มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร


ประวัติความเป็นมา

โรงพยาบาลเลิดสิน เป็นที่พักพิงแห่งแรกของเด็กสมองพิการจำนวนมากที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู บำบัดหลังการผ่าตัด ทำให้เด็กเหล่านี้ขาดการกระตุ้นพัฒนาการ ขาดโอกาสในการพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา ด้วยเหตุนี้ นพ.ประพจน์ เภตรากาศ และคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลเลิดสิน จึงได้ริเริ่ม “โครงการฟื้นฟูเด็กสมองพิการ” ขึ้นในปี พ.ศ.2525 ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของการทำงานพัฒนาเด็กสมองพิการในสังคมไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาฟื้นฟูเด็กพิการทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมควบคู่กัน ต่อมาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ จึงได้จัดตั้งเป็น “มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ” ขึ้นในปี พ.ศ.2529 โดยทำงานฟื้นฟูเด็กพิการ ควบคู่ไปกับการให้การศึกษาครอบครัวและชุมชน ทั้งทางด้านการป้องกัน และการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อเด็กพิการไปพร้อมๆ กันจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่มูลนิธิฯ พยายามพัฒนาทิศทางและแนวทางการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้แนวการทำงานใหม่ๆ คือการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครอบครัว ให้ครอบครัวเป็นผู้ทำหน้าที่ในการฟื้นฟูเด็ก ให้เด็กสามารถกลับสู่ครอบครัวที่อบอุ่นได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังพัฒนาเทคนิคการฟื้นฟูบำบัดเด็กพิการแบบใหม่ เช่น การนวดไทยให้เด็กพิการ การฝึกกายภาพบำบัดแบบญี่ปุ่น หรือ โดสะโฮ รวมถึงการพัฒนาของเล่นแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อใช้ในการฟื้นฟูเด็กพิการ เช่น ของเล่น 21 ชิ้นของปู่ไพร ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากความทุ่มเทเพื่อให้เด็กสมองพิการเหล่านี้ได้กลับมา ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปรกติสุข

­

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ระดับนำในการพัฒนาและฟื้นฟูเด็กพิการ และการป้องกันความพิการในประเทศไทย

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • ให้ ความช่วยเหลือฟื้นฟูเด็กพิการโดยทั่วไป ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามสมควร เช่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกับเด็กปกติ
  • ให้การศึกษาแก่ชุมชนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาความพิการ การช่วยเหลือฟื้นฟูเด็กพิการและการมีทัศนคติที่ดีต่อคนพิการ
  • สนับสนุน ให้มีและดำเนินการศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูเด็ก พิการ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อหารูปแบบ และกลวิธีที่เหมาะสมในการดำเนินงานของโครงการ และให้บริการข้อมูลแก่ผู้สนใจค้นคว้าโดยทั่วไป
  • ส่ง เสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวในชุมชนมีความมั่นคงและอบอุ่น มีศักยภาพเพียงพอที่จะป้องกันหรือฟื้นฟูความพิการของเด็ก สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กพิการ ที่ต้องมีภาระต่อเด็กมากเป็นพิเศษ
  • เผยแพร่งงานด้านการพัฒนาสังคม พัฒนาคน โดยเฉพาะเด็กพิการผ่านสื่อสารมวลชน
  • ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์หรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่นเพื่อสาธารณประโยชน์

­

ผู้บริหารองค์กร

  • อ. ศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ ประธานกิตติมศักดิ์
  • นพ. ประพจน์ เภตรากาศ ประธาน กรรมการ
  • ผศ. เนตรนภา ขุมทอง เลขาธิการ
  • พญ. ไพจิตร หิรัณยวนิชย์กรรมการ
  • พญ. สุพัตรา ศรีวนิชชากรกรรมการ
  • นพ. ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์กรรมการ
  • รศ. ดร. โคทม อารียา กรรมการ
  • ดร. ศิริ การเจริญดี กรรมการ
  • คุณ วรนารถ ดวงอุดม กรรมการ
  • คุณ อนงค์พรรณ วิสารทนันท์กรรมการ
  • คุณ สมหญิง สุนทรวงษ์ กรรมการ
  • พ. ต. ประชา ธรรมโชติ ที่ปรึกษา
  • รศ. พ.ญ นิตยา คชภักดี ที่ปรึกษา
  • คุณ ภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษา
  • ผศ. ดร. เบญจา ชลธาร์นนท์ ที่ปรึกษา
  • คุณ อรพินท์ คณาธนะวนิชย์ ที่ปรึกษา
  • คุณ คนึงนิจ จันทร์ประทีป ที่ปรึกษา
  • นพ. ประพจน์ เภตรากาศ คณะกรรมการดำเนินงาน
  • ผ. ศ. เนตรนภา ขุมทอง คณะกรรมการดำเนินงาน
  • ผ. ศ. สุนทรี วิทยานารถไพศาล คณะกรรมการดำเนินงาน
  • พญ. ไพจิตร หิรัณยวนิชย์ คณะกรรมการดำเนินงาน
  • คุณ สมหญิง สุนทรวงษ์ คณะกรรมการดำเนินงาน

