ครูเพ็ญศรี ใจกล้า ที่ปรึกษากลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน "โครงการลดมลพิษ พลิกฟื้นชีวิตดิน" โรงเรียนเชียงยืนวัฒนาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

                                                              

                                                      

 

 

      “โครงการลดมลพิษ พลิกฟื้นชีวิตดิน”  เป็นโครงการที่เด็กจิตอาสาลงสู่พื้นที่เพื่อเชิญชวนชาวบ้านให้ลดการใช้สาร เคมีในดิน ส่วนบทบาทของครูจะเป็นกำลังใจให้เขาแสดงศักยภาพของเขาให้เต็มที่ คอยเป็นโค้ช สร้างแรงบันดาลใจ บางทีเขาไปทำงานแล้วท้อ เด็กจะมี ปัญหาเรื่องการประสานงาน หรือบางทีเวลาสืบค้นข้อมูลแล้วมีปัญหา เราก็คอยให้ความช่วยเหลือเรื่องการหาแหล่งสืบค้น  เพราะวัยนี้ยังไม่รู้เรื่องสารเคมี ต้องไปศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้เขาไปเรียนรู้เรื่องสารเคมีและเรื่องดิน  ในช่วงเก็บข้อมูลเขาก็ไปพบกับนักเกษตรและนักวิจัยชาวบ้าน ขอความอนุเคราะห์ตรวจเลือด เป็นต้น เมื่อได้ความรู้แล้วเขาก็นำความรู้และวิธีการต่างๆ มาบอกเพื่อนในกิจกรรมเพื่อนบอกเพื่อน

 

       นอกจากนำความรู้ที่ได้มาบอกเพื่อนแล้ว น้องๆ กลุ่มนี้ยังนำข้อมูลความรู้ที่ได้รับคืนสู่ชุมชนในรูปของกิจกรรม “คืนข้อมูล”  เพราะจากการลงพื้นที่ชุมชนพบว่า  จะให้ผู้ใหญ่เลิกใช้สารเคมีคงยาก เพราะถ้าไม่ทำแล้วชาวบ้านจะทำอะไร ถ้าเขาไม่ปลูกแตง เขาต้องลงไปทำงานที่ภาคใต้ ไปกรีดยาง ไม่ได้อยู่กับครอบครัว  จุดนี้ถ้าจะเปลี่ยนผู้ใหญ่ คงเปลี่ยนไม่ได้  การปลูกจิตสำนึกขึ้นมาให้เขารับรู้น่าจะดีกว่า จึงเกิด “กิจกรรมรักบ้านเกิด”  เนื่อง จากหมู่บ้านนี้มีสิ่งดีๆ เช่น กิจกรรมบุญเบิกฟ้าที่นี่ถือเป็นต้นกำเนิดเลยทีเดียว คือพอถึงเดือนสามเขาจะมีพิธีหาบปุ๋ยลงสู่นา จังหวัดมหาสารคามจึงนำงานบุญนี้มาเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดในชื่อว่าประเพณี บุญเบิกฟ้า  น้องๆ จึงจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา พร้อมกับอักษรธรรมของท้องถิ่นขึ้นมาให้เด็กได้รู้

 

       นอกจากนี้ที่หมู่บ้านยังมีของดีอีกอย่างก็คือ ค่ายมวย ซึ่งเจ้าของค่ายมวยที่เป็นครูก็ฝึกเด็กขึ้นมา เลยมีกิจกรรมนี้มาเสริมเพื่อดึงให้เด็กรักท้องถิ่น คิดว่าถ้าเด็กเกิดความรักแล้วเขาคงลดสิ่งที่ไม่ดีลงไป กิจกรรมนี้เด็กๆเขาประทับใจมากที่สุด เพราะเขาได้บริหารงาน ชวนน้องเครือข่ายมาช่วยกันทำงาน แล้วเขาได้พาน้องลงเก็บตัวอย่างดิน เอาดินมาตรวจ เด็กให้ใช้ความตระหนักว่าในหมู่บ้านตัวเองมีแปลงไหนที่ปลูกแคนตาลูบบ้าง อันนี้คือส่วนที่เขาประทับใจในกิจกรรมรักบ้านเกิด และสุดท้ายคือการนำข้อมูลที่สืบค้นมาได้ไปคืนชาวบ้านจากการที่เขาไปลง พื้นที่เกษตรพบว่าชาวบ้านไม่สนใจฟังข้อมูลเลยมีแต่คนแก่และเด็กเท่านั้น คนแก่ก็มารับเงินแล้วก็กลับ ทีมนี้ก็เลยบอกว่านี้คือปัญหาที่เราต้องแก้ไข เขาเลยมาปรึกษาว่าจะแสดงละคร จึงจัดการแสดงละครคืนข้อมูลเพื่อตัวดึงดูดความสนใจของชาวบ้าน  แล้วก็เปิดเวทีเสวนาโดยเชิญนายอำเภอมาร่วมด้วย แต่ได้ปลัดอาวุโสมาแทน เชิญอบต. และภาคส่วนต่างๆ มาร่วมเสวนาด้วย 

