนรู้จากมัน และสิ่งไหนที่เราต้องไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเหมือนกับน้องๆ ในโครงการร่วมรวมรู้สู้เปลือกมะพร้าวที่เห็นว่าปีที่แล้วพวกเขายังทำโครงการได้ไม่สุด น่าจะแก้ไขปัญหาของชุมชนได้มากกว่านี้ ปีนี้พวกเขาจึงมุ่งมั่นทำโครงการโดยมีความสำเร็จเป็นแรงจูงใจสำคัญ ที่เป็นพลังผลักดันให้พวกเขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และยังกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรมนั้นๆ ใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละ

“ไม่เข้าใจชุมชน ทุกคนมีเวลาว่างไม่ตรงกัน ไม่มีการเตรียมตัวก่อนลงพื้นที่ ตั้งคำถามสัมภาษณ์ได้ไม่ดี ทำให้ได้ข้อมูลไม่มากพอ ต้องลงพื้นที่ซ้ำหลายครั้ง การทำงานไม่สม่ำเสมอ” คือคำพูดที่ ต้นน้ำ-ธีรภพ อิ่มเสมอ กันต์-คณิศร บุญบาล พรีม-ชมพูนุช ฉัตรพุก และ ฟลุ๊ค-ธวัชชัย บัวทอง ถอดบทเรียนการทำงานของตนเองเมื่อปีที่แล้ว เพื่อนำมาใช้ปิดจุดอ่อนการทำงานในปีนี้

เมื่อต้องเริ่มต้นการทำงานใหม่ในปีนี้ สิ่งที่ทีมทำเป็นอันดับแรกคือ การค้นหาโจทย์ปัญหาในชุมชน นำข้อมูลที่ได้จากปีที่แล้วมาเป็นจุดตั้งต้นในการทำโครงการร่วมรวมรู้สู้เปลือกมะพร้าวที่มีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะเปลือกมะพร้าวชุมชน โดยทีมงานให้ความหมายของคำว่า “ร่วม” ในที่นี้หมายถึงร่วมกันทำ “รวม” คือ การรวมคนมาเรียนรู้เพื่อต่อสู้กับปัญหา

ต้นน้ำ ให้เหตุผลที่ทำโครงการนี้ว่า จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวรวมกว่า 50,000 ไร่ ส่วนตำบลคลองเขินมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน และทุกหมู่บ้านจะมีล้งมะพร้าว(โรงปอกมะพร้าว เพื่อเอาส่วนที่เป็นน้ำ เนื้อมะพร้าว และ กะลา ส่วนเปลือกจะถูกกองทิ้งไว้จนกลายเป็นขยะ เมื่อขาดการดูแลหรือกำจัดอย่างถูกวิธี นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ เช่น ร่องสวนอุดตันทำให้น้ำเน่าเหม็น หรือกองไว้จนลามเข้ามายังพื้นที่ถนน จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงที่เป็นพาหะนำโรคและแมลงศัตรูพืช เช่น แมลงดำหนาม ด้วง กลายเป็นปัญหาสำคัญของตำบลคลองเขิน

ประสบการณ์เดิมสร้างประสบการณ์ใหม่

สำหรับการลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่ปีที่แล้วได้ข้อมูลไม่ครบ ทำให้ต้องลงพื้นที่หลายครั้ง ปีนี้ทีมจึงปรับกระบวนการทำงานใหม่ โดยจัดให้มีการประชุมทีมก่อนลงพื้นทุกครั้ง เพื่อวางกรอบการทำงาน เช่น การตั้งคำถามต้องเป็นแบบปลายเปิดเพื่อให้ได้ข้อมูลจากชาวบ้านมากที่สุด และมีการตั้งคำถามไว้ก่อนเพื่อให้การสัมภาษณ์ลื่นไหล รวมถึงท่าทีการเข้าหาชาวบ้านที่ต้องไปแบบอ่อนน้อมถ่อมตน แบบลูกหลานไปขอความรู้ มื่อเตรียมตัวเช่นนี้กลายเป็นว่า ทีมงานก็มีความมั่นใจในตนเอง ขณะที่ชาวบ้านก็มั่นใจในศักยภาพและความสามารถของทีม

ข้อมูลที่เก็บได้เบื้องต้นทีมงานนำมาเรียบเรียงเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูล จากนั้นทีมงานได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้านเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจถึงสาเหตุแห่งปัญหา รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา ผลการจัดเวทีประชุมในครั้งนั้นทำให้ทีมงานพบคำตอบไปพร้อมๆ กับการกระตุกต่อมคิดให้แก่ชาวบ้านเรื่องการแก้ปัญหาเปลือกมะพร้าว โดยพบแนวทางหลักๆ ได้แก่ นำมาทำฟืนสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าว นำไปทำปุ๋ย หรือนำไปใช้เพาะชำกล้าไม้ และข้อเสนอสุดท้ายคือ ส่งโรงงานที่มีรถปิกอัพมารับถึงที่ราคาคันละ 300 บาท รถ 6 ล้อคันละ 500 บาท ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การ “ร่วม” และ “รวม ชาวบ้านเกิดผลได้จริง ทีมงานนำประสบการณ์เดิมปีที่แล้วที่พวกเขาบอกชาวบ้านให้ทำโดยไม่เห็นของจริง ผสมรวมกับกลยุทธ์ทางการตลาดที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ว่ามีประโยชน์ต่อตัวเขาจริงๆ ด้วยการพาชาวบ้านไปเรียนรู้เรื่องวิธีการจัดการเปลือกมะพร้าวรูปแบบต่างๆ เช่น บ้านที่ทำปุ๋ยหมัก บ้านที่ทำงานเชื้อเพลิง เพื่อให้ชาวบ้านเกิดแรงบันดาลใจ และได้ลงมือทำจริงไม่ใช่แค่รู้เฉยๆ เหมือนที่ผ่านมา โดยมีทีมงานคอยกระตุ้นให้ชาวบ้านเห็นทางออก

