สัมภาษณ์โครงการ Best Practice การเรียนรู้และพัฒนาตนเองผ่านโครงการเพื่อชุมชน PBL : โครงการแต่งตัวสบายๆ ตามสไตล์บ้านแพ

โครงการเด่น โครงการแต่งตัวสบายๆตามสไตล์บางแพ  ชุมชนบ้านหนองหลัก หมู่ที่ 9 ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน


ชื่อเรื่อง ผ้าทอกะเหรี่ยงบางแพ ทุนทางวัฒนธรรมสุดเก๋ โชว์เท่ อวดชาวโลก


เทรนด์โลกกำลังตื่นตัวทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ที่ถูกชูมาเป็นปัจจัยต้น ๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ประเทศไทยถูกยกให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีทุนวัฒนธรรมโดดเด่น กระทั่งเตะตากูรูแฟชั่น และกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกบนสนามแข่งขัน

เห็นได้จากลวดลายและเอกลักษณ์งานผ้า รวมถึงหัตถกรรมที่คล้ายคลึงกับงานฝีมือของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่ต่างๆ ของไทย ได้ปรากฎบนรันเวย์ระดับโลกอยู่หลายครั้ง อาทิ เดรสสไตล์ม้ง ซิลลูเอท สีสันสดใสจากแบรนด์ Eponine London ที่ปกติตัดเย็บขึ้นมาพิเศษตามออเดอร์ของลูกค้า ( Made to Order) ผ้าทอจากไทยถูกหยิบขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลกชั่น “ชนเผ่า” (Tribal Collection)

กระโปรงสุดคูลคล้ายผ้าซิ่นไทย แบรนด์ Lebor Gabala หรือแบรนด์ดังสัญชาติอิตาลีอย่าง Gucci เปิดตัวแฟชั่นชิคๆ “Wide brim hat” คล้ายหมวกสานของไทย กระเป๋าคอลเลคชั่นใหม่จากแบรนด์ Christian Dior ที่มีลวดลายคล้ายชนเผ่าอาข่าและเสื้อคุมย้อนยุคสไตล์ชนเผ่าอาข่า

ความเคลื่อนไหวในวงการแฟชั่นเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ‘ทุนทางวัฒนธรรม’ เป็นทุนทางสังคมที่เป็นกุญแจดอกสำคัญในการต่อยอดการสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกลับสวนทางกับค่านิยมของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย เพราะขณะที่ต่างชาติมองเห็น คนในประเทศกลับให้ความสำคัญน้อยกว่า และประเมินค่างานฝีมือเหล่านี้น้อยไป คนรุ่นใหม่ในกลุ่มชาติพันธุ์ บางส่วนสะท้อนว่า รู้สึกประหม่าและเขินอายเมื่อต้องสวมใส่เสื้อผ้าประจำชนเผ่า

มน - ชนากานต์ ปุ๊ดแค สาวน้อยกะเหรี่ยง วัย 16 ปี จากชุมชนบ้านหนองหลัก หมู่ที่ 9 ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน สะท้อนถึงความนิยมการแต่งกายด้วยชุดกระเหรี่ยงในชุมชนว่า คนรุ่นใหม่แต่งกายด้วยด้วยผ้าพื้นถิ่นหรือผ้าทอกระเหรี่ยงน้อยลง หนึ่งในนั้น คือตัวเธอเอง

“ปกติแล้วหนูใส่เฉพาะวันที่มีงาน เช่น วันพระ วันอาสาฬหบูชา หรือวันปีใหม่”

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาเมื่อความนิยมมีน้อย การทอผ้าในชุมชนจึงลดลงตามไปด้วย เพราะไม่มีคนรุ่นใหม่สนใจสืบต่อ

“ในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมมาก สาเหตุเพราะคนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไปทำงานข้างนอก หรือแต่งงานกับคนภายนอกแล้วนำวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามา เลยส่งผลกับเรื่องการแต่งกายด้วย เท่าที่กลุ่มเยาวชนได้ไปสอบถาม คนไม่อยากใส่เพราะรู้สึกว่าเก่า ไม่ทันสมัย โครงการของเราเลยอยากอนุรักษ์ผ้ากระเหรี่ยงของชุมชนเอาไว้ ชุดแฟชั่นในปัจจุบันราคาไม่แพง และหาซื้อได้ง่าย แต่การที่เราบอกเล่าความเป็นมาของชุดกะเหรี่ยงให้คนรับรู้ จะทำให้เขาเห็นความสำคัญของชุดกะเหรี่ยงมากขึ้น” มน กล่าว

นี่จึงเป็นที่มาของ โครงการแต่งตัวสบาย ๆ ตามสไตล์บางแพ จากการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนบ้านหนองหลัก


รู้เรื่องวิถี ประเพณี ผ่านผ้ากะเหรี่ยง

ชุมชนบ้านหนองหลัก เป็นชุมชนดั้งเดิมของกะเหรี่ยง “โพล่ง” มีวัฒนธรรมจารีตประเพณีที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งเรื่องความเชื่อ ภาษา และการแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ประจำเผ่า อย่างไรก็ตาม เมื่อชุมชนบ้านหนองหลักเปิดชุมชนมากขึ้น จึงเริ่มรับเอาวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา ผู้คนหันไปนิยมแต่งกายตามแฟชั่นด้วยหาซื้อง่าย สะดวกสบายเพราะไม่ต้องถักทอและมองว่าเป็นเรื่องของความทันสมัย

“ทีแรกเลือกกันไม่ได้ว่า จะทำเรื่องอะไรดี เพื่อนในกลุ่มเสนอมาว่าชุดกะเหรี่ยงของเราน่าสนใจนะ รุ่นพี่ที่ทำโครงการก่อนหน้านี้ก็ทำเกี่ยวกับชุดกะเหรี่ยง เราก็เลยอยากสานต่อเรื่องการอนุรักษ์ชุดกะเหรี่ยงของเราต่อไป” มน กล่าว

กลุ่มเยาวชนที่เข้ามาเป็นแกนนำโครงการมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 คน มีพี่เลี้ยงโครงการช่วยประคับประคอง เป็นที่ปรึกษา ช่วยประสานงาน มีปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้ มีผู้ปกครองให้การสนับสนุน และมีผู้นำชุมชนคอยให้การส่งเสริม โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อให้เยาวชนในชุมชนบ้านหนองหลัก เห็นคุณค่าและความสำคัญของการแต่งกายชนเผ่า ช่วยรักษาเอกลักษณ์ลวดลายผ้าทอชนเผ่ากะเหรี่ยง ไว้ให้เด็กและเยาวชนรุ่นหลังได้ภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเอง

ผ้าทอกะเหรี่ยงมีความงดงามเป็นอัตลักษณ์เฉพาะทางชาติพันธุ์ที่สื่อออกมาให้เห็นถึงลวดลาย ซึ่งบ่งบอกการดำรงชีวิตของชนเผ่ากะเหรี่ยงที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ เช่น ลายดอกไม้ ลายกากบาท ลายต้นไม้ ลายแข้งไก่ ลายตะวัน และลายสายน้ำ เป็นต้น

“หนูไม่รู้เลยว่าชุดกะเหรี่ยงมีลายในอดีตด้วย แต่ละลายมีความหมาย หนูได้มารู้จากการทำโครงการ ปราชญ์ชาวบ้านทำให้เห็นเป็นขั้นตอน เขาอธิบายให้ฟังว่าชุดกระเหรียงเริ่มต้นมาอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร ตั้งแต่เราเกิดจนแก่ เราผูกพันกับผ้ากะเหรี่ยงอย่างไร มันลึกซึ้งมาก หนูเพิ่งรู้ว่ามันมีความหมายในเนื้อผ้า ในรูปแบบผ้า ในลายผ้า พอเราทำโครงการสำเร็จเด็กรุ่นหลังจะได้รู้วิถีชีวิต จารีต ประเพณี และเรื่องเล่าผ่านผ้าทอกะเหรี่ยงเหมือนที่เราได้รู้” มน กล่าว

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในการทำงานของเยาวชนกลุ่มนี้ คือ พวกเขาใช้วิธีการจับฉลากบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในทีม มนรับหน้าที่เป็นเลขา ส่วน เผือก - เกียรติชัย ไทยใหม่ อายุ 16 ปี เป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งของโครงการที่รับหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์

“ตอนจับฉลากเสร็จ ก็ถามว่าเต็มใจไหม ถ้าไม่เต็มใจก็ถามกันในกลุ่มของเยาวชนว่ามีใครจะสลับกันบ้าง ใครถนัดแบบไหนก็ทำแบบนั้นไป มีสลับกันอยู่ 2-3 คน แต่ผมโอเคกับตำแหน่งที่ผมได้รับ” เผือก กล่าว

เผือก เล่าต่อว่า การทำงานภายในทีมมี การแบ่งหน้าที่ชัดเจน มีการระดมสมอง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ นั่นเพราะต่างคนต่างรู้หน้าที่ของตนเอง เปิดใจทำงานร่วมกัน เมื่อทำหน้าที่ของตนเสร็จจึงไปช่วยงานผู้อื่น หรือหากใครขอความช่วยเหลือก็พร้อมสนับสนุนกันเสมอ

“เราใช้เวลาสัมภาษณ์ปราชญ์ในชุมชนประมาณ 3 วัน แบ่งเป็นทีม ทีมละ 2 คน มนเป็นเลขานุการ รวบรวมข้อมูลจากเพื่อนที่ช่วยกันบันทึกจากการสัมภาษณ์ผู้รู้ มาเทียบกับข้อมูลที่ค้นคว้าในกูเกิ้ล เมื่อวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูลแล้ว ได้ประกอบขึ้นมาเป็นรูปเล่มองค์ความรู้เกี่ยวกับผ้าทอกะเหรี่ยง” เผือก กล่าว

มน ขยายความต่อว่า เนื้อหาในคู่มือบอกเล่าประวัติความเป็นมาของผ้าทอกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองหลัก ลวดลายผ้าในอดีต ความหมายของผ้าและชุดกะเหรี่ยง ความสำคัญของลูกเดือยซึ่งเป็นส่วนประกอบบนชุด ความสัมพันธ์ของผ้ากะเหรี่ยงกับช่วงชีวิต และขั้นตอนการผลิตผ้าทอกะเหรี่ยง นอกจากนี้ กลุ่มเยาวชนยังได้บันทึกวิดีโอระหว่างการทำโครงการแต่ละขั้นตอน เพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ แล้วนำไปเผยแพร่ในวงกว้างมากขึ้น


