นิรชา ชมภูวิเศษ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ สาขานฤมิตศิลป์ (UNC ปี 5)
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
ประวัติและผลงาน


ประเด็น : ปัญหาการใช้สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ชื่อผลงาน : เสพ มี สติ

หัวข้อ : การเสพสื่อออนไลน์อย่างมีสติ

แนวคิดการสื่อสาร : การใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

รูปแบบการผลิตสื่อ :Facebook page / Poster / Clip Vdo / infographic


(สัมภาษณ์)

นางสาวนิรชา ชมภูวิเศษ

นักศึกษาสาขานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


แนวทางการสร้างสรรค์สื่อ

เข้าร่วมโครงการการใช้สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพราะว่าเป็นความสนใจที่ตรงกับยุคปัจจุบัน ที่คนใช้Social Media ในชีวิตประจำวัน เป็นการใช้สื่อกับวัตถุนิยม เป็นโครงการที่ทำ เริ่มแรกพวกเราเราก็จะไปค้นหาข่าวหรือคนโพสต์รูปอวดลง Social Media แล้วเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดี เช่น คนอยากได้สิ่งของนั้นตามผู้โพสต์ ทำให้เกิดการสร้างค่านิยมทางวัตถุนิยมที่ผิดๆ เกิดความคิดที่ผิดๆ กับคนที่เสพสื่อใน Social Media ที่ดูแล้วไม่ทันได้คิด ลงไปสำรวจกว่า 20 คน ในมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่ารู้สึกอย่างไรกับการที่คนโพสต์อวดก็พบว่ามีทั้งคนที่รู้สึกอิจฉา คนที่รู้สึกอยากมีเหมือนเขา และบางคนก็รู้สึกเฉยๆ ทำให้เกิดเป็นแคมเปญเสพอย่างมีสติ ก็เหมือนกับสิ่งที่เราเห็นใน Social Media อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องจริงที่คนๆ นั้นโพสต์ อยากให้เรามีสติ มีความยับยั้งชั่งใจก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร

กลุ่มเป้าหมายของเราจะเป็นวัยรุ่น นิสิต นักศึกษา เพราะจะเป็นวัยที่เล่น Social Media บ่อยที่สุดและมีความอยากมี อยากได้ เห็นอะไรก็อยากได้ ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ แคมเปญของเรามีสื่อที่เป็นวิดีโอสั้นๆ สื่อสารเกี่ยวกับการให้คนดูแล้วได้ฉุกคิดว่าการที่เราโพสต์อวด แล้วจะมีผลอะไรตามมา อาจจะมีผลลัพธ์ที่ไม่ดีก็ได้ถ้าเราทำลงไป และมีกี่ลงรูปโปสเตอร์ต่างๆ ที่บอกไม่ให้คนหลงไปตามวัตถุนิยม เนื้อหาต่างๆที่เราลงไปใน Facebook ก็จะมีวิธีการใช้ชีวิตเพื่อไม่ให้หลงไปกับวัตถุนิยม จะทำเป็นรูปและมีเนื้อหา และมีเทคนิคต่างๆให้เราดูสื่ออย่างปลอดภัย

สิ่งที่เราทำอาจจะยังเปลี่ยนแปลงหรือห้ามใครไม่ให้โพสต์ได้ทั้งหมด แต่เราสามารถทำให้คนฉุกคิดได้ว่าจริงๆสิ่งที่โพสต์อาจจะไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด อาจจะเป็นในส่วนของการเตือนสติคน เราสร้าง Facebookpage แล้ว และลงข้อมูลไปเรื่อยๆ อย่างวิดีโอที่ลงไปใน Facebook ก็จะมีคนเข้ามาคอมเม้นต์ Facebook page ใน Facebook page ก็จะมีการลงข้อความต่างๆที่เกี่ยวกับโครงการ และให้เพื่อนๆช่วยแชร์กันออกไปให้เป็นที่รู้จักก่อน และมีเพื่อนต่างคณะมาคอมเม้นต์ว่าเป็นอย่างไร และแท็กหาเพื่อน

­

บทบาทหน้าที่ของตนในโครงการ

บทบาทหน้าที่ในการทำโปสเตอร์ที่เอาไปลงใน Facebook page ทำเป็นสื่ออินโฟกราฟฟิกให้เข้าใจง่ายๆ ไปโพสต์ลงใน Facebook page และมีหน้าที่เป็นแอดมินใน Facebook page หน้าที่ที่เราได้รับทำให้เราเรียนรู้ รู้จักคิดออกมาให้เป็นรูปร่าง และสื่อออกมาในรูปแบบของโปสเตอร์ เพื่อให้คนเข้าใจภายในรูปภาพรูปเดียว ครอบคลุมภายในโปสเตอร์

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าโครงการ

พอมาร่วมโครงการเราได้ความคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ จากมหาวิทยาลัยอื่นๆ บางอย่างเราไม่เคยรู้จักมาก่อน ได้มารู้จักกับเพื่อนที่นี่ว่าเขามีวิธีการทำอย่างไร คิดอย่างไร แตกต่างจากการเรียนธรรมดาที่อยู่ในห้องเรียน การลงพื้นที่ในสมัยก่อนก็เจอเฉพาะนิสิตในมหาวิทยาลัยตัวเอง ซึ่งไม่หลากหลาย มาที่นี่ก็ได้เจอความแปลกใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในวิชาที่อาจารย์สอน อย่างการทำเรื่องสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เราก็ได้การรู้จักคิดก่อนว่าเป็นข้อมูลที่จริงหรือเปล่าก่อนที่จะแชร์ ก่อนที่จะทำอะไร เราก็จะสามารถแชร์ได้อย่างรู้ว่าเป็นเรื่องจริง สามารถเอาไปบอกต่อได้อย่างถูกต้อง แล้วอยากจะบอกเพื่อนๆว่าสื่อมีหลายรูปแบบ มีหลายลักษณะ เราต้องทำให้มีความแตกต่างและน่าสนใจให้ได้

ผลงานสร้างสรรค์สื่อสะท้อนปัญหาสังคม ภายใต้โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ปี 5 ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย องค์กรภาคีภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่.pdf

ชมบรรยากาศงานมหกรรมได้ที่นี่