คเณศ เทพสุวรรณ
ครู
ประวัติและผลงาน

­

เรื่องเล่า PLC จากครูสู่ PBL นักเรียน ประตูลี้ลำพูน

จากการที่ข้าพเจ้านายคเณศ เทพสุวรรณ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ ได้เข้ารับฟัง การนำหลักการ PLC (Profession Learning Community) ได้รับความรู้และเกิดความคิด เกิดแรงการขับเคลื่อนในการนำกระบวนการดังกล่าวมาทดลองในโรงเรียน หลังจากวันนั้น ก็ได้เพียรพยายามที่จะสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารท่านอื่น ๆ ได้เกิดความตระหนัก และให้ความรู้กับคณะครูโดยการขยายผลให้กับคณะครู ในการประชุมคณะครูประจำเดือน และมีเอกสารเผยแพร่แจก เพื่อสร้างเครือข่ายกันในโรงเรียน จนทำให้คณะครูพูดกันติดปาก ว่า “PLC รองคเณศ”

­

การทำงานเพื่อให้เกิดการสร้างกระบวนการทำงานในรูปแบบของ PLCนั้น ข้าพเจ้าได้ลำดับขั้นตอนการทำงานครั้งนี้เป็น 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.ขั้นสร้างความตระหนัก

­

ขั้นตอนนี้ ข้าพเจ้าได้นำหลักการในกระบวนการดังกล่าวรายงานให้กับทางคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้รับทราบและเห็นขอบในการดำเนินการ ตลอดจนถึงการ อภิปรายให้ความรู้ เพื่อรับทราบความเป็นมา ความสำคัญและผลที่ตามมา ซึ่งก็ได้รับความเห็นขอบให้ดำเนินการได้

­

หลังจากนั้นได้ให้ความรู้กับคณะครู เพื่อพิจารณาและเกิดความต้องการที่จะนำหลักการนี้ไปขับเคลื่อนในแต่ละสายชั้นของตนเอง ซึ่งคณะครูก็เต็มใจที่จะทดลองทำกิจกรรมนี้ด้วยกัน

­

2.ขั้นสร้างองค์ความรู้

­

การทำงานขั้นนี้ข้าพเจ้าได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง และให้คณะครูร่วมกันทำ PLC ในแต่ละสายชั้นโดยเริ่มจากการมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทคนิคการสอนของตนเองที่ประสบผลสำเร็จ แล้วนำมาเล่าต่อให้กับเพื่อนครูฟังและสังเคราะห์เป็นกระบวนการ สร้างเนื้อหาที่ต้องการจะสอนโดยนำเทคนิคการสอนของเพื่อนครูในสายชั้น มาเป็นเทคนิคหลักในการสอน ในแต่ละสายชั้นและนำเสนอให้คณะครูในที่ประชุมรับทราบ

­

3.ขั้นการนำบทเรียนไปจัดการเรียนรู้

ขั้นนี้ เปิดโอกาสให้ครูในแต่ละสายชั้นนำกระบวนการเรียนรู้ที่ได้สร้างร่วมกันในสายขั้น จัดเป็นบทเรียนให้กับนักเรียนและทดลองสอน

­

คณะครูได้ดำเนินจัดทำแผนการสอนแต่ละชั้นเรียน โดยยึดหลัก PLC และได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ในแต่ละสายชั้น เป็นจำนวน 11 สายชั้น โดยมีหน่วยการเรียนดังต่อไปนี้

­

1.1 ชั้นอนุบาล 1 หน่วยการเรียนรู้ ศิลปะสร้างสมาธิ

­

1.2 ชั้นอนุบาล 2 หน่วยการเรียนรู้ หนูเป็นเด็กไทย

­

1.3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ มารยาทงามตามวัย

­

1.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ สรวลเสเฮฮา ภาษาพาสนุก

­

1.5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ ไอศกรีมหรรษา

­

1.6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ ต้นไม้ของฉัน

­

1.7 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ what is it ?