นำเสนอคุณค่าผ้าทอกะเหรี่ยงสู่สาธารณะ

ทกลุ่มเยาวชนได้จัดนิทรรศการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในเวทีประชาคมหมู่บ้าน โรงเรียนประจำชุมชน รวมถึงงานวัดประจำปี ทำให้เป็นที่จดจำของคนในชุมชน และทำให้โครงการได้รับการยอมรับจากชุมชน

“พวกเราติดต่อทางโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ ใช้ช่วงเวลาว่างของโรงเรียน จัดเตรียมอุปกรณ์ไปนำเสนอเรื่องราวผ้าทอ บอกเล่าว่าเป็นกิจกรรมของพวกเรากลุ่มเยาวชน อยากให้เด็กได้เข้ามามีโอกาสรู้จักกับผ้าทอกะเหรี่ยง มีน้องอยู่ในช่วงอายุ 7-12 ปี ชั้น ป.1 – ป.6 ประมาณ 90 กว่าคนที่เข้าร่วม” เผือก อธิบาย

“แบ่งเป็นช่วงสันทนาการ และช่วงเรียนรู้การทอผ้า หนูเป็นคนทอ แล้วก็เชิญคนในหมู่บ้านมาช่วยสอนด้วย เพื่อนอีกคนหนึ่งเป็นคนบรรยายเกี่ยวกับโครงการ” มน เล่าต่อ

“ผมก็พาเด็กๆ เล่นเกม และเป็นคนถ่ายภาพและวิดีโอ น้องๆ ให้ความร่วมมือดี ถ้าเราถามเขาก็ตอบ ครูก็เข้ามาร่วมด้วย มาช่วยดูแลน้องๆ” เผือก กล่าว

งานออกบูธที่วัดเป็นอีกงานหนึ่งที่ท้าทายศักยภาพของกลุ่มเยาวชน เพราะต้องเจอกับคนทั้งในพื้นที่และต่างพื้นที่ แต่พวกเขาก็ไม่ยอมให้ความกลัวมาเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ความรู้เรื่องผ้าทอกะเหรี่ยงตามเป้าหมายที่วางไว้

“ช่วงนั้นเป็นงานยกยอดฉัตร คนทั้งหมู่บ้านมาร่วมงานที่วัด เราไปขอใช้พื้นที่จัดบูธ

จัดเป็นกิจกรรมทอผ้า นำเสนออุปกรณ์ทอผ้า ลายผ้า ขั้นตอนการทอผ้า นำผ้ากระเหรี่ยงที่ทอแล้วไปตั้งโชว์ และสาธิตการทอผ้า ประกาศเชิญชวนคนเข้ามาชม แล้วก็มีคนทำหน้าที่นำเสนอมี เด็กๆ สนใจเข้ามาดูกันครับ” เผือก กล่าว

คนให้ความสนใจดีค่ะ เข้ามาฟังเข้ามาถาม พวกเราพอใจกับการจัดกิจกรรมเพราะไม่เคยทำมาก่อน หนูไม่เคยจับไมค์พูดมาก่อน ได้มาพูดตอนทำโครงการ เป็นประสบการณ์ใหม่ๆ จากปกติไม่ค่อยพูด ตอนนี้ชอบถาม ชอบสงสัยว่าทำไมเรื่องนี้เป็นแบบนี้ อยากรู้คำตอบ ตอนนี้หนูคิดว่าถ้าเราสงสัยอะไรแล้วถาม เราก็จะได้รู้ เพราะปกติถ้ามีคำถามหนูไม่ค่อยถาม จะเก็บไว้ แล้วก็จะไม่รู้อะไรเลย ตอนนี้ชอบทำกิจกรรมมากขึ้น เพราะได้เจอเพื่อน ได้แก้ไขปัญหา แล้วก็ได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทอผ้า” มน เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวเอง

มน กล่าวว่า “เวลา” ดูเหมือนเป็นอุปสรรคในการทำงานมากที่สุด เพราะสมาชิกแต่ละคนในทีมมักมีเวลาว่างไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นปัญหา แต่ใช้ “ความสามัคคี” แก้ไขปัญหา

เราไม่มาพร้อมกัน แต่เราจะระบุไว้เลยว่างานต้องเสร็จวันนี้นะ คนทำงานก็จะมีความร่วมมือกันมากขึ้นค่ะ ถ้าวันไหนใครไม่ว่าง วันถัดมาเขาจะทำในสิ่งที่เราระบุไว้ว่าต้องทำอะไรบ้าง แล้วทำส่วนนั้นให้เสร็จ การวางแผนทำให้เราได้รู้ว่างานที่จะทำแต่ละชิ้นมีขั้นตอนอย่างไร ต้องทำอย่างไร ใช้อะไรบ้าง ต้องทำสิ่งไหนก่อนหลังและอะไรสำคัญกว่ากัน”


เกิดและตาย ใต้ชายผ้ากะเหรี่ยงบางแพ

ผ้ามีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง ตั้งแต่เกิดจนตาย เกิดมาใช้ผ้าห่อร่างกาย เป็นผ้าอ้อม เปลนอน ผ้าห่ม ผ้าถุง กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแต่เดิมรวมถึงชาวบ้านหนองหลัก นิยมทอผ้าไว้ใช้เอง มีลักษณะการแต่งกายตามสถานะ เช่น เด็กและหญิงสาวใส่ชุด “เชควา” ซึ่งเป็นชุดยาวสีขาว เมื่อแต่งงานแล้วต้องเปลี่ยนมาสวมใส่เสื้อสีดำ ที่เรียกว่า "เช โม่ ซู" เป็นเสื้อทอที่ตกแต่งด้วยลูกเดือยและนุ่งผ้าถุงสีเดียวกับเสื้อ ห้ามกลับไปสวมใส่ชุดยาวสีขาวอีก ส่วนผู้ชายทอเป็นเสื้อคล้ายของผู้หญิงแต่เป็นสีแดง ใส่กางเกงสะดอ หรือโสล่ง เมื่อสิ้นลมหายใจแล้วต้องเผาเสื้อผ้าทิ้ง

นอกจากนี้ยังมีนัยยะแฝงที่บ่งบอกถึงตัวตนชนเผ่ากะเหรี่ยง เช่น เสื้อกะเหรี่ยงไม่มีกระเป๋าเพราะเป็นคนไม่สะสม ไม่ยึดติด ชายเสื้อและส่วนเว้าตรงคอเสื้อด้านหน้าและด้านหลังเท่ากัน เพราะเป็นคนต่อหน้าอย่างไรลับหลังก็เป็นเช่นนั้น ฝ้ายระย้าที่ติดมากับชุดกะเหรี่ยงเป็นเครื่องเตือนใจให้คนกะเหรี่ยงเป็นคนอ่อนหวาน อ่อนน้อมถ่อมตน และปรับตัวยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของชาวบ้านกับผ้าทอกะเหรี่ยงแน่นแฟ้นผูกพันกันอย่างแยบคาย ผ้าทอชาวกะเหรี่ยงจึงเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพวกเขา

มนและเผือก กล่าวว่า พวกเขาได้รับรู้ข้อมูลเหล่านี้อย่างลึกซึ้งหลังจากได้สัมภาษณ์ปราชญ์ชุมชน “หลังทำโครงการ สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างแรกเลย คือ หนูเก็บรักษาชุดกะเหรี่ยงดีมากเลยค่ะ (หัวเราะ) เพราะปกติเราไม่ได้ใส่ใจ แม่เก็บไว้ไหนก็ไม่รู้ ปีใหม่ที่บ้านจะทอให้ปีละชุดๆ เลยรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปที่เขาใส่ๆ กัน แต่ปัจจุบันได้รู้ว่ามันทอยากมาก ๆ ใช้เวลานานมาก ต่อไปเด็กรุ่นหลังจะทอได้หรือเปล่าไม่รู้ เลยรู้สึกว่าเราต้องรู้จักเก็บรักษา จากแต่ก่อนน้อยใจว่าเราคือกะเหรี่ยง แต่ปัจจุบันกลับรู้สึกว่าชุมชนของเรามีความสำคัญ มีที่มาที่ไป มีตำนานแล้วก็มีเรื่องราวที่ความหมาย ที่สำคัญเห็นค่าของชุดเมื่อรู้ความหมายแฝงข้างใน” มน กล่าว

หนูมีความคิดอยู่เหมือนกัน อยากหัดทอผ้ากะเหรี่ยง หนูทอผ้าผืนใหญ่ๆ ได้ การทอผ้ากะเหรี่ยงยากกว่า แต่ถ้าเราตั้งใจทอจนชำนาญก็น่าจะง่าย เพราะถ้าทอออกมาได้มันสวยมากเลย” มน กล่าวด้วยรอยยิ้ม

ความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มแกนนำเยาวชน ผู้มีใจรักผ้ากะเหรี่ยง พี่เลี้ยงโครงการฯ ที่ช่วยกระตุ้นวางแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนเด็กทำกิจกรรม แม้เด็กอาจสูญเสียเวลาช่วยงานครอบครัว ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องผ้าทอกะเหรี่ยงอย่างลุ่มลึก ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามกับเด็กเยาวชนเป็นอย่างดี ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองหลัก ที่ช่วยเป็นสื่อกลางแจ้งข่าวชาวบ้าน และให้โอกาสกลุ่มเยาวชนขึ้นเวทีประชาสัมพันธ์โครงการ นอกจากนี้ยังมี โรงเรียนและวัด ที่เอื้ออำนวยพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ส่วนผสมทั้งหมดนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชนหนองหลัก ทำให้เด็กวัยรุ่นในชุมชนหันมาสนใจและสวมใส่ชุดกะเหรี่ยงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

เราเห็นคนรุ่นใหม่หันมาสวมใส่ชุดมากขึ้น ตัวเราเองยังเปลี่ยนแปลงไป โครงการจุดประกายให้เห็นว่าชุดกระเหรี่ยงของเราก็มีความสวยงาม ทำไมเราไม่ทำให้มันทันสมัย เอามาประยุกต์กับชุดในยุคปัจจุบันได้ เพื่อให้สวมใส่ง่ายขึ้น หากเราทำให้ชุดกระเหรี่ยงได้รับความนิยมมากขึ้น อาจเป็นรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอีกทางหนึ่ง” มน กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาชุดผ้าทอกะเหรี่ยงในอนาคต

จริงๆ หนูคิดว่าโครงการจะไปไม่รอดด้วยซ้ำเพราะโครงการนี้ใหญ่มากเลย แต่พอจบโครงการก็เกินคาด พวกเราได้ความรู้มาเยอะมาก ถึงตอนนี้เด็กๆ ในชุมชนไม่ได้ใส่ชุดกระเหรี่ยงกันทุกคน แต่ก็คาดหวังว่าคนรุ่นใหม่จะเห็นความสำคัญของชุดกระเหรี่ยงมากขึ้น” มน กล่าวอย่างมีความหวัง

ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านหนองหลักถือเป็นทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ชั้นดี ที่สะท้อนวิถีชีวิตอันงดงาม สามารถเป็นตัวกลางเชื่อมความคิดสร้างสรรค์และระบบเศรษฐกิจเข้าด้วยกันได้ ผ่านเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน บวกกับความคิดเชิงอนุรักษ์ของเด็กรุ่นใหม่ หากได้รับโอกาสและการสนับสนุนจากผู้ใหญ่อย่างต่อเนื่อง ไม่แน่ว่าเราอาจเห็นผ้าทอกะเหรี่ยง ตระหง่านกลางเวทีแฟชั่นโลกในอนาคตก็เป็นได้

//////////////


บทสัมภาษณ์โครงการเด่น โครงการแต่งตัวสบายๆ ตามสไตล์บ้านแพ บ้านหนองหลัก  ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน


เยาวขนผู้ให้สัมภาษณ์

  1. ชนากานต์ ปุ๊ดแค ชื่อเล่น น้ำมนต์  อายุ 16 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
  2. เกียรติชัย ไทยใหม่ ชื่อเล่น เผือก  อายุ 16 ปี เรียน ปวช. 1 ช่างยนต์ วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง



ถาม : น้องน้ำมนต์ทำโครงการอะไรคะ

น้ำมนต์: โครงการแต่งตัวสบายๆ สไตล์บางแพค่ะ


ถาม : ลองเล่าให้พี่ฟังหน่อยได้ไหมคะ ว่าทำไมเราถึงสนใจทำโครงการนี้ล่ะคะ

น้ำมนต์: ตอนแรกหนูทำโครงการเกี่ยวกับเรื่องขยะ แต่ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมมาก หนูจึงตั้งคำถามว่า “ทำไมมันถึงเปลี่ยนไป” เพราะคนกระเหรี่ยงส่วนใหญ่ไปทำงานข้างนอก หรือแต่งงานกับคนภายนอก แล้วก็นำเอาวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามา จึงทำให้คนสมัยนี้ไม่ค่อยใส่ชุดกะเหรี่ยงกันค่ะ เพราะพวกเขารู้สึกว่าผ้ากะเหรี่ยงใส่แล้วดูเก่า ไม่ทันสมัย หนูจึงอยากอนุรักษ์ผ้ากระเหรี่ยงบ้านเราไว้


ถาม : ปกติน้องน้ำมนต์ใส่ไหม

น้ำมนต์ : ใส่ในช่วงเทศกาลต่างๆค่ะ


ถาม : เทศกาลต่างๆ นี้เขาใส่ช่วงไหนกันบ้างคะ

น้ำมนต์: ช่วงวันพระ วันอาสาฬหบูชา และวันปีใหม่ค่ะ


ถาม : เขาจะใส่ตามเทศกาลต่างๆใช่ไหมคะ น้องน้ำมนต์ลองอธิบายหน่อยได้ไหมว่าแต่งกายสบายๆ ตามสไตล์บางแพ มันสบายอย่างไร

น้ำมนต์: เขาใส่กันมาตั้งนานแล้วค่ะ จริงๆ เสื้อในปัจจุบันก็ใส่สบายแต่ชุดกระเหรี่ยงของเราใส่ง่ายๆ และก็ใส่สบาย ไปที่ไหนก็ใส่ ไม่จำเป็นต้องใส่กางเกงหรือเสื้อก่อน เช่น ผู้หญิงใส่เป็นชุดรวบ ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะใส่กระโปรงทับ แล้วใส่เสื้อตามค่ะ ไม่ต้องใส่กางเกงข้างใน คนโบราณใส่กันแบบนี้ หนูก็เลยคิดว่ามันน่าใส่สบาย ถอดก็ง่าย จึงอยากให้คนรุ่นหลังรู้จักว่าชุดกระเหรี่ยงมีความสวยงามและใส่สบายค่ะ


ถาม : แล้วบางแพเป็นชื่อชุมชนหรือชื่อหมู่บ้านเหรอคะ

น้ำมนต์: ใช่ค่ะ เป็นชื่อชุมชนค่ะ


ถาม : ชุมชนบางแพ ปกติที่ไม่ใช่ช่วงเทศกาลวันพระนี้คนในชุมชนขาใส่ชุดกระเหรี่ยงกันเยอะไหมคะ

น้ำมนต์: ส่วนมากเป็นคนที่อยู่ในชุมชนจริงๆ ที่ไม่ไปอยู่ข้างนอก เช่น ปู่ย่าตายาย เป็นต้น


ถาม : แล้วอย่างที่เป็นเด็กวัยรุ่นนี้ใส่กันไหม

น้ำมนต์: บางคนก็ใส่ บางคนไม่ใส่ค่ะ ขึ้นอยู่กับแต่ละบ้านปลูกฝังมาอย่างไร


ถาม : ที่น้องน้ำมนต์ทำโครงการนี้ มีเป้าหมายหรือความคาดหวังอย่างไร

น้ำมนต์: ถึงไม่ได้ใส่ชุดกระเหรี่ยงกันทุกคน แต่ก็คาดหวังว่าคนรุ่นใหม่จะเห็นความสำคัญชุดกระเหรี่ยงมากขึ้นค่ะ


ถาม : กลุ่มเป้าหมายนี้เป็นคนในชุมชนเลยใช่ไหม

น้ำมนต์: ค่ะ


ถาม : ทุกรุ่นทุกวัยเลยไหมหรือระบุไหม

น้ำมนต์: โดยเฉพาะกลุ่มเด็กกับวัยรุ่น


ถาม : ตอนที่น้องน้ำมนต์ว่าพวกเรามีประชุมกัน เราคุยกันอย่างไรถึงมาทำโครงการนี้

น้ำมนต์: ตอนแรกพี่เลี้ยงชวนคุยก่อน เขาบอกว่ามีโครงการเข้ามา อยากเข้าร่วมไหม หนูไม่เคยทำโครงการมาก่อน ก็เลยอยากทำจึงได้เข้าร่วมค่ะ ตอนแรกเราเลือกกันไม่ได้ว่า จะทำโครงการเกี่ยวกับอะไรดี แต่เพื่อนเสนอว่ากระเหรี่ยงของเราก็น่าสนใจนะ รุ่นพี่ที่ทำโครงการ ทำเกี่ยวกับชุดกระเหรี่ยง ก็เลยคิดว่าเราน่าจะสานต่อโครงการอนุรักษ์ชุดกระเหรี่ยงไว้ค่ะศึกษาความสำคัญเกี่ยวกับลายผ้าทอกระเหรี่ยงในอดีตจนถึงปัจจุบัน และที่มาที่ไปของชุดกะเหรี่ยง

น้ำมนต์: ตอนแรกประชุมวางแผนกันก่อนว่า “ใคร” เป็นประธานหรือเลขา จะได้จัดการกันได้ถูกค่ะ ต่อมาเราก็ประชุมกันอีกทีหนึ่งว่าจะลพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้รู้ในชุมชนของเรา ใช้เวลาประมาณ 3 วัน ก็ได้ข้อมูลกลับมา ได้ข้อมูลมาปุ๊บ มาสรุปก่อนค่ะว่าเราได้อะไรมาบ้าง แล้ววางแผนทำวิดีโอ ช่วงลงชุมชนเป็นช่วงปิดเทอมพอดี เราก็เพิ่งงานหน้าที่กัน จัดแจงกันว่าใครจะเขียนอะไร ใครจะทำอะไรให้เป็นรูปเล่มโครงการของเรา แล้วก็มาทำวิดีโอเกี่ยวกับโครงการ


ถาม : มีกิจกรรมอะไรอีกไหมคะที่ทำกับชุมชน

น้ำมนต์: พวกหนูไปประชาสัมพันธ์โครงการในวันที่เป็นวันออมทรัพย์ของชุมชนประจำเดือน เพราะมีคนเยอะ เพื่อนำเสนอว่าโครงการเราทำอะไรให้คนในชุมชนได้รู้


ถาม : มีอะไรอีกไหมเอย

น้ำมนต์: หนูใส่ชุดกระเหรี่ยงไปไหนมาไหนมากขึ้น


ถาม : กิจกรรมแรกเลยที่เราบอกว่าประชุมวางแผนแบ่งบทบาทหน้าที่ เราประชุมใช้พื้นที่ไหนคะ

น้ำมนต์: หนูไปประชุมกันบ้านพี่เลี้ยงค่ะ จริงๆ ก็มีหลายคน เราแบ่งหน้าที่กันโดยการจับฉลากกันค่ะ


ถาม : ทำไมใช้วิธีการจับฉลาก

น้ำมนต์: เพราะว่าจะได้ไม่มีใครเกี่ยงกัน


ถาม : เพราะว่าไม่มีใครรับหน้าที่ก็เลยตัดสินใจกันจับฉลากกันเลยใช่ไหม แล้วตอนนั้นใครได้เป็นประธานคะ พอจับฉลากมาแล้ว

น้ำมนต์: ประธานคือดวงกมลค่ะ


ถาม : ดวงกมลชื่อเล่นชื่ออะไร

น้ำมนต์: ชื่อบุ๋มค่ะ


ถาม : แล้วมีตำแหน่งอะไรอีก เลขาเหรอ

น้ำมนต์: เลขาก็คือหนูค่ะ


ถาม : เลขาก็คือน้ำมนต์

น้ำมนต์: ค่ะ แล้วก็มีรองประธานผู้หญิง แล้วก็รองประธานผู้ชาย


ถาม : รองประธาน

น้ำมนต์: ผู้ชายภูมิทัศน์


ถาม : ชื่อเล่นคือ

น้ำมนต์: ดั้มค่ะ


ถาม : รองประธานผู้หญิง

น้ำมนต์: ผู้หญิงชื่อธัญรัตน์ค่ะ


ถาม : ชื่อเล่นคือ

น้ำมนต์: ชื่อเล่นน้ำค่ะ


ถาม : มีตำแหน่งอะไรอีกบ้างตอนนั้นที่ได้

น้ำมนต์: ประชาสัมพันธ์ ก็จะมีผู้หญิงกับผู้ชาย ผู้หญิงก็คือปาริชาตค่ะ


ถาม : ชื่อเล่นชื่ออะไรนะ

น้ำมนต์: ชื่อใบตองค่ะ


ถาม : แล้วผู้ชายล่ะคะ

น้ำมนต์: เกียรติชัยค่ะ


ถาม : ชื่อเล่นคือ

น้ำมนต์: เผือกค่ะ


ถาม : มีกี่ตำแหน่งตอนนั้น

น้ำมนต์: แล้วก็มีเหรัญญิกค่ะ


ถาม : เหรัญญิก ใครคะ

น้ำมนต์: ก็คือกัลยา ค่ะ


ถาม : ชื่อเล่น

น้ำมนต์: ชื่อจีจี้ค่ะ


ถาม : บรรยากาศตอนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ตอนแบ่งหน้าที่