 

       “สิ่งที่เด็กได้คือการตัดสิน และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น รอนายอำเภอมาช้า เด็กก็วุ่นวาย ปกติกิจกรรมเกมจะเล่นหลังเปิดเวที พอเปิดเวทีเสวนาเด็กก็จะไปเล่นเกม พอนายอำเภอมาช้าเขาก็ตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบทันที  โดยให้เด็กไปเล่นเกมรอก่อน  มีเครือข่ายเข้ามาช่วย สิ่งที่ได้จากการลงเวทีนี้คือ มีผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่เป้าหมายมาร่วมด้วย  เป้าหมายคือให้เด็กมาเดินรณรงค์ แต่มีผู้ปกครองของเด็กมาร่วมด้วย อันนี้คือสิ่งที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น”

 

      เด็กๆ สนใจไหมเด็กๆ เขาก็รวมตัวกันมา ไม่ได้คิดว่าจะเป็นแบบนี้ เขาบอกว่าอาจารย์เซ็นให้หนูหน่อยจะส่งแล้ว  ครูยังไม่ได้ดูด้วยว่าเขาเขียนอย่างไรก็ส่งไปแล้ว  ผลปรากฏว่าโครงการผ่านก็เลยได้ไปพัฒนาการเขียนโครงการกับเด็ก เลยได้ระดมความคิดใหม่ว่า ที่ตัวเองทำมายังไม่ใช่ รู้สึกว่าตัวครูก็ได้ด้วย เพราะไม่รู้ว่าอันไหนคือโครงการที่ถูกต้องครูเลยรับการพัฒนาเต็มที่ ซึ่งมันแตกต่างจากโครงการอื่นๆ ที่เขาให้เงินประกวดแล้วก็ไปเลย จากเดิมคือไม่รู้เรื่องการเขียนที่มาที่ไปของโครงการ เด็กก็เขียนไม่เป็น  ครูเองก็ไม่แน่ใจแล้วถ่ายทอดไม่ได้ พอได้มาเรียนรู้ทำให้รู้จักการจับประเด็น หาสาเหตุผลกระทบ ส่วนที่ช่วยได้มากที่สุดคือ Mymap เด็กก็จะเขียนได้เลย  เมื่อไปทดลองใช้ดู เด็กก็เขียนได้ ลองให้เขาจับประเด็น ให้เขาแก้ปัญหา จากปัญหาให้เขาหาสาเหตุ แล้วนำมาเขียนเป็นที่มาซึ่งมันจะเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ได้การสื่อสารและกระบวนการคิดที่เป็นทักษะ อันนี้คือได้พัฒนาตัวเองถือว่าเป็นโครงการทีมีคุณภาพมากแล้วตัวเด็กได้พัฒนา ขึ้นอย่างชัดเจน ต่อจากนี้จะทำอะไรต้องมากวางแผนก่อน วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย มีการนำกิจกรรมนี้ไปปรับใช้ในโรงเรียน อันนี้คือสิ่งที่เขาได้รับเต็มที่และช่วยเพิ่มศักยภาพของเขาด้วย

 

       สำหรับแกนนำกลุ่มก็รู้สึกว่าเขาวางแผน ไว้แล้วว่าจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง  ครูเลยแนะว่าขอให้เป็นจิตอาสา เก่งไม่เก่งไม่เป็นไร ขอให้เป็นจิตอาสา เพราะถ้าจิตอาสาเขาจะทำงานด้วยความสบายใจ ไม่ต้องวิตกกังวลอะไร หลังจากที่เราลงมารู้สึกว่าชาวบ้านใช้ถุงมือ เพราะตอนเราไปลงหาข้อมูล เขาให้ข้อมูลไม่จริง แล้วพอเราไปให้ข้อมูลเขาบอกว่าเขาใช้แล้ว แล้วเขาเริ่มสนใจว่าดินของเขามันอุดมสมบูรณ์ไหม เขาจะทำอย่างไร  เขาสานต่อกันไว้แล้ว ครูก็มีแผนสนับสนุนด้วยการสร้างหน่วยบูรณาการสิ่งแวดล้อมไว้ 9 รายวิชาบูรณาการกับโครงการนี้ การเรียนก็ไม่เสีย ได้เรียนรู้จากการทำโครงงาน ต่อไปจะได้ไม่มีปัญหา เด็กกลุ่มนี้เขาจะเป็นตัวช่วยของครูได้ดี และสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นได้ด้วย