มูลนิธิสยามกัมมาจลเดินหน้าหนุนท้องถิ่นเสริมพลังอนาคตของชาติที่ จ.สงขลา

เมื่อวันที่ 29 -30 พฤษภาคม 2553 ที่ห้องประชุมสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคาไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้จัด ประชุมสร้างความชัดเจนแผนความร่วมมือการขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับตำบลภายในจังหวัดสงขลา ขึ้นโดยมีผู้บริหารและผู้แทนองค์กรปกครอส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายเข้าร่วมการประชุม ในโอกาสเดียวกันมูลนิธิสยามกัมมาจลยังได้จัดประชุมหารือร่วมกับตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ถึงแนวคิด การจัดงานมหกรรมพลังเยาวชนพลังสังคม ประจำปี 2553 ระดับพื้นที่ ณ จังหวัดสงขลา ทั้งนี้เพื่อเป็นกลไกหนุนเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น

เมื่อเริ่มการประชุมในวาระแรกได้มีการรายงานสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทยโดย นายทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข และหัวหน้าโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยกำลังประสบปัญหาต่างๆ อย่างรอบด้าน อาทิ ปัญหายาเสพติด ความรุนแรง เพศสัมพันธ์ รวมถึงปัญหการเข้าถึงสื่อที่ไม่เหมาะสม อาทิ คลิปลามกอนาจารทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ ทั้งนี้จึงมีความจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลในฐานะรัฐบาท้องถิ่นจะต้องแก้ปัญหาพร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เยาวชนได้เป็นทั้งคนเก่ง คนดี และมีความสุขสมดังที่สังคมคาดหวัง

จากนั้นจึงมีการเปิดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปัญหาและวิธีการทำงานเด็กและเยาวชนของแต่ละพื้นที่ เริ่มจาก อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภายใต้การบริหารงานของ นายสินธพ อินทรัตน์ นายก อบต.ท่าข้าม ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่มีการสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ สรส.เข้าหนุนเสริมการขับเคลื่อนฯ กระนั้นยังคงพบปัญหาเด็กและเยาวชนที่ไม่ต่างจากท้องที่อื่นนัก อาทิ ปัญหาเด็กตั้งครรภ์ในวัยเรียน และปัญหาลักเล็กขโมยน้อย อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่า เมื่อราว 1 ปีที่ผ่านมา อบต.ท่าข้ามได้มีกลไกสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลเข้ามาทำหน้าที่ประสานงานกลุ่มกิจกรรมเยาวชนต่างๆ ภายในชุมชนโดยมี อบต.ท่าข้ามให้การสนับสนุนแผนงานและงบประมาณ
มี นายกิตติศักดิ์ แก้วทอง หรือน้องเอ้ เยาวชนแกนนำกลุ่มรักษ์ถิ่นได้รับเลือกเป็นประธานสภาฯ ทำให้ผู้บริหารชุมชนสามารถมองเห็นภาพการทำงานด้านเด็กและเยาวชนชัดเจนขึ้น

ด้าน นายกิตติศักดิ์ แก้วทอง หรือน้องเอ้ ประธานสภาพเด็กและเยาวชนตำบล
ท่าข้าม
เล่าว่า ที่ผ่านมาสภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าข้ามได้แบ่งกิจกรรมออกหลายกลุ่ม
เช่น กิจกรรมเก็บขยะ กิจกรรมมโนราห์ภาคฤดูร้อน กิจกรรมป้องกันยาเสพติด และกิจกรรมวิทยุชุมชน ในด้านความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม เยาวชนอยู่ร่วมกันแบบพี่แบบน้อง และด้วยกิจกรรมสลายพฤติกรรมก่อนการทำงาน ทำให้ไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษาซึ่ง เป็นปัญหาของหลายพื้นที่ นอกจากนั้นเอ้ยังสอนน้องๆ ให้รู้จักการทำงานแบบจิตอาสาไม่หวังสิ่งตอบแทนเพราะจะเป็นหลักคิดที่ทำให้ น้องๆ ทำงานอยู่ได้นาน และปัจจุบัน เอ้ได้เริ่มกระบวนการส่งไม้ต่อให้รุ่นน้องที่มีแววความเป็นผู้นำได้เข้ามา รับช่วงกิจกรรมเยาวชนแล้ว

ถัดมาที่ เทศบาลตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ชัดเจนในการสนับสนุนเด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมดีๆ เพื่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยมี นายไพศิลย์ บังหมัด นายกเทศมนตรีตำบล

ชะแล้ เข้าสานต่องานพัฒนาเด็กและเยาวชนจากนายขุนทอง บุญประวิทย์ นายก อบต.ชะแล้คนก่อนหน้า ที่ผ่านมาเทศบาลตำบลชะแล้มีผลงานเด่นเป็นตำบลแห่งแรกของประเทศที่จัดทำรัฐธรรมนูญสุขภาพสำหรับประชาชน ซึ่งถูกนำมาเชื่อมโยงเข้ากับกรอบการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่

นายเจริญ รัตนสุวรรณ รองนายกเทศมนตรีตำบลชะแล้ ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ผ่านมาของเยาวชนตำบลชะแร้ให้ฟังว่า เช่น อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ อพม.น้อย โดยให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าอบรมวิธีการตรวจสุขภาพอย่างง่ายแก่เด็กๆ เพื่อให้เยาวชนนำไปบริการแก่ประชาชนในตำบลเดือนละครั้ง ตัวอย่างเช่น การวัดความดันโลหิต และการตรวจสุขภาพผู้พิการ อีกกิจกรรมคือ ธนาคารความดี ให้ปราชญ์ชาวบ้านถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาการใช้ชีวิตบนวิถีพอเพียง แก่เด็กๆ สอนให้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำยาล้างจาน สบู่ ยาสระผม ฯลฯ เพื่อลดรายจ่ายและขายสร้างรายได้ โดยมีคณะกรรมการตรวจเยี่ยมให้คะแนนเพื่อคัดเลือกเยาวชนรับทุนการศึกษา ส่วนแม่ของเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับการคัดเลือกเป็นแม่ดีเด่นในวันแม่ แห่งชาติ ส่วนกิจกรรมที่มีแนวคิดจะทำในไม่ช้าได้แก่ กิจกรรมค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง

เยาวชนชะแล้และเยาวชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมบรรณารักษ์น้อย ให้เยาวชนขี่จักรยานนำหนังสือไปให้เพื่อนๆ ในชุมชนอ่าน และ กิจกรรมลูกผู้ชายพันธุ์แท้ชะแล้ตัวจริง
นำน้องๆ ผู้ชายกลุ่มเสี่ยงใช้ทักษะด้านช่างไปซ่อมแซมบ้านเรือนของผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน

“ผม มองว่าหากเราหากิจกรรมให้เด็กและเยาวชนของเราได้ทำ มอบหมายหน้าที่ให้เขามีความรับผิดชอบ ยกตัวอย่างการปลูกผักที่บ้านหรือโรงเรียน เขาก็จะไม่มีเวลาไปทำอะไรที่ไม่ดี และยังจะเป็นคุณสมบัติที่ทำให้เขาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต” รองนายกเทศมนตรีชะแล้กล่าว

อย่าง ไรก็ตาม ปัญหาของเทศบาลตำบลชะแล้พบว่าในส่วนของกลไกสภาเด็กและเยาวชนตำบลชะแล้ พบว่า เวลานี้ได้มีกลไกสภาเด็กฯ มาแล้ว 2 รุ่นทว่าไม่มีระบบการส่งไม้ต่อระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องที่ดีพอ งานเด็กและเยาวชนของสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลชะแล้จึงเหมือนต้องเริ่มนับ หนึ่งใหม่ ปัจจุบันมี น้องน้อย สันดุษิต โชติโย ซึ่งเรียนอยู่ชั้น ม.ปลายทำหน้าที่ประธานสภาฯ

ถัดจากนั้น ในการประชุมแนวคิด การจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ประจำปี 2553 ระดับพื้นที่ ณ จังหวัดสงขลา เพื่อเชื่อมร้อยกับการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชนฯ ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ก่อนคัดสรรเยาวชนต้นแบบนำเสนอผลงานในงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ โดยมีมูลนิธิสยามกัมมาจลเป็นฝ่ายเลขานุการการจัดงานฯ ก็เป็นอีกเวทีที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางการหนุนเสริมการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลาอย่างเข้มข้น

­

เริ่มจาก นายสิทธิศักดิ์ ต้นมงคล ประธานมูลนิธิทักษิณคดีศึกษากล่าว ว่า ปัญหาที่พบคือภาคราชการยังขาดกลไกรับมือกับปัญหาที่มีประสิทธิภาพ บุคลากรไม่มีเครื่องมือแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนที่ทันสมัยทำให้แก้ปัญหาไม่ถูก จุด นอกจากนั้นสังคมเองยังควรเปิดใจเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนมาก ขึ้นโดยมองเชื่อมโยงถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจและ สังคม ขณะที่พ่อแม่ก็ควรเอาใจใส่ดูแลลูกหลานให้มากขึ้น ไม่ใช่มีแต่พูดว่ารัก แต่ไม่เอาใจใส่ดูแลเท่าที่ควร

­

ด้าน นายธีระนันท์ วงศ์หล่อ ประธานมูลนิธิคุ้มครองเด็ก จ.สงขลา และอดีตนายกสโมสรโรตารี่ จ.สงขลา กล่าวว่าตนอยากเห็นหน่วยงานภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการร้อยเครือข่ายคนทำ งานด้านดังกล่าวเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันยังทำงาน
ในลักษณะต่างคนต่างทำ

­

­

ส่วน นางพรเอื้อ เชื้อแหลม ที่ปรึกษานายก อบต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา แสดงความคิดเห็นว่า จากประสบการณ์ที่เคยเป็นครูมาก่อนมองว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนยังขาดพื้นที่แสดงความคิดเห็นและพลังสร้างสรรค์ จึงอยากเรียกร้องให้สังคมได้เปิดพื้นที่ดังกล่าวดังในกรณีของงานมหกรรมพลัง เยาวชนฯ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้แก่เด็กและเยาวชน และเป็นภูมิคุ้มกันขับดันให้เยาวชนทำสิ่งดีๆ และหลุดพ้นจากวงจรของความเสี่ยงได้ในที่สุด