สยามกัมมาจลฯ ผนึกกำลังภาคีเยาวชนทั่วประเทศ เตรียมจัด "พลังเยาวชน พลังสังคม"
เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคมที่ผ่านมา มูลนิธิสยามกัมมาจล เปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อถอดความรู้และประสบการณ์ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ร่วม กับภาคีเครือข่ายพูนพลังเยาวชนกว่า 20 ภาคีจากทั่วประเทศเข้าร่วมประชุม อาทิ สภาเยาวชน กลุ่มปลาดาว กลุ่มเยาวชน Youth for next step กลุ่มเอสคลับสยามดิสคัฟเวอรี่ มูลนิธิกระจกเงา เสถียรธรรมสถาน กลุ่มตะขบป่า เป็นต้น โดยมีผู้ร่วมงานประมาณ 200 คน ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดเวทีเสวนาครั้งนี้ว่า “มูลนิธิสยามกัมมาจล เล็งเห็นพลังสร้างสรรค์มากมายในตัวเยาวชนรุ่นใหม่ แต่ภาพของพวกเขามักถูกนำเสนอออกมาว่าเป็นเด็กมีปัญหา ความรู้สึกของคนในสังคมจึงถูกชักนำให้มองว่าเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งเป็นความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น มูลนิธิสยามกัมมาจลจึงอยากบอกกล่าวแก่สังคมว่าเยาวชนเป็นกลุ่มพลังสร้าง สรรค์ แต่ละคนมีความเก่งและมีพลังที่จะเอามาแบ่งปันกับสังคมไทยมากมาย เยาวชนหลายกลุ่มทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมของเขา แต่ไม่มีคนเห็น บางกลุ่มไม่มีเงินทุนสนับสนุน แต่ก็ยังเดินหน้าทำงานอย่างไม่ย่อท้อ ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นพลังที่สำคัญมากในสังคมไทย”
โดย ในงานประชุมครั้งนี้ จัดให้มีการถอดความรู้ และประสบการณ์ในการทำกิจกรรมดีๆ ของกลุ่มเยาวชน และคนทำงานพัฒนาเด็กและเยาวชน ใน 6 ประเด็น ได้แก่ 1) เยาวชนจิตอาสา, อาสาสมัคร, คุณธรรม จริยธรรม 2) วัฒนธรรม, ศิลปะ, ดนตรี, เยาวชนด้อยโอกาส, ชาติพันธุ์ 3) ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4) เศรษฐกิจพอเพียง, เยาวชนกล้าใหม่...ใฝ่รู้ 5) สื่อเพื่อการพัฒนา 6) สังคมชุมชน, สุขภาพ, กีฬา, สิ่งแวดล้อม, ทรัพยากร โดยจะนำเนื้อหาและข้อเสนอแนะจากเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าว มาสรุปผลเพื่อเตรียมจัดงานมหกรรมเยาวชน : เครือข่ายพูนพลังเยาวชนในเดือนตุลาคมนี้ต่อไป

ทั้ง นี้ ตัวแทนจากภาคีเครือข่ายเพื่อเด็กและเยาวชนมีความเห็นร่วมกันว่า การทำงานจิตอาสามีส่วนช่วยให้เยาวชนพัฒนาจิตใจของตนเอง ด้วยการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นซึ่งสามารถพิสูจน์ให้ครอบครัวและ สังคมเห็นคุณค่าและยอมรับในพลังและศักยภาพของเยาวชนได้เป็นอย่างดี
สรุปข้อเสนอแนะที่ได้รับจากเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นที่ 1 เยาวชนจิตอาสา อาสาสมัคร คุณธรรม จริยธรรม

เป้า หมายเน้นไปที่การต่อยอดแนวคิดจิตอาสา และพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำให้แก่เยาวชน ตลอดจนหันมาพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ด้วยการประสานความร่วมมือระหว่างเด็ก เยาวชน พี่เลี้ยงหรือผู้ประสานงานในพื้นที่ ครู โรงเรียน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ด้วยการให้ความรู้และทำความเข้าใจแนวทางการพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งถือเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืนมากกว่าการเข้าไปทำกิจกรรมเพียงครั้งคราว

ทั้ง นี้ สิ่งที่ต้องการนำเสนอในงานมหกรรมพลังเยาวชนเดือนตุลาคมนี้ คือ การประกวดภาพถ่ายตามแนวคิดจิตอาสาของแต่ละบุคคล เปิดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็น และให้เยาวชนได้ออกมาแสดงความสามารถ และจัดอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนภายในงาน เป็นต้น

ประเด็นที่ 2 วัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี เยาวชนด้อยโอกาส

สิ่งที่แต่ละเครือข่ายได้เรียนรู้จากการทำงานคือ การให้และมีโอกาสใช้ความสามารถ เพื่อเสริมศักยภาพด้านต่างๆ แก่สังคม โดยปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จในการทำงานเกิดขึ้นจากทั้งตัวผู้ทำงานเอง เครือข่ายในพื้นที่ และการประสานการทำงานที่มีความเข้าใจร่วมกัน

ประเด็นที่ 3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ไม่มีผู้ร่วมประเด็นนี้โดยตรงจึงพูดคุยในประเด็นอื่น)

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จ เรื่องการสร้างนักจิตอาสารุ่นใหม่ คือ การยอมรับความคิดที่แตกต่างหลากหลาย ความสามัคคี การมีมนุษยสัมพันธ์ ที่สำคัญคือต้องมีเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจน

ประเด็นที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง เยาวชนกล้าใหม่...ใฝ่รู้

ประเด็นการทำงานเน้นสร้างบรรยากาศการผูกมิตร และสร้างสายใยระหว่างจิตใจและธรรมชาติ โดยเริ่มจากการทำงานจิตอาสา ภายในโรงเรียนหรือรอบพื้นที่ชุมชนของตนเอง เช่น การบำบัดน้ำเสียในโรงเรียน ฯลฯ ทั้งนี้ การสร้างสังคมจิตอาสาต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในเรื่องคุณธรรม โดยสามารถนำหลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นแนวทางสร้างความเข้าใจให้เยาวชน

ประเด็นที่ 5 สื่อเพื่อการพัฒนาเด็ก

เน้นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม และสนับสนุนกลุ่มเครือข่ายเด็กและเยาวชน เพื่อทำสื่อ ที่สร้างทัศนเชิงบวกแก่สังคม เพื่อให้เกิดแนวทางพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ อันถ่ายทอดมาจากความคิดของเด็กและเยาวชนเอง ส่วนหนึ่งช่วยสร้างความเข้าใจและสำนึกที่ดีให้เกิดขึ้นแก่เด็กและเยาวชนที่ ทำกิจกรรม อีกส่วนหนึ่งช่วยเผยแพร่ข้อเท็จจริง ความคิดและความรู้สึกออกไปสู่สังคม เพื่อสร้างความเข้าใจในวงกว้างมากขึ้น

ประเด็นที่ 6 สังคม ชุมชน สุขภาพ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร

ความคิดหลักคือ นำเด็กกลับสู่ชุมชน เข้าถึง และเข้าใจระบบภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน สามารถนำความรู้จากในตำรามาปรับใช้ในชีวิตจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเอง แล้วถ่ายทอดมาสู่คนรอบข้าง สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการทำงานคือ การได้สัมผัสความยากลำบากทำให้มองเห็นความจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต