ปัจจุบันกำลังขับเคลื่อน "โครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ" ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล
นายสมพงษ์ หลีเคราะห์ ผู้ประสานงานสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูล

                                                                   


       ปัจจุบันกำลังขับเคลื่อน “โครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ”ภาย ใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น ด้วยการศึกษาข้อมูลสถานการณ์ทั่วไปของชุมชนหลังประสบภัยสึนามิว่าในช่วงที่ ผ่านมา ชุมชนได้มีการฟื้นฟูหลายๆ ด้าน เพราะในช่วงฟื้นฟูจะมีกลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และเอ็นจีโอหลายองค์กรเข้ามาให้ความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ต่างคนต่างรีบจัดการทั้งผู้ให้ความช่วยเหลือและผู้รับความช่วยเหลือ หลายเรื่องชุมชนต้องรีบตัดสินใจทันที โดยไม่มีฐานข้อมูลการพัฒนาชุมชนเลย  โครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยสึนามินี้จึงต้องการ ให้ชุมชนตัดสินใจจัดการชุมชนภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่  โดยตนและผู้ประสานงานท่านอื่นๆ จะลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ  ไปดูเรื่องราวดีๆ และถอดบทเรียนออกมามาใช้เป็นข้อมูลว่า แต่ละชุมชนต้องการขับเคลื่อนเรื่องอะไร ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้ชุมชนรู้จักจัดการตนเองภายใต้ “ฐานข้อมูลชุมชน” สิ่งที่คาดหวังจากโครงการนี้คือ เราต้องเห็นกลไกของชุมชนในการจัดการตัวเอง เพื่อนำไปสู่การคิดแก้ปัญหาชุมชนโดยคนในชุมชนเอง เพื่อให้คนในชุมชนอยู่ดี มีคุณภาพ และมีชีวิตที่ดีขึ้น

 

       จุดเด่นของโครงการนี้คือเราได้เข้าไปชักชวนคนในชุมชนให้มาสร้างกระบวนการ เรียนรู้ร่วมกันว่า ถ้าจะเริ่มต้นทำงานพัฒนาชุมชนควรเริ่มจากอะไร  โดยเราจะชักชวนให้เขาดูข้อมูลของชุมชนก่อน เพราะเราเชื่อว่า “ข้อมูล” คือปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนงาน  มีพี่เลี้ยงมาช่วยสอนวิธีเก็บและทำข้อมูล และข้อมูลนี้จะชี้ทิศทางที่นำไปสู่การตัดสินใจว่าชุมชนจะเริ่มต้นแก้ปัญหา จากตรงไหน หลังจากนั้นจึงเริ่มออกแบบวางแผนการทำงาน สิ่งเหล่านี้คือเครื่องมือหรือกระบวนการที่เรานำไปสร้างให้กับชุมชนเกิด “วิธีคิด”


       สำหรับ “ตัวหนุนเสริม” ในโครงการนี้จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ 1.กระบวนการ ที่มีพี่เลี้ยงไปชวนคิดว่าจะทำข้อมูลกระบวนการทำงานแบบไหน 2.การสนับสนุนงบประมาณเพื่อนนำไปใช้แก้ปัญหาจริงของชุมชน เป็นปัญหาที่เขาอยากทำ อยากแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลที่มีอยู่ใช้เป็นเครื่องมือนำไปสู่การแก้ปัญหา