โดย คำรณ นิ่มอนงค์ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม

องค์ความรู้ “การเขียนแผนกิจกรรมตามความสนใจของเด็กและเยาวชน” 

โดย คำรณ นิ่มอนงค์ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม

....................................................................

การพาให้เด็กและเยาวชน เรียนรู้เรื่องราวชุมชนเพื่อพาเด็กทำโครงงานชุมชนนั้นต้องมี “เครื่องมือ” ที่พาเด็กๆ เรียนรู้ โดยเครื่องมือที่มักนำมาใช้คือ Project Management แต่เนื่องจากบางครั้งก็อาจจะยากเกินไปสำหรับเด็กๆ จึงเป็นบทบาทของกระบวนกรแต่ละท่านว่าจะแปลงเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้อย่างไร ในเวทีการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนกิจกรรมตามความสนใจของเด็กและเยาวชน โดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม “อ้วน – คำรณ นิ่มอนงค์” กระบวนกร จึงได้แปลง Project Management ให้ง่ายขึ้นใน 4 ขั้นตอน โดยลดรูปและเรียกกิจกรรมนี้ว่า “การเขียนแผนกิจกรรมตามความสนใจของเด็กและเยาวชน”

การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนกิจกรรมตามความสนใจของเด็กและเยาวชน จัดขึ้นในวันที่ 18 - 19 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมสมุทรธรรมคณี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามจัดเวทีโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทักษะด้านการเขียนแผนกิจกรรมให้แก่เด็กและเยาวชน ภายใต้โครงการพัฒนากลไกการจัดการและกระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองขามฯ และโครงการศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลพลับพลาไชยในการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนฯ

ภายใต้โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 3 : การขับเคลื่อนกลไกพัฒนาเยาวชนด้วยการจัดการความรู้และกระบวนวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยมีพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสุพรรณบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาทีมนักถักทอชุมชน (ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปลัดเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น) แกนนำชุมชน และแกนนำเยาวชน มีความสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน นำไปสู่การพัฒนาระบบ / กลไก สนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองและเครือข่ายโดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ปี สนับสนุนโดยมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สถาบันยุวโพธิชน มูลนิธิสัมมาชีพ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) มูลนิธิสยามกัมมาจล

“คำรณ นิ่มอนงค์” กล่าวว่าเวทีครั้งนี้ถือว่าอยู่ในระยะที่ 2 ของการทำโครงการ โดยระยะที่ 1 ได้สร้างกลไกพี่เลี้ยงในพื้นที่ เกิดกลุ่มเด็ก เยาวชน และกิจกรรมที่เด็กเหล่านั้นสนใจ ส่วนระยะที่ 2 เป็นเวทีให้เด็กเขียนแผนกิจกรรม เป็นช่วงฝึกทดลองกลไกในพื้นที่โดยพี่เลี้ยงคอยดูแลการทำกิจกรรมตลอดระยะเวลา 5 เดือน (กันยายน – ธันวาคม) โดยสองพื้นที่จะมีเยาวชนพื้นที่ละ 6 กลุ่ม รวมเป็น 12 กลุ่ม หลังจากนั้นจะมาสรุปกิจกรรม ถอดบทเรียนการทำกิจกรรมสิ่งที่ทำได้ดี และต้องปรับปรุง หลังจากนั้นเข้าสู่ระยะที่ 3 ใช้เวลา 8 เดือน (มกราคม – สิงหาคม 2562) เป็นช่วงที่นำชุดความรู้จากระยะที่ 2 ลงไปทำงานจริง ก่อเกิดกลไกที่ยั่งยืน โดยมีพี่เลี้ยงคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

“การเขียนแผนกิจกรรม” แบบง่ายๆ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

.การเขียนแผนตามกิจกรรมตามความสนใจที่ตรงกับเป้าหมาย / ความสนใจ ของเด็กและเยาวชน / การกำหนดวัตถุประสงค์

- ประเด็นที่สนใจ /ความจำเป็น - เหตุผล ที่อยากทำ

- เป้าหมายที่อยากเห็น / วัตถุประสงค์ / ความคาดหวังจากการทำกิจกรรม

- ผู้ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง

- ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นนอกเหนือจากสิ่งที่โครงการจะทำ ได้แก่ ทักษะที่จะได้ ความรู้ที่จะได้

โจทย์

-ให้วาดรูปกิจกรรมที่กลุ่มสนใจ

เขียนหรือวาดบุคคลที่คิดว่าจะเข้ามาร่วมในกิจกรรมของเรา 

ภาพกิจกรรมของเยาวชน 12 กลุ่ม

หลังจากเด็กแต่ละกลุ่มวาดภาพกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เด็กและเยาวชนได้นำเสนอกิจกรรมให้พี่เลี้ยงประจำกลุ่มฟัง โดยมีกติกาดังนี้

