นางเกศสุดา โตนิติ พี่เลี้ยงของกลุ่มเยาวชนหญ้าแพรกสาละวิน โครงการคืนกล้วยไม้สู่ป่า

                                                              



      ในฐานะพี่เลี้ยงโครงการนี้มีบทบาท “หนุนเสริม” กระบวน การทำงานของเด็กว่ามีเป้าหมายการทำงานอย่างไร และมีกระบวนการเคลื่อนงานอย่างไรในเบื้องต้น  ก่อนเริ่มทำโครงการนี้เราจะหนุนเสริมเรื่องการพัฒนาศักยภาพของเด็ก  ด้วยการเข้าไปค้นหาว่าเด็กแต่ละคนสนใจที่จะพัฒนาตนเองในด้านไหน  โดยใช้ “ประเด็น” เป็นตัวเครื่องมือ  เพราะเด็กแต่ละคนจะสนใจประเด็นไม่เหมือนกัน บางคนสนใจเรื่องสีจากธรรมชาติ  บางคนสนใจเรื่องพืชสมุนไพรในป่า  อีกคนสนใจเรื่องงานกล้วยไม้เพื่อดูแลป่า เพื่อไปดูแลคนในชุมชน  แม้แต่ละคนจะสนในประเด็นหลักต่างกัน แต่ทุกคนจะเรียนรู้ร่วมกันตลอดเวลา

 
       จริงๆ แล้วประเด็นทั้งหมดจะเชื่อมโยงกัน  เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชุมชน  ป่า และวิถีชีวิตของชุมชนชาวปกากะญอ เดิมทีก่อนที่จะทำงานกัน กลุ่มน้องๆ  ที่เป็นเยาวชนในพื้นที่ถือเป็นกำลังของชุมชน เพราะในชุมชนบนดอยคนที่รู้หนังสือมีน้อยมาก เพราะฉะนั้นเด็กกลุ่มนี้จึงเป็นกำลังทุกอย่างในชุมชน หลังจากหมดการสนับสนุนจากสหประชาชาติ แล้วเขาก็ยังอยากที่จะทำงานต่อพอจะมีหนทางอะไรไหม  เราเองตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าจะหาทางช่วยอย่างไร  แต่เราเห็นความสำคัญของเด็กที่อยากทำงานชุมชน  อยากช่วย ก็เลยมาคุยกัน เบื้องต้นก็ส่งอีเมลให้เพื่อนๆ ว่ามีเด็กกลุ่มหนึ่งที่อยากทำงานในชุมชนเรื่องการศึกษาและสุขภาพ ก็ได้รับคำแนะนำจากหลายๆ ฝ่าย หนุนเสริมเรื่องกระบวนการทำงานให้เราเป็นพี่เลี้ยง และให้งบประมาณมาส่วนหนึ่งให้เด็กไปทำงาน ไปเรียนรู้ในที่ต่างๆ หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องของการทำเรื่องวิถีชีวิตชุมชนชาวปกากะญอ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลป่า การพัฒนาศักยภาพของเยาวชน คือหลักๆ ไม่ว่าจะทำเรื่องอะไรก็ตาม เราก็จะกลับมาในเรื่องของการพัฒนา “ศักยภาพคน” ซึ่งไม่ได้พัฒนาแค่ภายนอก แต่เราจะชวนคุยในสามด้านเรื่อง หลักของไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา

 
       แต่เบื้องต้นเวลาคุยกับเขาก็จะใช้คำว่า กิน อยู่ ดู ฟัง คิดเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา  คือเราเชื่อว่าที่ผ่านมาเราทำงานพัฒนาศักยภาพคน พัฒนาภายนอก หลายครั้งคนเก่งขึ้น สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผนจัดการอะไรได้หมดแต่ภายในมันยังไม่ได้ เขาเก่งขึ้นแค่ภายนอก ส่วนใหญ่เวลาทำอะไรเราจะกลับมาดูเรื่องภายในว่าสิ่งที่เราทำบางครั้งเราอาจ จะมีเรื่องอึดอัดขัดใจ ไม่พอใจเกิดขึ้น เราก็กลับมาดูว่าในใจเราเป็นอย่างไร ตอนนี้เราจะไม่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่า “ดี” แต่เราจะมองกลับมาดูที่ “ใจ” ของเรา ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเด็ก ตัวเราเองก็อยู่ในขั้นที่ต้องพัฒนาตัวเองเหมือนกัน พัฒนาไปพร้อมกับเด็ก

 
       จากโครงการนี้ผลที่ปรากฏชัดคือทักษะภายนอกเด็กๆ ดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องระบบคิด คือมีการวางแผนมากขึ้น ไม่ถึงกับดีแต่ก็มีระบบมากขึ้น สังเกตได้จากเดิมเวลาทำงานจะไม่มีการวางแผนอะไรเลย แต่ปัจจุบันเริ่มมีการวางแผนตั้งแต่ชวนคนมาคุยกัน มีวิธีการชักชวนคนมาอย่างไร ตั้งประเด็น เตรียมตัวมาว่าจะไปคุยอะไรกันบ้าง  ซึ่งเวลาทำงานในพื้นที่ส่วนใหญ่จริงๆ แล้ว น้องจะเป็นทีมหลักในการไปชวนคน เราจะเป็นตัวหนุนอีกที่หนึ่งแล้วเขาจะมีเรื่องการวางแผนมากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่เป็นระบบมากนัก คือถ้าวัดในแบบของเราก็อาจยังไม่เป็นระบบ แต่สำหรับน้องๆ ก็ถือว่าใช้ได้แล้วในแบบของเขา  เพราะบางทีเราต้องเข้าใจความเป็นท้องถิ่นด้วย ส่วนเรื่องภายในหลายคนจะย้อนกลับมามองตัวเองมากขึ้น เวลาเกิดความผิดพลาดอะไรก็จะไม่โทษ เพื่อนแต่จะกลับมาดูว่าเราทำอะไรไปบ้าง และสิ่งที่ทำเกิดผลอย่างไร คือชุมชนถึงจะอยู่ข้างในแต่ก็มีสิ่งภายนอกเข้าไปรบกวนเยอะ เริ่มมีการใช้สารเคมีในการเกษตร เพราะการทำไร่หมุนเวียนไม่ต้องใช้สารเคมี แล้วมันจะช่วยฟื้นฟูดิน ช่วยดุแลพื้นในไร่ หลังๆ มาจะเริ่มใช้สารเคมี และมีพืชเศรษฐกิจเข้าไป เช่น ข้าวโพด และมีการตัดไม้เพื่อส่งออกข้างนอก คือเดิมทีถ้าตัดสร้างบ้านก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพราะคนในชุมชนดุแลป่าอยู่แล้ว แต่พอเอาออกไปข้างนอกแล้วมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก็เริ่มมีผลกระทบของความ สมบูรณ์ของป่าไม้ในที่สุด

 
       ทั้งนี้การทำงานเรื่อง “ป่า” มันค่อยข้างยาก เราเลยใช้เรื่องกล้วยไม้ ซึ่งมีน้องคนหนึ่งสนใจเรื่องนี้อยู่แล้วจึงใช้กล้วยไม้เป็น “สื่อ” ที่จะทำงานดูแลป่า  เช่นที่ผ่านมามีการสำรวจพันธุ์ไม้ในหมู่บ้านว่าแต่ละป่ามีความสมบูรณ์อะไร บ้าง เช่น มีพืชอะไรบ้างที่เป็นพืชสมุนไพร หรือไม้อะไรที่เป็นไม้ใช้สอย พืชที่ใช้เป็นพืชอาหาร และไม้ที่ให้สีมีหรือไม่  ด้วยเหตุนี้งานจึงเน้นไปที่พืชอาหาร ยา ผ้า บ้าน  เริ่มต้นจากสำรวจข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แล้วนำมาจัดทำเป็นความรู้สู่ชุมชน จัดกิจกรรมคืนกล้วยไม้สู่ป่า ให้น้องๆ ได้เดินสำรวจเส้นทางประมาณสี่ร้อยเมตร ในระยะทางที่ไม่ไกลมาก แต่ค่อนข้างชัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าสูง

 
       ส่วนชุมชนแรกๆ ก็อาจจะมีคำถามมากมาย  เพราะเป็นเรื่องยากที่สื่อสารให้คนในชุมชนรับรู้ ด้วยข้อจำกัดเรื่องภาษา แม้แต่ตอนเราทำงานกับเด็กเรายังสื่อสารค่อนข้างยาก เพราะไม่ใช่แค่เรื่องคำพูด แต่มันเป็นเรื่องความเข้าใจ ทัศนคติ หมายถึงว่าเวลาเราจะไปเล่าอะไรให้เขาฟังสักอย่างหนึ่ง  มันจะยากนิดหนึ่ง หลายครั้งเราคิดว่าเราสื่อสารกับเขาเข้าใจ แต่เขาก็ยังไม่เข้าใจ  บางคนอายุ 26 – 27 ปีแล้วแต่ยังเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่เลย การอ่านออกเขียนได้จะช้ากว่าเรามาก

