มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 เดิมชื่อว่า มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีเป้าหมายในการทำการตลาด ส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมราษฎร ชาวไทยภูเขา และให้ความช่วยเหลือในด้านอื่นๆ ต่อมา เปลี่ยนเป็นมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จ
พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี พ.ศ.2528

­

วิสัยทัศน์

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเป็นองค์กร ที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนที่ไร้โอกาส ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการศึกษา สามารถพึ่งพาตนเองสนใจใฝ่รู้ที่จะสร้างโอกาสให้กับชีวิต รักษ์ป่า และเข้าใจว่าคนกับป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ รวมทั้งทำงานด้านอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมล้านนา และชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆให้อยู่สืบไป

­

พันธกิจ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ดำเนินงานโครงการหลักอยู่ 3 โครงการ คือ

โครงการ พัฒนาดอยตุง (พื้นทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจังหวัดเชียงราย เป็นโครงการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ควบคู่ไปพร้อมกับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างถาวรในบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2531 ตามพระราชดำริของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

โครงการ หลักที่ 2 ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คือ หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับฝิ่นและสารเสพติดต่างๆ เล่าประวัติความเป็นมาของฝิ่นย้อนหลังไป 5,000 ปี พร้อมทั้งแสดงประโยชน์และโทษของยาเสพติด โดยสอดแทรกความบันเทิงหรือ Edutainment ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพนะศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ว่า ต้องทำการเรียนให้เป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่าย เป้าหมายของหอฝิ่น คือ มุ่งลดอุปสงค์ของยาเสพติด โดยการให้ความรู้
และปลูกจิตสำนึกให้ร่วมกันต่อสู้และต่อต้านยาเสพติด

และโครงการที่ 3 คือ อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 เดิมเป็นที่พักเยาวชนชาวไทยภูเขาในโครงการผู้นำเยาวชนชาวเขา ปัจจุบันเป็นที่เก็บรักษาและรวบรวมศิลปะล้านนา ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

­

การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน (Sustainable Alternative Livelihood Development – SALD)
การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน
เป็น แนวทางการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากพระปรัชญาและพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนคริ นทราบรมราชชนนี ในการช่วยเหลือพัฒนาผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม อีกทั้ง จากการรวบรวม
ประมวลประสบการณ์และบทเรียนในการดำเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ที่จังหวัดเชียงราย

การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน เน้นการพัฒนาคนอย่างมีบูรณาการ เป็นขั้นเป็นตอน ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ และนำวิธีคิดและวิธีบริหารจัดการเชิงธุรกิจมาปรับใช้ เช่น ผลิตของที่ตลาดต้องการ มุ่งสร้างประโยชน์สูงสุดจากต้นทุนที่ต่ำที่สุด ด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน อีกทั้งศึกษาความเป็นไปได้ก่อนทำโครงการเพื่อลดความเสี่ยง หรือวัดผลเพื่อปรับปรุงการทำงานอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

­

แนวทางพัฒนาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

  • แก้ไขความเจ็บป่วย : หากสุขภาพร่างกายของคนไม่แข็งแรง ก็ไม่มีเรี่ยวแรงทำงานเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง
  • แก้ไขความยากจน : เมื่อคนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว ก็หาอาชีพที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคง ก็จะไม่หันกลับไปทำอาชีพทุจริตอีก
  • แก้ไขความไม่รู้: เมื่อคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแล้ว พออยู่พอกิน มีเงินเหลือเก็บออม ก็จะสามารถส่งลูกหลานเรียนหนังสือได้ การศึกษาที่เหมาะสมนำไปสู่การพัฒนาระยะยาว และสร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง

­

การทำงานแบบเป็นขั้นเป็นตอน ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
โครงการพัฒนาดอยตุงฯ มีกรอบเวลาการดำเนินงาน 30 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น (เห็นผลในพริบตา) ระยะกลาง และระยะยาว
ในช่วงระยะสั้น สิ่งสำคัญมาก คือ ต้องทำกิจกรรมที่ทำให้ชาวบ้านเห็นผลในพริบตา เพื่อสร้างศรัทรา และความเชื่อมั่น โดยทำให้ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์อย่างรวดเร็วจากการมีส่วนร่วมในโครงการ ภายในระยะเวลา 1-150 วัน
ระยะกลาง เน้นการสร้างงานสร้างอาชีพ และรายได้ที่เหมาะสม พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
ระยะยาว เน้นความสำคัญของการพัฒนาคน โดยการให้ความรู้เพื่อให้ชาวบ้านสามารถบริหารจัดการ ช่วยเหลือตนเองได้ มีรายได้ที่มั่นคงยั่งยืน โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือรับการช่วยเหลือจากภายนอก ตลอดจนสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเกื้อกูลกัน

โครงการขององค์กร

โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ - พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน

โครงการ พัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีพื้นที่ทั้งหมด 93,515 ไร่ ติดชายแดนสหภาพเมียนมาร์ มีหมู่บ้านในพื้นที่โครงการ 29 หมู่บ้าน ประชากรที่อาศัยอยู่เป็นชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อย 6 เผ่า จำนวนคนประมาณ 11,000 คน

­

เมื่อ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เริ่มทรงงานที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ในปี พ.ศ. 2531 ขณะนั้น สภาพพื้นที่ดอยตุงซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม ชาวบ้านเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวไร่ ซึ่งพอกินแค่ 6 เดือน ดอยตุงยังเป็นพื้นที่ทุรกันดาร ไม่มีถนน น้ำ หรือไฟฟ้า ฝิ่นจึงเป็นพืชสำคัญของพวกเขา เพราะมีคนมาซื้อถึงที่ และเป็นยา รักษาโรคขนานดี ซ้ำร้ายยังมีการค้าอาวุธสงคราม กองกำลังชนกลุ่มน้อย และการค้ามนุษย์ อีกด้วย

­

พระ ราชปณิธานในการพัฒนาดอยตุงของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คือ การช่วยคนให้สามารถช่วยตัวเอง และทำให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้ การดำเนินงานของโครงการฯ จึงเป็นการปลูกป่า ปลูกคนขนานกันไป ชาวบ้านที่เคยปลูกฝิ่นกลายมาเป็นแรงงานปลูกป่า ได้รับค่าจ้างทุกๆ 10 วัน เป็นการเปลี่ยนรายได้จากงานทุจริตมาเป็นงานสุจริตทันที คนก็ได้ประโยชน์ ป่าก็ได้ประโยชน์พร้อมๆ กัน

­

สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมชาชนนี ทรงเชื่อว่าไม่มีใครอยากเกิดมาเป็นคนไม่ดี แต่ความยากจนและขาดโอกาสทำให้พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่น โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จึงมุ่งสร้างงานที่มีรายได้มั่นคง โดยมีปรัชญาการทำงาน คือ อะไรที่ชาวบ้านถนัดและทำได้ดีอยู่แล้ว ไปเสริมให้ดียิ่งขึ้น จึงมุ่งผนวกภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับการทำธุรกิจแบบสากล โดยได้ว่าจ้างนักออกแบบมาทำงานร่วมกับคนในท้องถิ่น เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีเอกลักษณ์ ได้คุณภาพตามมาตรฐาน และเป็นที่ต้องการของตลาดสากล จึงได้สร้างธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อสร้างงานให้ทุกกลุ่มคนในพื้นที่ ไม่ว่าจะผู้หญิง ผู้ชาย วัยทำงานหรือวัยชรา และเพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจประเภทเดียว งานที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ อาทิเช่น ด้านการเกษตร ตั้งแต่การจ้างปลูกและดูแลป่าเศรษฐกิจ ได้แก่ การปลูกกาแฟและปลูกแมคคาเดเมีย การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์ไม้ การอนุบาลจนถึงการดูแลไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อจำหน่ายและตกแต่งสวนแม่ฟ้าหลวง ด้านหัตถกรรม มีโรงงานทอผ้า โรงงานทอพรม โรงงานกระดาษสา และโรงงานเซรามิค ด้านการแปรรูปอาหารจากผลผลิตในป่าเศรษฐกิจ และด้านการท่องเที่ยว มีงานในห้องอาหาร บ้านพัก ฯลฯ กระบวนการผลิตต่างๆ เน้นความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่จะพึ่งการปรับแต่งของเทคโนโลยีที่มีตามท้องถิ่น และลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก

­

การ สร้างงานและรายได้ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่งานผลิตขั้นต้น แต่เน้นการสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า ด้วยการแปรรูปและออกแบบ ให้ตรงกับความต้องการของตลาด กาแฟที่ได้จะนำมาคั่ว และบรรจุขาย หรือทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อบริการในร้านคาเฟ่ดอยตุง ผ้าทอมือจะแปร เปลี่ยนเป็นเครื่องนุ่งห่มหรือของตกแต่งบ้าน แผ่นกระดาษสาก็กลายมาเป็นสมุดหรือกล่องของขวัญสวยงาม ประโยชน์ของการแปรรูปเช่นนี้ ทำให้คนในท้องถิ่นสามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ แทนที่จะต้องเผชิญกับปัญหาราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน

­

รายได้จากธุรกิจเพื่อสังคมต่างๆนี้ ทำให้โครงการพัฒนาดอยตุงฯ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งตรงตามเป้า หมายที่วางไว้ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ที่ต้องการใช้งบประมาณแผ่นดินให้น้อยที่สุดภายในปีที่ 14 ของการดำเนินงาน ถือเป็นต้นแบบของโครงการพัฒนาที่ประกอบธุรกิจจนสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และนำผลกำไรนี้ไปใช้เพื่อการพัฒนาต่อ โดยไม่ต้องพึ่งพาทุนหรือการกู้ยืมจากที่ใด

­

สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยคนบนดอยตุงให้ช่วยตัวเอง ได้ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จึงมีกำหนดเวลาสิ้นสุดการดำเนินงาน ภายในปี พ.ศ. 2560 รวมระยะเวลา 30 ปี ฉะนั้น อีกไม่ถึง 10 ปี ชุมชนบนดอยตุงจะต้องรับ ผิดชอบดูแลบริหารจัดการธุรกิจและกิจการต่างๆ ที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ริเริ่มไว้ให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป การพัฒนาในช่วงสุดท้าย จึงเน้นที่การพัฒนาคน ซึ่งได้ดำเนินงานทั้งในและนอกระบบการศึกษา เพื่อให้คนในพื้นที่มีความมั่นใจ สามารถคิดเป็นทำเป็น แก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง และมีความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดและวัฒนธรรมของตนเอง ทำให้พวกเขาพร้อมที่จะเป็นผู้นำเพื่อที่จะพัฒนาดอยตุงสืบต่อไป

­

ใน ปี พ.ศ. 2546 สำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC) ยอมรับว่าโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เป็นหนึ่งในโครงการต้นแบบการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนของ โลก

รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

การขยายผลการพัฒนา

โครงการปลูกป่า
ใน ปี พ.ศ. 2548 มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล ได้ขยายผลบทเรียนการปลูกป่าจากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ไปยัง โครงการปลูกป่าเฉลิมถาวรพระเกียรติฯ บนพื้นที่ 14,015 ไร่ ที่ ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โครงการใช้
หลักการ ‘ปลูกป่า ปลูกคน’ ซึ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน ต้นเหตุของการบุกรุกป่า เช่นเดียวกับดอยตุง คือ มีการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและยกระดับความเป็นอยู่ไปพร้อมๆ กับการปลูกป่า ส่วนวิธีการปลูกป่านั้น จะเป็นการ ปลูกป่าแบบปลูกเสริม คือไม่ตัดต้นไม้เดิมทิ้ง แต่ปลูกพันธุ์ไม้ถิ่นที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ของพื้นที่และที่เป็นประโยชน์ กับท้องถิ่น เสริมลงไปในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพื่อคืนความหลากหลายทางชีวภาพและความสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศน์ของธรรมชาติ

โครงการในต่างประเทศ
ตั้ง แต่ปีพ.ศ. 2545 มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ขยายผลการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนไปยังประเทศที่ต้องการ ความร่วมมือในการพัฒนา ปัจจุบัน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ยังดำเนินงานอยู่ในจังหวัดบัลก์ สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน และจังหวัดอาเจะห์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และเคยดำเนินงานอยู่ในรัฐฉาน สหภาพพม่าจนปี พ.ศ.2547 อีกด้วย

มหาวิทยาลัยที่มีชีวิต
มหาวิทยาลัย ที่มีชีวิต เป็นแนวความคิดในการเผยแพร่การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน (SALD) ในรูปแบบเชิงรับ ซึ่งสอดคล้องและเสริมกับการดำเนินงานเผยแพร่ในเชิงรุก หรือการขยายโครงการไปในพื้นที่อื่นๆ ในแต่ละปี มีผู้สนใจจากทั้งในและต่างประเทศเดินทางมาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และฝึกอบรมที่ดอยตุงในเรื่องการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและ การทำธุรกิจเพื่อสังคมเป็นจำนวนมาก มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงพยายามพัฒนาโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ดำเนินงานอยู่
ให้กลายแหล่งแลก เปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ที่สนใจการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) และมีคนเป็นศูนย์กลาง (Human-centric). การดำเนินงานควบคู่กันทั้งเชิงรุกและเชิงรับทั้งในและต่างประเทศนี้ จะทำให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีประสบการณ์และบทเรียนที่หลากหลายและเพิ่มพูนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รูปแบบและวิธีการแก้ปัญหาและการพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น สามารถให้คนได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในสภาพภูมิสังคมต่างๆ และเกิดประโยชน์ขยายวงสู่คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

ติดต่อองค์กร
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
ที่อยู่: เลขที่ 1875 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์: 02-252-7114
โทรสาร: 02-254-1665