​รวมพลเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 2 “เติมทักษะทำงานเป็นทีม-การสื่อสาร”
“เยาวชนพลเมืองศรีสะเกษเป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นด้วยความรู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์”

­

­

โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 2 ดำเนินงานโดยศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ (สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น) สนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมาย คือ “เยาวชนพลเมืองศรีสะเกษเป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานความรูู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์” ได้จัดเวที “สรุปและนำเสนอผลการดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ระยะที่ 1” ณ ห้องประชุมพิกุลทอง โรงแรมพรมพิมาน อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 28 -29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

­

­

เยาวชนทั้ง 16 โครงการ (จำนวนเยาวชน 16 โครงการ จำนวน 113 คน พี่เลี้ยงในพื้นที่ 24 คน) ได้เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ (สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น) จึงได้จัดเวทีนี้ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อ 1.เพื่อให้น้องๆ เยาวชน ได้สรุปและนำเสนอผลงานในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นช่วงที่น้องๆ ได้ลงไปเก็บข้อมูล 2.เพื่อเติมทักษะช่วยการทำโครงการของน้องๆ ในพื้นที่ในระยะที่ 2 (ช่วงปฏิบัติการ) ซึ่งมีความจำเป็นในการทำงานของน้องๆ เช่น การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร เป็นต้น นอกจากการนำเสนอผลงานโครงการของเยาวชนแล้ว ทางทีมพี่เลี้ยงศรีสะเกษ ยังได้ให้ “พี่เลี้ยง” ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการเยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในเวทีครั้งนี้ด้วย ตั้งแต่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในเวที ร่วมเป็นพี่เลี้ยงในกลุ่มย่อยเพื่อช่วย"ตั้งคำถาม" การเรียนรู้ให้กับเยาวชนของตน โดยนายประมวล ดวงนิล พี่เลี้ยงจากศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวเปิดเวที

­

­

ด้านนางสาวเบ็ญจมาภรณ์ แดนอินทร์ เจ้าหน้าที่ฐานข้อมูลโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ได้ไขข้อกระจ่างให้กับเยาวชนว่า "ทำไมต้องศึกษาข้อมูลก่อนทำโครงการ" “...จากกรอบคิดความเชื่อของโครงการคือ "การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการได้คิดเองลงมือทำเอง บนฐานความรู้ในพื้นที่จริงและชีวิตจริง เช่น อยากทำการเกษตรหรือเลี้ยงกบก็ต้องลงไปหาความรู้ในพื้นที่จริง จะให้เป็นตามกรอบได้นั้นต้องเริ่มจากการไปหาข้อมูล เพราะการหาข้อมูลเป็นการหาความรู้อย่างมีระบบและมีขั้นตอน เหมือนเป็นการทำวิจัยเล็กๆ ของเราในพื้นที่ ทำให้ความรู้ใหม่ในการทำโครงการหรือวางแผนในการทำงานในช่วงที่ 2 คำถามที่ช่วยให้เราหาข้อมูลได้ง่าย คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เพราะอะไร "คำถามเชิงลึก" แบบนี้ ที่เป็นเครื่องมือในการช่วยหาความรู้นั่นเอง

­


การหาความรู้จากภูมิปัญญาและความจริงที่พบทำให้ตนเองได้ค้นพบความเป็นพลเมืองดีของศรีสะเกษ จะทำให้เห็นว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สังคม ไม่ทำตนให้เดือนร้อนต่อผู้อื่น ไม่ก่อความกังวลใจให้กับใคร รู้จักปรับตนให้เข้ากับผู้อื่น ยอมรับความแตกต่าง และกลายเป็นพลังในการพัฒนาชุมชน ต้องผ่านกระบวนการค้นหาความรู้ และทดลองปฏิบัติการ คาดหวังว่าน้องๆ จะเกิดพลังในการเป็นพลเมืองของศรีสะเกษและเกิดคุณลักษณะพลเมืองที่ดีของศรีสะเกษและของประเทศต่อไปนั่นเอง”