 
       “ปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยอยู่ในชุมชนกันแล้ว ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก  ในเรื่องการสืบทอดวิถีธรรมชาติ  พอมีความเชื่อใหม่ๆ เข้าไป  คนในชุมชนเริ่มไม่เห็นว่าวิถีธรรมชาติสำคัญหรือเชื่อมโยงกับชีวิตความเป็น อยู่อย่างไร คือเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ตั้งแต่การแต่งกาย การกิน การอยู่ เขาเชื่อว่าต้องออกไปทำงานข้างนอกถึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี เขาคิดว่าเงินสามารถสร้างความสุขได้  ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก  ยิ่งเด็กๆ หลายคนไม่ได้สนใจเรื่องทำไร่อะไรเท่าไหร่แล้ว จริงๆ ก็ไม่ใช่แค่ปลูกข้าว แต่เป็นพืชอาหารอีกหลายๆ ชนิดที่อยู่ในไร่ข้าวด้วยกัน  รวมทั้งความเชื่อ และคำสอนอีกมากมายที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตประจำวัน  เมื่อเด็กรุ่นใหม่ขาดความรู้เรื่องนี้ไป ทำให้มันขาดความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตที่จะกินเป็นอยู่เป็น “

 
       ถามว่าการทำโครงการนี้ประสบความสำเร็จไหม ถ้าเป็นน้องๆ กลุ่มนี้บอกได้ว่างานเราประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังถึงขั้นดี  เพราะต้องไปอีกไกล แต่สิ่งที่ได้ในตัวน้องๆ ก็คือเรื่องทัศนคติ วิธีคิด และความเข้าใจ คิดว่าน้องๆ เขากินเป็น อยู่เป็น คิดเป็น โดยที่เราไม่ได้บอกว่ารับอะไรจากภายนอกมาเลย  แต่ว่ารับมาแล้วเราต้องรู้เท่าทันกับมัน เช่น เทคโนโลยีไม่ได้ทำให้ตัวเองเดือดร้อน ชุมชนไม่เดือดร้อนหรือได้รับผลกระทบจากสิ่งเหล่านี้

 
       สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้คือ “เพื่อนและเครือข่าย”  เราอยากให้น้องๆ ได้ออกมาเจอเพื่อน มาเรียนรู้กับคนภายนอก มีเครือข่าย ให้เขาเห็นว่าไม่ใช่แค่เขาที่ทำงานด้านนี้ หรือไม่ใช่แค่เขาที่เผชิญปัญหาคนเดียว แต่ยังมีเพื่อนอีกมากที่ทำงานแบบเดียวกับเขา ส่วนเราก็ทำหน้าที่หนุนเสริมน้องๆ เดิมทีเราเป็นคนแข็งๆ แต่พอมีเรื่องของจิตนาการเข้ามาก็ทำให้เห็นภาพง่ายขึ้น แล้วเราสามารถใช้กระบวนการนี้กับเขา โดยไม่ต้องเขียนหรือคิดอะไรมาก แต่ลองจินตนาการภาพออกมา และกระบวนการที่ผ่านมาเราทำอะไรบ้าง มันจะมีขั้นตอนที่พาไป อาจต้องใช้เวลามากกว่านี้

 
       ส่วนแผนตอนนี้ที่วางไว้คือเน้นไปที่เรื่องพัฒนาเพื่อที่ให้เขากลับไปดูแลชุมชน ตอนนี้น้องๆ ตั้งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ชื่อ “กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน”  มีประเด็นหลัก 3 ด้านคือ  การผลิต ความมั่นคงทางอาหาร และการดูแลสุขภาพกายใจ ตอนนี้มีแกนนำอยู่สองสามกลุ่ม กลุ่มแรกเริ่มโตจบ ม.6 เข้ามหาวิทยาลัย เราก็เสริมเขาเรื่องการเรียนซึ่งพยายามให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา