เวทีเรียนรู้หลักสูตรนักถักทอชุมชน รุ่น 2 โซนภาคใต้ เปิดใจและทบทวนปีที่ผ่านมา
สุทิน ศิรินคร

ทักทายต้อนรับปีใหม่ เปิดใจและทบทวนทุกข์สุขปีที่ผ่านมาเพื่อขับเคลื่อนงานด้านพัฒนาเยาวชนในเวทีเรียนรู้หลักสูตรนักถักทอชุมชน รุ่น 2 โซนภาคใต้ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 28-30 ม.ค. 2558 ณ อบต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

นายนิคม คงทน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต้อนรับและแนะนำแหล่งเรียนรู้ปราชญ์เกษตรในฐานะเจ้าภาพสถานที่

­

การนำเสนอผลการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ของเทศบาลเมืองปากพูน และ อบต.อินคีรี จ.นครศรีธรรมราช

­

วันนี้ อบต.สระแก้ว พาเพื่อนๆ ทีมนักถักทอชุมชน รุ่น 2 โซนภาคใต้ ทั้ง 5 ตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ทม.ปากพูน/ทต.โพธิ์เสด็จ/อบต.สระแก้ว/ อบต.กลาย อบต.อินคีรี) และ 1 ตำบลในจังหวัดกระบี่ (อบต.เขาคราม) ศึกษาทุนมนท้องถิ่น ณ แปลงศึกษาเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี นายเลื่อน พรหมวีปราชญ์เกษตรตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวิทยากรร่วมกับคือ นายนิคม คงทน รองนายก อบต.สระแก้ว มาให้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

­

อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบัน สรส. และวิทยากรกระบวนการของหลักสูตรนักถักทอชุมชน พาทีมนักถักทอชุมชน ทบทวนเป้าหมายในการดำเนินโครงการ

­


"เราต้องไม่ทำกิจกรรมเพื่อกิจกรรม แต่เราจะทำอย่างไรให้การทำกิจกรรมนั้น ทำให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ สามารถถอดบทเรียนได้ว่าเมื่อทำกิจกรรมแล้วเยาวชนได้เรียนรู้อะไร เพิ่มพูนความรู้อย่างไร มีความสามารถหรือทักษะอย่างไร ทัศนคติ มุมมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร และช่วยทำให้เยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนิสัยที่ดีขึ้นอย่างไร"

"ความสำคัญต่อบทบาทหน้าที่ของนักถักทอชุมชนในการเชื่อมร้อยและถักทอเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องด้านการพัฒนาเด็กเยาวชนในพื้นที่ นั่นคือกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดกลไกเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ที่เน้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชนท้องถิ่น ที่จะนำพาไปสู่ผลสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายนั้น มีหลักคิดหลักการ 5 ร. คือ ร่วมคิด-ร่วมตัดสินใจ-ร่วมลงมือทำ-ร่วมเรียนรู้-ร่วมรับประโยชน์ (win-win solutin)"

­

อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ วิทยากรกระบวนการของหลักสูตรนักถักทอชุมชน ได้แลกเปลี่ยนความคิดมุมมองกับทีมนักถักทอชุมชน รุ่น 2 ภาคใต้ เกี่ยวกับการสรรหาและคัดเลือกกรรมการว่าที่ผ่านมาอาจมีการจัดตั้งและแต่งตั้งกรรมการและกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน แต่ยังขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นักถักทอชุมชน จำเป็นต้องมีหลักคิดและวิธีการคัดเลือกกรรมการกลไกเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเด็กเยาวชนให้เกิดความต่อเนื่อง"

­

­