โครงการคืนกล้วยไม้สู้ป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

                                              

                                         

 

            กลุ่มหญ้าแพรสาละวิน  เกิดจากการรวมตัวของนาสาวอัมภิกา บุญทวีสุขใจ  นายยุทธศักดิ์ หนุนพฤกษา  และนางสาวอำภา ธวัชวิฑูรย์  3 หนุ่มสาวจากตำบลแม่สามแลบ  อำเภอสบเมย  จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีใจรักสิ่งแวดล้อมจึงคิดทำ “โครงการคืนกล้วยไม้สู่ป่า”  ขึ้นเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ โดยดึงเด็กจากในหมู่บ้านมาทำโครงการจิตอาสาเพื่อป่าต้นน้ำและอนุรักษ์กล้วย ไม้ที่จะเสื่อมโทรมลงหรือสูญหายไป 


             น้องๆ บอกว่า ก่อนหน้านี้ก็ไม่เคยทำเรื่องกล้วยไม้มาก่อน แต่เมื่อมีโอกาศได้เดินสำรวจกล้วยไม้และเจอกลุ่มเป้าหมายที่มาทำงานเป็นจิต อาสาเดินสำรวจไปในแต่ละหมู่บ้าน จึงคิดดึงเยาวชนให้เข้ามาทำงานร่วมกัน ยิ่งไปสำรวจก็ยิ่งได้รู้จักกล้วยไม้เพิ่มขึ้นเกือบ 50 ชนิด นำมาเก็บรวบรวม ทำเป็นหนังสือให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ว่า กล้วยไม้ไม่ได้มีแค่ความสวยงามเท่านั้น แต่สามารถทำเป็นยารักษาโรคได้  กล้วยไม้แต่ละชนิดสามารถทำเป็นยาได้หมด แต่คนเราไม่เห็นคุณค่าของกล้วยไม้ คิดแต่จะเอาไปขายเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นโครงการที่พวกเราทำจึงไม่ใช่เพียงแค่เรียนรู้หรืออนุรักษ์กล้วยไม้ เท่านั้น แต่ยังมีการคืนกล้วยไม้สู่ป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำอีกด้วย


            ปัจจุบันกล้วยไม้มีน้อยลงมาก เพราะมีพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อ กอปรกับชาวบ้านไม่รู้วิธีดูแลรักษา  เมื่อมีพ่อค้ามาซื้อก็ไปตัดมาขายเพื่อนำเงินมาให้ลูกหลานซื้อขนม  ถ้าชาวบ้านขายแบบนี้ตลอด กล้วยไม้ในป่าก็จะลดลงเรื่อย เราจึงอยากมาทำโครงการนี้ เพราะก่อนหน้านี้ก็คิดอยู่แล้วว่าอยากจะทำอะไรให้กับสังคม แต่ละคนก็มาคิดกันว่าจะทำโครงการอะไร  เพื่อคนนี้ชอบเรื่องสมุนไพร คนนี้ชอบกล้วยไม้  ส่วนอีกคนหนึ่งชอบเรื่องสิ่งแวดล้อม พวกเราจึงรวมตัวทำโครงการนี้ขึ้น พร้อมกับคิดกิจกรรมกล้วยไม้คืนสู่ป่า โดยนำผู้รู้มาสอนเด็ก จัดกระบวนการให้กับน้องๆ  พร้อมกับชักชวนชาวบ้านมาเข้าร่วมโครงการ โดยให้ชาวบ้านใส่ชุดปกากะญอมา ผลคือชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก

­

            นอกจากนี้พวกเรายังจัดกิจกรรมให้ครอบครัวไปอยู่ ด้วยกันคือ พ่อแม่นำลูกๆ ไปปลูกต้นไม้ร่วมกัน เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลาน  ซึ่งการทำโครงการนี้ทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผน การแบ่งหน้าที่ตามความถนัด ยอมรับและรับฟังผู้อื่นมากขึ้น และมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น

­

            แกนนำ โครงการตอนแรกมี 20 กว่าคน แล้วลดลงมาเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้ที่ยังไม่ได้ทำเรื่องกล้วยไม้ ก็มีการวมกลุ่มกันของเยาวชนหลายรุ่น  เช่นรุ่นพวกเรามี 8 คน เราจะเริ่มจากคนไม่เก่งก่อน แล้วเราจะได้เห็นพัฒนาการของเขาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าเริ่มจากคนเก่งๆ เลยจะเกิดความขัดแย้งกัน คือเราอยากได้ทั้งคนไม่เก่งและคนเก่งไปพร้อมๆกัน


           การทำโครงการนี้มีปัญหาอุปสรรคเรื่องการสื่อสาร เพราะกลุ่มเยาวชนบางคนพูดภาษาไทยไม่ได้ หรือไม่ชัด เราก็ต้องหัดสื่อสารกันให้เข้าใจ ทำให้เราได้เรียนรู้ทั้งสองด้าน

­

           อย่างไรก็ตามในภาพรวมมองว่าปัญหาในป่ามีน้อยลง เนื่องจากเรานำความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ไปเล่าให้ชาวบ้านฟัง โดยเฉพาะเรื่องสารเคมีคิดว่ามีน้อยลง เราอยากให้ชาวบ้านอนุรักษ์ให้มากที่สุด อยากให้ป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นที่พักพิงให้กับชาวบ้านได้

­