น้ำมนต์: พอใจค่ะ เพราะไม่ได้เจาะจงว่าใครทำอะไรค่ะ


ถาม : มีปัญหาอะไรไหมเวทีนี้ผลการประชุมนี้หรือว่าราบรื่น

น้ำมนต์: การประชุมนี้ราบรื่นดีค่ะ


ถาม : แล้วพอเราได้วางบทบาทหน้าที่ นานไหมกว่าที่เราจะมาประชุมเกี่ยวกับบทบาทในชุมชน

น้ำมนต์: ประชุมกันอีกทีประมาณ 2-3 วันค่ะ ที่เดิมค่ะ


ถาม : ตอนไปสัมภาษณ์ผู้รู้เป็นอย่างไรบ้าง

น้ำมนต์: บรรยากาศตอนนั้นเราแบ่งกันไปบ้านละ 2 คน นัดกันมีประมาณ 7 คน แล้วก็รถคันหนึ่งไปกันไม่ลงตัวไปกัน 3 คน แยกกันไปค่ะ กลับมาก็ไม่พร้อมกันทำให้มีปัญหากันว่าทำไมช้าจัง คนที่กลับมาเร็วกว่า ทำไมต้องให้รออย่างนี้ค่ะ


ถาม : เดียวพี่จะกลับไปถามปัญหานะแต่ตอนนี้พี่ถามก่อนว่า ก่อนที่เราจะแบ่งไปบ้านละ 2 คนเรามีข้อมูลเรื่องผู้รู้อยู่แล้วใช่ไหมคะว่าเราจะไปบ้านไหนบ้าง

น้ำมนต์: ค่ะ


ถาม : เราไปหาข้อมูลมาจากไหนหรือว่ามีใครบอกเรา

น้ำมนต์: ก่อนที่เราจะไปถาม เราตั้งหัวข้อก่อนว่าเราจะไปถามอะไรบ้าง แล้วลงไปถามพ่อหลวงว่าใครรู้เรื่องผ้าทอกtเหรีjยง เรื่องลายผ้าทอ แล้วก็ได้รายชื่อมา 5 คนค่ะ พอรู้แล้วเราก็ไปตามบ้าน


ถาม : การตัั้งคำถาม คิดกันเองหรือว่ามีพี่เลี้ยงคอยช่วยเราตอนนั้น

น้ำมนต์: ตอนนั้นเราก็คิดกันเองบ้าง ก็มีพี่เลี้ยงช่วยคิดบ้างค่ะ


ถาม : แล้วจับคู่กันไปบ้านละ 2 คน แบ่งจากอะไรกันบ้างที่จับคู่กันไป

น้ำมนต์: แบ่งกันว่าอีกคนหนึ่งเป็นคนเขียน อีกคนหนึ่งเป็นคนถาม อัดเสียง แล้วจดรายละเอียดค่ะ


ถาม : ทำไมเราต้องอัดเสียง

น้ำมนต์: กลัวว่าจะได้ข้อมูลไม่ครบค่ะ กลัวพูดอีกทีจะคลาดเคลื่อนกับนักปราชญ์


ถาม :น้องเผือกสวัสดีค่ะ

เผือก : ครับ


ถาม : ตอนนี้พี่กำลังถามน้องน้ำมนต์เกี่ยวกับกิจกรรมที่พวกเราได้ลงไปทำกับชุมชนมานะคะ ตอนนี้กำลังไล่ถามทีละกิจกรรมอยู่ว่าแต่ละคนทำอะไรกันบ้าง มีบทบาทอะไรหน้าที่อะไรกัน พี่กำลังถามน้องน้ำมนต์ว่าที่แบ่งกันไปถามผู้รู้เป็นช่วงแรกที่เราลงไปถามแบ่งกันไปบ้านละ 2 คน เดี๋ยวพี่ขอถามน้องน้ำมนต์อีกแป๊บ ตอนที่น้ำน้ำมนต์ไป ไปกับใครคะ

น้ำมนต์: ไปกับจีจี้ ค่ะ


ถาม : ไปกับจีจี้ ตอนนั้น น้องน้ำมนต์ทำหน้าที่อะไรคะ

น้ำมนต์: เป็นคนถามและก็เป็นคนจดลงสมุด


ถาม : เป็นคนถามเองเลย ตอนที่ถามมีปัญหา ติดขัดอะไรไหม ตื่นเต้นอะไรไหม

น้ำมนต์: ไม่ติดค่ะ เพราะเขาตอบตามธรรมชาติค่ะ


ถาม : บ้านที่น้ำมนต์ไปเป็นผู้รู้ชื่อว่าอะไรคะ

น้ำมนต์: หนูจำไม่ได้


ถาม : เขามีความถนัดเรื่องอะไรคนนี้

น้ำมนต์: เขามีความถนัดเรื่องความสำคัญของผ้าทอและชุดกระเหรี่ยง


ถาม : ตอนนั้นเราได้ข้อมูลครบไหมในความคิดเรา

น้ำมนต์: ไม่ครบค่ะ


ถาม : คิดว่ายังไม่ค่อยครบ คราวนี้ขอถามน้องเผือกบ้าง น้องเผือกจำได้ไหมว่าน้องเผือกไปกับใครตอนนั้น

เผือก : ตอนนั้นไปกับใบตอง


ถาม : ไปกับใบตอง น้องเผือกทำหน้าที่อะไรครับตอนไป

เผือก : เป็นคนถามครับ ใบตองเป็นคนจด


ถาม : แล้วตอนที่เผือกไปถามนี้จำชื่อผู้รู้ได้ไหมครับว่าชื่ออะไร

เผือก : จำไม่ได้ครับ แต่เป็นยายของใบตองครับ


ถาม : คนนี้เขามีความรู้อะไร

เผือก : ขั้นตอนในการทอผ้าและอุปกรณ์


ถาม : แล้วก็อุปกรณ์การทอผ้า ของเผือกที่เคยถามนี้คิดว่าได้ข้อมูลครบไหม

เผือก : ไม่ค่อยครบครับ


ถาม : ของเผือกนี้มีปัญหาอะไรไหมครับระหว่างที่สัมภาษณ์ข้อมูล

ตอบ : ไม่มีครับ


ถาม : ไม่มีคือคุยกันรู้เรื่องสนิทกัน

เผือก : ครับ


ถาม : ได้ข้อมูลกลับมาแล้ว เราเอาข้อมูลมาทำอะไรกันต่อ ตอนนั้นเห็นบอกว่ามีปัญหากลับมาไม่พร้อมกันบางคนมาช้าตอนนั้นเราทำอย่างไรกันเพื่อนที่มาช้า

เผือก : รอครับ ระหว่างที่รอก็เอาข้อมูลที่ได้เอามารวมกัน


ถาม : ก็คือใครมาก่อนก็เอาข้อมูลมารวมกัน

เผือก : ครับ ค่อยๆ เอาข้อมูลมารวมกัน


ถาม : ที่บอกว่าเอาข้อมูลมารวมกันนี้ เอามารวมกันอย่างไรเหรอเล่าให้กันฟังหรือว่าอย่างไรเหรอ

เผือก: เอามารวมกันตามหัวข้อครับ


ถาม : เราไปเจอผู้รู้ครบทั้ง 5 หลังไหม

เผือก : บางคนก็อยู่ บางคนก็ไม่อยู่ครับ


ถาม : แล้วอย่างคนที่ไม่อยู่เราทำอย่างไร แก้ไขยังไง

เผือก : รอเวลาที่เขาอยู่ครับ แล้วค่อยไปใหม่อีกรอบครับ


ถาม : อันนี้เราใช้เวลากี่วันนะที่เราหาข้อมูล 3 วันใช่ไหม

เผือก : ใช่ครับ


ถาม : สรุป 3 วันที่เราไปหาข้อมูลมา พอใจกับข้อมูลที่ได้มาไหม

เผือก : พอใจครับ ก็ได้ข้อมูลมาครบ


ถาม : เรารู้สึกประทับใจอะไรบ้าง มีไหม

เผือก : ประทับใจเรื่องของผ้าทอครับ


ถาม : แล้วก่อนหน้านี้เราเคยรู้เกี่ยวกับพวกประวัติอะไรแบบนี้ไหมครับ

เผือก : ก็พอรู้มาบ้างครับ แต่มันก็ งง ไม่ค่อยรู้เท่าไหร่


ถาม : มีอะไรบ้างที่เราคิดว่ามันเป็นประโยชน์กับเรามากๆ เลยขอกิจกรรมนี้คะ ที่เราได้ลงไปคุยกับผู้รู้

เผือก : เกี่ยวกับการทอผ้าและเสื้อกะเหรี่ยงที่ไม่มีกระเป๋าข้างครับ


ถาม : ทำไมถึงไม่มีกระเป๋าล่ะ เพราะอะไร

ตอบ : ไปถามข้อมูลที่ไม่มีกระเป๋า มีความหมายคือไม่มีความลับ


ถาม : ไม่มีกระเป๋าเพื่อให้แสดงให้เรารู้ว่าไม่มีลับลมคมไหนไม่มีความลับใช่ไหมคะ

เผือก : ครับ


ถาม : อันนี้ก็เป็นความรู้ใหม่ที่เราได้ไปคุยใช่ไหม

เผือก : ครับ


ถาม : ขาดข้อมูลอะไรบ้างไหมที่เราคิดว่ามันยังไม่สุดอยากกลับไปถามต่อ มีบ้างไหม น้ำมนต์ตอบก่อนก็ได้คะ

น้ำมนต์ : อยากรู้ว่าชุดกระเหรี่ยง มีความหมายอื่นๆ อีกไหมคะ


ถาม : ก็คืออยากรู้เพิ่ม แล้วที่ไปสัมภาษณ์มาแล้วรู้ไหมว่าชุดกระเหรี่ยงมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง

น้ำมนต์ : หนูอยากถามเขาว่าชุดกระเหรี่ยงของผู้หญิง ทำไมถึงมีชายกระโปรง เขาบอกว่า สื่อถึงความอ่อนไหวค่ะ และถ้าคอเสื้อมีความเท่ากันของหน้าหลัง มีความหมายว่าเป็นคนซื่อตรงค่ะ


ถาม : แล้วเผือกล่ะครับ ที่ไปสัมภาษณ์มีอะไรที่เผือกอยากถามเพิ่มเติมอีกไหมถ้าย้อนกลับไปได้

เผือก : อยากถามเกี่ยวกับลายผ้าว่ามีลายอะไรเพิ่มอีกเปล่า


ถาม : หมายถึงลายผ้าสมัยโบราณในตอนแรกๆเลยใช่ไหมครับ

เผือก : ครับ


ถาม : แล้วที่เราได้ข้อมูลมา ณ ปัจจุบันลายผ้ากระเหรี่ยงเราได้ชื่อลายผ้าอะไรมาบ้างพอจะบอกให้พี่ฟังสัก อย่าง 2 อย่างได้ไหม

เผือก : จำชื่อลายไม่ได้


ถาม : มันจะเป็นลายภาษา

เผือก : ลายที่เป็นลายบวกและผ้ากรองครับ


ถาม : มันเป็นภาษากระเหรี่ยงเลยใช่ไหมครับ

ตอบ : ครับ


ถาม : อันนี้พี่ไปกิจกรรมต่อไปเลยนะที่น้องน้ำมนต์บอกว่า กิจกรรมต่อไป คือ การทำวิดีโอ

เผือก : ครับ


ถาม : ทำวิดีโอ เนื้อหาอะไรบ้างที่เราทำคะ

เผือก : เนื้อหาเยอะแยะเลยครับ เนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้าน และผ้ากระเหรี่ยงหมด


ถาม : กิจกรรมนี้ใครทำหน้าที่อะไรบ้างเผือกทำหน้าที่อะไรครับ

เผือก : ประชาสัมพันธ์ครับ


ถาม : ประชาสัมพันธ์ทำหน้าที่อะไรบ้างรายละเอียดพวกนั้น

เผือก : ผมเป็นคนประสานงานกับพ่อหลวงบ้านผ่านทางไลน์กลุ่ม เวลาทำกิจกรรม แล้วก็เผยแพร่ข้อมูลลงในเฟสครับ


ถาม : แล้ววิดีโอนี้ใครเป็นคนถ่ายเหรอคะ

เผือก : วิดีโอก็สลับกันไปครับ ได้ถ่ายกันทุกคนครับ


ถาม : แล้วตอนถ่ายวิดีโอ เราต้องไปถ่ายในชุมชนบรรยากาศชาวบ้านเขาถามเราไหมว่าเราทำอะไร

เผือก : ถามครับ


ถาม : เขาให้ความสนใจกับเรามากน้อยแค่ไหนตอนทำกิจกรรม

เผือก : บางคนก็ให้ความสนใจ บางคนก็ไม่ให้ความสนใจเท่าไหร่


ถาม : คนที่ให้ความสนใจกับเรา เขาให้ความร่วมมืออะไรกับเราไหม

เผือก : บางคนก็จะทอให้ดูเลยว่ามันเป็นอย่างไร


ถาม : หมายถึงผู้รู้ใช่ไหมคะ

เผือก : ครับ


ถาม : แล้วอย่างคนในชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง เขาถามเราไหมว่าทำอะไรกันแบบนี้

เผือก : ถามว่าทำอะไรกัน โครงการเกี่ยวกับอะไร


ถาม : พอเขาถามแบบนี้ เราตอบเขาไปว่าอย่างไร

เผือก : ทำโครงการเกี่ยวกับผ้าทอของหมู่บ้านเพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้รู้ครับ


ถาม : แล้วพอเราบอกไปแบบนี้เขาทำอย่างไร

เผือก : เขาก็ไม่ได้ว่าอะไรครับ ก็ทำให้เราดูครับ


ถาม : ถ่ายวิดีโอนี้ใช้เวลานานไหมคะกี่วันถึงจะเสร็จ

เผือก : ประมาณอาทิตย์หนึ่งครับ


ถาม : มีปัญหาอะไรไหม

เผือก : ก็เอามารวมๆ กัน


ถาม : ก่อนจะไปถ่ายประชุมกันก่อนไหมว่าอยากนำเสนอประมาณไหน

เผือก : ประชุมในทีมครับ


ฃถาม : ประชุมกับใครในทีมครับ ใครเป็นคนชวนคุยไหมว่าประเด็นเป็นยังไง

เผือก : พี่เลี้ยงโครงการ


ถาม : พี่เลี้ยงโครงการเป็นคนช่วย แล้วเราก็ตอบ แล้วอย่างเผือกกับดั้มเป็นคนถ่ายวิดีโอแล้วคนอื่นในทีมเขาทำอะไรกันบ้างกิจกรรมถ่ายวิดีโอ

เผือก : ผู้ชายก็เปลี่ยนกันถ่าย ผู้หญิงก็เป็นคนทอผ้า ครับ


ถาม : แล้วกิจกรรมที่ถ่ายวิดีโอนี้คะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นไหมระหว่างการถ่ายวิดีโอ

เผือก : ไฟล์หายครับ มีปัญหาเรื่องเสียงกับเรื่องตัด


ถาม : ก็คือไม่มีเสียงมีแต่รูป

เผือก : ครับ


ถาม : มีอะไรอีกคะ

ตอบ : เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศนี้แหละครับ


ถาม : ถามก่อนปกติเราเคยถ่ายวิดีโอมาก่อนไหม

เผือก : ก็เคยบ้างครับ


ถาม : ก็เคยมีประสบการณ์มาก่อนแล้วแบบนี้ที่เจอปัญหาอย่างแรกเลย ไฟล์หายตอนนั้นที่ไฟล์หายความรู้สึกเราเป็นอย่างไรอุตส่าถ่ายมา

ตอบ : ก็ไปดูไฟล์เก่า ถ้าไม่มีก็ค่อยๆ ไปถ่ายใหม่


ถาม : มีการโทษกันไหมว่าทำไมทำไฟล์หาย

เผือก : ไม่มีครับ ก็ไปหา ถ้าหาไม่เจอก็ไปถ่ายกันใหม่


ถาม : รอบแรกเรามีประสบการณ์ รอบหลังเราระมัดระวังมากขึ้นไหม มีการเช็คไฟล์ไหมระหว่างการถ่ายเสร็จ

เผือก : ถ่ายเสร็จก็ส่งเลยครับ แล้วถ้ามันหายเราก็ถ่ายมันอีกครับ


ถาม : ก็คือถ่ายด้วยมือถือใช่ไหมคะ

เผือก : ครับ


ถาม : พวกวิดีโอที่มันเสียหาย เรารู้เหตุผลไหมว่าทำไมไม่มีเสียง

เผือก : ตอนตัดวิดีโอ มือไปโดนตัวลดเสียงทำให้มันดับไปเลยครับ


ถาม : วิดีโอเสียงหายนี้ตอนที่เราตัดต่อเสร็จเรียบร้อยแล้วใช่ไหมคะ

เผือก : ครับ


ถาม : ตอนนั้นรู้สึกท้อไหมตัดมาตั้งนานแล้วหาย

เผือก : ก็มีบ้างครับ


ถาม : ตัดนานไหมคะกว่าจะเสร็จ

เผือก : นานอยู่ครับ เป็นวันครับ


ถาม : อันนี้เผือกตัดกับใครคะ

เผือก : สลับกันกับดั้มครับ


ถาม : สุดท้ายแล้ววิดีโอที่เราตัดต่อแล้วเป็นไปในที่เราคาดหวังไหม

ตอบ : ครับ ตามที่คาดหวังครับ


ถาม : พอใจกับผลงานไหมครับ

เผือก : พอใจครับ


ถาม : ถ้าสมมุติ ว่าตัดต่อใหม่จะทำเหมือนเดิมไหมหรือว่าคิดว่าจะใส่เทคนิคอะไรเพิ่มอีกไหม

เผือก : อยากจะเปลี่ยนแปลงตรงแอ็ฟเฟคครับ อยากมีวิดีโอเปลี่ยนมุมใหม่ๆ ครับ


ถาม : เสร็จแล้วพอเราตัดวิดีโอเสร็จเราเอาวิดีโอนี้เผยแพร่ที่ไหน

เผือก : เผยแพร่ระหว่างกลุ่มเพื่อนในโครงการก่อน ให้พี่เลี้ยงดูว่าต้องแก้ไขตรงไหน ซึ่งมีปรับแก้อยู่ประมาณ 6 ครั้ง


ถาม : เหนื่อยไหมเบื่อไหมที่ต้องแก้กว่าจะเสร็จตั้ง 6 รอบ

เผือก : ไม่เบื่อครับ รอก็ค่อยๆ แก้ไขไป


ถาม : ส่วนใหญ่ที่ต้องแก้ไขคือตรงไหนเหรอเทคนิคหรือว่าเข้าไปตรงไหน

เผือก : แก้ภาพเยอะ และเสียงพูดไม่ค่อยได้ยินเยอะครับ แล้วก็มันซ้ำ


ถาม : อันนี้ตัดต่อในไหนในมือถือเหรอครับ

เผือก : ครับ


ถาม : พอกิจกรรมต่อมาอันนี้ทำวิดีโอแล้วรอให้พี่นิดกับพี่บิวมารับวิดีโอไปก็เป็นอันเสร็จกิจกรรมตรงนี้ นำผลงานที่รวบรวมข้อมูล ไปให้เด็กในชุมชนดูถูกต้องไหมครับ

เผือก : ครับ


ถาม : ลองเล่ารายละเอียดขั้นตอนนี้ให้ฟังหน่อยสิเราทำอย่างไรบ้าง

เผือก : ติดต่อทางโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ ใช้ช่วงเวลาว่างของโรงเรียน พวกเราจัดเตรียมอุปกรณ์ไปที่โรงเรียนในหมู่บ้าน นำเสนอเรื่องราวของผ้าทอ บอกเล่าว่าเป็นกิจกรรมของพวกเรากลุ่มเยาวชน เราอยากให้เด็กได้เข้ามามีโอกาสรู้จักกับผ้าทอกะเหรี่ยงครับ


ถาม : แสดงว่าที่เราไปจัดนี้คือจัดที่โรงเรียนเหรอคะ

เผือก : ที่โรงเรียน 1 ที่ ที่วัด 1 ที่ครับ


ถาม : ก็คือจัด 2 ที่

เผือก : ครับ


ถาม : ติดต่อใครเป็นคนติดต่อประสานงานอย่างโรงเรียนนี้คะ ใครเป็นคนเข้าไปขอ

เผือก : ป้าเดือนครับ พี่เลี้ยงครับ


ถาม: พี่เลี้ยงเป็นคนไปติดต่อให้ ที่เราจัดกิจกรรมนี้มีเป้าหมายอะไรไหมถึงจัดกิจกรรมนี้

เผือก : เป้าหมายเพื่อให้เด็กๆ ได้รู้จักผ้าทอกระเหรี่ยง


ถาม : เด็กๆ นี้คือเด็กชั้นไหนเหรอคะ

เผือก : ช่วงอายุ 7-12 เด็ก ป.1 – ป.6 มีนักเรียนประมาณ 90 กว่าคนที่เข้าร่วมครับ แบ่งเป็นช่วง มีสันทนาการ แล้วก็ช่วงเรียนรู้การทอผ้า


ถาม : อย่างที่โรงเรียนนี้เราเตรียมอุปกรณ์อะไรไปบ้าง

เผือก : เอาบอร์ด เกี่ยวกับผ้าทอและก็อุปกรณ์ทอผ้าไปด้วยครับ


ถาม : อุปกรณ์ทอผ้านี้เราไปเอาจากใครมาเหรอหรือว่าบ้านเรามีอยู่แล้ว

เผือก : ในบ้านเรามีอยู่แล้วครับ


ถาม : ก็คือให้เขาลองทอใช่ไหมคะ

เผือก : ครับ


ถาม : คนเยอะไหมที่โรงเรียน

เผือก : เยอะอยู่ครับ


ถาม : ในกิจกรรมนี้น้ำมนต์อยู่ไหม

น้ำมนต์ : อยู่ค่ะ


ถาม : กิจกรรมนี้น้ำมนต์ทำหน้าที่อะไรคะ

น้ำมนต์ : หนูเป็นคนทอคะ แล้วก็อีกคนหนึ่งเป็นคนบรรยายเกี่ยวกับโครงการ


ถาม : มีนันทนาการด้วยใช่ไหมของน้ำมนต์ แล้วของเผือกละคะ เวทีนี้เผือกทำอะไรบ้าง

เผือก : ผมก็คนพาเด็กๆ เล่นเกม และก็เป็นคนถ่ายภาพและวิดีโอ


ถาม : ถ่ายรูปถ่ายวิดีโอด้วยไหม

เผือก : ครับ


ถาม : อันนี้คือเราแบ่งบทบาทในการจัดกิจกรรมใช่ไหม

เผือก : ครับ


ถาม : แต่ละคนคิดว่าทำหน้าที่ของตัวเองได้โอเคไหม

เผือก : โอเคครับ


ถาม : น้ำมนต์ล่ะ โอเคไหม

น้ำมนต์ : โอเคค่ะ


ถาม : ต้องมีคนคอยสอนไหม

เผือก : มีครับ


ถาม : ใครเป็นคนสอน

เผือก : เป็นคนในหมู่บ้าน เราเตรียมอุปกรณ์ไปให้เขาสอน


ถาม : มีปัญหาอะไรไหมที่จัดในโรงเรียน

เผือก : เวลาไม่ตรงกันครับ บางคนมาก่อน บางคนมาทีหลัง


ถาม : หมายถึงในทีมใช่ไหม

เผือก : ครับ


ถาม : แล้วเราจัดการปัญหานี้อย่างไรคะ

เผือก : ใครมาก่อนก็เริ่มก่อน ถ้าใครมาที่หลังให้ตามไปครับ


ถาม : แต่ว่าในกิจกรรมที่ทำกับเด็กๆ นี้ไม่มีปัญหาอะไรส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาในทีมใช่ไหม

เผือก : ครับ


ถาม : สำเร็จเป็นไปตามสิ่งที่เราคาดหวังไหมน้องๆ ได้เรียนรู้และสนุกไหมน้องๆ

เผือก : ครับ


ถาม : เราสังเกตอย่างไรว่าเค้าสนุก

เผือก : ก็ให้ความร่วมมือครับ ถ้าเราถามเขาก็ตอบ ครูก็เข้ามาร่วมด้วย มาช่วยดูแลน้องๆ


ถาม : แล้วที่วัดล่ะคะ อย่างที่วัดนี้เราให้ใครมาร่วมกิจกรรมในพื้นที่วัด

เผือก : ช่วงนั้นเป็นงานยกยอดฉัตร คนทั้งหมู่บ้านมาร่วมงานที่วัด เราไปขอใช้พื้นที่จัดบูธ

จัดเป็นกิจกรรมทอผ้า สาธิตการทอผ้า มีเด็กๆ สนใจเข้ามาดูกันครับ


ถาม : แล้วอย่างของที่วัดรูปแบบที่เราจัดโซน เราเอาข้อมูลอะไรไปให้เขาบ้าง

เผือก : อุปกรณ์ทอผ้า ลายผ้า ขั้นตอนการทอผ้า และผ้ากระเหรี่ยงที่ทอแล้วไปตั้งโชว์ครับ


ถาม : แล้วเราคิดว่าของเรามีความแตกต่างจากโซนแม่บ้านตรงไหน

เผือก : ของโซนแม่บ้านจะไม่ได้สาธิตครับ มีแต่ชุดที่มาตั้งโชว์ เป็นซุ้มเกี่ยวกับชุดกระเหรี่ยงครับ


ถาม : ใครเป็นคนออกแบบ ว่าจะต้องมีอย่างนั้นอย่างนี้ มีซุ้ม

เผือก : พี่เลี้ยงครับ


ถาม : แล้วพวกเรามีส่วนร่วมอะไรบ้าง

เผือก : พวกเราประกาศเชิญชวนคนเข้ามาชม แล้วก็มีคนทำหน้าที่นำเสนอ

เผือก : ผมก็เชิญชวนให้เขามาถ่ายรูป แล้วก็เก็บภาพวิดีโอ


ถาม : เขินไหมที่ต้องไปเชิญชวนคนให้เขาเข้ามา

เผือก : ไม่เขินครับ ส่วนมากจะเป็นผมกับภูรีภัทร (ดั้ม) ที่เชิญชวนคน


ถาม : ไม่เขินแล้วสนุกไหม

เผือก : สนุกครับ ที่มีคนเข้ามาดู เข้ามาถ่ายรูปในซุ้มเรา


ถาม : แล้วน้ำมนต์ล่ะ กิจกรรมที่วัดน้ำมนต์ทำหน้าที่อะไรคะวันนั้น

น้ำมนต์ : ทำหน้าที่เชิญชวนคนในหมู่บ้านเข้ามาทำกิจกรรมในซุ้มของเราค่ะ แล้วก็นำเสนอเกี่ยวกับผ้าทอลายกระเหรี่ยงค่ะ


ถาม : น้ำมนต์เป็นคนนำเสนอเหรอคะ

น้ำมนต์ : เราเวียนกันนำเสนอค่ะ


ถาม : เวียนคือทั้งทีมทั้ง 7 คนนี้ แล้วก็ช่วยกันนำเสนอใช่ไหม

น้ำมนต์ : ค่ะ


ถาม : อย่างนี้เราต้องซักซ้อมก่อนไหมว่าใครจะนำเสนอท่อนไหน

น้ำมนต์ : ก็จะมีแบ่งกันบ้างค่ะ


ถาม : อย่างของน้ำมนต์นำเสนอท่อนไหน นำเสนอในส่วนไหนข้อมูล

น้ำมนต์ : ลายผ้าทอกระเหรี่ยงค่ะ


ถาม : แล้วเป็นอย่างไรบ้างยากไหมไปพูด

น้ำมนต์ : ยากค่ะ เพราะจะเขินๆ


ถาม : ก่อนหน้านี้เคยพูดอย่างนี้ไหม เคยพูดกับคนในชุมชนแบบนี้ไหมคะ

น้ำมนต์ : ไม่เคยค่ะ


ถาม : แล้วเป็นอย่างไรบ้างอย่างที่วัดนี้มีปัญหาอะไรไหมติดขัดอะไรรึเปล่าที่วัด

น้ำมนต์ : ไม่ค่อยติดขัด เพราะว่าส่วนมากจะนั่งฟังกันค่ะ


ถาม : ผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง

น้ำมนต์ : คนให้ความสนใจดีค่ะ เข้ามาฟังเข้ามาถาม พวกเราพอใจกับการจัดกิจกรรมเพราะไม่เคยทำมาก่อน หนูไม่เคยพูดกับไมค์มาก่อน ก็ได้ทำได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆรอบนี้ได้จัดซุ้ม เราจัดกันเองทำกันเองแล้วก็เป็นการคุมเสียงกันเอง


ถาม : รวมเล่มโครงการหลังจากจบจากกิจกรรมนี้แล้ว

น้ำมนต์ : ค่ะ


ถาม : แล้วตอนรวมตัวกันทำรูปเล่มมีติดขัดไหม

น้ำมนต์ : บางคนมา บางคนก็ไม่มาค่ะ


ถาม : แล้วเราจัดการกับคนที่ไม่มาอย่างไร

น้ำมนต์ : เราก็ทำแทนไปค่ะ เราก็บอกเขาว่าได้ทำส่วนนี้แล้ว แล้วเขาต้องเตรียมส่วนไหนต่อ


ถาม : แล้วสุดท้ายเขาทำตามที่เราบอกไหม

น้ำมนต์ : ทำค่ะ


ถาม : ก็เสร็จเรียบร้อยส่งตามกำหนดไหมคะ

น้ำมนต์ : ค่ะ ตามกำหนดค่ะ แต่รูปเล่มนี้เกิดข้อผิดพลาดตรงที่ว่าโน้ตบุ๊คเสียค่ะ จึงทำให้ล่าช้านิดนึงค่ะ


ถาม : การทำรูปเล่มนี้ใครรับบทหนักสุดคะ น้ำมนต์หรือว่าใคร

น้ำมนต์ : จะคอยช่วยกันค่ะ


ถาม : แล้วชุมชนออมทรัพย์ไหนลองเล่ากิจกรรมวันนั้นให้ฟังหน่อยได้ไหมคืออะไร

น้ำมนต์ : วันนั้นกะทันหันมากเลย พี่เลี้ยงบอกว่าผู้นำในชุมชนอยู่เยอะเลยจึงนัดกันมา บางคนมา บางคนก็ไม่มาค่ะ เรารวมตัวกัน 4-5 คน ไปบอกเล่าเกี่ยวกับความสำคัญของชุดกระเหรี่ยงค่ะ


ถาม : ตอนนั้นก็เหมือนหนูบอกว่ามันกะทันหันใช่ไหมคะ แล้วเรามีติดขัด เจอปัญหาอะไรเพราะว่าเราไม่ได้ตั้งตัว

