UNC Talk 1 :Inspiration จาก UNC สู่อาชีพเพื่อสังคม
นาถชิดา อินทร์สอาด

UNC Talk 1 : ร่วมพูดคุยศิษย์เก่าและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

หัวข้อ "Inspiration จาก UNC สู่อาชีพเพื่อสังคม"

วันที่ 26 ตุลาคม 2561

การแสดงนิทรรศการ ครั้งที่ 4 “UNC The Exhibition 2018”

โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ปี 5 (ปี2561)

ดำเนินงานโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม

(University Network for Change : UNC)


รายชื่อผู้เข้าร่วมเวที

บทบาท รายชื่อ       สังกัด                                       
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.บุญชู บุญลิขิตศิริ สาขานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
อาจารย์ธนกิตติ์ ธนะสุข สาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ

คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

อาจารย์วิชัย เมฆเกิดชู สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะวิทยาลัยการออกแบบมหาวิทยาลัยรังสิต
ตัวแทนมหาวิทยาลัย

เข้าร่วม ปี 6

ผศ.ดร.กษม อมันตกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ตัวแทนนักศึกษาปี 5 นางสาวซัลมา เป็นสุข ตัวแทนผลงานหิวมานิห์ ประเด็นปัญหาเรื่องของอาหารวันนี้ สาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นายฐิติวัสส์ ธรรมะ ตัวแทนผลงานสื่อให้รู้ สู่ที่ทิ้ง(ขยะ) ประเด็นปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม / การกำจัดขยะ สาขานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ตัวแทนนักศึกษารุ่นพี่ นายเอกวิทย์ สมันเลาะ ศิษย์เก่าโครงการปีที่ 2 ตัวแทนผลงาน(IM) PORTFOLIO พอร์ทโฟลิโอข้ามชาติ ประเด็นแรงงานและกลุ่มชาติพันธ์ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

บันทึกในเวที

พิธีกร: วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพราะว่าโครงการนี้จัดขึ้นมาเพื่อให้น้องๆหรือวัยรุ่นได้เข้ามามีสิทธิ์และใช้ไอเดียของตัวเอง ในการที่จะนำปัญหาต่างๆ มาแก้ไขและบอกต่อกับสังคม วันนี้มีน้องใหม่จากหนึ่งมหาวิทยาลัยคือมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ก่อนอื่นต้องถามทางด้านของอาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิตได้มาเข้าร่วมโครงการนี้กี่ครั้งแล้ว แล้วการได้มาเข้าร่วมแต่ละครั้งอาจารย์คิดว่าการเข้าร่วมแต่ละครั้งนั้นมันมีความสำคัญอย่างไรบ้าง


พิธีกร: ขอถามศิษย์เก่ารู้สึกอย่างไร ที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ตั้งแต่ครั้งแรกอาจารย์วิชัย เมฆเกิดชู: มหาวิทยาลัยรังสิตเข้าร่วมโครงการนี้ทุกครั้ง ความสำคัญที่เข้ามาตั้งแต่ครั้งแรก เรามองว่าเป็นกิจกรรมที่ดี มันได้เรียนรู้จากปัญหาจริง ทั้งตัวผู้สอนและตัวนักศึกษาเอง โจทย์ก็คือเป็นโจทย์ของจริง ได้ลงไปพื้นที่ ค้นหาข้อมูลพื้นที่ ตั้งแต่รุ่นแรก

นายเอกวิทย์ สมันเลาะ : เป็นโครงการที่ดีมากๆ ทำให้ผมมีงานทำในอนาคต จริงๆ แล้วโครงการนี้เป็นเครดิตให้กับตัวเราว่าเราสามารถทำงานให้กับสังคมได้ และเราเอางานนี้ไปบอกกับที่ทำงานของเรา เขาก็เห็นแววเราตั้งแต่วันนั้น ผมฝึกงานที่บริษัทสารคดี แล้วเขาเห็นผลงานเราว่าเราเคยทำงานให้กับสังคม เขายิ่งเห็นแววเรา บอกว่าน่าจะรับเข้ามาทำงาน พอดีเรียนจบก็มีโอกาสได้ทำงานที่นั่นเลย

­

พิธีกร: คิดว่ามันยากไหมสำหรับการที่ว่าเราจะไปหาปัญหาต่างๆมา แล้วต้องมาทำออกสื่อให้กับสังคมได้เห็นว่าปัญหาเหล่านี้มันคือสิ่งที่ต้องแก้ไข

นายเอกวิทย์ สมันเลาะ: ปัญหาไม่ต้องหามากเลย มันมีอยู่แล้ว จริงๆแค่ออกไปก็เจอ ตอนปีแรกเราทำเรื่องแรงงานข้ามชาติ ปัญหาไม่ต้องไปมองไกลเลย เขาเดินมาหาเรา แล้วเขามาเล่าปัญหาให้ฟังเลย คือพูดง่ายๆ ว่ามีคนเดินเข้ามาหาเรา เป็นเรื่องของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นองค์กรเกี่ยวกับการรวมตัวกันของแรรงงานข้ามชาติ เขามาบอกกับเราว่าเขามีปัญหา พอเราคุยไปคุยมา เขาก็มี caseStudy ให้เราไปศึกษาดู เราไม่ต้องเดินไปเห็นปัญหา แต่เราเห็นได้เลย เราเห็นอยู่แล้ว เราสัมผัสได้ มันอยู่ในรอบๆ ตัวเรา ก็เลยเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากจะแก้ไขปัญหาตรงนี้

พิธีกร: คิดว่ามันยากสำหรับตัวเราไหม

นายเอกวิทย์ สมันเลาะ: ยากในระดับหนึ่ง แต่ก็สนุกและท้าทาย ตอนนั้นอยู่ปี 3 ก็มีฝีมืออยู่ในระดับหนึ่ง แล้วอยากจะปลดปล่อยออกไป ตอนนั้นได้ทำกับเพื่อนสนิท 4-5 คน มันก็รู้สึกสนุก เป็นการทำงานที่เราคิดในแง่บวก คิดในแง่ดี เราทำอะไรซักอย่างหนึ่งเพื่อให้คนเหล่านี้มีจุดยืนอยู่ในสังคม เพราะตอนนั้นเรารู้สึกกับแรงงานข้ามชาติว่าเขาไม่ต้องการความช่วยเหลืออะไรจากเรา แต่แค่ต้องการจุดยืนของเขาแค่นั้นเอง เราอยู่กับงานแล้วให้ตัวเรารู้สึก เดี๋ยวงานมันมาเอง ต้องใช้ใจทำงาน

พิธีกร: อาจารย์เห็นลูกศิษย์ได้ทำโครงการ ได้แก้ไขปัญหาตรงนี้ อาจารย์มองลูกศิษย์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เข้าถึงปัญหาหรือเปล่า

อาจารย์วิชัย เมฆเกิดชู: ผมว่าเขาเข้าถึงปัญหาและมากกว่าที่เราคิดด้วยซ้ำไป เพราะเครื่องเขาติดแล้ว เราก็ไม่ต้องไปอะไรเลย เราก็คอยฟังคำบอกเล่าจากเขา เรามีหน้าที่กำกับขอบเขตมันมากกว่า ว่าประมาณนี้ แค่นี้ แต่ที่เหลือส่วนใหญ่พอเขารู้ปัญหา เขาก็รู้จักวิธีการแก้ได้เอง

อาจารย์ธนกิตติ์ ธนะสุข: ผมเข้าร่วมตั้งแต่ครั้งที่ 2 ของโครงการ เข้าร่วมมา 4 ครั้งแล้ว ที่จริงแล้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตปัตตานี เป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ทุกครั้งที่มารู้สึกว่าเด็กเราได้เติมเต็มบางอย่างที่ขาดหายจากที่มหาวิทยาลัย เขาได้เห็นเพื่อนต่างสถาบันมหาวิทยาลัยผมค่อนข้างโดดเดี่ยว ในสายการออกแบบ ไม่ค่อยได้ดูงานสักเท่าไหร่ แต่พอมาเข้าร่วมแล้วรู้สึกว่าโครงการนี้ทำให้เด็กๆ ได้เห็นโลกกว้างมากขึ้น ได้เปิดหูเปิดตามากขึ้น มีเครือข่ายกันเองของนักศึกษา นักศึกษาเรามาดูงานของมหาวิทยาลัยรังสิตและศิลปากร นักศึกษาเองเกิดเครือข่ายของเขาเอง เขาสานต่อความสัมพันธ์ของเขากันเองหลังจากที่จบโครงการไป คิดว่าเป็นโครงการที่ดีมากแล้วเราก็พร้อมที่จะสนับสนุนพิธีกร: อาจารย์ท่านต่อไป ได้เข้าร่วมโครงการนี้เป็นครั้งที่เท่าไหร่ รู้สึกอย่างไรบ้าง

ถ้าพูดถึงเรื่องปัญหาสังคม เขาอยู่ในพื้นที่ที่พิเศษ ทุกคนก็รู้ว่ามันมีอะไร มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นนักศึกษาค่อนข้างที่จะละเอียดอ่อนกับปัญหาสังคมได้ง่าย เพราะเขาอยู่ในสังคมแบบนั้นอยู่แล้วเขาอาจจะมองค่อนข้างได้ชัดกว่าที่อื่นนิดหน่อย เพราะเขาอยู่ในสังคมที่ค่อนข้างเกิดปัญหา ช่วงหลัง UNC ก็มีสื่อเกี่ยวกับวัฒนธรรม เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ทำให้ นักศึกษาได้พัฒนาตัวเอง ได้มองจากเพื่อนที่มหาวิทยาลัยที่มองเข้าไปด้วย

พิธีกร: มุมมองของอาจารย์ อาจารย์คิดว่าน้องๆ นักศึกษาได้ทำปัญหาขึ้นมา ได้หาวิธีแก้ไขปัญหา อาจารย์คิดว่ามันยากเกินไปสำหรับน้องๆ ไหม

อาจารย์ธนกิตติ์ ธนะสุข: จริงๆ แล้วการที่เขาได้โจทย์จริง จากหน่วยงานหรือจากองค์กรที่เป็นองค์กร NGO หรือองค์กรข้างนอกได้ฝึกเขาถ้าอยู่ในห้องผมอาจจะตั้งโจทย์เกี่ยวกับปัญหาสังคมได้ แต่น้องๆ จะไม่ได้สัมผัสจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร แต่ว่าความเป็นจริงโอกาสที่น้องจะเข้าถึงข้อมูลที่เชิงลึก ข้อมูลที่เป็นข้อมูลจริง ที่ไม่ใช่ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือหนังสือมันน้อย แต่ว่าโครงการนี้ทำให้นักศึกษาได้รับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง ได้ลงพื้นที่จริง ได้ไปคุยกับคนที่ประสบปัญหาจริง ได้คุยกับหน่วยงานที่รับผิดชอบปัญหาจริงๆ ผมว่าตรงนี้ทำให้งานของเขาดูเหมือนจะยากขึ้น แต่เขาได้ฝึกประสบการณ์จริงมากขึ้น


ดร.บุญชู บุญลิขิตศิริ: ผมเข้ามาตั้งแต่ปีที่ 2 สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ได้ติดต่อมาให้เพิ่มเครือข่ายมากขึ้น เราก็เข้าร่วมยาวมาเลย เราก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเยอะขึ้น แรกๆ ตอนที่เรามาร่วมโครงการ เรารับโจทย์มาแล้ว เราก็เหมือนทำงานแยกออกมาจากการเรียนการสอนเลยในตอนช่วงแรกๆ ที่โครงการเริ่ม พอช่วงหลังๆ เรามาคุยกันว่ามันจะดีไหมถ้าเราสามารถเอาโครงการเข้าไปอยู่ในรายวิชาได้ ก็เลยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน ก็ดูเป็นโครงสร้างที่มีระบบ จำได้ว่าช่วงปีแรกเหนื่อยมากเลย อย่างของผมเราไปทำงานที่ภูเก็ตเดินทางกันแบบเหนื่อยมาก แต่มันก็ได้อะไรสะท้อนกลับมาเยอะ ตั้งแต่ปี 2 จนถึงปี 5 สิ่งที่เราเห็นแล้วรู้สึกดีใจก็คือว่าเด็กมันเถียงกันในห้อง แต่เถียงกันบนฐานของข้อมูล เพื่อเอาข้อมูลมาคุยกันพิธีกร: ทางด้านของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพาบ้าง รู้สึกอย่างไรบ้างที่ได้มาเข้าร่วมโครงการนี้ แล้วเข้าร่วมมากี่ครั้งแล้ว

อย่างปีล่าสุดของเราได้โจทย์เกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาที่มันเกิดขึ้นจริงๆ ทุกคนก็รู้ว่าขยะที่บางแสนมันเยอะมาก ปรากฏว่าจริงๆ แล้วที่ UNC ให้โจทย์ไป ไม่ได้ให้โจทย์เรื่องขยะอย่างเดียวแต่ให้ 4 โจทย์ เราก็เริ่มจากการทำประชาวิจารณ์กันก่อนในห้องเรียน ในกลุ่มเขาจะมีอยู่ 52 คน ทำประชาวิจารณ์กันว่า 4 โจทย์นี้ในพื้นที่เราอะไรสำคัญที่สุด เราก็เลือกกันจนสุดท้ายได้เรื่องขยะมา พอได้โจทย์ขยะมา ทุกคนก็รู้สึกโอเคกับโจทย์ที่จะทำ มันก็สร้างความเป็นประชาธิปไตยให้กับเด็ก จากนั้นเขาได้โจทย์มา เขาก็ไปเก็บข้อมูล มันสนุกตรงที่ว่าพอเขาได้ข้อมูลมา เขามาทะเลาะกันในห้อง ทะเลาะกันด้วยข้อมูล ข้อมูลแต่ละคนเก็บมาไม่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกัน แล้วเอามาพิสูจน์ สังเคราะห์จนได้ข้อมูลชุดหนึ่ง แล้วเอามาทำงานกัน ซึ่งมีงานหลากหลายรูปแบบ สุดท้ายเราก็ไม่ได้บอกเขาว่า Output ของงานคืออะไร อยู่ที่เขาเลือกว่าเขาจะเลือกอะไร

จุดนี้ตั้งแต่ปี 2 ถึง ปี 5 ผมเห็นความแตกต่างขึ้นมากในทุกมหาวิทยาลัย การเลือกมีเดียที่ใช้เข้ากับงาน ทำได้ดีขึ้นในทุกมหาวิทยาลัย นี่คือสิ่งที่เห็นความแตกต่าง 4-5 ปีที่ผ่านมา ช่วงแรกๆ หลายคนอาจจะยาก ต้องทำความเข้าใจ อาจจะทำได้ไม่ดีมากเท่าไหร่ แต่ในหลายครั้งเราสามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น ช่วงแรกๆ เราเหมือนเด็ก เขามีเป้าอยู่แล้วว่าจะทำอะไร ช่วงหลังๆ ด้วยกระบวนการที่ UNC สร้างขึ้นมาทำให้เด็กมีการกลั่นกรองวิธีคิดและวิธีการเลือกใช้สื่อมากขึ้น

พิธีกร: อาจารย์ได้เห็นผลงานของเด็กแล้วรู้สึกอย่างไร ภูมิใจไหมกับสิ่งที่เขาทำขึ้นมา

ดร.บุญชู บุญลิขิตศิริ: ภูมิใจอยู่แล้ว แต่ว่าอยากย้อนกลับไปว่าเด็กอาจจะภูมิใจมากกว่าผม อย่างที่ศิษย์เก่าพูด เด็กเขามีพลัง บางที่เขาไม่มีพื้นที่ให้ปล่อยพลัง ไม่มีพื้นที่ให้เขาทำงาน แต่พอวันนี้เขามีพื้นที่ให้เขาได้นำเสนอ นั่นแหละคือความภูมิใจของเขา แล้วเขาเอาไปต่อยอด ผมมองว่า UNC คือ Short cut ชีวิตของเขา สำหรับบางคนที่เขาได้งานทำ ได้ไปต่อยอด ได้รู้จักคนมากขึ้น และหาพื้นที่ชีวิตของเขาได้มากขึ้น

พิธีกร: ต่อไป เราไปพูดคุยกับน้องใหม่กันบ้าง สำหรับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มาเข้าร่วม รู้สึกอย่างไรบ้าง

ผศ.ดร.กษม อมันตกุล : ขออนุญาตเรียนตามตรงว่าเรารู้จักโครงการนี้มาตั้งแต่แรกๆ แล้ว ได้มีโอกาสไปเจออาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบูรพา ได้คุยกันเรื่องนี้ แล้วอาจารย์ก็เชิญชวน มาร่วมโครงการ ปีนี้ก็ตกลงเข้าร่วมโครงการ แล้วก็จะชวนที่อื่นๆ มาด้วย เพื่อให้เพิ่มเครือข่ายมากขึ้น แล้วจะช่วยหาเครือข่ายให้มากขึ้น เครือข่ายทางภาคอีสานก็เข้มแข็งพอสมควร เช่น มหาวิทยาลัยอุบล นครพนมและขอนแก่นเอง ก็ค่อนข้างจะเยอะอยู่

­

­

ผศ.ดร.กษม อมันตกุล

ผศ.ดร.กษม อมันตกุล: ในครั้งนี้ยังไม่มี มาร่วมสังเกตการณ์ มาหาข้อมูลก่อน แล้วครั้งหน้าจะเข้าร่วมเต็มรูปแบบพิธีกร: งานนิทรรศการครั้งนี้ น้องๆ นักศึกษาเองได้นำผลงานอะไรมา

พิธีกร: ทางด้านของน้องๆ นักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา รู้สึกอย่างไรบ้างที่ได้มาเข้าร่วม

นายฐิติวัสส์ ธรรมะ: เหมือนเราได้มีพื้นที่ ได้จัดแสดงงานของเรา ที่เราทำขึ้นมา เราอาจจะคิดว่าเราทำในฐานะนักศึกษา เราคิดว่าเราเจ๋งแล้ว แต่พอเรามาได้มาเปิดพื้นที่ มาดูผลงานของคณะหรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ เราก็รู้สึกว่าผลงานของคนอื่นมันก็เจ๋งกว่าเรา แล้วเราก็ดูเพื่อไปพัฒนาของเรา เอามาปรับปรุงใช้ต่อไป ได้พัฒนาความรู้ใหม่ๆ ได้มีการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ นักศึกษาจากสถาบันอื่น ก็จะสอบถามมหาวิทยาลัยอื่นๆ ว่าทำไมถึงใช้คอนเทนท์แบบนี้ ทำไมถึงใช้เรื่องนี้ แล้วก็เอามาปรับปรุงเรื่องของตัวเอง เอามาใช้กับของเราได้บ้าง

พิธีกร: สิ่งที่เราทำขึ้นมา เราคิดว่าเราสามารถตอบโจทย์อะไรให้กับสังคมได้บ้างกับปัญหาที่เราได้ทำ

นายฐิติวัสส์ ธรรมะ: ผมทำเรื่องเกี่ยวกับขยะ อย่างที่อาจารย์บอกไปว่าบางแสนขยะเยอะมาก นักท่องเที่ยวมาขยะก็จะเยอะตลอด ถังขยะมีเพียงพอแต่ขยะก็เกลื่อนไปหมด เราก็เลยคิดว่าในสายที่เราเรียน เราสามารถทำอะไรที่จะนำไปใช้กับชุมชนได้บ้าง เราก็เลยทำข้อมูลกราฟฟิค เพื่อบอกข้อมูลกับนักท่องเที่ยว

พิธีกร: ผลตอบรับที่เราทำเป็นอย่างไรบ้าง

นายฐิติวัสส์ ธรรมะ: ถือว่าค่อนข้างตอบโจทย์และประสบความสำเร็จระดับหนึ่งที่เราคาดหวังไว้ เพื่อนเราก็ช่วยกัน คนรอบข้างในมหาวิทยาลัยก็ดีใจกับเรา แล้วบอกว่ามันดีนะ ทุกคนให้ความร่วมมือ

พิธีกร: รู้สึกอย่างไรบ้างที่ได้มาที่นี่

นางสาวซัลมา เป็นสุข: ดีใจมาก เมื่อก่อนเรารู้สึกว่าเราน่าจะไม่เก่ง ทำงานไม่ได้ แต่พอเราได้ลอง เราก็ได้รู้อะไรใหม่ๆ ได้พิสูจน์ตัวเองว่าเราทำได้ ได้เห็นงานของเพื่อนๆ ได้แลกเปลี่ยนงานกัน ก็คือเราสามารถนำปัญหาของเราออกมาเผยแพร่ให้กับสังคมได้เห็นเหมือนกัน

พิธีกร: แล้วเราคิดว่าสังคมจะได้อะไรจากปัญหาของเรา

นางสาวซัลมา เป็นสุข: เราทำเกี่ยวกับวัฒนธรรม เราเลือกที่จะทำวัฒนธรรมเกี่ยวกับการกิน เกี่ยวกับอาหาร ซึ่งเป็นอาหารว่างโบราณ ซึ่งตอนนี้อาหารพื้นบ้านกำลังจะหายไป มันมีเรื่องของค่านิยมการกินเบอร์เกอร์ อาหารต่างชาติเข้ามา เรารู้สึกว่าอาหารพื้นบ้านมันกำลังจะหายไป ไม่เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะในวัยรุ่น เมื่อเราไปถามวัยรุ่นก็มีหลายอย่างที่เขาไม่รู้จัก เราไปถามเขาโดยตรงว่าพอจะมีแนวทางไหนให้เราทำ วัยรุ่นอยากให้เราช่วยประชาสัมพันธ์ เราก็เลยเกิดการสร้างแคมเปญขึ้นมา เป็นแคมเปญรณรงค์ประชาสัมพันธ์อาหารพื้นบ้านที่กำลังจะหายไปและมีการแนะนำแหล่งขาย

พิธีกร: ต้องขอถามอาจารย์ ท่านไหนตอบก็ได้ อาจารย์คิดว่าสิ่งที่เราทำในครั้งนี้มันคุ้มไหมกับความเหนื่อยกับการตอบโจทย์ให้กับสังคมเกี่ยวกับปัญหาที่มันเกิดขึ้น

ดร.บุญชู บุญลิขิตศิริ: ถ้าถามว่าคุ้มไหม มันคุ้มมาก ถ้าให้นักเศรษฐศาสตร์ มาคำนวณเป็นตัวเลข ทุกคนอาจจะมองเป็นตัวเลขไม่ชัด แต่เคยมานั่งคิดว่าจริงๆ โครงการลักษณะนี้ ถ้าเราไปคำนวณด้วยตัวเราที่ลงทุนไป คุ้มมาก เราอย่ามองแค่ว่ามันจะเป็นเงินกลับมาแค่ไหน เราต้องมองว่าเด็กถ้าเอาไปต่อยอดได้ ยกตัวอย่าง เช่น อาหารการกินที่เด็กๆ เขาทำแล้วอาหารการกินมันบูมขึ้นมานั้นคือมูลค่าทั้งหมดเลย ที่เราไม่ได้คิดไว้ตั้งแต่แรก ถ้าค้าขายดีขึ้นก็คือการเกิดตัวเงิน แล้วเด็กไปทำเรื่องปัญหาขยะพอขยะน้อยลง การลงทุนเรื่องของการขจัดขยะ ค่าใช้จ่ายก็น้อยลง นี่คือผลตอบแทนที่มันได้กลับมาหมด ส่วนของตัวเด็กเป็นการสร้างจิตสาธารณะให้กับเด็ก มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ย้อนกลับไป เราเคยไปตีโจทย์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ที่พังงา เราไปทำเรื่องที่ดิน ในระหว่างที่เราลงพื้นที่มีเจ้าหน้าที่ที่เป็นกรมป่าไม้หรือที่ดิน เขาลงมาพูดเกี่ยวกับนักการเมือง ในการถือครองที่ดิน เราแทบไม่เชื่อเลยว่าเด็กที่อยู่ในห้องเราที่ดูเป็นเด็ก แต่มีวิธีคิดพอเขาไปเจอปัญหา เขาคิดแบบผู้ใหญ่หมดเลย บางประเด็นเราคิดไม่ได้ เขายังคิดได้ มันเป็นการสร้างวิธีคิดให้กับเด็กด้วยกระบวนการที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้ มันคุ้มมากที่เราลงทุนไป แล้วคุ้มกับความเหนื่อยด้วย

พิธีกร: โครงการนี้สามารถปรับใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนได้อย่างไรบ้าง

อาจารย์วิชัย เมฆเกิดชู: เราสามารถเอาไปเป็นโจทย์ อย่างแรกเลยเราก็ลงในรายวิชาก่อน อันไหนที่สัมพันธ์กัน อย่างมหาวิยาลัยรังสิตมองว่าเป็นรายวิชาแคมเปญ สื่อรณรงค์ เราก็เอาลงในรายวิชา สถาบันอื่นก็อาจจะมองตามความเหมาะสม ก็ลดภาระงานที่เกิดขึ้นมาได้ กลายเป็นโจทย์ในการเรียนการสอนก็เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันทั้งตัวเด็ก แล้วก็อาจารย์เอง ที่ร่วมกันแก้ไขในจุดตรงนั้นด้วย



ติดตามชมกิจกรรมในเวทีได้ที่นี่