มูลนิธิสุขภาพไทย
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

ก่อนก้าวสู่มูลนิธิสุขภาพไทย : ดำเนินการในลักษณะ โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2522 มีกิจกรรมสนับสนุนให้ประชาชนป้องกันและรักษาโรคด้วยตนเอง โดยใช้สมุนไพรอย่างอย่างถูกต้อง โดยเน้นการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน และสนันสนุนให้ชุมชนในชนบทรวมกลุ่มดำเนินการด้านสุขภาพในชุมชน เมื่อปี พ.ศ.2534 โครงการได้ริเริ่มส่งเสริมการลดการใช้สารเคมี และอาหารปลอดสารพิษและสมุนไพรขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านสุขภาพ และสาธารณสุขของสังคมไทยในยุคใหม่ที่มีความสลับซับซ้อนเกินกว่าที่ความรู้ เกี่ยวกับสมุนไพรจะให้คำตอบได้ทั้งหมด

ดั้งนั้นโครงการสมุนไพรเพื่อ การพึ่งพาตนเองจึงเห็นสมควรต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ โดยยกองค์กรขึ้นเป็นนิติบุคคลในรูปมูลนิธิและใช้ชื่อว่า มูลนิธิสุขภาพไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539

มูลนิธิสุขภาพไทย ได้สานต่อกิจกรรมด้านสุขภาพทิศทางใหม่ ในมิติที่กว้างขึ้นครอบทั้งด้านกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมกับมีกิจกรรม เชื่อมโยงพลังผู้บริโภคในเมือง กับพลังผู้ผลิตในชนบท เพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสังคม และส่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพคนในสังคมโดยรวม

­

วิสัยทัศน์

  • พัฒนาองค์ความรู้ จัดบริการ และให้การศึกษาด้านสุขภาพองค์รวม
  • สนันสนุนการศึกษาวิจัยพืชสมุนไพร เพื่อการป้องกัน รักษาสุขภาพทั่วไป รวมทั้งโรคเอดส์
  • ส่งเสริมอุตสาหกรรมยาสมุนไพรและการผลิตอาหารปลอดสารพิษ
  • คุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • ส่ง เสริมให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง บนพื้นฐานองค์ความรู้แนวสุขภาพองค์รวม อันหมายถึงการดูแลสุขภาพที่คำนึง กาย ใจ สิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมสนับสนุนการบริโภคอาหารปลอดสารพิษ ทำงานร่วมกับเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์
  • ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพพื้นบ้านในครัวเรือน
  • ส่งเสริมการนวดตนเอง
  • ใช้ศาสตร์ตะวันออกในการดูแลตนเอง เช่น โยคะ ซี่กง อายุเวท
  • ขับเคลื่อนเครือข่ายงานสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่าย
  • ส่ง เสริมแนวทางสุขภาพองค์รวมไปสู่กลุ่มเป้าหมายเด็กและครอบครัว เช่นการอบรมดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ด้วยภูมิปัญญาไทย และการสะสมความรู้และพัฒนาองค์ความรู้การนวดสัมผัสเด็ก เพื่อพัฒนาการทั้งทางด้านกายภาพและอารมณ์

­

ผู้บริหารองค์กร

ผู้บริหารมูลนิธิสุขภาพไทยประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิดังนี้

  • ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว กรรมการกิตติมศักดิ์
  • นพ.มงคล ณ สงขลา รองประธานกิตติมศักดิ์
  • นพ.ประพจน์ เภตรากาศ ประธานมูลนิธิ
  • นพ.บรรพต ต้นธีรวงศ์ รองประธานมูลนิธิ
  • นายพิภพ ธงไชย กรรมการและเหรัญญิก
  • นางรสนา โตสิตระกูล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิ

ส่วนกรรมการมูลนิธิประกอบด้วย

  • พระไพศาล วิสาโล
  • ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
  • นายสันติสุข โสภณสิริ
  • ภก.ยงศักดิ์ ตันติปิฎก
  • นางอัญชลี สงวนพงษ์

