โรงเรียนวชิรธรรมสถิต
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต ๑


ผู้บริหาร
นายสมคิด ทองสง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๕๙๘-๒๔๔๙

­

ระดับชั้นที่เปิดสอน
อนุบาลชั้นปีที่ ๑ - มัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๓ จำนวนครู ๓๐ คน จำนวนนักเรียน ๓๖๕ คน


ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นายสุนทร เพ็งหนู
โทรศัพท์ ๐๘๔-๙๙๕-๖๐๖๓

­

ด้วยเหตุที่โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการด้านเศรษฐกิจพอเพียง จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ “สถานศึกษาพอเพียง” และเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แก่นักเรียน ครู สถานศึกษาอื่น หน่วยงาน และชุมชน ในปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ จึงทำให้เกิด “โครงการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนทุ่งลาน”

­

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ครู และชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒. เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๓. เพื่อใช้วัสดุที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๔. เพื่อเพิ่มรายรับ ลดรายจ่าย ขยายโอกาสตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
๕. เพื่อรวมกลุ่มทางเลือกอาชีพในชุมชน
๖. เพื่อจัดโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ ชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

­

­

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

๑. ขั้นวางแผน
๑.๑ คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมวิเคราะห์จุดเน้นในการพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน
๑.๒ เตรียมการด้าน โครงการเพื่อขับเคลื่อนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่และกิจกรรมการเรียนรู้
๑.๓ ศึกษาเรียนรู้ต้นแบบ และศึกษาดูงานตามสถานที่ต่างๆ เพื่อปรับปรุง ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับโรงเรียนด้านกระบวนการคิดและกิจกรรมสู่การปฏิบัติ

๒. ขั้นดำเนินการ
๒.๑ ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก หลักแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒.๒ กำหนดผู้รับผิดชอบตามโครงการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเศรษฐกิจ พอเพียงชุมชนทุ่งลาน ในโรงเรียนแบ่งกลุ่มเป็น ๕ ฐาน ทุกฐานมีครูและนักเรียนประจำกลุ่ม นักเรียนชั้น ม.ปลายเป็นพี่เลี้ยง ร่วมรับผิดชอบ ร่วมเรียนรู้และเป็นวิทยากร ในชุมชนมีคณะกรรมการชุมชน ๆ ละ ๕ คน เป็น คณะกรรมการขับเคลื่อน จำนวน ๒ หมู่บ้าน โดยแบ่งเป็นฐานการจัดการ ดังนี้
๒.๒.๑ ฐานการจัดการครัวเรือน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการภายในบ้าน เน้นการผลิตเพื่อการ อุปโภคและบริโภค กิจกรรมหลักที่จัด ประกอบด้วยการทำน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาล้างจาน น้ำมันมะพร้าว สกัดเย็น ผลิตภัณฑ์จักสานจากวัสดุในท้องถิ่น การทำเตาดินเผา การย้อมคราม
๒.๒.๒ ฐานการจัดการดิน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการที่ดินเพื่อการเพาะปลูกและการปรับสภาพดินตาม ธรรมชาติ มีกิจกรรมการทำน้ำหมัก การเลี้ยงหมูหลุม การผลิตปุ๋ยชีวภาพ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การปลูกผักสวนครัว การห่มดินและ การปลูกหญ้าแฝก
๒.๒.๓ ฐานการจัดการป่า เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการป่า เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมการ เพาะชำพันธุ์กล้าไม้ ป่า ๓ อย่างเพื่อประโยชน์ ๔ อย่าง ป่า ๓ ชั้น และ สวนพืชสมุนไพร
๒.๒.๔ ฐานการจัดการน้ำ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการน้ำเพื่อชีวิต มีกิจกรรมการทำนาข้าว การเลี้ยงปลาพื้นเมือง ปลากินพืช การบำบัดน้ำ และจักรยานน้ำ
๒.๒.๕ ฐานการจัดการคุณธรรมและจริยธรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการดำเนินชีวิต พัฒนาจิต มีกิจกรรมสวนป่าลานธรรม วันพระที่วชิรธรรม อบรมคุณธรรม จริยธรรม


๓. ชั้นการตรวจสอบ สรุป และประเมินผล ในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมในโรงเรียน หลักจากเสร็จสิ้นกิจกรรม จะมีการประเมินผล สรุปผล หลักการทำงาน ที่เรียกว่า AAR (After Action Review) โดยมีหัวข้อหลักที่นำมาใช้พิจารณาและร่วมสรุปเพื่อนำไปพัฒนากิจกรรมในทุกด้านในครั้งต่อๆ ไป คือ
๑. สิ่งที่ได้ตามคาด หรือเกินความคาดหมาย
๒. สิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมนี้
๓. สิ่งที่จะนำไปต่อยอดงาน/กิจกรรมเดิม ได้อย่างไร
๔. จะดีกว่านี้ถ้า..........

­



ระยะเวลาดำเนินโครงการ 

ตั้งแต่ ตุลาคม ๒๕๕๑ – กันยายน ๒๕๕๒

­

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

ครูมีจิตสำนึกและจิตอาสาเพื่อเป็นแนวร่วมในการพัฒนา และขับเคลื่อนร่วมกัน ครูสามารถปรับประยุกต์กระบวนการจัดการเรียนการสอน
นักเรียน เกิดการพัฒนาตามศักยภาพที่เกิดจากกการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติและสามารถแก้ ปัญหาด้านความประพฤติได้ด้วยตนเอง โดยมีกิจกรรมเป็นสื่อ
โรงเรียน เป็นที่ยอมรับและเกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชุมชน และร่วมแก้ปัญหาของชุมชนที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตหรือทุนทางสังคม ที่อาจจะเปลี่ยนไป

­

­

เงื่อนไขความสำเร็จ

๑. ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่ครู นักเรียนและชุมชน
๒. คณะทำงานในโรงเรียนมีจิตอาสา
๓. บริบทของโรงเรียนเอื้อต่อการจัดกิจกรรม
๔. สภาพของชุมชนมีทุนทางสังคม ทั้งด้านวัตถุและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๕. องค์กรภายนอกให้การสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน
๖. นโยบายรัฐที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียง

ติดต่อองค์กร
โรงเรียนวชิรธรรมสถิต
ที่อยู่: หมู่ ๑๒ ตำบลตำนาน อำเภอเมือง พัทลุง
โทรสาร: ๐๗๔-๖๑๗-๘๗๙