น้ำมนต์ : มีติดขัดบ้างค่ะ บางคนอยู่ฟังบางคนก็ไม่อยู่ฟัง พูดติดขัดๆ กันบ้างค่ะ


ถาม : แต่ก็สำเร็จลุล่วงใช่ไหม

น้ำมนต์ : ใช่ค่ะ สำเร็จลุล่วงค่ะ


ถาม : อันนั้นเป็นชาวบ้านในชุมชน

น้ำมนต์ : ชาวบ้านในชุมชนค่ะ


ถาม : เป็นอย่างไรบ้างผลตอบรับ

น้ำมนต์ : ผลตอบรับมีคนฝากมาบอกว่า คนรุ่นหลังจะได้รู้จักชุดกระเหรี่ยงมากขึ้น


ถาม : เขาก็เริ่มเห็นด้วยใช่ไหม

น้ำมนต์ : ค่ะ


ถาม : ความรู้สึกของคนในชุมชนต่อชุดกะเหรี่ยงเปลี่ยนแปลงไปไหม

น้ำมนต์ : เขาน่าจะเห็นความสำคัญชุดกระเหรียงมากยิ่งขึ้นค่ะ ชุดแฟชั่นในปัจจุบันราคาไม่แพง และหาซื้อได้ง่าย แต่การที่เราบอกเล่าความเป็นมาของชุดกะเหรี่ยงให้คนรู้ จะทำให้เขาเห็นความสำคัญของชุดกะเหรี่ยงมากขึ้น


ถาม : ถ้าสมุมติเป็นไปได้น้ำมนต์คิดว่าอยากหน่วยงานไหนอยากให้ใครเข้ามาช่วยโครงการเราบ้างไหม

น้ำมนต์ :จริงๆ อยากให้คนในชุมชนมากกว่าค่ะ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่าเขาจะตระหนักมากน้อยแค่ไหน ถ้าเราใจตั้งมั่นที่จะอนุรักษ์ เราจะทำต่อไป เขาก็จะเห็นเราทำจริงๆ เราตระหนักจริงๆ เขาจะได้ตระหนักตาม


ถาม : ตอนที่เราทำข้อมูลอย่างเช่นเราลงไปหาผู้รู้ เราใช้ชุดเครื่องมืออะไรไหม อย่างเช่นแผนที่ชุมชน Time line

น้ำมนต์ : ทำค่ะ เพราะตอนแรกเราก็ไม่รู้เหมือนกัน ว่าคนในชุมชนคิดอย่างไรบ้าง เลยได้ทำแผนที่ชุมชนขึ้นมาค่ะ ตอนทำมีผู้รู้ที่เป็นผู้สูงอายุ มาเล่าประวัติความเป็นมาของชุมชนให้ฟัง แล้วก็ได้นำแผนที่ไปใช้ประโยชน์จริงค่ะ เอาไปโชว์ให้คนรุ่นหลังเห็นว่าพื้นที่ชุมชนของเรามีสิ่งที่น่าสนใจ ปัจจุบันเด็กๆ มัวเล่นโทรศัพท์กัน เขาก็เลยไม่ค่อยรู้กันค่ะ


ถาม : โครงการนี้จุดประกายความคิดความรู้สึกอะไรในตัวน้ำมนต์บ้างไหมในเรื่องผ้าทอนี้

น้ำมนต์ : จุดประกาย คือ ผ้าทอกระเหรี่ยงทอยากนะ ทำไมคนไม่ใส่กัน ทำไมบางคนไม่ให้ความสำคัญกับมัน

เรามีความตระหนักมากขึ้นและจุดประกายว่าชุดกระเหรี่ยงของเรา มันก็สวยนะ ทำไมเราไม่ทำให้มันทันสมัยละ


ถาม : อย่างน้ำมนต์ทอผ้าอยู่แล้วไหมคะ

น้ำมนต์ : ทอผ้าของกระเหรี่ยงไม่เป็น แต่ว่าทอผ้าใหญ่ๆ ได้ค่ะ


ถาม : เคยมีความคิดไหมว่า เราอยากทอผ้ากระเหรี่ยง

น้ำมนต์ : หนูมีความคิดอยู่เหมือนกัน อยากหัดทอผ้ากะเหรี่ยง หนูทอผ้าผืนใหญ่ๆ ได้ ทอผ้ากะเหรี่ยงยากกว่า แต่ถ้าเราตั้งใจทอ จนชำนาญก็น่าจะง่าย ถ้าทอออกมาได้มันสวยมากเลย


ถาม : เราคิดว่าทำโครงการมาเราได้รับความรู้อะไรใหม่ๆ บางไหม

น้ำมนต์ : ได้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของชุดกระเหรี่ยง การแต่งกายในแต่ละวัย เช่น วัยรุ่นแต่งตัวอย่างไร แต่งงานแล้วแต่งตัวอย่างไร แล้วคนยังไม่แต่งงานแต่งตัวอย่างไร และลายผ้าทอกระเหรียงค่ะ


ถาม : ก่อนหน้าที่น้องน้ำมนต์จะทำโครงการน้องน้ำมนต์มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ลองให้น้ำมนต์ให้เป็นคะแนน น้องน้ำมนต์จะให้กี่คะแนนเต็ม 10

น้ำมนต์ : ชุดกระเหรียงหนูไม่รู้เลยว่า มันมีลายในอดีตด้วยนะ มีความหมายด้วย หนูแทบจะไม่รู้เลยค่ะ

หนูให้ 3 ค่ะ


ถาม : แล้วทำโครงการแล้ว ณ ปัจจุบันให้กี่คะแนน เต็ม 10

น้ำมนต์ : ให้ 9 - 10 เลยค่ะ


ถาม : ให้ 9 - 10 เลยเหรอ เพราะอะไรถึงให้เยอะขนาดนี้

น้ำมนต์ : เพราะว่าหนูทำโครงการมา ผู้รู้บอกเป็นขั้นๆ เลยว่าชุดกระเหรี่ยงเริ่มต้นมาจากอะไร มีความสำคัญอย่างไรตั้งแต่เราเกิดมาจนถึงแก่


ถาม : แล้วเราค้นพบความสามารถอะไรกับตัวเองบ้าง จากการทำโครงการนี้

น้ำมนต์ : ปกติไม่ค่อยพูด พอได้ทำโครงการนี้ ก็ชอบถาม ชอบสงสัยว่าทำไมมันเป็นแบบนี้ แล้วก็ชอบทำกิจกรรมมากขึ้นค่ะ


ถาม : ปกติเราเป็นเด็กกิจกรรมมั้ย

น้ำมนต์ : ไม่ค่ะ ปกติไม่ทำอะไรเลย


ถาม : จะอยู่บ้านเฉยๆ ใช่มั้ย

น้ำมนต์ : ค่ะ จะอยู่แต่บ้านค่ะ


ถาม : อะไรที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราชอบทำกิจกรรมมากขึ้น

น้ำมนต์ : เป็นเพราะได้เจอเพื่อน ได้แก้ไขปัญหา แล้วก็ได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทอผ้ามากขึ้น ค่ะชอบ


ถาม : มีอะไรบ้างที่เรารู้สึกว่า เราทำได้ดีขึ้นกว่าเดิมหลังจากที่เราทำโครงการนี้แล้ว

น้ำมนต์ : การวางแผนก่อนทำงาน


ถาม : เมื่อกี้พูดว่าได้มีการเรียนรู้พัฒนาวางแผนใช่มั้ย มันเป็นอย่างไรนะที่เราพูด ขออีกรอบ

น้ำมนต์ : เรื่องการวางแผน จะได้รู้ว่าก่อนที่จะทำโครงการนี้ มันต้องมีการวางแผน ขั้นตอนการทำ กว่าจะออกมาเป็นงานชิ้นหนึ่ง ต้องใช้เวลานานกว่าจะสรุปออกมาได้ค่ะ


ถาม : แล้วเราได้เอาสิ่งที่เราได้พัฒนาหรือความรู้ใหม่ๆ าข้อมูลเกี่ยวกับผ้ากระเหรี่ยงไปใช้ในชีวิตประจำวัน อะไรของเราบ้างไหม

น้ำมนต์ : การเก็บรักษาชุดกระเหรี่ยง ปกติชุดอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้เหมือนแต่ตอนนี้หนูเก็บไว้ดีมากเลยค่ะ เพราะรู้ว่ามันทอยากมากก็ใช้เวลานานมากในการทอ เรารู้สึกว่าเราต้องรู้จักเก็บรักษา เพราะว่าต่อไปเด็กรุ่นหลัง จะทอได้หรือเปล่าก็ไม่รู้


ถาม : ถ้าให้น้ำมนต์พูดความรู้สึกของน้ำมนต์ที่มีต่อชุดกระเหรียงก่อนหน้านี้เรา รู้สึกอย่างไรกับมันคะ

น้ำมนต์ : ก็เฉยๆ ค่ะ ปีใหม่ที่บ้านจะทอให้ปีละชุดๆ เลยรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปที่เขาใส่ๆ กัน


ถาม : แต่พอมาทำโครงการนี้เป็นอย่างไรบ้างในความรู้สึกที่มีต่อชุด

น้ำมนต์ : ความรู้สึก ว่ามันมีความสำคัญนะ เราต้องเก็บมันไว้ให้ดีๆ


ถาม : โครงการนี้อยากที่จะสานต่อเรื่องนี้ต่อมั้ย

น้ำมนต์ : หนูก็อยากทำนะคะ แต่ช่วงนี้หนูไม่ค่อยมีเวลาค่ะ อยากให้เด็กรุ่นหลังทำกันมากกว่าค่ะ


ถาม : แล้วพอจบโครงการแล้วเราคิดว่าโครงการ เป็นไปตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ไหมคะ

น้ำมนต์ : จริงๆ หนูคิดว่าจะไปไม่รอดด้วยซ้ำเพราะโครงการนี้มันใหญ่มากเลย แต่พอจบโครงการปุ๊บ ก็เกินคาดค่ะ พวกเราได้ความรู้มาเยอะมากค่ะ


ถาม : ที่ว่าเกินคาดนี้ เกิดคาดในเรื่องไหนคะ

น้ำมนต์ : เกิดคาดในเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วก็การทำกิจกรรมร่วมกันในกลุ่มค่ะ


ถาม : ที่เราบอกเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นอะไร เป็นหนังสือ หรือเป็นอะไรคะ

น้ำมนต์ : เป็นหนังสือค่ะ อย่างแรกเก็บไว้ให้ชุมชนเลยค่ะ


ถาม : ในหนังสือนั้นมีอะไรบ้าง

น้ำมนต์ : มีตั้งแต่ความสำคัญ ความเป็นมาเป็นไปของชุมชนกระเหรี่ยงค่ะ แล้วก็เราทำไมถึงทำโครงการนี้ ความคาดหวัง ลายผ้าทอค่ะ ข้อมูลช่วงแต่ละวัยว่า เขาใส่อะไรกันและ ทำสรุปโครงการของเราค่ะ