­

เริ่มโจทย์แรก โจทย์ 5 ข้อที่ให้เยาวชนใช้ในการสรุปผลการทำโครงการ 1.แต่ละกลุ่มได้ทำอะไรไปบ้าง ทำอย่างไร มีใครเข้าร่วมบ้าง 2.แต่ละกลุ่มได้ "ข้อมูล" "ความรู้" อะไรบ้าง 3.กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากการทำกิจกรรมโครงการร่วมกัน 4.สิ่งที่กลุ่ม "ทำได้ดี" และ "ยังทำได้ไม่ดี" เพราะอะไร 5.การทำโครงการเกิดผลต่อ "ชุมชน" และ "ตนเอง" อย่างไรบ้าง

­


เกมส์เล่นตัวต่อมหาสนุก สะท้อนการทำงานเป็นทีมและการสื่อสารร่วมกัน โจทย์ให้ต่อตัวโลโก้ให้เหมือนต้นแบบทุกประการ ทีมละ 6 คน แบ่งออกเป็น 15 กลุ่ม

กติกา

คนเห็น เห็นต้นแบบนำข้อมูลมาบอกเบอร์ 2 ไม่สามารถมาบอกผู้ทำได้

คนบอก ไม่เห็นต้นแบบ นำข้อมูลมาจากเบอร์ 1 มาบอกคนทำ ห้ามช่วยลงมือทำ

คนสังเกตุการณ์ สามารถเข้าออก ดูได้ทุกเมื่อ แต่ห้ามพูด ห้ามทำ ทำได้เพียงพยักหน้า ส่ายหัว

คนทำ (เบอร์ 4-6) ประกอบตัวต่อให้ได้ตามต้นแบบ ได้รับคำสั่งจากเบอร์ 2

หลังจากเล่นเกมส์กันมาชั่วโมงเศษ ทีมพี่เลี้ยงได้ให้โจทย์ถอดบทเรียนจากการเล่นเลโก้ได้อะไรบ้าง?

­


สิ่งที่ได้เรียนรู้ สามัคคี ไว้ใจกัน จัดการกับความรู้สึก เช่น ทำไมบอกไปแล้วเพื่อนไม่เข้าใจกันฝึกการสื่อสาร และทักษะการจดจำแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าความอดทนความรับผิดชอบการวางแผน ฯลฯ

นำไปปรับใช้ในการทำโครงการอย่างไร ต้องรับมือกับอารมณ์ใจเย็น เพื่อนไม่เข้าใจต้องทำให้เพื่อนเห็นภาพจินตนาการแบ่งหน้าที่ได้ตรงกับความสามัคคีพูดคุยกันให้มากๆ การสื่อสารที่ทำให้คนอื่นเข้าใจการควบคุมอารมณ์ในการทำงานร่วมกันการสื่อสารที่ทำให้คนอื่นเข้าใจการควบคุมอารมณ์ในการทำงานร่วมกัน

การเล่นต่อเลโก้ ถูกพี่เลี้ยงนำมาเป็น "เครื่องมือ" ที่ทำให้เยาวชนเกิดความเข้าใจที่ละเอียดอ่อนและชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อเกมส์ที่ตนเองเล่นสะท้อนการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร ฯลฯ เพื่อเชื่อมโยงให้มาถึงการทำโครงการของเด็กๆ เป้าหมายเพื่อให้การทำงานในระยะที่ 2 เยาวชนเกิดความราบรื่นมากยิ่งขึ้น.