5 นาทีแรก

-เล่าสิ่งที่วาดให้พี่เลี้ยงฟัง 5 นาที

-โจทย์ สิ่งที่เราทำทำอะไรบ้าง / และมีใครมาเกี่ยวข้องกับเราบ้าง

-พี่เลี้ยงมีหน้าที่ฟังเพียงอย่างเดียว

5 นาทีหลัง

-พี่เลี้ยงนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ช่วงเช้า มาทำหน้าที่โคชให้เยาวชนสามารถให้ทำกิจกรรมไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยการตั้งคำถาม กระตุ้นคิด

­

2.การกำหนดกิจกรรมที่ตอบวัตถุประสงค์

การเขียนสตอรี่บอร์ดเพื่อร้อยเรียงเรื่องราวกิจกรรมที่เด็กและเยาวชนอยากทำ 7 ข้อย่อย โดยให้เยาวชนเขียนกิจกรรมย่อยหลัก 7 กิจกรรม ในระยะเวลา 5 เดือน โดยการวาดรูปกิจกรรมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายกิจกรรมที่ต้องการ “การให้น้องวาดภาพเพื่อให้น้องเห็นภาพกิจกรรมย่อยที่ต้องไปทำได้ชัดเจนขึ้น 

­

­

ตัวอย่างการการเขียนสตอรี่บอร์ดของกลุ่มทำนาเพื่อร้อยเรียงเรื่องราวกิจกรรม

ที่เด็กและเยาวชนอยากทำ 7 ข้อย่อย

3.การเติมความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์ทางสังคมที่เขื่อมโยงกับเด็กและเยาวชนชมคลิปวีดีโอทักษะในศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วยอะไรบ้างเพื่อให้ได้มุมมองและเห็นสิ่งที่จำเป็น

­

4.การเขียนแผนกิจกรรมและงบประมาณ

การนำกิจกรรมย่อยมาแตกย่อยและทำตามแผนในหัวข้อ 2 โดยมีแบบฟอร์มแบบง่ายให้กรอก

โจทย์  : ให้นำภาพวาดกิจกรรมย่อย 7 กิจกรรมมาเขียนแผนกิจกรรมและงบประมาณในแต่ละภาพดังหัวข้อต่อไปนี้

1.ชื่อกิจกรรม..................

2.เราจะจัดกิจกรรม ช่วงวันที่เท่าไร......... เวลากี่โมง................ (กิจกรรมที่ 1 ภายในเดือนสิงหาคม)

3.สถานที่จัดกิจกรรม

4.เป้าหมายการจัดกิจกรรมเพื่ออะไร..........(อย่างน้อย 2 ข้อ)

5.วิธีการดำเนินงานทำอย่างไร

6.ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

7.งบประมาณ (แจกแจงรายละเอียด)

สรุปบทเรียนการเรียนรู้ พี่เลี้ยงและเยาวชน

โจทย์ : การเข้าค่ายสองวันนี้สิ่งที่ได้

1.สิ่งที่ได้เรียนรู้

2.ความรู้ใหม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร (ตัวเอง / ผู้อื่น)

 ผลของการใช้กระบวนการที่ปรับเปลี่ยนให้ง่ายขึ้นสำหรับเยาวชนและเน้นใช้การวาดภาพซึ่งถูกกับวัยของเด็ก ทำให้เยาวชนทั้ง 12 กลุ่ม สามารถระดมความคิดและได้กิจกรรมกลับไปทำครบหมดทุกทีมหลังจากนี้กลุ่มเยาวชนทั้ง 12 กลุ่ม จะกลับไปทำโครงการที่ตัวเองได้ระดมความคิดในเวทีสองวันนี้ 12 กลุ่มได้แก่ 1.กลุ่มการทำนาข้าว2.พลับพลาไชยสดใสไร้ขยะ 3.พลับพลาไชย อคาเดมี่           4.ผ้าไหมใครอยากทอ5.สวยใส Live สาระ    6.ประวัติศาตร์ชุมชน หมู่บ้านทะเลาเพลาะ7.มาลัยร้อยรัก 8.KANGHAM GROUP 9.FIVE 10.กลุ่มหญิงฉุกเฉิน#โป๊ะแตก11.ต้นกล้าน้อยพิทักษ์ป่า12.กลุ่ม NKT. พัฒนา

หลังจากทำทั้ง 4 ขั้นตอนจนครบถ้วน การเรียนรู้ Project Management แบบนี้ สามารถทำให้เยาวชนตั้งแต่อายุ 11 – 18 ปี สามารถเรียนรู้กันได้อย่างเข้าใจและสามารถมีความสุขและสนุกในการเรียนรู้ตลอดทั้งสองวัน จึงทำให้เห็น “พลัง” ของ “กระบวนกร” ที่สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนจากเรื่องยากๆ ให้ง่ายๆ 

อีก 5 เดือนเจอกันใหม่ มารอดูกันว่า “คำรณ นิ่มอนงค์” จะมี “เครื่องมือ” อะไรอีกที่ทำให้เยาวชนได้ได้เรียนรู้และมีความสนุกควบคู่ไปด้วยกันเช่นเดียวกับเวทีแห่งนี้ 

ติดตามกิจกรรมขับเคลื่อนเวทีได้ที่นี่

การเขียนแผนกิจกรรมตามความสนใจของเด็กและเยาวชน.pdf