ถาม : มีภาพถ่ายอะไรด้วยไหมคะ

น้ำมนต์ : มีภาพถ่ายด้วยค่ะ เยอะอยู่ค่ะ


ถาม : พี่อยากรู้ตรงที่เผือกบอกว่าไปอยู่ในไลน์กลุ่มของ ชุมชนใช่ไหม

เผือก : ครับ


ถาม : ในกลุ่มนั้น ปกติมีใครอยู่บ้างไหม

เผือก : จะมีพ่อหลวงกับ ผู้รู้อีก 2-3 ท่านครับ


ถาม : ปกติเค้าใช้ไลน์นั้นทำอะไร

เผือก : จะเป็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่จัดขึ้นในโรงเรียนและในวัดครับ


ถาม : เหมือนไลน์นี้สร้างขึ้นมาตอนเราทำโครงการนี้ ถูกไหม

เผือก : ครับ


ถาม : แล้วเราคิดว่าการที่เรามีไลน์แบบนี้ ไว้สื่อสารกับผู้ใหญ่ในกลุ่ม มันสะดวกหรือมันง่ายกับเราอย่างไรไหม

เผือก : สำหรับผมว่าไม่ค่อยสะดวกครับ เพราะว่าในไลน์ถ้าเราเปลี่ยนโทรศัพท์ข้อมูลมันก็หายครับ


ถาม : แล้วที่เล่าๆ กันมาเวลามาทำงาน เหมือนมากันไม่ค่อยครบใช่ไหม

เผือก : ครับ


ถาม : ปกติเรานัดกันติดตามงานกันอย่างไร

เผือก : ถ้าบางคนไม่ว่างก็ให้ส่งมาในแชทครับ


ถาม : แล้วเราทำงานกันมีปัญหาอะไรกันไหม

เผือก : ส่วนมากความคิดไม่ตรงกันครับ และตารางเรียนไม่ค่อยตรงกัน


ถาม : หลักๆ จะเป็นเรื่องของเวลา ไม่ตรงกันแล้ว ความคิดไม่ตรงกันเคยเกิดขึ้นบ้างไหม

เผือก : บางคนก็ถนัดไปอีกแบบครับ


ถาม : แล้วเราจัดการปัญหานั้นๆ ได้อย่างไร

เผือก : ก็จับฉลากครับ


ถาม : จับฉลากเอาแล้วพอจับฉลากแล้วมันทำออกมาได้ดีตามที่ตั้งใจมั้ย

เผือก : คือตอนจับฉลากเสร็จ ก็ถามว่าเต็มใจไหม ถ้าไม่เต็มใจก็ถามกันในกลุ่มของเยาวชนว่ามีใครจะสลับกันไหม ใครถนัดแบบไหนก็ทำแบบนั้นไป


ถาม : แล้วงานออกมาเป็นอย่างไรบ้าง

เผือก : งานออกมาก็พอใจครับ


ถาม : ตอนเราตัดต่อเราใช้โปรแกรมอะไรตัดต่อนะ

เผือก : จะเป็นคนอะไรสักอย่างจำไม่ได้แล้วครับ


ถาม : แล้วเราไปรู้จักมาได้อย่างไร

เผือก : เข้าไปหาในยูทูปครับ


ถาม : พวกเรามีพี่เลี้ยงทั้งหมดกี่คนคะ ที่ได้ยินมีพี่เกลือ แล้วป้าอะไรนะ

เผือก : ป้าเดือน


ถาม : แล้วมีใครอีกไหม

เผือก : น้าเอกครับ


ถาม : ป้าเดือนนี้เป็นใคร

เผือก : ป้าเดือนเป็นแม่ของน้ำหนึ่ง


ถาม : เป็นแม่ของน้องธี

เผือก : ครับ ชื่อป้าเดือน


ถาม : แล้วน้าเอกเป็นใคร

เผือก : พ่อครับ ป้าเดือนก็เป็นแม่ดั้ม


ถาม : เขามีบทบาทช่วยอะไรพวกเราบ้างอะไรหลักแล้ว

เผือก : ช่วยเยอะครับ เตรียมอุปกรณ์ เรื่องงานเอกสาร


ถาม : ถ้าไม่ได้มาทำโครงการนี้ คือก่อนหน้านั้นที่ทำโครงการคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ กับผู้ใหญ่ในชุมชนกันขนาดไหน

เผือก : ก็นิดหน่อยครับ


ถาม : แล้วอย่างผู้รู้ที่เราไปสัมภาษณ์ เรารู้จักหน้าตาหรือว่าเรารู้จักเขามาก่อนไหม

เผือก : รู้จักจากญาติๆ นี้แหละครับ


ถาม : การที่เราได้รู้จักคนเฒ่าคนแก่มากขึ้นแบบนี้เรารู้สึกอย่างไรบ้าง

เผือก : รู้สึกดีใจครับ ที่ได้รู้จักคนแก่ที่รู้เกี่ยวกับความเป็นมา เกี่ยวกับชุดกระเหรี่ยงครับ


ถาม : น้ำมนต์ตอบพี่เมย์ไปว่ามีความเปลี่ยนในตัวเอง ชอบถามมากขึ้นหนูคิดว่ามีประโยชน์อย่างไรคะ

น้ำมนต์ : ตอนนี้หนูคิดว่าถ้าเราสงสัยอะไรแล้วถาม เราก็จะได้รู้ เพราะปกติถ้ามีคำถามหนูไม่ค่อยถาม จะเก็บไว้ แล้วก็จะไม่รู้อะไรเลย


ถาม : หนูพูดถึงการวางแผน มันดีอย่างไร

น้ำมนต์ :การวางแผนทำให้เราได้รู้ว่างานที่จะทำแต่ละชิ้นมีขั้นตอนอย่างไร ต้องทำอย่างไร ใช้อะไรบ้าง ต้องทำสิ่งไหนก่อนหลังและอะไรสำคัญกว่ากัน “


ถาม : คือมันทำให้เราทำงานได้เป็นขั้นตอน

น้ำมนต์ : ค่ะ เพราะว่ามันได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าค่ะ


ถาม : น้ำมนต์คะ ใครเป็นคนฝึกให้หนูได้วางแผนเป็นอย่างนี้

น้ำมนต์ : ตอนแรกน่าจะเป็นพี่เลี้ยง แล้วเราได้ดูจากหนังสือที่เขาทำโครงการมาก่อนหน้านี้ว่าเขาได้มีการวางแผนอย่างไรบ้าง


ถาม : หนังสือคือหนังสือถอดบทเรียนเหรอคะ หรือว่าหนังสืออะไร

น้ำมนต์ : หนังสือที่เป็นของพี่ๆ ที่เขาทำโครงการกันเสร็จแล้วค่ะ


ถาม : ของพี่ๆ ปีที่แล้วถูกมั้ย เล่มสีชมพูนั้นรึเปล่า

น้ำมนต์ : ค่ะ


ถาม : แล้วพี่เลี้ยงช่วยหนูอย่างไรบ้างคะ

น้ำมนต์ : ช่วยให้คำปรึกษาเรื่องการวางแผนถ้าเราข้ามขั้นตอนไปก็จะบอกเราค่ะ


ถาม : น้ำมนต์ที่หนูบอกว่าตอนแรกคิดว่าตอนทำโครงการไม่น่ารอดมาได้แต่ตอนนี้รอดมาได้ วิเคราะห์หน่อยว่าอะไรทำให้หนูรอดมาได้

น้ำมนต์ : หนูคิดว่าความสามัคคีกันในกลุ่มค่ะ แล้วก็พี่เลี้ยงก็ให้ความร่วมมือกันด้วยค่ะ


ถาม : ความสามัคคีหนูพอจะมีตัวอย่างไหม เพราะว่าตอนทำเราก็มากันไม่ค่อยครบ

น้ำมนต์ : เราไม่มาพร้อมกัน แต่เราจะระบุไว้เลยว่างานต้องเสร็จวันนี้นะ คนทำงานก็จะมีความร่วมมือกันมากขึ้นค่ะ ถ้าวันไหนใครไม่ว่าง วันถัดมาเขาก็จะทำในสิ่งที่เราระบุไว้ว่าต้องทำอะไรบ้าง แล้วทำส่วนนั้นให้เสร็จค่ะ


ถาม : อันนี้คือเป็นข้อตกลงของเรา ภายในทีมกันเลยใช่ไหม

น้ำมนต์ : ใช่ค่ะ เราระบุไว้ว่าอาทิตย์นี้เราต้องทำให้เสร็จนะ ไม่ว่างวันไหนก็บอกกัน


ถาม : ตอนนี้โครงการเสร็จแล้วหนูรู้สึกอย่างไรกับชุมชน หรือว่าความเป็นกระเหรี่ยงของตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง

น้ำมนต์ : รู้สึกว่าชุมชนของเราก็มีความสำคัญ มีที่มาที่ไปแล้วรู้สึกว่าชุดกระเหรี่ยงมีคุณค่า เราเป็นคนกระเหรี่ยงบางครั้งก็รู้สึกน้อยใจ แต่พอได้ทำโครงการนี้เลยรู้สึกว่า ชุดกระเหรี่ยงมีความสำคัญมาก แล้วก็มีตำนานแล้วก็มีความหมายด้วยค่ะ


ถาม : คำถามต่อไปหนูน่าจะตอบพี่เมย์ไปแล้ว แต่พี่อยากให้หนูช่วยสรุปอีกหน่อยได้ไหมเกี่ยวกับชุดกระเหรี่ย งอย่างเช่นชุดวัยรุ่นเป็นอย่างไร ยังไม่แต่งงานเป็นอย่างไร แต่งงานแล้วเป็นอย่างไร เอาชุดวัยรุ่นก่อนก็ได้ ว่าชุดวัยรุ่นเป็นอย่างไร

น้ำมนต์ : ชุดของคนที่ยังไม่เด็กงาน ผู้หญิงชุดขาวล้วนเลยค่ะ ผู้ชายมีเสื้อกะเหรี่ยงสั้นคล้ายเสื้อยืด ในอดีตมีสีแดง ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เสื้อจะมีการปักลูกเดือยและซิ่นกระโปรงค่ะ


ถาม : ชุดของแต่ละคนมันมีความหมายแฝงอยู่ในตัว กันบ้างไหมคะ

น้ำมนต์ : ชุดของแต่ละคนแล้วแต่จะใส่ เขาจะทำลายออกมาค่ะ


ถาม : ชุดที่ลูกเดือยของคนที่เคยแต่งงานแล้วเค้าจะเป็น เสื้อสั้นหรือว่าเสื้อยาว

น้ำมนต์ : เสื้อสั้น เหมือนผู้ชายเลยค่ะ เสื้อยืดปะลูกเดือยประดิษฐ์ลวดลายไปเลยค่ะ