­


“ถ้าเราทำงานโครงการของเราให้บรรลุ เราต้องรู้เรื่องโครงการเท่าๆ กัน พูดกันได้ทุกคน ช่วยกันทำทุกคน งานจะเกิดความสำเร็จได้ จากตัวอย่างนกบิน การทำงานโครงการก็เปรียบเหมือนกับการบินของฝูงนก เวลาบินจะมีแบบแผนการบินและแบ่งบทบาทกันอย่างชัดเจน เพื่อให้การบินสำเร็จลุล่วง เช่นเดียวกับการทำโครงการของเราที่ต้องมีการแบ่งบทบาทกันให้ชัดเจน ระหว่างทำโครงการ สามารถเปลี่ยนบทบาทผู้นำ ผู้ตามได้”

ทำไมต้องทำงานเป็นทีม น้องๆ ร่วมสะท้อนการเรียนรู้ “...ทำคนเดียวไม่ได้ ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีความสามัคคีกันมากขึ้นช่วยเหลือกันในทีม ทำให้งานมีคุณภาพ บรรลุเป้าหมายได้ ช่วยพัฒนาตนเอง และพัฒนาทีม ได้เรียนรู้ร่วมกันบริหารจัดการทีมเรียนรู้เรื่องการเป็นผู้นำ ผู้ตามเรียนรู้ร่วมกันแบบมีส่วนร่วม ฯลฯ

หัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม คือ ต้องมีกันและกัน ต้องเข้าใจกันและกันต้องมีความจริงใจให้กันและกันต้องยอมรับบทบาทของกันและกันต้องมีน้ำใจให้กันและกันต้องให้อภัยกันและกันต้องมีเป้าหมายร่วมกันต้องร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคต้องมีความสัมพันธ์ร่วมกันต้องมีการเสริมสร้างให้กำลังใจกันและกันต้องมีแบบแผนการทำงานต้องเปลี่ยนบทบาท ผู้นำ ผู้ตามได้ต้องรู้จักกันฉันท์เพื่อน รู้จักกันเป็นอย่างดี นายรุ่งวิชิต คำงาม หัวหน้าโครงการร่วมเติมเต็ม

ช่วงค่ำ ชวนน้องๆ หลับตา ประสานมือกันเพื่อร่วมย้อนระลึกถึงการเริ่มต้นการทำโครงการ เจออุปสรรคอะไร ท้อใจหรือไม่ กิจกรรมอะไรที่ผ่านพบมา บรรยากาศ ทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมากับเพื่อน ในกลุ่มตนเอง เคยโกรธกันหรือไม่ วันนี้เปิดโอกาสให้พูดคุยกันเพื่อทำความรู้จักกัน ให้เล่าเรื่องอะไรก็ได้ ให้เพื่อนฟังคนละ 5 นาที เพื่อนในทีมห้ามถาม ให้ฟังอย่างตั้งใจ 

         วันที่สอง น้องๆ ทั้ง 16 โครงการได้นำเสนอผลการไปสืบค้นข้อมูลในชุมชน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการของตนเอง ได้อย่างน่าสนใจ รายละเอียดติดตามได้ที่นี่..

รายชื่อโครงการเยาวชน ได้แก่ 

ประเด็นด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมชุมชน 5 โครงการ

1. สมุนไพรไปร่ตาจูสร้างความรู้สู่ชุมชนกันทรอมใต้

2. Forest of Life สร้างพลังชีวิตอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชน

3. พืชสมุนไพรพิชิตกลิ่น

4. น้ำสมุนไพรในชุมชน

5. วัยใสวัยเก๋าร่วมเล่าสืบสานวิถีชีวิต

ประเด็นด้านสังคมวัฒนธรรม

1. เส้นสายลายไหมมัดหมี่มัดใจสานสายใยกอนกวยโซดละเว

2. สืบสานสะเนงสะเองกวย

3. ทวนเข็มนาฬิกาย้อนเวลาหาความหลัง

4. ปราสาทตาเล็งศูนย์รวมความศรัทธาของชุมชน

5. สะพานสายบุญ

6. อนุรักษ์สืบสานการละเล่นกันตรึมพื้นบ้าน

7. เรียนรู้การทอผ้าไหมของกลุ่มเยาวชนบ้านขี้นาค

8. ชวนน้องอ่านสานความรู้สู่มือน้อง

ประเด็นด้านสัมมาชีพชุมชน

1. สวนผักปลอดภัยเชื่อมสายใยความผูกพัน

2. กบสร้างพลังสามัคคีชีวีพอเพียง

3. เด็กแสนร่วมใจสร้างรายได้เสริมชีวิต