โรงเรียนสังวาลย์วิทยา
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต ๒


ผู้บริหาร
นายเกษม กันทาหอม
โทรศัพท์ ๐๘๑-๗๐๖-๐๑๖๘
E-mail : kasem.kth@hotmail.com

­

ระดับชั้นที่เปิดสอน
อนุบาล – มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนครู ๒๒ คน จำนวนนักเรียน ๔๘๑ คน


ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
๑.นายดิเรก จินดารัตน์
โทรศัพท์ ๐๘๑-๙๕๐-๔๓๔๐ E-mail : derek.jdr@hotmail.com
๒.นางประทับใจ เปาหย่า
โทรศัพท์ ๐๘๙-๙๕๖-๗๓๘๕ E-mail : nok-211@hotmail.com
๓.นางพชรพล บุญประเสริฐ
โทรศัพท์ ๐๘๐-๕๐๐-๐๒๐๒ E-mail : Pb.krit@hotmail.com

­

­

เพื่อให้ความเป็นอยู่ของนักเรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพตามหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามทฤษฎีหลักเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้นมา เพื่อเป็นสื่อตัวสาคัญที่สามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแนวความคิดแนวปฏิบัติ หากมีการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

­

­

วัตถุประสงค์

 ๑. เพื่อให้นักเรียนดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ โดยยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
๒. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการดำรงชีวิต สุขอนามัย และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้ดีขึ้น
๓. เพื่อฝึกให้นักเรียนมีความสามัคคี มีความอดทน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และรู้จักบทบาท หน้าที่ของตัวเอง
๔. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
๕. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมต่อไป

­

­

ขั้นตอนการดำเนินการโครงการ

๑. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
๒. ประชุมคณะกรรมการวางแผนการดำเนินงาน
๓. จัดทำโครงการ เสนอโครงการ
๔. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ นักเรียนทำกิจกรรม ดังนี้
          (ก) การปลูกชาโยเต้
          (ข) การปลูกผักในถุง
          (ค) การเลี้ยงหมูหลุม
๕. มีการติดตาม นิเทศ และประเมินผลโครงการ
๖. ประชุมคณะกรรมการ สรุปผลงาน
๗. รายงานสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารรับทราบ
๘. นำผลที่ได้ปฏิบัติไปปรับปรุงแก้ไข

­

ระยะเวลาดำเนินโครงการ 

ตลอดปีการศึกษา ๒๕๕๐

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
ครูสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของตนเอง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ โดยยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิต การดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้ดีขึ้น

นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ โดยยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต การดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้ดีขึ้น มีความสามัคคี ความอดทน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และรู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

ในส่วนผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ครอบครัว ชุมชนมีความเข็มแข็งขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต การดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ดีขึ้น โดยยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

­

­

เงื่อนไขความสำเร็จ
นักเรียนมีความรู้เข้าใจความหมาย ของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้

­


กิจกรรมเด่นอื่นๆ
๑. ธนาคารขยะรีไซเคิล
๒. ยุวเกษตร ประกอบด้วย การเลี้ยงปลา และการปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน
๓. กิจกรรมสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน ได้แก่ การเพาะเห็ดนางฟ้า

­