รายงานวิชาการผลการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชนฯ ครั้งที่ 2
ตามที่มูลนิธิสยามกัมมาจลพร้อมด้วยภาคีเครือข่ายได้เห็นถึงความสำคัญของการเปิด “พื้นที่” และ “โอกาส” ให้เด็กและเยาวชนไทยได้แสดงความสามารถและพลังสร้างสรรค์ ตลอดจนการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพลังร่วมพัฒนาสังคมไทย โดยได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 1 ขึ้นเมื่อวันที่ 9 -11 ตุลาคม 2552 ณ ย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร และงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 – 8 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กรุงเทพฯ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 – 7 สิงหาคม 2554 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง มูลนิธิสยามกัมมาจล พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายจัด งานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2 “แบ่งปัน...เพื่อเปลี่ยนแปลง” ได้จัดประชุมถอดบทเรียนการจัดงานฯ พร้อมหารือแนวทางการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 3 ขึ้น โดย ดร.สมศรี ศิริขวัญชัย คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าทีมวิชาการการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชนฯ ได้นำเสนอรายงานผลการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2 พบว่า จากการดำเนินการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการเป็น “พื้นที่” และ “การเปิดโอกาส” ให้เด็กและเยาวชนไทย ได้แสดง ศักยภาพ “เชิงบวก” ของตนให้สังคมได้รับทราบ และจุดประกายให้สังคมได้ตระหนักว่า “เยาวชนเป็นกลุ่มคนที่มีพลังสร้างสรรค์”


ข้อค้นพบจากงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม พบด้วยว่า มหกรรมดังกล่าวยังถือเป็น พื้นที่ปฏิบัติการร่วมที่หลอมรวมองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน ให้เข้ามาร่วมกันกำหนดวิธีคิดและบูรณาการการเรียนรู้ในความหมายของพื้นที่ ปฏิบัติการทางสังคมร่วมกัน เพื่อสร้างพลังการทำงานแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม ทำให้เกิดแนวทางและรูปแบบเชิงบูรณาการที่นอกเหนือไปจากระบบโครงสร้างการทำ งานแบบเดิมที่มุ่งเน้นความสำเร็จเฉพาะองค์กร แต่ต้องมุ่งแนวทางการทำงานเชิงเครือข่ายที่มีระดับความสัมพันธ์ทั้งในเชิงประเด็นเดียวกัน (bonding network) และเครือข่ายข้ามประเด็น (bridging network)


นอกจากนี้ งานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ยังนับได้ว่าประสบความสำเร็จในแง่การเป็น เครื่อง มือสร้างการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน ตลอดจนภาคีจัดงาน ผ่านกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความรู้สึกเป็นเจ้าของของงาน ส่งผลถึงการออกแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลาย ทั้งนิทรรศการมีชีวิต การแสดง เวิร์คช็อป และวงเสวนา เพื่อตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้แก่เยาวชนมากที่สุด ในหลายกิจกรรมได้ใช้ “วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้” และ “การลงมือปฏิบัติจริง” (Learning by Doing) เป็นตัวสร้างการเรียนรู้อย่างเข้มข้นและเข้าถึง


“กล่าว โดยสรุป แม้ว่าการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิดหลักที่ว่า “แบ่งปัน... เพื่อเปลี่ยนแปลง” จะเป็นงานที่เน้นการสร้างและขยายพื้นที่การเรียนรู้ ตลอดจนเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความสามารถโดยได้ดำเนินการจัดงานใน ระยะเวลา 3 วัน หากแต่เป้าหมายและความสำเร็จที่เกิดขึ้น แท้จริงคงไม่ได้อยู่เพียงแค่การจัดงานในความหมายของการแสดง (Show) ในช่วง 3 วันเท่านั้น เพราะการขับเคลื่อนกิจกรรมในประเด็นต่างๆ ได้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และบางประเด็นได้ตกผลึกและขยายผลการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องสู่ประเด็นใหม่ๆ ดังนั้น การจัดงานมหกรรมฯ จึงน่าจะเป็นการจุดประกายความสนใจ (Sparking) ของสังคมและคนทั่วไปให้เห็นพลังของเด็กว่าไม่ใช่เรื่องเด็กๆ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างพื้นที่ทางโอกาสและเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ได้แสดงออกซึ่งความสามารถที่มีอยู่” ทีมวิชาการกล่าว