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

ด้วย มูลนิธิสุขภาพไทยมีผู้บริหารองค์กรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวงการแพทย์ หลายท่าน กอปรกับการมียุทธศาสตร์การดำเนินงานที่ชัดเจนคือส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพ ทิศทางใหม่ให้กับประชาชน พร้อมกับมีกิจกรรมเชื่อมโยงพลังระหว่างผู้บริโภคในเมือง กับพลังผู้ผลิตในชนบท ส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวและเกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพคนในสังคมโดยรวม นอกจากนี้มูลนิธิยังใช้รูปแบบการสื่อสารแบบสองช่องทางคือระหว่างมูลนิธิฯกับ ผู้บริโภค โดยการเผยแพร่แล้วรับฟัง เพื่อปรับปรุง จนสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและเกิดกระบวนการนำแนวคิดหรือวิธีการต่างๆไป ใช้ต่อ

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • มูลนิธิฯ มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของภูมิปัญญาตะวันออก และศักยภาพของสมุนไพรธรรมชาติว่าสามารถบำบัดสุขภาพได้
  • เป้าหมายอย่างชัดเจนว่าประเทศจะต้องพึ่งพาตนเองได้
  • มีการนำความรู้วิชาการมาเชื่อมโยงกับความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อการอธิบายอย่างเป็นระบบถึงศักยภาพของสมุนไพร
  • จัด ทำข้อมูลสื่อสารความรู้ในลักษณะเอกสาร เผยแพร่ในรูปแบบวารสาร ข่าวสารสมุนไพรโดยการแนะนำสมุนไพรทีละต้น เริ่มจากสมุนไพรใกล้ตัว เช่น มะนาว มะกรูด กระเพรา เป็นต้นกระทั่งเป็นแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
  • มีความเคารพในภูมิปัญญาไทย
  • นำประสบการณ์ของผู้ใช้แล้วเห็นผลจริงๆ มาบอกต่อ
  • ใช้การอบรมสัมมนาให้ได้สัมผัสประสบการณ์จริง
  • มีการเก็บข้อมูลและสื่อสาร
  • มี การสื่อสารแบบสองช่องทางระหว่างมูลนิธิฯกับผู้บริโภค โดยการเผยแพร่แล้วรับฟัง เพื่อปรับปรุง จนเกิดเป็นความน่าเชื่อถือและเกิดกระบวนการนำไปใช้ต่อ
  • มีช่องทางในการเผยแพร่กับระดับประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดกระแสส่งต่อทางความคิดแบบปากต่อปาก
  • นับ ตั้งแต่ปี 2521 ที่องค์การอนามัยโลกส่งเสริมให้ประเทศสมาชิก 192 ประเทศ นำกลยุทธ์งานสาธารณสุขมูลฐาน คือการส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพกันเอง มาแก้ปัญหาและพัฒนาระบบสาธารณสุขซึ่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยนั้นไม่เอื้อ ให้ประชาชนชนเข้าถึงได้ จึงมีการมองย้อนไปถึงการแพทย์ของไทยในอดีต และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสมุนไพรที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ ง่ายกว่า จึงเป็นแรงเสริมให้ภารกิจของมูลนิธิฯ สามารถทำงานได้ง่ายและก้าวกระโดดได้มากขึ้น เนื่องจากกระทรวงสาธารสุขยอมรับให้มูลนิธิฯ เข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการดำเนินการต่างๆ ในด้านสาธารณสุขมูลฐาน

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

  • รวบรวม องค์ความรู้ด้านการนวดเด็ก เป็นองค์กรแรกๆ ในประเทศ โดยการเปิดเผยข้อมูลให้เป็นความรู้สาธารณะ ทั้งๆ ที่องค์ความรู้เรื่องการนวดเด็กทั่วโลกมาจากภูมิความรู้ของประเทศทางตะวัน ออก ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย จีน ไทย แต่ประเทศตะวันตกกลับนำความรู้ด้านนี้ไปศึกษาวิจัยต่อพร้อมนำกับมาเผยแพร่ใน ประเทศตะวันออกด้วย ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมาองค์ความรู้ด้านนี้ไม่ได้รับการเปิดเผยมากนัก ผู้ที่จะเข้ารับการอบรมต้องเสียค่าใช้ แต่ด้วยเหตุที่มูลนิธิสุขภาพไทยเห็นประโยชน์ด้านนี้จึงได้นำความรู้ดังกล่าว เข้ามาในประเทศไทยและค่อยๆ เผยแพร่ให้ความรู้จนได้รับการแพร่หลาย ในปัจจุบัน
  • มี การนำข้อมูลทางวิชาการในการส่งเสริมการใช้บัญชียาจากสมุนไพร ซึ่งในที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยจะมีการ ประกาศใช้บัญชียาจากสมุนไพรตั้งแต่ปี 2542 แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับทราบข้อมูล มูลนิธิฯ จึงทำการรณรงค์ เผยแพร่ ส่งเสริมให้คนไทยรับรู้รับทราบ กระทั่งโรงพยาบาลในชุมชนหลายแห่งเริ่มนำไปใช้กับผู้ป่วยแล้ว ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ ดีในการเริ่มต้นจากระดับภูมิภาคจนเข้ามาสู่ส่วนกลางในที่สุด

