ถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาเยาวชน สู่“ต่อกล้าให้เติบใหญ่” เฟสใหม่
ระดมความคิด “Model กระบวนการพัฒนาเยาวชนไอที”

    

 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา มูลนิธิสยามกัมมาจล ได้จัดเวทีถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาเยาวชนโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ณ ห้องอัปศรา 2 โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดพื้นที่ให้เกิดการ Feedback “Model กระบวนการพัฒนาเยาวชน” ของโครงการใน 3 ปีที่ผ่านมา และระดมความคิดเพื่อให้ได้ไอเดียใหม่ๆ สำหรับ “Model กระบวนการพัฒนาเยาวชน”

­

คุณเจษฏา จงสุขวรากุล รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและสนับสนุนการวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติกล่าวเปิดเวทีในครั้งนี้ว่า “...สองวันนี้ ระดมสมองเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีส่วนไหนบ้างที่จะปรับปรุงในโครงการนี้ เฟสแรกสามปีที่กำลังจะเสร็จสิ้นในปีนี้และเฟสต่อไปสามปีข้างหน้าที่กำลังจะเกิดขึ้น ทำอย่างไรเราจะสเกลอัพตัวโครงการนอกจากพัฒนางานให้ถึงผู้ใช้งานแล้วผลงานจะไปสู่ผู้ใช้จริงได้เป็นบรรยากาศสบายๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน...”

­

จากนั้น ดร.กว้าน สีตะธนี ที่ปรึกษา CPMO สวทช. ได้กล่าวความเป็นมาโครงการและเวทีในครั้งนี้ว่า “...3 ปีที่ผ่านมาของโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ทางมูลนิธิสยามกัมมาจลเข้ามาสนับสนุน ไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องของเงินทุน แต่ได้สนับสนุนเรื่ององค์ความรู้ต่างๆ เข้ามาเสริมกับโครงการเด็กที่เข้ามา เดิมทีเด็กๆ เขายังไม่รู้เรื่องอะไรเลยหลังจากผ่านโครงการเด็กได้เสริมสิ่งที่ไม่ได้รับเลยตั้งแต่เรียน ในเรื่องของธุรกิจ ด้านแมเนจเม้นท์คิดว่าการเสริมด้านต่างๆ เป็นสิ่งที่ดีสำหรับเด็กพอผ่านมา 3 ปี ผมคิดว่าเป็นการดีที่ทางมูลนิธิฯ เริ่มจัดเวทีในวันนี้ขึ้นมา เพื่อให้เรามาทบทวนกันดีไหม ปรับรูปแบบ หรือปรับเปลี่ยนอะไรบ้างใหม่ ทำให้สิ่งที่เราทำมาดีแล้วให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม...เชื่อว่าพวกเราทุกคนที่เคยคลุกคลีกับโครงการนี้มาด้วยดีตลอด เห็นเด็กๆ แล้วเราก็รู้สึกสนุกด้วย เรามีความรู้สึกอย่างน้อยเป็นส่วนหนึ่งกับเด็กๆ เขาเติบโตขึ้นมาท่ามกลางสิ่งที่เราช่วยกันสนับสนุนเนี่ย ผมคิดว่าเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราทุกคน ผมคิดว่าพวกเราก็เป็นส่วนหนึ่ง หลังจากที่ช่วยกันมาก็อยากให้ช่วยกันหนุนเสริม ความคิดของหลายๆ คนก็มีคุณค่ามีประโยชน์ทุกท่าน ผมเห็นความสำเร็จของน้องๆ ก็ยินดีว่าประเทศไทยก็จะสามารถจะก้าวขึ้นมาได้ เริ่มจากศักยภาพจากเยาวชนก่อขึ้นมา ผมเชื่อว่านี่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศของเราได้"

­

­

ในเวทีครั้งนี้ได้มีนายนันทิพัฒน์(ปาล์ม) นาคทอง เยาวชนแกนนำจากโครงการวิชั่นเนียร์ (VISIONEAR)นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มาร่วมแชร์ประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมโครงการ “...สิ่งที่ได้จากโครงการ ได้คอนเนกชั่น ได้รู้จักกับพี่ๆ ในโครงการสตาร์อัพ โครงการนี้ผมคิดว่าที่สำคัญทำให้เด็กมีเดทไลน์ ถ้าไม่มีเดทไลน์จะไม่มีอะไรเสร็จ เฉพาะกับเด็กโดยเฉพาะรุ่นน้องมัธยม ที่มีภารกิจหลายอย่าง ถ้าไม่มีอะไรมากระตุ้นให้เขาทำ เป็นการฝึกเขาด้วย และผมคิดว่าจุดตั้ง Goal ดีแล้ว ที่ให้เด็กได้เข้าใจบิซิเนสโมเดล และเซอร์เวย์มาร์เก็ตไปถึงสามารถผลิตผลงานนำไปใช้งานได้จริง ก็เกิดความสำเร็จแล้ว เป็นจุดเด่นของโครงการนี้...”


                   

­

นอกจากนี้ ในเวทียังมีกิจกรรมให้ร่วมกันแชร์เช่นการแบ่งกลุ่มฟีคแบคโครงการ 3 ปี ที่ผ่านมา ว่ามีข้อดีและสิ่งที่ควรพัฒนาอะไรบ้าง หลังจากมีการระดมความคิดแล้วได้ข้อสรุปสิ่งที่ต้องการพัฒนาโครงการในเฟสต่อไปมีทั้งหมด 5 เรื่องคือ1.เป้าหมาย/ภาพลักษณ์ 2.หลักสูตร 3.ระบบคัดเลือก 4.ระบบบริหารโครงการ5.ระบบส่งต่อเด็กและผลงาน

สำหรับเวทีในครั้งนี้การระดมความคิดเห็นของทุกฝ่ายจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ในปี 4 ในเฟสต่อไปที่จะทวีความเข้มข้นโดยมี “Model กระบวนการพัฒนาเยาวชนไอที” เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการต่อไป.


คลิกชมกิจกรรมขับเคลื่อนเวทีได้ที่ : เวทีถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาเยาวชนโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่

­