“ถ้าเราคิดไปให้เขาเลย เขาอาจจะไม่พอใจ ไม่อยากทำ เพราะเขาไม่รู้แก่นแท้ของมันจริงๆ มันก็ไม่ต่างอะไรกับการเอาเฉลยไปให้เด็กตอนทำข้อสอบ เด็กก็ไม่ได้คิด” ต้นน้ำ อธิบายวิธีคิด ผลจากการพาคิด พาทำของทีมงาน นำไปสู่กระบวนการรวบรวมเปลือกมะพร้าว เพื่อขายส่งโรงงานอย่างเป็นระบบ จากเมื่อก่อนที่ขายบ้างไม่ขายบ้าง ทำให้เกิดขยะล้นชุมชน ทุกวันนี้ชาวบ้านเข้าใจปัญหา รวบรวมเปลือกมะพร้าวขายอย่างจริงจังทุกวัน กระทั่งนำไปสู่การต่อยอดแปรรูปเปลือกมะพร้าว ด้วยการนำไปทำปุ๋ยและทำเชื้อเพลิงเคี่ยวน้ำตาล ซึ่งตรงนี้ทีมงานถือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องการจัดการเปลือกมะพร้าว และเกิดเครือข่ายชาวบ้านในบริบทของการแบ่งปันกันและกันในชุมชน

“เปลือกมะพร้าวลดลงอย่างเห็นได้ชัด โล่งไปเยอะเลยครับ ลงพื้นที่ปีที่แล้วนานๆ จะเห็นรถมารับเปลือกมะพร้าว แต่เดี๋ยวนี้มาแทบทุกวัน และส่วนมากเป็นรถ 10 ล้อ ซึ่งจะมองว่ามันเป็นผลจากโครงการเราก็คงจะใช่ เพราะเมื่อก่อนชาวบ้านเขาคุ้นชินวิถีแบบเดิมๆ ขายบ้างไม่ขายบ้าง แต่พอเราเข้ามาทำงานตรงนี้ มันก็เห็นความแตกต่าง เปลือกมะพร้าวที่กองเป็นภูเขาลดลงไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เยอะมากขนาดนี้ก็ดีใจครับ” ต้นน้ำ กล่าวสรุปถึงผลงานของพวกเขา และเมื่อเห็นดอกผลที่งดงามความปลื้มปริ่มก็ยิ้มพริ้มพรายในหัวใจ

จะเห็นได้ว่าความสำเร็จมักเกิดจากความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเมื่อทำผิดพลาด เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมทำผิดพลาดกันได้ เพียงแต่เราจะยอมแพ้หรือเรียนรู้และก้าวไปข้างหน้า ดังเช่นน้องๆ กลุ่มนี้ที่นำความผิดพลาดจากการทำงานในปีที่แล้วมาสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ล้ำค่าให้กับตนเอง และยังสร้างคุณประโยชน์ให้กับชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่อีกด้วย

ประสบการณ์สร้างการเปลี่ยนแปลง

เพราะมีแรงจูงใจที่อยากแก้มือจากปีที่แล้ว ปีนี้ทีมงานจึงต้องวางแผนการทำงาน วางแผนกำลังคนใหม่ เนื่องจากปีนี้มีโจทย์ที่ยากขึ้นคือ การสรุปผลการทำโครงการผ่านคลิปวิดีโอสั้น จึงดึงฟลุ๊คที่เก่งและชอบด้านนี้เข้ามาเสริมทีม

ต้นน้ำ บอกว่า กว่าจะดึงฟลุ๊คเข้าร่วมทีมได้ ยากมาก เพราะเขาเป็นเสาหลักของครอบครัว ทั้งหมดจึงต้องเตี้ยมและเขียนบทพูดกันเป็นเรื่องเป็นราว เพื่ออธิบายให้พ่อแม่เข้าใจอยู่หลายรอบ แต่สุดท้ายฟลุ๊คก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