­

1.8 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ ค่ายวิชาการมหาสนุก

­

1.9 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ Acid Base in Everyday life

­

1.10 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ โรงเรียนสะอาดสวยด้วยมือเรา

­

1.11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ ORGAMI

­

4.ขั้นสรุปการเรียนรู้ ตามกระบวนการ PBL

­

ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้

ข้อ รายการ ระดับ

ความคิดเห็น


ระดับ

ความพึงพอใจ


1 สถานที่ในการจัดกิจกรรม 4.53 มากที่สุด
2 ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม 4.51 มากที่สุด
3 รูปแบบของการจัดกิจกรรม 4.53 มากที่สุด
4 นักเรียนได้รับความรู้ในการจัดกิจกรรม 4.42 มาก
5 นักเรียนสามารถที่จะความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.35 มาก
6 นักเรียนได้รับความสนุกสนาน 4.41 มาก
7 ต้องการให้โรงเรียนจัดอีกในครั้งต่อไป 4.84 มากที่สุด
รวม 4.51 มากที่สุด

ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะครูในการจัดการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้


ข้อ รายการ ระดับความคิดเห็น
ระดับความคิดเห็น ระดับความพึงพอใจ
1 การวางแผนการจัดการเรียนรู้ 4.55 มากที่สุด
2 แผนการเรียนรู้ในรายวิชาที่สอน 4.55 มากที่สุด
3 การดำเนินการสอนตามแผนการเรียนรู้ 4.63 มากที่สุด
4 จุดประสงค์การสอนชัดเจน 4.76 มากที่สุด
5 เนื้อหาและครอบคลุมจุดประสงค์ 4.68 มากที่สุด
6 เทคนิคเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน 4.71 มากที่สุด
7 มีการมอบหมายงานและแบบฝึกหัดในปริมาณเหมาะสม 4.63 มากที่สุด
8. การบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม 4.74 มากที่สุด
รวม 4.66 มากที่สุด

สิ่งที่ดีๆ ที่เกิดขึ้น ในการดำเนินการครั้งนี้ ได้เห็นภาพความสนใจและภาพการเปลี่ยนแปลงของครู ในการวางแผนการจัดการความรู้เพื่อสอนให้กับนักเรียน เกิดความร่วมมือ เกิดความตั้งใจ เกิดความสามัคคีในชั้นเรียนที่สอน และที่สำคัญนักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนมากขึ้น ได้ทำอะไรต่อมิอะไรด้วยตนเองมากยิ่งขึ้นสามารถที่จะบอกขั้นตอนการทำงาน มีการนำเสนอผลงาน เป็นกระบวนการ ขึ้นตอนมีบทเรียนที่แตกต่างจากในหนังสือ เป็นบทเรียนที่อยู่ในท้องถิ่นอยู่ในชีวิตประจำวัน และนักเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองไม่คิดว่า จะอยู่ในบทเรียนได้นักเรียนสนุกสนาน และมีความสนใจที่จะเรียนเป็นระยะเวลานานได้อย่างไม่รู้ลืม

อุปสรรคสำหรับการทำงาน อุปสรรคที่เกิดขึ้น ด้านของปัจจัยต่างๆ นั้นไม่มีเพราะเราได้สร้างความตระหนัก และภาวะพร้อมทำงาน ให้กับคณะครูในโรงเรียนอยู่แล้วและที่สำคัญ ครูพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงตนเอง แต่สิ่งที่น่าจะเป็นปัญหาและอุปสรรคในตอนนี้น่าจะเป็นความเชื่อถือในหลักการแบบ PLC นี้ เพราะต่างก็คิดว่า หลักการนี้จะนำพาให้นักเรียนประสบผลสำเร็จได้จริงหรือ?

ความต้องการในขณะนี้ ต้องการเสริมศักยภาพการสร้างกระบวนการให้กับคณะครู อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องอยากให้หลักแนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับ จากนักการศึกษาอื่น ๆ

และที่สำคัญอยากจะขอบคุณทางคณะผู้จัดงานที่ได้มาจุดประกายการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ อยากให้องค์กรนี้ เป็นองค์กรที่แข็งแรงและสามารถที่จะขับเคลื่อนไปสู่หน่วยงานที่บริหารจัดการศึกษาในภาครัฐเพื่อจะเป็นส่วนผลักดันไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศได้อย่างต่อเนื่องต่อไป 

­