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

ระดับองค์กร

ระบบ การบริหารงานแต่ละโครงการมีความคล่องตัว หัวหน้าโครงการ/ผู้จัดการโครงการสามารถติดต่อกับคณะกรรมการดำเนินงานได้ โดยตรง ทำให้การดำเนินงาน และการตัดสินใจรวดเร็ว มีผลให้งานดำเนินไปได้ด้วยดี

ระดับปฏิบัติ

การ รับเด็กเข้ารับการฟื้นฟู หรือให้การสงเคราะห์แก่ครอบครัวเด็กพิการ จะต้องมีการประเมินผลจากนักสังคมสงเคราะห์ก่อน พร้อมกับทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเด็กให้ทราบว่ามูลนิธิฯ มิใช่สถานสงเคราะห์ แต่เป็นสถานฟื้นฟู ซึ่งผู้ปกครองต้องเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเด็ก และทำให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นในกลุ่มผู้ปกครอง จนทุกวันนี้สามารถตั้งเป็นชมรมผู้ปกครองเด็กพิการที่สามารถดูแลกันและกันใน หมู่ครอบครัวที่มีลูกหลานพิการ คอยเป็นกำลังใจให้กัน และช่วยกันพัฒนา ฟื้นฟูลูกหลานพิการให้กลับมามีชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกครั้ง

­

ความสำเร็จขององค์กร

  • มูลนิธิ เพื่อเด็กพิการถือองค์กรอันดับต้นๆ ที่มีการผลักดัน และกระตุ้นให้ชุมชน และสังคมรู้จักบทบาทหน้าที่การช่วยเหลือคนพิการ หรือการฟื้นฟูเด็กพิการในท้องที่ต่างจังหวัด เนื่องจากสื่อในการให้ความช่วยเหลือเข้าไม่ถึง ทำให้ชาวบ้านไม่รู้จักช่องทางความช่วยเหลือ โดยมูลนิธิฯ มีส่วนช่วยผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กพิการ โดยเฉพาะเด็กพิการทางสมองจนเห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
  • เป็น องค์กรที่ให้การฟื้นฟูแบบบูรณาการ และมีศาสตร์ทางเลือกที่ช่วยฟื้นฟูเด็กพิการที่เป็นต้นแบบให้กับที่อื่นๆ สามารถเรียนรู้และต่อยอดต่อได้ ทั้งการนวดไทยกับเด็กพิการ และการฝึกความเคลื่อนไหวแบบญี่ปุ่น หรือ โดสะโฮ โดยมีการอบรมให้กับองค์กรต่างๆ หรือลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมให้กับเจ้าหน้าโรงพยาบาลชุมชน
  • การ ประสานงานการทำงานกับครอบครัวของเด็กพิการ สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวได้กลายเป็นแกนหลักของการฟื้นฟูศักยภาพเด็ก พิการ จนทำให้ผู้ปกครองสามารถรวมกลุ่มเป็นชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ และสามารถแยกตัวออกไปทำได้เอง เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ที่บ้าน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่สามารถเข้ามาถึงมูลนิธิฯ ได้อีกทางหนึ่ง
  • มี องค์ความรู้ใหม่ในการฟื้นฟูเด็กสมองพิการ โดยส่วนใหญ่ได้จากการดูแลเด็กพิการอย่างใกล้ชิดของผู้ปกครอง จนเกิดเป็นองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ของเล่นปู่ไพร เก้าอี้กล่องกระดาษ