ฟลุ๊ค เสริมว่า คำพูดที่ต้นน้ำแนะนำให้ไปพูดกับแม่คือ “โครงการแบบนี้ไม่ใช่ใครจะมาทำก็ได้ และถ้าเราแล้วเราจะได้รู้จักจังหวัดของตัวเอง ทำให้เราได้สังคม เพราะที่ผ่านมาผมอยู่แต่บ้านเล่นเกม ช่วยแม่ทำงานเท่านั้น และไม่กล้าแสดงออกเลย บอกแม่ว่า ขอให้ผมลองไปดูสักครั้งหนึ่ง แล้วแม่จะเห็นว่าผมเปลี่ยนอะไรได้บ้าง แม่ก็ยอมให้มา จนเดี๋ยวนี้แม่ไม่ห้ามแล้ว”

เมื่อมีแรงจูงใจที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ฟลุ๊คในฐานะน้องใหม่ บอกว่า การได้ทำโครงการฯ ได้ลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้าน ได้ทำคลิปวีดีโอ เป็นอะไรที่สนุก เพราะส่วนตัวชอบการตัดต่อเป็นทุนเดิม ขณะเดียวกันก็ด้ความรู้เกี่ยวกับมะพร้าว ได้เรียนรู้ประวัติชุมชนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนผลผลิตที่มีมาแต่อดีต อีกทั้งความรู้ที่ได้จากการทำงานยังนำไปพูดคุยกับคนอื่นๆ ได้อย่างไม่เคอะเขิน ได้สังคมที่ขยายวงกว้างมากขึ้น ทั้งเพื่อนในเครือข่ายพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ชาวบ้านที่แต่ก่อนบ้านอยู่ตรงข้ามกันก็ยังไม่รู้จัก เดี๋ยวนี้รู้จักพูดคุยทักทายกันได้ จนเปลี่ยนเป็นคนกล้าพูดไปโดยปริยาย

“เมื่อก่อนตอนยืนนำเสนอหน้าห้องจะยืนบิดไปบิดมา พูดไม่ออก เดี๋ยวแม้จะยังยืดบิดไปมาบ้าง แต่การพูดชัดเจนขึ้น พูดเป็นลำดับขั้นตอน มีข้อมูลแน่นมาก กลายเป็นว่าพอมาทำโครงการทำให้เราสามารถจัดระบบความคิด และการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญทำให้ผมเลือกเรียนต่อระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีเป้าหมายมากขึ้น” ฟลุ๊ค บอกข้อดีของการทำโครงการ

ขณะที่แรงจูงใจของกันต์ ต้นน้ำ และพรีม คือการแก้มือ กระบวนการทำงานจึงต้องอาศัยการคิดวางแผนการทำงานอย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอน ท่าทีการเข้าผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อไม่ให้ผิดพลาดซ้ำรอยเดิม

ส่วนกันต์ บอกว่า ทำโครงการแล้วได้รู้จักผู้คน ได้รู้จักเพื่อนต่างถิ่น ขณะเดียวกันโครงการนี้นอกจากเป็นประโยชน์กับตัวเอง ยังเกิดสิ่งดีๆ กับผู้คนในชุมชน และอยากสานต่อกิจกรรมดีๆ ใจในตัวเองสูง ไม่ค่อยฟังใคร ทำให้ลดตัวตนความเป็น “ต้นน้ำ” ลงได้ ทำให้เขาทำงานดีขึ้น อีกทั้งยังได้รับแบบนี้ต่อไป

ส่วนต้นน้ำ ยืนยันว่า โครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือสลายอัตตาของตัวเขาเอง จากเมื่อก่อนเป็นคนมั่นพรอันแสนประเสริฐสุด นั่นคือ พ่อยอมรับตัวตนของเขา ชื่นชมและเห็นคุณค่าในสิ่งที่เขาทำ

“จากเมื่อก่อนพ่อมองว่าผมเป็นคนไม่เอาไหน เรียนไม่เก่ง แต่วันนี้เขาภูมิใจมาก ไปไหนมาไหนมีคนเข้ามาคุยกับเขาในเรื่องที่ผมทำกับชุมชน พ่อก็รู้สึกภูมิใจ คอยชื่นชม เมื่อก่อนเวลาขอไปทำโครงการแต่ละครั้งยากมาก เดี๋ยวนี้พอบอกว่าจะออกไปทำโครงการ ไม่มีห้ามเลย แถมสนับสนุนด้วยซ้ำ”

เพราะมีแรงจูงใจอยากทำโครงการให้สำเร็จ ประกอบการได้รับโอกาสจากผู้คนที่อยู่รอบตัว ทั้งพ่อแม่ คนในชุมชน และทีมโคช ทำให้ทีมงานมุ่งมั่น อดทนพยายามทำงานจนสำเร็จสมความตั้งใจแล้ว ผลจากความพยายามยังย้อนกลับมาสร้างความเปลี่ยนแปลงและความภาคภูมิใจให้ทีมงานเป็นอย่างมาก ยังส่งผลให้ความสัมพันธ์ของครอบครัวและคนในชุมชนดีขึ้น 


โครงการร่วมรวมรู้สู้เปลือกมะพร้าว

ที่ปรึกษาโครงการ : 

  • พรพินธ์ สำรวยรื่น

ทีมทำงาน :

  • ธีรภพ อิ่มเสมอ
  • คณิศร บุญบาล
  • ธวัชชัย บัวทอง 
  • ชมพูนุช ฉัตรพุก