ทั้ง นี้ ภายในการประชุมถอดบทเรียนการจัดงานฯ และหารือแนวทางการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 3 ภาคีการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคมในประเด็นต่างๆ ยังได้ร่วมกันย้อนวิเคราะห์แนวทางและผลของการขับเคลื่อนมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคมทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา จากนั้นจึงร่วมกันสังเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งต่อไปผ่านกระบวนการ “การประเมินผลแบบเสริมพลัง” (Empowerment Evaluation: EE) โดยมีทีมวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒดำเนินการ จัดกระบวนการเสริมศักยภาพการทำงานและการเรียนรู้ ก่อนเปิดเวทีให้องค์กรภาคีแต่ละเครือข่ายประเด็นสะท้อนแนวทางและรูปแบบการทำ งานที่จะใช้ขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนของตนในระยะต่อไปเป็นการปิดท้าย


นางสาวนันทินี มาลานนท์ ผู้จัดการศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้แทนประเด็นพลังเยาวชนพลเมืองอาสานำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานพัฒนา เยาวชนของกลุ่มโดยกล่าวว่า ทางกลุ่มมีแนวทางการขับเคลื่อนใน 2 แนวทางหลัก คือ 1.การยกระดับให้สังคมมีความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องจิตอาสามากขึ้น โดยไม่จำกัดเฉพาะเรื่องของการทำความดี แต่เชื่อมโยงไปถึงการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น และ 2.การผลักดันให้เกิดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างองค์กรเครือข่ายจิต อาสาเพื่อพัฒนาชุดเครื่องมือและองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาเยาวชน ขณะเดียวกันภาคีเครือข่ายจิตอาสายังเสนอให้มีคณะทำงานกลางซึ่งจะเป็นผู้เฝ้า ติดตามและกำหนดวาระสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับชาติ ตลอดทั้งให้มีคณะทำงานระดับภูมิภาคทำงานคู่ขนานกันไปอีกด้วย


 “ใน งานมหกรรมพลังเยาวชนฯ สิ่งที่ภาคีเห็นความสำคัญเหมือนๆ กันคือ เรื่องของการเรียนรู้ และเรื่องของกระบวนการเรียนรู้ จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ที่นี่ไม่เหมือนที่อื่นๆ ที่นี่เราทำงานพัฒนาเด็กและเยาวชนกันบนพื้นฐานของความรู้ เราไม่ได้แค่ให้โอกาสเยาวชนมาแสดง แต่เราชี้ให้เขาเห็นคุณค่าของสิ่งที่เขาทำด้วยว่ามันคืออะไร และสิ่งเหล่านี้มันคือการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงจากภายในมาสู่ภายนอก” ผู้แทนประเด็นพลังเยาวชนพลเมืองอาสากล่าว


นายเปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ ชมรมเยาวชนคนสร้างหนังแห่งประเทศไทย ผู้แทนประเด็นพลังเยาวชน คนไอซีที นำเสนอว่า ภาคีเครือข่ายประเด็นไอซีทีจะใช้แนวทางการจัดค่ายเยาวชนเพื่อเฟ้นหาเยาวชน ที่มีศักยภาพ และพัฒนาต่อยอดให้ขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญของเครือข่าย อาทิ การเป็นผู้นำกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนอื่นๆ ในเวลาเดียวกันจะจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายมหกรรมพลังเยาวชนฯ ให้สามารถนำเครื่องมือไอซีที เช่น หนังสั้น เป็นสื่อในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเด็นต่างๆ


นายสุรินทร์ วราชุน เจ้าหน้าที่อาวุโส องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ผู้แทนประเด็นพลังเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางกลุ่มมีเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้เกิดเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านสิ่งแวด ล้อมที่มีความเข้มแข็งกระจายตัวกันทำกิจกรรมอยู่ในชุมชนท้องถิ่นของตนเองใน ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และภายใน 3 ปีข้างหน้า เยาวชนกลุ่มนี้จะสามารถเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันได้เป็นเครือข่ายที่เข้ม แข็ง โดยระหว่างนี้ องค์กรภาคีด้านสิ่งแวดล้อมจะได้แสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เพิ่มเติม จากนั้นจึงร่วมกันวางแผนการทำงาน รวมถึงการจัดเวิร์คช็อปรับฟังความต้องการของเยาวชนเพื่อวางหลักสูตรการขับ เคลื่อนงานร่วมกันในอนาคต


ส่วน นายวิกรม เสือดี ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้แทนประเด็นพลังเยาวชน พลังท้องถิ่น นำเสนอว่า ทางกลุ่มจะกลับไปจัดเวทีสังเคราะห์องค์ความรู้ของเด็กและเยาวชนในชุมชนท้อง ถิ่นเพื่อนำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและหนุนเสริมการทำงานของ เยาวชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงนำผลที่ได้นั้นไปหารือร่วมกันในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนทำงานใน ระดับภูมิภาคก่อนสังเคราะห์เป็นแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานของมหกรรมพลัง เยาวชน พลังสังคม ประเด็นพลังเยาวชน พลังท้องถิ่น ครั้งต่อไป