บนฐานของสถานการณ์ในพื้นที่ผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดระนอง โดย "นางสาวณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ ผู้ประสานงานสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดระนอง "
นางสาวณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ ผู้ประสานงานสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดระนอง

                                                         

 

      บนฐานของสถานการณ์ในพื้นที่ผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดระนอง แม้เหตุการณ์จะผ่านมาหลายปี แต่คนในชุมชนยังคงจดจำภาพพิบัติภัยได้ติดตา  สำหรับ เรื่องความช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดระนองพบว่า ชุมชนมีบทเรียนชุดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการรับความช่วยเหลือจากองค์กรหน่วย งานต่างๆ ที่ลงไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้มีการวิเคราะห์ฐานข้อมูลของชุมชนหรือความต้องการของคนในชุมชนเลย ส่งผลให้การช่วยเหลือในครั้งนั้นเหมือนน้ำที่เต็มแก้ว หรือล้นแก้วด้วยซ้ำ เพราะบางชุมชนที่มี “ต้นทุนด้านคน” เข้มแข็ง ก็สามารถนำความช่วยเหลือที่ไหลทะลักลงสู่พื้นที่พิบัติภัยไปขับเคลื่อน ต่อยอดต่อไปได้  แต่บางชุมชนที่การช่วยเหลือที่ไม่ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน การดำเนินงานก็จะหยุดชะงักไปในที่สุด  จึงพูดได้เต็มปากว่าจากพิบัติภัยสึนามิที่ผ่านมาแต่ละชุมชนล้วนมีบทเรียนเรื่องการรับความช่วยเหลือกันมาบ้างแล้ว

 

      ประสบภัยสึนามิ,จังหวัดระนอง,มูลนิธิสยามกัมมาจล,ชุมชน,ต้นทุนด้านคน,สู่ พื้นที่พิบัติภัย,ชุมชนบ้านกำพวน,กระบวนการเรียนรู้สำหรับ โครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิในพื้นที่จังหวัดระนองจะดำเนินการใน 3 พื้นที่คือ ชุมชน บ้านกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนองซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด  ต่อมาคือชุมชนบ้านทะเลนอก และชุมชนบ้านบางกล้วยนอก  เนื่องจากพบว่าทั้ง 3 ชุมชนนี้มีต้นทุนฐานข้อมูลชุมชนจากเหตุการณ์สึนามิค่อนข้างดี  และมีกลุ่มคนลุกขึ้นมาทำงานของชุมชนหลายกลุ่ม  เช่น กองทุนวันละบาท ซึ่งที่ผ่านมาการจัดการกองทุนยังไม่ค่อยเป็นระบบเท่าที่ควร  โครงการนี้จึงเข้าไปต่อยอดเรื่องกระบวนการเรียนรู้  ด้วยการเข้าไปเสริมเรื่องวิธีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ในเรื่องบัญชีสมาชิกกองทุน ทะเบียนเด็กกำพร้า เป็นต้น ซึ่งโครงการนี้จะช่วยปลูกจิตสำนึกการเป็นผู้ให้และผู้รับในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง