ปฏิวัติ สระแก้ว
รองนายก อบต.หนองอียอ
ตำแหน่งที่ได้รับในโครงการต่างๆ
นักถักทอวิจัย ใน อบต.หนองอียอ
ประวัติและผลงาน

­

­

­

­

­

­

“เหมือนได้ปฎิวัติการทำงานของตัวเองใหม่จริง ๆ โดยเฉพาะมุมมองเรื่องการใช้ข้อมูลองค์รวมเพื่อนำมาคิดวิเคราะห์แทนการตัดสินด้วยสายตารวมทั้งการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น”

นายปฏิวัติเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ว่า เหมือนได้ปฏิวัติการทำงานของตัวเองใหม่ โดยเฉพาะมุมมองเรื่องการใช้ข้อมูลองค์รวมเพื่อนำมาคิดวิเคราะห์ แทนการตัดสินด้วยสายตา รวมทั้งการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

กระบวนการคิดและการทำงานวิจัยชุมชน เข้ามาช่วยการทำงานของ อบต. ในภาพรวม ไม่เฉพาะปัญหาเด็กและเยาวชน จากเดิม อบต. ไม่ได้ออกแบบวางแผนรวบรวมข้อมูลอย่างตรงจุด ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างแท้จริง หรือ ‘แก้ไขปัญหาได้ไม่ตรงจุด’ นั่นเอง ทั้งนี้ บทเรียนที่ได้เรียนรู้ คือ ความต้องการของชาวบ้าน ต้องมาประกอบกับความจำเป็นที่แท้จริงของชุมชนด้วย

ปฏิวัติ สระแก้ว

รองนายกฯ อบต. หนองอียอ

­

­

­

ถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 3 : การขับเคลื่อนกลไกพัฒนาเยาวชนด้วยการจัดการความรู้และกระบวนวิจัยเพื่อท้องถิ่น

ปฏิวัติ สระแก้ว

หัวหน้าทีมวิจัย / รองนายก

อบต.หนองอียอ จ.สุรินทร์


·ข้อมูลทั่วไป

(1) สังกัดและบทบาทหน้าที่ในหมู่บ้าน/ตำบล

สังกัดกลุ่ม/ชมรมในหมู่บ้าน/ตำบล บทบาทหน้าที่
อบต.หนองอียอ รองนายก อบต.หนองอียอ

(2) ประสบการณ์ทำงานด้านเด็กและเยาวชน

ประสบการณ์ทำงานด้านเด็กและเยาวชน ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ
ทีมทำงานด้านงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนนอกระบบ เด็กได้ฝึกทักษะฝีมือเพื่อพัฒนาตัวเองเป็นผู้ประกอบการ

·แรงบันดาลใจ ศักยภาพการทำงานด้านเด็กและเยาวชน

(1) ความใฝ่ฝัน เป้าหมายและแรงบันดาลใจในชีวิตตนเอง ในอนาคตอยากเป็นอย่างไร

อยากเป็นที่ปรึกษาแก่เด็กและเยาวชนทุกรุ่น อยากเห็นเด็กในชุมชนมีความรับผิดชอบต่อชีวิตตัวเองและผู้อื่น

(2) อยากจะเห็นสิ่งดีๆ ของเด็กและเยาวชนของหมู่บ้าน/ตำบลเป็นอย่างไร ควรจะทำอะไรบ้าง

อยากเห็นเด็กมีคุณภาพ มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง ครอบครัว และชุมชนโดยการพูดคุยตามกลุ่มต่างๆ ผ่านกิจกรรมของสภาเด็กแลเยาวชน

(3) ตารางระบุศักยภาพของตนเอง

คุณลักษณะ ศักยภาพที่มี
1.มีความรู้ ความสนใจพิเศษ

มีความรู้เกี่ยวกับชุมชน

-
2.ทักษะที่ถนัด ความสามารถพิเศษ

มีทักษะด้านการกีฬา การทำงานเกี่ยวกับงานเกษตร

-
3.ทัศนคติ มุมมองต่อกิจกรรมเด็กและเยาวชนในโรงเรียน หมู่บ้าน/ตำบล

มองว่ากิจกรรมที่ทำอยู่ดีอยู่แล้วและควรทำต่อไป

-

(4) ตารางระบุประสบการณ์เรียนรู้และความต้องการพัฒนาศักยภาพ

ประสบการณ์ในการอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน

(ระบุช่วงเวลาและปี พ.ศ.)

ความต้องการเรียนรู้หรือพัฒนาตนเองเพิ่มเติม
- -

(5) อยากให้เด็กและเยาวชนในชุมชนได้รับการพัฒนาหรือเสริมความรู้ ความสามารถในเรื่องอะไรบ้าง

อยากให้เด็กและเยาวชนมีทักษะฝีมือในการประกอบอาชีพของตนเอง

(6) ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชนของชุมชน

ควรทำการศึกษาการเรียนการสอนให้เด็กและเยาวชนมีทักษะฝีมือด้านอาชีพ ตามความถนัดของแต่ละคนจนมีความเชี่ยวชาญในอาชีพนั้นๆ