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • การทำงานที่เน้นการทำงานในแนวราบและลงลึกในระดับชุมชน ทำให้เกิดการปฏิบัติจริง และเห็นผลความสำเร็จได้เร็ว
  • การ ทำงานที่เน้นความร่วมมือกับผู้ปกครองและครอบครัว ทำให้ครอบครัวเกิดความเข้มแข็ง และการดูแลอย่างใกล้ชิดของครอบครัวทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการบำบัดฟื้นฟูเด็ก เช่น การประดิษฐ์ของเล่นเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ
  • การมีระบบการทำงานที่คล่องตัว ทำให้การดำเนินงานไม่ติดขัดและทำได้เร็ว
  • การเข้าถึงของผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่ต้องการบริจาคไม่ยุ่งยาก ทำให้มูลนิธิฯ มีทุนสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

ความ รู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการฟื้นฟูศักยภาพเด็กพิการ อาทิ การนวดไทยกับเด็กพิการ ซึ่งเป็นการประยุกต์ศาสตร์การนวดไทยที่ใช้นวดผู้ใหญ่ปกติ แต่มีการดัดแปลงเพื่อให้ใช้กับเด็กพิการคือ ช่วยยืด คลายกล้ามเนื้อ และสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อได้ รวมถึงของเล่นเพื่อเด็กพิการ เช่น เครื่องช่วยยืน เครื่องช่วยเดิน ถุงทรายเพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นต้นแบบของการพัฒนาของเล่นเด็กพิการที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของปู่ ไพร ซึ่งพัฒนาของเล่นขึ้น 21 ชิ้น สำหรับฟื้นฟูศักยภาพเด็กพิการโดยเฉพาะ

โครงการขององค์กร
  • โครงการพัฒนาและฟื้นฟูเด็กพิการ กิจกรรมหลักคือสโมสรหอยทากปูลม โดยทำกิจกรรมฟื้นฟูพัฒนาการ 4 ฐาน คือ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การนวดไทยกับเด็กพิการ และโดสะโฮ รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้น เช่น กิจกรรมดนตรีและศิลปะ กิจกรรมทัศนศึกษา รวมถึงการอบรมหลายอย่าง เช่น อบรมพ่อแม่มือใหม่ อบรมการนวดไทยกับเด็กพิการ อบรมโดสะโฮ ฝึกการเคลื่อนไหวแบบญี่ปุ่น อบรมการทำเก้าอี้จากกล่องกระดาษ อบรมการทำอุปกรณ์ช่วยสำหรับเด็กพิการ
  • โครงการฟื้นฟูเด็กและคนพิการโดยชุมชน ภารกิจ หลักคือการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและสังคม กระตุ้นและผลักดันให้รู้จักการช่วยเหลือเด็กพิการ หรือฟื้นฟูเด็กพิการในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยปัจจุบันมีศูนย์ดำเนินการอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โครงการพ่อแม่อุปถัมภ์ เป็น โครงการให้ความช่วยเหลือครอบครัวของเด็กพิการที่มีฐานะยากจน ด้วยแนวคิดที่ว่าหากครอบครัวยังไม่มีความพร้อม หรือเด็กยังไม่แข็งแรงก็ไม่อาจฟื้นฟูศักยภาพของเด็กพิการให้ดีขึ้นได้ โครงการจึงเข้าให้ความช่วยเหลือโดยการสงเคราะห์อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการ ฟื้นฟูศักยภาพของเด็กพิการ ซึ่งบัตรคนพิการไม่สามารถรองรับได้ อาทิ อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ช่วยฟื้นฟูพัฒนาการ นมผล นมกล่อง ทุนการศึกษา เป็นต้น
รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

การขยายผลในส่วนกลาง จะเน้นการสร้างแกนนำผู้ปกครองให้สามารถเป็นวิทยากรหรือพี่เลี้ยงในกิจกรรม พัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ลงไปทำงานในส่วนการประสานงานกับเขตพื้นที่ หรืออบต.มากขึ้น สำหรับในส่วนภูมิภาค จะมีการลงพื้นที่ชุมชนมากขึ้นโดยขยายไปอำเภออื่นๆ และดำเนินการค้นหา อบต.ตัวอย่างที่มีประสบผลสำเร็จในด้านการทำงานกับเด็กพิการ รวมถึงการพัฒนาชุดความรู้ เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการ และสามารถนำไปใช้งานได้ทันที

ติดต่อองค์กร
มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
ที่อยู่: 546 ซ.ลาดพร้าว 47 วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์: 0-2539-2916 , 0-2539-3706 , 0-2539-9958
โทรสาร: 0-2539-9958 ต่อ 22