­

รางวัลความสำเร็จ

  • การ ผลักดันให้ประชาชนหันมาพึ่งพาสมุนไพรของมูลนิธิฯ โดยการรวบรวมข้อมูลประสบการณ์จริงของผู้ใช้และข้อมูลทางวิชาการแล้วเผยแพร่ ต่อด้วยกระบวนการที่หลากหลาย ทำให้สมุนไพรไทยที่มูลนิธิพยายามรณรงค์อย่างน้อย 5 ชนิดได้รับการยอมรับอย่างมากในระดับประเทศ เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน พญายอ ว่านหางจระเข้ ชุมเห็ดเทศ
  • จาก แรงผลักดันของมูลนิธิฯ เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาทำให้สมุนไพร 5 ชนิดข้างต้นได้รับการยอมรับและได้รับการบรรจุให้เข้าไปอยู่ในบัญชียาหลัก แห่งชาติทางด้านสมุนไพร ซึ่งได้รับการรับรองระดับประเทศ ว่ามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง
  • สามารถ รวบรวมความรู้ที่ทำให้คนพึ่งพาตนเองได้ ในเรื่องการใช้สมุนไพร ตั้งแต่หัวจรดเท้าทั้งในเรื่องของการรักษาว่ามีสมุนไพรชนิดใดบ้างที่จะนำมา ใช้ได้ โดยพิมพ์เป็นหนังสือคู่มือ 2 เล่ม แม้ว่าเวลาจะผ่านมากว่า 10 ปี แต่หนังสือดังกล่าวยังเป็นที่ต้องการของประชาชนอยู่ในปัจจุบัน และติดอันดับหนังสือขายดีของประเทศ
  • ร่วมกับเครือข่ายฯ ในการทำแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย
  • ทำให้ สังคมไทยและสังคมโลกหันมาให้ความสำคัญในการพึ่งพาตนเองโดยการใช้สมุนไพร เพื่อการฟื้นฟูภูมิปัญญาไทย ในการบำบัด บำรุง และรักษาสุขภาพ
  • สามารถ ยกระดับการทำงาน หลังจากส่งเสริมการพึ่งพาตนเองโดยใช้สมุนไพรให้เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยแล้ว จึง หันไปผลักดันและส่งเสริมเรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัย อาหารเพื่อสุขภาพ โดยเข้าไปสนับสนุนให้ชาวนาผลิตข้าว กล้องปลอดสารพิษมาจำหน่ายให้คนในเมือง กระทั่งเกิดการตื่นตัวของกระแสการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอันเกิดจาก การทำงานเชิงรุกถึงพื้นที่การผลิต(ภาคอีสาน) มากว่า 20 ปี

โครงการขององค์กร

โครงการสัมผัสกาย สัมผัสรัก สร้างสุขภาวะเพื่อสังคม ได้องค์ความรู้เรื่องการนวดสัมผัสเด็ก แนวทางในการบริหารจัดการองค์กรที่เอื้อต่อการหล่อเลี้ยงอุดมคติในการทำงานจิตอาสา

รวมมือร่วมใจ/ขยายผล
  • ต้องการแหล่งทุนสนับสนุนการทำงานต่อเนื่อง
  • ช่วยกันเผยแพร่บัญชียาหลักสมุนไพร เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนทั่วไปเห็นประโยชน์ของการมีบัญชี
    ยาหลักแห่งชาติซึ่งเป็นยาสมุนไพร
ติดต่อองค์กร
มูลนิธิสุขภาพไทย
ที่อยู่: 520/1-2 ซ.16 เทศบาลรังรักษ์เหนือ ประชานิเวศน์1 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์: 0-2589-4243
โทรสาร: 0-2591-8092